Connect with us

Hi, what are you looking for?

Gaming Gear

HyperX Cloud Stinger Wireless เกมมิ่งตัวจริง ไร้สาย เสียงแน่น พกสะดวก

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ ดูเหมือนโมเดลของหูฟังเกมมิ่งแบบไร้สายจะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเทรนด์การใช้หูฟังแนวนี้ ก็มีมากตามไปด้วย เพราะให้ความคล่องตัวมากกว่า ซึ่งบางรุ่นก็รองรับการเชื่อมต่อ WiFi อย่างเดียว แต่บางรุ่นก็มาพร้อมการสนับสนุนทั้ง Bluetooth และ Wireless ทำให้มีตัวเลือกอยู่เยอะ สำหรับเหล่าเกมเมอร์ในช่วงนี้ เช่นเดียวกับทาง HyperX ที่เป็นอีกค่ายหนึ่ง ซึ่งปล่อยเกมมิ่งเกียร์รุ่นใหม่ลงสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มาวันนี้ได้อัพเลเวลให้กับหูฟัง Wireless ในซีรีส์ของ CLOUD STINGER สำหรับไลฟ์สไตล์ของคอเกมที่ชอบอิสระ ราคาสบายกระเป๋า

HyperX Cloud Stinger 028

Advertisement

HyperX Cloud Stinger Wireless เป็นหูฟังไร้สายที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง ของไลน์หูฟังเกมมิ่งจากค่ายนี้ เพราะเปิดราคามาราว 2,200 บาท โดยประมาณ ที่ใช้การเชื่อมต่อบนความถี่ 2.4GHz ออกแบบมาสำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ โดยใช้อแดปเตอร์ที่เป็นตัวส่งสัญญาณต่อเข้ากับคอม ก็ใช้งานได้เลย แบตเตอรี่ใช้งานได้ราว 17 ชั่วโมงต่อการชาร์จ ครอบหูฟังปรับได้ 90 องศา มาพร้อมไดรเวอร์ขนาด 50mm ครอบหูฟังยังคงเป็นเมมโมรีโฟมที่เป็นเอกลักษณ์ของทาง HyperX เน้นการใช้งานแบบต่อเนื่อง โครงสร้างโลหะให้ความยืดหยุ่น แต่แข็งแรง ไมโครโฟนเป็นแบบตัดเสียงรบกวนได้ แต่ถอดออกไม่ได้ ปรับตัวก้านได้เพียