ASUS E410M จัดเป็นโน๊ตบุ๊คพกพา ดูมีไลฟ์สไตล์ในซีรีส์ใหม่ที่เอาใจผู้ใช้ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คไลฟ์สไตล์สบายๆ ไม่ดูทางการเกินไปและสีสัน ลวดลายดูสบายตา เช่นเดียวกับสเปคที่เติมมาให้พอดีกับการใช้งานและให้การใช้พลังงานที่ยาวนานขึ้น
ซีพียู Intel Pentium ในแบบ Quad-core มาพร้อมการ์ดจอ Intel UHD Graphic โดยหน้าจอขนาด 14″ ที่ช่วงหลังหลายค่ายกลับมาให้ความสำคัญกันมากขึ้น มีผลทำให้น้ำหนักเบาและพกพาง่าย นอกจากนี้ยังมี Windows 10 ติดตั้งมาด้วย กับเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในการกางหน้าจอได้ 180 องศา และมาพร้อมทัชแพดแบบพิเศษ
โน๊ตบุ๊ค ASUS รุ่นนี้มีให้เลือก 3 สีด้วยกัน คือ Peacock Blue, Dreamy White และ Rose Gold ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ นั้น เรียกว่าเพียงพอต่อการใช้งานได้สนุก ทั้งด้านความบันเทิง เช่น การดูหนัง แต่งภาพเล็กน้อย แต่เน้นไปที่กลุ่มโซเชียล ท่องเว็บและใช้งานด้านออนไลน์เป็นหลัก โดยให้แรม DDR4 4GB พอร์ตต่อพ่วงมีให้ครบครัน USB 3.2, Type-A และ USB Type-C, Card Reader, Combo jack (Mic-Headphone) และ HDMI แบบ Full-size แต่ไม่มีพอร์ต RJ-45 สำหรับ LAN มาด้วย รองรับการเชื่อมต่อ WiFi 802.11ac และมี Bluetooth 4.1 จัดเป็น โน๊ตบุ๊คพกพา น้ำหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม เท่านั้น ให้การรับประกัน 2 ปี พร้อม Perfect Warranty สนนราคาอยู่ที่ 12,990 บาท
Specification
ASUS E410N ที่ได้รับมาทดสอบนี้ เป็นโน๊ตบุ๊คกลุ่มไลฟ์สไตล์ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นกับการใช้งาน รวมถึงคนที่อาจมีพีซีหรือโน๊ตบุ๊คอยู่แล้ว ต้องการโน๊ตบุ๊คตัวที่สอง สำหรับใช้งานทั่วไป พกพาสะดวก ประหยัดพลังงาน โดยมีซีพียู Intel Pentium Silver N5030 ที่เป็นแบบ 4 core/ 4 thread ความเร็วเริ่มต้น 1.1GHz และขยับไปที่ 3.1GHz เมื่อเร่งความเร็วสูงสุด มีค่า TDP 6W เท่านั้น ทำงานร่วมกับแรม DDR4 4GB ซึ่งเป็นแรมออนบอร์ด กราฟิก iGPU ที่มีมาในซีพียู Intel UHD Graphic 605 โดยให้ SSD 512GB ซึ่งเป็นแบบ M.2 NVMe PCI มาด้วย กับหน้าจอแสดงผล TN 14″ ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล
บอดี้อาจไม่ได้บางในระดับ Ultra-slim แต่ก็บางพอสำหรับการพกพาได้ง่าย และน้ำหนักเพียง 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น มีพอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ ประกอบด้วย USB 2.0 Type-A พื้นฐาน และ USB 3.2 Type-A และ Type-C พร้อมพอร์ต HDMI แบบเต็ม รองรับการเชื่อมต่อไร้สาย 802.11ac และ Bluetooth 4.2 แต่ไม่มี RJ-45 มาด้วย นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับ Windows 10 ให้ใช้งานได้ทันที ที่สำคัญยังให้ซอฟต์แวร์ MyASUS สำหรับการดูแล ตรวจเช็ค ขอความช่วยเหลือ และปรับแต่งระบบได้ด้วยตัวเอง การรับประกันของโน๊ตบุ๊ค ASUS อยู่ที่ 2 ปี ในแบบ Carry-In
Hardware / Design
ในส่วนของการออกแบบ ASUS E410M เป็นโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา พกพาง่าย ดูมีไลฟ์สไตล์ จะต่างจากในซีรีส์ของ VivoBook อยู่บ้าง ทั้งในส่วนของบอดี้ ขนาดและฟังก์ชั่น โดยหน้าจอ 14″ ทำให้สะดวกต่อการเดินทางและไม่ต้องใช้พื้นที่จัดวางมากเกินไป น้ำหนักที่เบาเพียง 1.3 กิโลกรัม เท่านั้น จึงใส่กระเป๋า หรือใส่ซอฟต์เคสเดินถือไปมาได้สะดวกกว่า ที่สำคัญกับการออกแบบลวดลายให้ดูสะดุดตา จะว่าเป็นแนวสตรีทก็ไม่เชิง กราฟิตี้ก็ไม่ใช่ แต่ก็สร้างความสดใสให้กับการใช้งานได้ เมื่อนำไปใช้นอกบ้าน วัสดุพื้นฐาน แต่ก็มีความแข็งแรง ซึ่งหากเทียบราคากับคู่แข่งแล้ว ถือว่า ASUS มาได้ถูกทาง แต่ก็อาจจะทำให้ VivoBook ต้องมีคู่แข่งไปด้วยเช่นกัน
บนฝาหลัง ASUS ตั้งใจใส่ลายกราฟิก ที่เป็นโลโก้ ASUS แยกชิ้นส่วนที่เป็นโครงสร้างออกเป็นลวดลายกระจายไปเต็มพื้นที่อย่างสมมาตร แต่ตรงกลางยังคงชื่อ ASUS ไว้ชัดเจน ซึ่งส่วนตัวคิดว่าน่าจะเติมความโดดเด่นให้โลโก้ตรงกลาง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยรุ่นที่ได้รับมารีวิวนี้ เป็นสี Dreamy White บอดี้หลักเป็นสีขาว ตัดของจอด้านในที่เป็นสีดำ แต่พื้นที่คีย์บอร์ดและที่วางมือเป็นสีเทา แต่ดูสอดคล้องกัน ส่วนที่สะดุดตา น่าจะเป็นการตัดเหลี่ยมมุมให้จับถือง่าย เพิ่มส่วนเว้าเข้าไปตรงที่เปิด-ปิดฝา Cover และปุ่มที่มีขอบสีเหลืองสะดุดตาบน Enter นั่นเอง
แต่สิ่งที่น่าจะทำให้กลุ่มผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือคนที่ชอบแสดงออกผ่านทางไลฟ์สไตล์ผ่านโน๊ตบุ๊คน่าจะเป็นเรื่องการออกแบบโดยรวม เพราะดูมีความเป็นกันเองมากขึ้น คือไม่ใช้โน๊ตบุ๊คที่คุณจะต้องคอยระวังเมื่อใช้งานหรือพกพา เพราะ ASUS ออกแบบให้บอดี้เกิดรอยยาก ลดวัสดุที่เพิ่มความเงางาม เมื่อเกิดรอยขีดข่วนจากการใช้งาน ก็จะมองแทบไม่เห็น รวมถึง Cover ที่มีกราฟิกกระจายทั่วไป จึงแทบไม่ต้องกังวลเรื่องรอยนิ้วมืออีกด้วย ส่วนด้านหน้าตรงจัดเปิดหน้าจอ ก็จะมีส่วนเว้าให้สอดนิ้วเข้าไปได้ เข้ากับบอดี้ได้สวยงาม และด้วยหน้าจอ 14″ แบบนี้ ก็เปิดกางได้ง่ายกว่า และยังกางได้ระดับ 180 องศาอีกด้วย
บริเวณด้านใต้ของโน๊ตบุ๊ค ASUS วางรูปแบบในการยกตัวเพื่อระบายความร้อน และมุมองศามาได้น่าสนใจ ด้วยยางรองวงกลมขนาดประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร 4 ชิ้น วางบน 4 จุด และยังมีแท่นเล็กๆ ที่อยู่ด้านท้ายเอาไว้ค้ำด้านท้ายให้ยกสูงขึ้น บานพับจะเป็น 2 จุดหลัก ซ้าย-ขวา ซึ่งจะต่างจากบรรดาหลายๆ ซีรีส์ที่จำหน่ายอยู่บ้าง แต่ก็จัดว่าแน่นหนาดี กล้องเว็บแคมด้านบนหน้าจอ พร้อมใช้งาน และมีไมโครโฟนมาด้วย แต่ไม่ได้มีสวิทช์สำหรับเปิด-ปิด มาให้ ยังคงควบคุมจากซอฟต์แวร์เป็นหลัก
วัสดุที่ทาง ASUS นำมาใช้ เป็นพลาสติกเกรดคุณภาพ ที่มีการปรับปรุงเรื่องของสีและลวดลายมาให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปกติสำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มเริ่มต้นทั่วไป แต่ที่น่าสนใจคือ งานประกอบที่ทำออกมาได้เนียนตาสวยงาม และเพื่อให้สมดุลกับน้ำหนัก กับหน้าจอขนาด 14″ นี้ อย่างไรก็ดีในเรื่องโครงสร้าง ยังคงเน้นไปที่โลหะ และการทำจุดเชื่อมต่อต่างๆ ให้แน่นหนา เช่น กรอบบานของหน้าจอ พอร์ตต่อพ่วง รวมไปถึงปุ่มกดที่หนักแน่น ไม่ยวบยาบให้เสียอารมณ์ กับส่วนสติ๊กเกอร์ที่ปรากฏอยู่บนโน๊ตบุ๊ค ประกอบด้วย คุณสมบัติเบื้องต้น เช่น Lightweight น้ำหนักเบา, กางหน้าจอได้ 180 องศา และมี NumbrerPad อยู่บนทัชแพด ตัดพื้นที่ตรง Numpad ที่เป็น Physical ไป มาไว้บนนี้แทน ส่วนอีกด้านก็จะมีสติ๊กเกอร์ซีพียู Intel Pentium และ Perfect Warranty พร้อม QR code สามารถสแกนเช็คได้
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ ASUS E410M รุ่นนี้ เน้นไปที่การใช้งานคล่องตัวบนบอดี้ 14″ ที่อาจมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ น้อยกว่า 15.6″ สิ่งที่ดูเหมือนจะขาดไปจะเป็น Numpad แต่ที่จริงแล้ว ASUS ย้ายเอามาไว้ที่ทัชแพดแทน ซึ่งจะสังเกตได้เลยว่า มีตัวเลขและสัญลักษณ์ต่างๆ มาอยู่บนทัชแพดที่มีขนาดใหญ่ 6″ ซึ่งการใช้งานก็เพียงแตะที่เครื่องหมาย On/Off ที่อยู่มุมบนขวาของทัชแพด เมื่อไฟสถานะปรากฏขึ้น ก็สามารถแตะที่ตัวเลขและใช้งานได้เลย เป็นลักษณะของปุ่มสัมผัส
นอกจากนี้ทัชแพดยังรองรับการทำงานแบบมัลติทัชบน Windows 10 ได้อย่างเต็มที่ ใช้งานได้ลื่นไหล ส่วนปุ่มกดซ้าย-ขวานั้นถูกซ่อนไว้ในทัชแพด ไม่ออกมาให้รู้สึกกวนใจ คลิ๊กง่ายขึ้นเยอะ
ส่วนคีย์บอร์ดเป็นแบบ 5 แถว พร้อมกับเมนูด้านบนอีกหนึ่งแถว เป็นปุ่มขนาดใหญ่สะใจคนที่นิ้วใหญ่ พิมพ์สัมผัสอย่างไรก็ไม่พลาด เป็นแบบแยกปุ่ม เป็นสัดส่วน น้ำหนักการกดไม่ต้องมาก ระยะการกดแค่ 1.4mm ก็ตอบสนองได้แล้ว ปุ่มเด้งรับกับแรงนิ้วได้ดี ไม่ยวบยาบ ปุ่มส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่ดี เพียงแต่ปุ่มลูกศร ถูกปรับให้เล็กลง อาจจะไม่ถนัดบ้างในช่วงแรก ในการใช้เลื่อนไปมา แต่ที่โดดเด่นคือ ปุ่ม Enter ที่ทำสีเหลืองมา ให้เป็นสไตล์ของคนรุ่นใหม่ ดูแล้วเร้าหรือให้อยากกด
และที่ดูค่อนข้างถูกใจคนที่ชอบคีย์ลัดหรือเมนูที่เรียกใช้งานง่ายๆ ASUS วางในส่วนนี้มาให้ใช้งานกันเต็มอิ่ม ไม่ว่าจะเป็น ปรับเสียง, ระดับความสว่างหน้าจอ, เปิด-ปิดทัชแพด, ปิดกล้องเว็บแคม, รวมถึงซอฟต์แวร์อย่าง MyASUS ที่ใช้ในการปรับแต่ง ตรวจเช็ค อัพเดตไดรเวอร์ และสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ในนี้ครบครัน
Screen / Speaker
หน้าจอ ASUS E410M เป็นไซส์พกพา 14″ ความละเอียด Full-HD 1080p กับความบางของหน้าจอที่เรียกว่าไม่แพ้รุ่นพี่ๆ ขอบจอบางสุดอยู่ที่ราว 8 มิลลิเมตร พาแนล TN ให้ความคมชัด พอเหมาะสำหรับคนที่ใช้งานทั่วไป งานเอกสาร และความบันเทิงในแต่ละวัน โดยเป็นแบบ Anti-Glare ที่ลดแสงสะท้อนได้พอสมควร ซึ่งจากการทดลองนำไปใช้นอกสถานที่ เรื่องของแสงสะท้อนจากไฟต่างๆ แทบจะไม่ส่งผลต่อการมองเห็นมากนัก ส่วนเรื่องของความสว่าง ปรับสุดแล้ว สามารถสู้แสงได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งหากคุณไม่ได้ไปใช้กลางแจ้งแดดจัด จอนี้ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างแน่นอน ค่าสีให้อยู่ที่ 45% NTSC
ASUS เลือกตัดขอบโทนสีดำ เพื่อให้ดูแยกกับบอดี้อย่างชัดเจน แต่จุดที่เป็นไฮไลต์ของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ อยู่ที่ความสามารถในการกางออกได้ระดับ 180 องศา เพื่อเพิ่มความสะดวกต่อการใช้งานร่วมกันกับ
ระบบเสียงเป็นแบบ 2W Stereo ที่ติดตั้งมาเป็นมาตรฐาน เป็นลำโพงคู่อยู่ด้านใต้ของโน๊ตบุ๊คทั้งด้านซ้ายและขวา เรื่องคุณภาพเสียงสามารถกระจายเสียงได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ถ้าอยู่บนพื้นโต๊ะที่ไม่เตี้ยเกินไปนัก ก็จะช่วยเพิ่มรายละเอียดได้มากขึ้น ส่วนการดูหนังหรือเล่นเกม ทำได้ลงตัว เปิดเสียงเพิ่มระดับได้เกือบสุด ไม่แตกพร่าให้เสียอารมณ์ โทนเสียงเน้นกลาง ทุ้ม เบสได้บางๆ เสียงแหลมเก็บได้ในบางย่าน แต่ถ้าคุณอยากได้ที่แน่นๆ เสียงที่กระชับมาอีกหน่อย แนะนำให้ใส่หูฟัง จะเป๊ะปังมากกว่านี้ แม้จะไม่ได้มีผลต่อทิศทางเสียงมากนัก สำหรับลำโพงที่มีให้ แต่ก็ช่วยให้สนุกไปกับการชม กับระบบเสียง ASUS SonicMaster ซึ่งให้ความสนุกและบันเทิงได้แบบไม่เบื่อ
Connector / Thin And Weight
สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อบน ASUS E410M นี้ อาจจะดูจำกัดไปบ้าง เพราะด้วยขนาดและลักษณะการใช้งานของโน๊ตบุ๊ค แต่ก็ยังคงมีพอร์ตมาให้ครบครัน เช่น USB 3.2 Type-A, USB 3.2 Type-C รวมถึง USB 2.0 ที่มีให้อย่างละ 1 พอร์ต นอกจากนี้ก็จะเป็น HDMI และ Combo audio jack รวมไปถึง micro SD card รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายมาตรฐาน WiFi 5 (802.11 ac) ขาดแค่เพียงช่องต่อ LAN RJ-45 เท่านั้น แต่เมื่อดูจากรูปแบบการใช้โน๊ตบุ๊คที่บางเบา ขนาดกระทัดรัดนี้ ต่อไร้สาย WiFi น่าจะให้ความสะดวกกว่ามาก
ส่วนมิติของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ แม้จะไม่ได้เรียกว่า Sleek แต่ก็เป็น Thin & Light ได้เช่นเดียวกัน กับหน้าจอขนาด 14″ นี้ และเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ด ก็ใส่มาได้อย่างรัดกุม แม้จะเพิ่มคีย์ fn ด้านข้างมา และเป็นแบบปุ่ม 5 แถว ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าขยายบอดี้ออกไป จนเทอะทะ จุดสำคัญก็คือ ASUS เลือกใช้วัสดุ และการวางโครงสร้างที่ลงตัว ใส่ในกระเป๋าเป้ก็ได้ หรือจะสะพายข้างก็สะดวก เพราะน้ำหนักเบาเพียง 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น
Performance / Software
โดยที่ ASUS E410M มาพร้อมกับซีพียูรุ่นประหยัด ที่เอาใจกลุ่มผู้ใช้เบื้องต้นในตลาด Pentium N5030 ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1.10GHz และเพิ่มไปได้ถึง 3.1GHz เหมาะกับคนที่ไม่ได้เน้นพลังประมวลผลมากมายนัก กับการทำงาน ท่องเน็ตและความบันเทิงในแต่ละวัน แต่สามารถประหยัดพลังงาน ใช้งานได้ยาวนาน โดยในส่วนของการทดสอบ ก็สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้น่าสนใจ ด้วยการทำงานแบบ 4 core/ 4 thread ก็พอจะจัดการงานในแบบมัลติทาส์กกิ้งได้ ส่วนแรมมาค่อนข้างกระทัดรัด DDR4 4GB เท่านั้น เป็นแบบ On-board มา ซึ่งจะมีตัวเลือก 4GB และ 8GB แม้ว่าในปัจจุบันความจุระดับ 4GB อาจจะตอบสนองช้าไปบ้าง แต่ถ้าเซ็ตระบบให้เหมาะสมแล้ว ก็พอต่อการใช้งานพื้นฐานทั่วไปได้
การ์ดจอเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD 605 Graphics ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างเช่นในการทำงานกราฟิก 2 มิติหรืองานเอกสารทั่วไปนั้นก็รองรับได้ดีพอใช้ แต่เท่าที่ทำการทดสอบในเกม 3 มิติง่ายๆ ไม่ใช้ทรัพยากรมาก เช่น Bleach Brave ใน Steam ก็พอเล่นได้ไหลลื่น ส่วน PUBG Lite ในส่วนของ Ultra Low ก็ยังพอไหว แต่ภาพอาจจะดูยากเล็กน้อย
ส่วนในการทดสอบด้านกราฟิก 3 มิติ เรนเดอร์ภาพด้วย CINEBENCH R20 ที่เจาะจงไปที่การทำงานของซีพียูประมวลผล ก็เป็นไปตามคาด ตัวเลขอยู่ในระดับพอใช้ โดยต้องใช้เวลาในการทำงานค่อนข้างนาน ก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลก สำหรับซีพียูระดับ Pentium และยังเป็นโมบายบนโน๊ตบุ๊ค เพราะคงไม่มีใครใช้โน๊ตบุ๊คในกลุ่มนี้ มาทำงานอันหฤโหดแบบนี้ได้ ซึ่งหากต้องการใช้งานด้านนี้จริงๆ หรือเน้นหนักไปที่งานตัดต่อมากขึ้น ตัวเลือกอย่าง VivoBook ที่เป็น Core i5 ขึ้นไป น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่า แต่นั่นก็หมายความว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มราวหมื่นบาทเลยทีเดียว
ในด้านการจัดเก็บข้อมูล โน๊ตบุ๊ครุ่นนี้มาพร้อม SSD ในแบบ M.2 NVMe PCIe ของทาง WD ความจุ 512GB ซึ่งให้ความเร็วได้เหนือกว่า ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปและเร็วกว่า SSD SATA III เพราะให้ความเร็วในการทดสอบที่มากถึง 1,8xxMB/s (Read) และ 1,2xxMB/s (Write) ด้วยความเร็วระดับนี้ สามารถลดเวลาในการเปิดเครื่อง ให้เหลือเพียงไม่กี่วินาที รวมถึงการเปิดโปรแกรม โอนถ่ายไฟล์ และการทำงานอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความเร็วในการทำงานได้มากมาย
ส่วนการทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark 10 ย้ำว่าแม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คระดับพื้นฐาน แต่ก็สามารถรันโปรแกรมนี้จนจบได้ ด้วยคะแนนที่ไม่ได้หวือหวานัก ด้วยตัวเลขที่ 1,847 คะแนน จัดว่าสร้างผลงานได้น่าพอใจ เพราะสามารถผ่านการทดสอบที่หนักหน่วง ด้วยการตัดต่อ งานเอกสาร มัลติมีเดียและอื่นๆ ได้อย่างไม่ยาก แม้จะเป็นซีพียูระดับ Pentium กับกราฟิกออน iGPU ก็ตาม แต่ถ้าได้แรมเยอะกว่านี้อีกหน่อย ก็น่าจะทำให้การขับเคลื่อนเพื่อเรียกคะแนนจากการทดสอบนี้ได้ลื่นยิ่งขึ้น อีกนัยหนึ่งก็คือ ทำให้การทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นกว่านี้
นอกจากเรื่องของการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์และเกมทดสอบแล้ว ในด้านซอฟต์แวร์ MyASUS ที่ติดตั้งมาให้กับผู้ใช้บนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นแหล่งรวมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ในการตรวจสอบดูแล และปรับแต่ง เพื่อจัดการระบบได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การดูแลและตรวจสอบระบบ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ แก้ไขข้อผิดพลาด ตรวจเช็คเมื่อโน๊ตบุ๊คช้าและปัญหาจากการเชื่อมต่อไร้สายเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการชาร์จแบต, Splendid, Tru2Life การล็อคปุ่มและการใช้ WiFi SmartConnect เป็นต้น โดยในแต่ละหัวข้อก็ยังแยกย่อยออกไปอีก เพื่อให้การตั้งค่านั้่นเจาะลึกลงไปในฮาร์ดแวร์และฟีเจอร์แต่ละส่วน
นอกจากนี้ยังมีลิงก์ในซอฟต์แวร์ เพื่อติดต่อกับส่วนบริการของ ASUS ได้โดยตรง หรือจะใช้ในการจองคิวเพื่อซ่อมผ่านออนไลน์ได้อีกด้วย รวมไปถึง System Diagnostic ที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งาน คือแทบจะไม่ต้องไปหาทางแก้ของอาการแต่ละอย่างด้วยตัวเอง ในซอฟต์แวร์นี้มีช่องทางในการแก้ปัญหาให้เกือบครบ
Battery / Heat / Noise
เนื่องจากเป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูในกลุ่มประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพระดับกลางๆ การที่ให้แบตเตอรี่ 3-cell ระดับ 3,600 mAh ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน ด้วยการทดสอบการใช้พลังงานด้วยการตั้งค่าความสว่างไว้ที่ระดับ 30% และระดับเสียง 30% รวมถึงปรับค่าโน๊ตบุ๊คให้ทำงานในโหมด Power Saver แล้วทดสอบด้วย Battmon จากนั้นเปิดการใช้งาน ด้วยการรันวีดีโอ Youtube อย่างต่อเนื่อง พร้อมการเชื่อมต่อ WiFi ด้วยการใช้พลังงานบนแบตเพียงอย่างเดียว ตัวเลขในการทำงานนั้นอยู่ที่ราว 12 ชั่วโมง หลังจากที่รันโปรแกรมไปได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต้องถือว่าเป็นตัวเลขที่ดีเลยทีเดียว ด้วยองค์ประกอบหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอแสดงผล 14″ และการใช้พลังงานของซีพียูที่น้อย บวกกับไม่มีกราฟิกแยกมาด้วย
เมื่อเห็นตัวเลขอุณหภูมิ ที่ปรากฏขึ้นบนโปรแกรมทดสอบ OCCT ก็แทบจะไม่ต้องอธิบายเรื่องกระบวนการระบายความร้อนมากมายบนโน๊ตบุ๊คจาก ASUS รุ่นนี้ เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นคือ นอกจากซีพียูแล้ว แทบจะไม่มีสิ่งอื่นเข้ามาสร้างความร้อนให้กับระบบเลย แม้ว่าช่องระบายความร้อนบนโน๊ตบุ๊คจะไม่ได่เยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่ทำให้ความร้อนสูงเลย ถ้าดูจากตัวเลขที่ราว 68 องศาเซลเซียสในขณะที่ Full-load แบบ 100% ทำงานเต็มที่ทั้ง 4 core แบบนิ่งๆ หลังจากขยับไปที่ 85 องศาเซลเซียสในช่วงต้น ก็ถือว่า ASUS จัดการกับเรื่องอุณหภูมิได้ดีพอสมควร เพราะคงไม่มีใครที่จะทำงานให้ระบบทำงาน 100% แบบนี้ต่อเนื่องตลอดเวลาเป็นแน่
Conclusion / Award
มาสรุปในภาพรวมของโน๊ตบุ๊ค ASUS E410M รุ่นนี้ กับการใช้งานในช่วงหลายวันที่ผ่านมา จุดหนึ่งที่น่าจะทำให้ผู้ใช้ชื่นชอบ น่าจะเป็นเรื่องของความง่าย ไม่ซับซ้อน ตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คที่มีความเป็นกันเอง ที่ทาง ASUS มักจะออกแบบมาให้ผู้ใช้ดังที่เห็นกันใน VivoBook หรือโน๊ตบุ๊คระดับมิดเอนด์ เพราะกลุ่มนี้จะไม่ได้เน้นฟีเจอร์ล้ำๆ มาก เนื่องจากต้องการเพียงสิ่งที่ต้องใช้ในแต่ละวันเท่านั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานครบ และเรียกใช้งานได้เร็ว ก็ตอบโจทย์แล้ว อย่างไรก็ดีเรื่องของบอดี้และดีไซน์ ASUS ก็ยังยืนหนึ่งในเรื่องการออกแบบ แม้วัสดุที่มาบนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ จะไม่เน้นความหรูหรา แต่สิ่งที่ได้มาคือ น้ำหนักที่เบาเพียง 1.3 กิโลกรัม และขนาด 14″ เหมาะกับการพกพา เหมาะกับคนที่ชอบความสบาย เพราะจับถนัดมือ ไม่เป็นรอยง่ายอีกด้วย
ส่วนเรื่องสเปคตรงนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของแต่ละบุคคล เพราะถ้ามองกันที่เป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องที่สอง หรือใช้เป็นเครื่องพื้นฐานเรียนรู้สำหรับเด็กๆ หรือจะเป็นการใช้งานเอกสาร และความบันเทิงทั่วไป ก็จัดว่าเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดแก้ไขงานเอกสาร หรือการดูหนัง การเปิดแท็ปท่องเว็บไซต์ 5-6 แท็ป รวมถึงดู Youtube ด้วย ก็ดูจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการเล่นเกมนั้น ก็ต้องว่ากันไปในแต่ละเกม เพราะในการทดสอบด้วย PUBG Lite จะเล่นให้พอไหลลื่นได้ ก็ต้องปรับความละเอียดแบบต่ำสุดๆ ทำให้ภาพที่ได้ไม่สวยเท่าที่ควร นอกจากกราฟิกที่มีให้ เรื่องของแรมระดับ 4GB ก็อาจจะไม่พอในการขับเคลื่อนได้ดีพอ แต่ในเกมบางอย่าง เช่น Bleach ที่เป็นกึ่ง 2D/3D จะให้ภาพที่ลื่นไหล ซึ่งถ้าเล่นเกมในแนวนี้ก็สบายใจได้
หน้าจอแสดงผลขนาด 14″ ขอบข้างทั้ง 2 ด้านบางลงตามสมัยนิยม ก็ทำให้ได้พื้นที่ในการใช้งานได้เยอะ ความละเอียด Full-HD ก็ดูจะสอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ในโน๊ตบุ๊คเริ่มต้นเช่นนี้ เรื่องของความสว่างน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมองเห็นได้ชัดกว่า เรื่องของขอบเขตสี อยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ และเป็นไปตามราคาและกลุ่มการใช้งาน ที่เน้นการ View มากกว่า Edit เพราะหากจะเน้นเรื่องสี ในการทำงานด้านกราฟิกหรือวีดีโอ แนะนำขยับไปที่ ZenBook ขึ้นไปจะดีกว่า แต่ราคาก็ขยับตามไปด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าสเปคของตัวเครื่องมาในแบบพื้นฐาน ไม่ได้หวือหวาถ้าเทียบกับ VivoBook 14 หรือ 15 แต่ถ้ามองในแง่ของการใช้งานที่ง่าย สำหรับคนที่ไม่ได้เน้นพลังการทำงาน แค่มาใช้เปิดเน็ต ดูหนัง ฟังเพลงและการทำเอกสารทั่วไป ก็เรียกได้ว่าแทบจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แต่จุดสำคัญอยู่ที่ คุณสามารถเข้าถึงงาน เอกสารและไฟล์ได้ในทุกที่ เพราะทาง ASUS จัดแบตเตอรี่มาให้เกือบเท่ากับโน๊ตบุ๊คทำงานทั่วไป จากการทดสอบกับการใช้งานเกิน 10 ชั่วโมง ก็น่าจะพอสำหรับการใช้งานในแต่ละวัน อีกทั้งพอร์ตต่อพ่วงสำคัญ ก็มีมาให้เกือบครบ น่าจะขาดแค่ RJ-45 เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันถ้าไม่ได้เป็นโน๊ตบุ๊คในกลุ่มเกมมิ่งหรือ Workstation ก็อาจจะไม่ได้ใช้งานมากนัก และยิ่งไม่ได้มีอุปกรณ์ที่แรงหรือใช้งานหนักมาก ก็ช่วยลดการใช้พลังงานได้มาก ความร้อนแทบไม่ต้องกังวล เพราะเท่าที่ทดสอบนิ่งๆ อยู่ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส รวมไปถึงราคาอยู่ที่ราว 12,990 บาท ก็เป็นอะไรที่ง่ายมากในการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คดีไซน์น่ารักและใช้งานได้นานๆ
Award
สำหรับการทดสอบครั้งนี้ ASUS E410M รุ่นนี้ สามารถสร้างความโดดเด่นใน 2 ส่วนด้วยกันคือ ราคาที่ค่อนข้างประหยัด สอดคล้องกับประสิทธิภาพและการใช้งานที่ยาวนานพกพาสะดวก
Best Value
ASUS E410M แม้จะมาในสเปคที่เรียกว่าพื้นฐาน ทั้งซีพียูและแรม ซึ่งเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้เริ่มต้น ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คสำหรับการดู เช็ค และความบันเทิงง่ายๆ แต่สามารถใช้งานได้หลากหลาย ในการทดสอบ ด้วยสเปคดังกล่าวนี้ สามารถรองรับทั้งซอฟต์แวร์สำนักงาน เช่น Word, Excel รวมถึงการเปิดไฟล์งาน และพรีวิวภาพได้คล่องตัวในระดับหนึ่ง หรือจะเป็นการท่องเว็บ เช่นเดียวกับการดูวีดีโอสตรีมมิ่งก็ยังไหว ในกรณีที่ไม่ได้เปิดแท็ปบน Web browser มากเกินไปนัก นอกจากนี้ยังมีพอร์ตมาให้พอต่อการใช้งาน สนนราคาหมื่นนิดๆ แต่ได้ SSD 512GB มาด้วย จัดว่าคุ้มค่าน่าสนใจ
Best Mobility
ในเรื่องของการพกพาก็จะเห็นได้ว่าเราเน้นหนักมาตั้งแต่ต้น เพราะโน๊ตบุ๊คในลักษณะนี้ น่าจะต้องมีจุดที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกช่วงเวลา เรื่องของขนาดหน้าจอ 14″ และน้ำหนัก 1.3 กิโลกรัม จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความสะดวกต่อการใช้งาน หน้าจอไม่เล็กเกินไป และขอบจอที่บาง ส่วนคนที่อยากได้ Numpad ทาง ASUS ก็นำมาวางไว้บนทัชแพดให้ใช้งานง่ายขึ้น ที่สำคัญความร้อนที่รบกวนก็น้อย จึงคล่องตัวไม่ว่าจะใช้งานในบ้าน และนอกบ้าน เพราะแบตที่อึดพอสมควร เรียกว่าชาร์จเต็มที่บ้าน ออกไปใช้งานได้เกือบทั้งวัน รางวัล Best Mobility จึงเหมาะสม
VDO Review
Specification
ASUS E410N ที่ได้รับมาทดสอบนี้ เป็นโน๊ตบุ๊คกลุ่มไลฟ์สไตล์ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นกับการใช้งาน รวมถึงคนที่อาจมีพีซีหรือโน๊ตบุ๊คอยู่แล้ว ต้องการโน๊ตบุ๊คตัวที่สอง สำหรับใช้งานทั่วไป พกพาสะดวก ประหยัดพลังงาน โดยมีซีพียู Intel Pentium Silver N5030 ที่เป็นแบบ 4 core/ 4 thread ความเร็วเริ่มต้น 1.1GHz และขยับไปที่ 3.1GHz เมื่อเร่งความเร็วสูงสุด มีค่า TDP 6W เท่านั้น ทำงานร่วมกับแรม DDR4 4GB ซึ่งเป็นแรมออนบอร์ด กราฟิก iGPU ที่มีมาในซีพียู Intel UHD Graphic 605 โดยให้ SSD 512GB ซึ่งเป็นแบบ M.2 NVMe PCI มาด้วย กับหน้าจอแสดงผล TN 14″ ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล
บอดี้อาจไม่ได้บางในระดับ Ultra-slim แต่ก็บางพอสำหรับการพกพาได้ง่าย และน้ำหนักเพียง 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น มีพอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อ ประกอบด้วย USB 2.0 Type-A พื้นฐาน และ USB 3.2 Type-A และ Type-C พร้อมพอร์ต HDMI แบบเต็ม รองรับการเชื่อมต่อไร้สาย 802.11ac และ Bluetooth 4.2 แต่ไม่มี RJ-45 มาด้วย นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับ Windows 10 ให้ใช้งานได้ทันที ที่สำคัญยังให้ซอฟต์แวร์ MyASUS สำหรับการดูแล ตรวจเช็ค ขอความช่วยเหลือ และปรับแต่งระบบได้ด้วยตัวเอง การรับประกันของโน๊ตบุ๊ค ASUS อยู่ที่ 2 ปี ในแบบ Carry-In
Hardware / Design
ในส่วนของการออกแบบ ASUS E410M เป็นโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา พกพาง่าย ดูมีไลฟ์สไตล์ จะต่างจากในซีรีส์ของ VivoBook อยู่บ้าง ทั้งในส่วนของบอดี้ ขนาดและฟังก์ชั่น โดยหน้าจอ 14″ ทำให้สะดวกต่อการเดินทางและไม่ต้องใช้พื้นที่จัดวางมากเกินไป น้ำหนักที่เบาเพียง 1.3 กิโลกรัม เท่านั้น จึงใส่กระเป๋า หรือใส่ซอฟต์เคสเดินถือไปมาได้สะดวกกว่า ที่สำคัญกับการออกแบบลวดลายให้ดูสะดุดตา จะว่าเป็นแนวสตรีทก็ไม่เชิง กราฟิตี้ก็ไม่ใช่ แต่ก็สร้างความสดใสให้กับการใช้งานได้ เมื่อนำไปใช้นอกบ้าน วัสดุพื้นฐาน แต่ก็มีความแข็งแรง ซึ่งหากเทียบราคากับคู่แข่งแล้ว ถือว่า ASUS มาได้ถูกทาง แต่ก็อาจจะทำให้ VivoBook ต้องมีคู่แข่งไปด้วยเช่นกัน
บนฝาหลัง ASUS ตั้งใจใส่ลายกราฟิก ที่เป็นโลโก้ ASUS แยกชิ้นส่วนที่เป็นโครงสร้างออกเป็นลวดลายกระจายไปเต็มพื้นที่อย่างสมมาตร แต่ตรงกลางยังคงชื่อ ASUS ไว้ชัดเจน ซึ่งส่วนตัวคิดว่าน่าจะเติมความโดดเด่นให้โลโก้ตรงกลาง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ชัดเจนมากขึ้น โดยรุ่นที่ได้รับมารีวิวนี้ เป็นสี Dreamy White บอดี้หลักเป็นสีขาว ตัดของจอด้านในที่เป็นสีดำ แต่พื้นที่คีย์บอร์ดและที่วางมือเป็นสีเทา แต่ดูสอดคล้องกัน ส่วนที่สะดุดตา น่าจะเป็นการตัดเหลี่ยมมุมให้จับถือง่าย เพิ่มส่วนเว้าเข้าไปตรงที่เปิด-ปิดฝา Cover และปุ่มที่มีขอบสีเหลืองสะดุดตาบน Enter นั่นเอง
แต่สิ่งที่น่าจะทำให้กลุ่มผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือคนที่ชอบแสดงออกผ่านทางไลฟ์สไตล์ผ่านโน๊ตบุ๊คน่าจะเป็นเรื่องการออกแบบโดยรวม เพราะดูมีความเป็นกันเองมากขึ้น คือไม่ใช้โน๊ตบุ๊คที่คุณจะต้องคอยระวังเมื่อใช้งานหรือพกพา เพราะ ASUS ออกแบบให้บอดี้เกิดรอยยาก ลดวัสดุที่เพิ่มความเงางาม เมื่อเกิดรอยขีดข่วนจากการใช้งาน ก็จะมองแทบไม่เห็น รวมถึง Cover ที่มีกราฟิกกระจายทั่วไป จึงแทบไม่ต้องกังวลเรื่องรอยนิ้วมืออีกด้วย ส่วนด้านหน้าตรงจัดเปิดหน้าจอ ก็จะมีส่วนเว้าให้สอดนิ้วเข้าไปได้ เข้ากับบอดี้ได้สวยงาม และด้วยหน้าจอ 14″ แบบนี้ ก็เปิดกางได้ง่ายกว่า และยังกางได้ระดับ 180 องศาอีกด้วย
บริเวณด้านใต้ของโน๊ตบุ๊ค ASUS วางรูปแบบในการยกตัวเพื่อระบายความร้อน และมุมองศามาได้น่าสนใจ ด้วยยางรองวงกลมขนาดประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร 4 ชิ้น วางบน 4 จุด และยังมีแท่นเล็กๆ ที่อยู่ด้านท้ายเอาไว้ค้ำด้านท้ายให้ยกสูงขึ้น บานพับจะเป็น 2 จุดหลัก ซ้าย-ขวา ซึ่งจะต่างจากบรรดาหลายๆ ซีรีส์ที่จำหน่ายอยู่บ้าง แต่ก็จัดว่าแน่นหนาดี กล้องเว็บแคมด้านบนหน้าจอ พร้อมใช้งาน และมีไมโครโฟนมาด้วย แต่ไม่ได้มีสวิทช์สำหรับเปิด-ปิด มาให้ ยังคงควบคุมจากซอฟต์แวร์เป็นหลัก
วัสดุที่ทาง ASUS นำมาใช้ เป็นพลาสติกเกรดคุณภาพ ที่มีการปรับปรุงเรื่องของสีและลวดลายมาให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปกติสำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มเริ่มต้นทั่วไป แต่ที่น่าสนใจคือ งานประกอบที่ทำออกมาได้เนียนตาสวยงาม และเพื่อให้สมดุลกับน้ำหนัก กับหน้าจอขนาด 14″ นี้ อย่างไรก็ดีในเรื่องโครงสร้าง ยังคงเน้นไปที่โลหะ และการทำจุดเชื่อมต่อต่างๆ ให้แน่นหนา เช่น กรอบบานของหน้าจอ พอร์ตต่อพ่วง รวมไปถึงปุ่มกดที่หนักแน่น ไม่ยวบยาบให้เสียอารมณ์ กับส่วนสติ๊กเกอร์ที่ปรากฏอยู่บนโน๊ตบุ๊ค ประกอบด้วย คุณสมบัติเบื้องต้น เช่น Lightweight น้ำหนักเบา, กางหน้าจอได้ 180 องศา และมี NumbrerPad อยู่บนทัชแพด ตัดพื้นที่ตรง Numpad ที่เป็น Physical ไป มาไว้บนนี้แทน ส่วนอีกด้านก็จะมีสติ๊กเกอร์ซีพียู Intel Pentium และ Perfect Warranty พร้อม QR code สามารถสแกนเช็คได้
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ ASUS E410M รุ่นนี้ เน้นไปที่การใช้งานคล่องตัวบนบอดี้ 14″ ที่อาจมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ น้อยกว่า 15.6″ สิ่งที่ดูเหมือนจะขาดไปจะเป็น Numpad แต่ที่จริงแล้ว ASUS ย้ายเอามาไว้ที่ทัชแพดแทน ซึ่งจะสังเกตได้เลยว่า มีตัวเลขและสัญลักษณ์ต่างๆ มาอยู่บนทัชแพดที่มีขนาดใหญ่ 6″ ซึ่งการใช้งานก็เพียงแตะที่เครื่องหมาย On/Off ที่อยู่มุมบนขวาของทัชแพด เมื่อไฟสถานะปรากฏขึ้น ก็สามารถแตะที่ตัวเลขและใช้งานได้เลย เป็นลักษณะของปุ่มสัมผัส
นอกจากนี้ทัชแพดยังรองรับการทำงานแบบมัลติทัชบน Windows 10 ได้อย่างเต็มที่ ใช้งานได้ลื่นไหล ส่วนปุ่มกดซ้าย-ขวานั้นถูกซ่อนไว้ในทัชแพด ไม่ออกมาให้รู้สึกกวนใจ คลิ๊กง่ายขึ้นเยอะ
ส่วนคีย์บอร์ดเป็นแบบ 5 แถว พร้อมกับเมนูด้านบนอีกหนึ่งแถว เป็นปุ่มขนาดใหญ่สะใจคนที่นิ้วใหญ่ พิมพ์สัมผัสอย่างไรก็ไม่พลาด เป็นแบบแยกปุ่ม เป็นสัดส่วน น้ำหนักการกดไม่ต้องมาก ระยะการกดแค่ 1.4mm ก็ตอบสนองได้แล้ว ปุ่มเด้งรับกับแรงนิ้วได้ดี ไม่ยวบยาบ ปุ่มส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่ดี เพียงแต่ปุ่มลูกศร ถูกปรับให้เล็กลง อาจจะไม่ถนัดบ้างในช่วงแรก ในการใช้เลื่อนไปมา แต่ที่โดดเด่นคือ ปุ่ม Enter ที่ทำสีเหลืองมา ให้เป็นสไตล์ของคนรุ่นใหม่ ดูแล้วเร้าหรือให้อยากกด
และที่ดูค่อนข้างถูกใจคนที่ชอบคีย์ลัดหรือเมนูที่เรียกใช้งานง่ายๆ ASUS วางในส่วนนี้มาให้ใช้งานกันเต็มอิ่ม ไม่ว่าจะเป็น ปรับเสียง, ระดับความสว่างหน้าจอ, เปิด-ปิดทัชแพด, ปิดกล้องเว็บแคม, รวมถึงซอฟต์แวร์อย่าง MyASUS ที่ใช้ในการปรับแต่ง ตรวจเช็ค อัพเดตไดรเวอร์ และสิ่งต่างๆ ที่รวมอยู่ในนี้ครบครัน
Screen / Speaker
หน้าจอ ASUS E410M เป็นไซส์พกพา 14″ ความละเอียด Full-HD 1080p กับความบางของหน้าจอที่เรียกว่าไม่แพ้รุ่นพี่ๆ ขอบจอบางสุดอยู่ที่ราว 8 มิลลิเมตร พาแนล TN ให้ความคมชัด พอเหมาะสำหรับคนที่ใช้งานทั่วไป งานเอกสาร และความบันเทิงในแต่ละวัน โดยเป็นแบบ Anti-Glare ที่ลดแสงสะท้อนได้พอสมควร ซึ่งจากการทดลองนำไปใช้นอกสถานที่ เรื่องของแสงสะท้อนจากไฟต่างๆ แทบจะไม่ส่งผลต่อการมองเห็นมากนัก ส่วนเรื่องของความสว่าง ปรับสุดแล้ว สามารถสู้แสงได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งหากคุณไม่ได้ไปใช้กลางแจ้งแดดจัด จอนี้ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างแน่นอน ค่าสีให้อยู่ที่ 45% NTSC
ASUS เลือกตัดขอบโทนสีดำ เพื่อให้ดูแยกกับบอดี้อย่างชัดเจน แต่จุดที่เป็นไฮไลต์ของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ อยู่ที่ความสามารถในการกางออกได้ระดับ 180 องศา เพื่อเพิ่มความสะดวกต่อการใช้งานร่วมกันกับ
ระบบเสียงเป็นแบบ 2W Stereo ที่ติดตั้งมาเป็นมาตรฐาน เป็นลำโพงคู่อยู่ด้านใต้ของโน๊ตบุ๊คทั้งด้านซ้ายและขวา เรื่องคุณภาพเสียงสามารถกระจายเสียงได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ถ้าอยู่บนพื้นโต๊ะที่ไม่เตี้ยเกินไปนัก ก็จะช่วยเพิ่มรายละเอียดได้มากขึ้น ส่วนการดูหนังหรือเล่นเกม ทำได้ลงตัว เปิดเสียงเพิ่มระดับได้เกือบสุด ไม่แตกพร่าให้เสียอารมณ์ โทนเสียงเน้นกลาง ทุ้ม เบสได้บางๆ เสียงแหลมเก็บได้ในบางย่าน แต่ถ้าคุณอยากได้ที่แน่นๆ เสียงที่กระชับมาอีกหน่อย แนะนำให้ใส่หูฟัง จะเป๊ะปังมากกว่านี้ แม้จะไม่ได้มีผลต่อทิศทางเสียงมากนัก สำหรับลำโพงที่มีให้ แต่ก็ช่วยให้สนุกไปกับการชม กับระบบเสียง ASUS SonicMaster ซึ่งให้ความสนุกและบันเทิงได้แบบไม่เบื่อ
Connector / Thin And Weight
สำหรับพอร์ตเชื่อมต่อบน ASUS E410M นี้ อาจจะดูจำกัดไปบ้าง เพราะด้วยขนาดและลักษณะการใช้งานของโน๊ตบุ๊ค แต่ก็ยังคงมีพอร์ตมาให้ครบครัน เช่น USB 3.2 Type-A, USB 3.2 Type-C รวมถึง USB 2.0 ที่มีให้อย่างละ 1 พอร์ต นอกจากนี้ก็จะเป็น HDMI และ Combo audio jack รวมไปถึง micro SD card รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายมาตรฐาน WiFi 5 (802.11 ac) ขาดแค่เพียงช่องต่อ LAN RJ-45 เท่านั้น แต่เมื่อดูจากรูปแบบการใช้โน๊ตบุ๊คที่บางเบา ขนาดกระทัดรัดนี้ ต่อไร้สาย WiFi น่าจะให้ความสะดวกกว่ามาก
ส่วนมิติของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ แม้จะไม่ได้เรียกว่า Sleek แต่ก็เป็น Thin & Light ได้เช่นเดียวกัน กับหน้าจอขนาด 14″ นี้ และเลย์เอาท์ของคีย์บอร์ด ก็ใส่มาได้อย่างรัดกุม แม้จะเพิ่มคีย์ fn ด้านข้างมา และเป็นแบบปุ่ม 5 แถว ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าขยายบอดี้ออกไป จนเทอะทะ จุดสำคัญก็คือ ASUS เลือกใช้วัสดุ และการวางโครงสร้างที่ลงตัว ใส่ในกระเป๋าเป้ก็ได้ หรือจะสะพายข้างก็สะดวก เพราะน้ำหนักเบาเพียง 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น
Performance / Software
โดยที่ ASUS E410M มาพร้อมกับซีพียูรุ่นประหยัด ที่เอาใจกลุ่มผู้ใช้เบื้องต้นในตลาด Pentium N5030 ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1.10GHz และเพิ่มไปได้ถึง 3.1GHz เหมาะกับคนที่ไม่ได้เน้นพลังประมวลผลมากมายนัก กับการทำงาน ท่องเน็ตและความบันเทิงในแต่ละวัน แต่สามารถประหยัดพลังงาน ใช้งานได้ยาวนาน โดยในส่วนของการทดสอบ ก็สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้น่าสนใจ ด้วยการทำงานแบบ 4 core/ 4 thread ก็พอจะจัดการงานในแบบมัลติทาส์กกิ้งได้ ส่วนแรมมาค่อนข้างกระทัดรัด DDR4 4GB เท่านั้น เป็นแบบ On-board มา ซึ่งจะมีตัวเลือก 4GB และ 8GB แม้ว่าในปัจจุบันความจุระดับ 4GB อาจจะตอบสนองช้าไปบ้าง แต่ถ้าเซ็ตระบบให้เหมาะสมแล้ว ก็พอต่อการใช้งานพื้นฐานทั่วไปได้
การ์ดจอเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD 605 Graphics ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างเช่นในการทำงานกราฟิก 2 มิติหรืองานเอกสารทั่วไปนั้นก็รองรับได้ดีพอใช้ แต่เท่าที่ทำการทดสอบในเกม 3 มิติง่ายๆ ไม่ใช้ทรัพยากรมาก เช่น Bleach Brave ใน Steam ก็พอเล่นได้ไหลลื่น ส่วน PUBG Lite ในส่วนของ Ultra Low ก็ยังพอไหว แต่ภาพอาจจะดูยากเล็กน้อย
ส่วนในการทดสอบด้านกราฟิก 3 มิติ เรนเดอร์ภาพด้วย CINEBENCH R20 ที่เจาะจงไปที่การทำงานของซีพียูประมวลผล ก็เป็นไปตามคาด ตัวเลขอยู่ในระดับพอใช้ โดยต้องใช้เวลาในการทำงานค่อนข้างนาน ก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลก สำหรับซีพียูระดับ Pentium และยังเป็นโมบายบนโน๊ตบุ๊ค เพราะคงไม่มีใครใช้โน๊ตบุ๊คในกลุ่มนี้ มาทำงานอันหฤโหดแบบนี้ได้ ซึ่งหากต้องการใช้งานด้านนี้จริงๆ หรือเน้นหนักไปที่งานตัดต่อมากขึ้น ตัวเลือกอย่าง VivoBook ที่เป็น Core i5 ขึ้นไป น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่า แต่นั่นก็หมายความว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มราวหมื่นบาทเลยทีเดียว
ในด้านการจัดเก็บข้อมูล โน๊ตบุ๊ครุ่นนี้มาพร้อม SSD ในแบบ M.2 NVMe PCIe ของทาง WD ความจุ 512GB ซึ่งให้ความเร็วได้เหนือกว่า ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปและเร็วกว่า SSD SATA III เพราะให้ความเร็วในการทดสอบที่มากถึง 1,8xxMB/s (Read) และ 1,2xxMB/s (Write) ด้วยความเร็วระดับนี้ สามารถลดเวลาในการเปิดเครื่อง ให้เหลือเพียงไม่กี่วินาที รวมถึงการเปิดโปรแกรม โอนถ่ายไฟล์ และการทำงานอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความเร็วในการทำงานได้มากมาย
ส่วนการทดสอบด้วยโปรแกรม PCMark 10 ย้ำว่าแม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คระดับพื้นฐาน แต่ก็สามารถรันโปรแกรมนี้จนจบได้ ด้วยคะแนนที่ไม่ได้หวือหวานัก ด้วยตัวเลขที่ 1,847 คะแนน จัดว่าสร้างผลงานได้น่าพอใจ เพราะสามารถผ่านการทดสอบที่หนักหน่วง ด้วยการตัดต่อ งานเอกสาร มัลติมีเดียและอื่นๆ ได้อย่างไม่ยาก แม้จะเป็นซีพียูระดับ Pentium กับกราฟิกออน iGPU ก็ตาม แต่ถ้าได้แรมเยอะกว่านี้อีกหน่อย ก็น่าจะทำให้การขับเคลื่อนเพื่อเรียกคะแนนจากการทดสอบนี้ได้ลื่นยิ่งขึ้น อีกนัยหนึ่งก็คือ ทำให้การทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นกว่านี้
นอกจากเรื่องของการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์และเกมทดสอบแล้ว ในด้านซอฟต์แวร์ MyASUS ที่ติดตั้งมาให้กับผู้ใช้บนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นแหล่งรวมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ในการตรวจสอบดูแล และปรับแต่ง เพื่อจัดการระบบได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น การดูแลและตรวจสอบระบบ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ แก้ไขข้อผิดพลาด ตรวจเช็คเมื่อโน๊ตบุ๊คช้าและปัญหาจากการเชื่อมต่อไร้สายเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการชาร์จแบต, Splendid, Tru2Life การล็อคปุ่มและการใช้ WiFi SmartConnect เป็นต้น โดยในแต่ละหัวข้อก็ยังแยกย่อยออกไปอีก เพื่อให้การตั้งค่านั้่นเจาะลึกลงไปในฮาร์ดแวร์และฟีเจอร์แต่ละส่วน
นอกจากนี้ยังมีลิงก์ในซอฟต์แวร์ เพื่อติดต่อกับส่วนบริการของ ASUS ได้โดยตรง หรือจะใช้ในการจองคิวเพื่อซ่อมผ่านออนไลน์ได้อีกด้วย รวมไปถึง System Diagnostic ที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งาน คือแทบจะไม่ต้องไปหาทางแก้ของอาการแต่ละอย่างด้วยตัวเอง ในซอฟต์แวร์นี้มีช่องทางในการแก้ปัญหาให้เกือบครบ
Battery / Heat / Noise
เนื่องจากเป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียูในกลุ่มประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพระดับกลางๆ การที่ให้แบตเตอรี่ 3-cell ระดับ 3,600 mAh ก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละวัน ด้วยการทดสอบการใช้พลังงานด้วยการตั้งค่าความสว่างไว้ที่ระดับ 30% และระดับเสียง 30% รวมถึงปรับค่าโน๊ตบุ๊คให้ทำงานในโหมด Power Saver แล้วทดสอบด้วย Battmon จากนั้นเปิดการใช้งาน ด้วยการรันวีดีโอ Youtube อย่างต่อเนื่อง พร้อมการเชื่อมต่อ WiFi ด้วยการใช้พลังงานบนแบตเพียงอย่างเดียว ตัวเลขในการทำงานนั้นอยู่ที่ราว 12 ชั่วโมง หลังจากที่รันโปรแกรมไปได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต้องถือว่าเป็นตัวเลขที่ดีเลยทีเดียว ด้วยองค์ประกอบหลายอย่างร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอแสดงผล 14″ และการใช้พลังงานของซีพียูที่น้อย บวกกับไม่มีกราฟิกแยกมาด้วย
เมื่อเห็นตัวเลขอุณหภูมิ ที่ปรากฏขึ้นบนโปรแกรมทดสอบ OCCT ก็แทบจะไม่ต้องอธิบายเรื่องกระบวนการระบายความร้อนมากมายบนโน๊ตบุ๊คจาก ASUS รุ่นนี้ เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นคือ นอกจากซีพียูแล้ว แทบจะไม่มีสิ่งอื่นเข้ามาสร้างความร้อนให้กับระบบเลย แม้ว่าช่องระบายความร้อนบนโน๊ตบุ๊คจะไม่ได่เยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่ทำให้ความร้อนสูงเลย ถ้าดูจากตัวเลขที่ราว 68 องศาเซลเซียสในขณะที่ Full-load แบบ 100% ทำงานเต็มที่ทั้ง 4 core แบบนิ่งๆ หลังจากขยับไปที่ 85 องศาเซลเซียสในช่วงต้น ก็ถือว่า ASUS จัดการกับเรื่องอุณหภูมิได้ดีพอสมควร เพราะคงไม่มีใครที่จะทำงานให้ระบบทำงาน 100% แบบนี้ต่อเนื่องตลอดเวลาเป็นแน่
Conclusion / Award
มาสรุปในภาพรวมของโน๊ตบุ๊ค ASUS E410M รุ่นนี้ กับการใช้งานในช่วงหลายวันที่ผ่านมา จุดหนึ่งที่น่าจะทำให้ผู้ใช้ชื่นชอบ น่าจะเป็นเรื่องของความง่าย ไม่ซับซ้อน ตามสไตล์ของโน๊ตบุ๊คที่มีความเป็นกันเอง ที่ทาง ASUS มักจะออกแบบมาให้ผู้ใช้ดังที่เห็นกันใน VivoBook หรือโน๊ตบุ๊คระดับมิดเอนด์ เพราะกลุ่มนี้จะไม่ได้เน้นฟีเจอร์ล้ำๆ มาก เนื่องจากต้องการเพียงสิ่งที่ต้องใช้ในแต่ละวันเท่านั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานครบ และเรียกใช้งานได้เร็ว ก็ตอบโจทย์แล้ว อย่างไรก็ดีเรื่องของบอดี้และดีไซน์ ASUS ก็ยังยืนหนึ่งในเรื่องการออกแบบ แม้วัสดุที่มาบนโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ จะไม่เน้นความหรูหรา แต่สิ่งที่ได้มาคือ น้ำหนักที่เบาเพียง 1.3 กิโลกรัม และขนาด 14″ เหมาะกับการพกพา เหมาะกับคนที่ชอบความสบาย เพราะจับถนัดมือ ไม่เป็นรอยง่ายอีกด้วย
ส่วนเรื่องสเปคตรงนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของแต่ละบุคคล เพราะถ้ามองกันที่เป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องที่สอง หรือใช้เป็นเครื่องพื้นฐานเรียนรู้สำหรับเด็กๆ หรือจะเป็นการใช้งานเอกสาร และความบันเทิงทั่วไป ก็จัดว่าเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดแก้ไขงานเอกสาร หรือการดูหนัง การเปิดแท็ปท่องเว็บไซต์ 5-6 แท็ป รวมถึงดู Youtube ด้วย ก็ดูจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการเล่นเกมนั้น ก็ต้องว่ากันไปในแต่ละเกม เพราะในการทดสอบด้วย PUBG Lite จะเล่นให้พอไหลลื่นได้ ก็ต้องปรับความละเอียดแบบต่ำสุดๆ ทำให้ภาพที่ได้ไม่สวยเท่าที่ควร นอกจากกราฟิกที่มีให้ เรื่องของแรมระดับ 4GB ก็อาจจะไม่พอในการขับเคลื่อนได้ดีพอ แต่ในเกมบางอย่าง เช่น Bleach ที่เป็นกึ่ง 2D/3D จะให้ภาพที่ลื่นไหล ซึ่งถ้าเล่นเกมในแนวนี้ก็สบายใจได้
หน้าจอแสดงผลขนาด 14″ ขอบข้างทั้ง 2 ด้านบางลงตามสมัยนิยม ก็ทำให้ได้พื้นที่ในการใช้งานได้เยอะ ความละเอียด Full-HD ก็ดูจะสอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน แต่ในโน๊ตบุ๊คเริ่มต้นเช่นนี้ เรื่องของความสว่างน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมองเห็นได้ชัดกว่า เรื่องของขอบเขตสี อยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ และเป็นไปตามราคาและกลุ่มการใช้งาน ที่เน้นการ View มากกว่า Edit เพราะหากจะเน้นเรื่องสี ในการทำงานด้านกราฟิกหรือวีดีโอ แนะนำขยับไปที่ ZenBook ขึ้นไปจะดีกว่า แต่ราคาก็ขยับตามไปด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าสเปคของตัวเครื่องมาในแบบพื้นฐาน ไม่ได้หวือหวาถ้าเทียบกับ VivoBook 14 หรือ 15 แต่ถ้ามองในแง่ของการใช้งานที่ง่าย สำหรับคนที่ไม่ได้เน้นพลังการทำงาน แค่มาใช้เปิดเน็ต ดูหนัง ฟังเพลงและการทำเอกสารทั่วไป ก็เรียกได้ว่าแทบจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แต่จุดสำคัญอยู่ที่ คุณสามารถเข้าถึงงาน เอกสารและไฟล์ได้ในทุกที่ เพราะทาง ASUS จัดแบตเตอรี่มาให้เกือบเท่ากับโน๊ตบุ๊คทำงานทั่วไป จากการทดสอบกับการใช้งานเกิน 10 ชั่วโมง ก็น่าจะพอสำหรับการใช้งานในแต่ละวัน อีกทั้งพอร์ตต่อพ่วงสำคัญ ก็มีมาให้เกือบครบ น่าจะขาดแค่ RJ-45 เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันถ้าไม่ได้เป็นโน๊ตบุ๊คในกลุ่มเกมมิ่งหรือ Workstation ก็อาจจะไม่ได้ใช้งานมากนัก และยิ่งไม่ได้มีอุปกรณ์ที่แรงหรือใช้งานหนักมาก ก็ช่วยลดการใช้พลังงานได้มาก ความร้อนแทบไม่ต้องกังวล เพราะเท่าที่ทดสอบนิ่งๆ อยู่ไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส รวมไปถึงราคาอยู่ที่ราว 12,990 บาท ก็เป็นอะไรที่ง่ายมากในการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คดีไซน์น่ารักและใช้งานได้นานๆ
Award
สำหรับการทดสอบครั้งนี้ ASUS E410M รุ่นนี้ สามารถสร้างความโดดเด่นใน 2 ส่วนด้วยกันคือ ราคาที่ค่อนข้างประหยัด สอดคล้องกับประสิทธิภาพและการใช้งานที่ยาวนานพกพาสะดวก
Best Value
ASUS E410M แม้จะมาในสเปคที่เรียกว่าพื้นฐาน ทั้งซีพียูและแรม ซึ่งเหมาะสำหรับกลุ่มผู้ใช้เริ่มต้น ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คสำหรับการดู เช็ค และความบันเทิงง่ายๆ แต่สามารถใช้งานได้หลากหลาย ในการทดสอบ ด้วยสเปคดังกล่าวนี้ สามารถรองรับทั้งซอฟต์แวร์สำนักงาน เช่น Word, Excel รวมถึงการเปิดไฟล์งาน และพรีวิวภาพได้คล่องตัวในระดับหนึ่ง หรือจะเป็นการท่องเว็บ เช่นเดียวกับการดูวีดีโอสตรีมมิ่งก็ยังไหว ในกรณีที่ไม่ได้เปิดแท็ปบน Web browser มากเกินไปนัก นอกจากนี้ยังมีพอร์ตมาให้พอต่อการใช้งาน สนนราคาหมื่นนิดๆ แต่ได้ SSD 512GB มาด้วย จัดว่าคุ้มค่าน่าสนใจ
Best Mobility
ในเรื่องของการพกพาก็จะเห็นได้ว่าเราเน้นหนักมาตั้งแต่ต้น เพราะโน๊ตบุ๊คในลักษณะนี้ น่าจะต้องมีจุดที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทุกช่วงเวลา เรื่องของขนาดหน้าจอ 14″ และน้ำหนัก 1.3 กิโลกรัม จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความสะดวกต่อการใช้งาน หน้าจอไม่เล็กเกินไป และขอบจอที่บาง ส่วนคนที่อยากได้ Numpad ทาง ASUS ก็นำมาวางไว้บนทัชแพดให้ใช้งานง่ายขึ้น ที่สำคัญความร้อนที่รบกวนก็น้อย จึงคล่องตัวไม่ว่าจะใช้งานในบ้าน และนอกบ้าน เพราะแบตที่อึดพอสมควร เรียกว่าชาร์จเต็มที่บ้าน ออกไปใช้งานได้เกือบทั้งวัน รางวัล Best Mobility จึงเหมาะสม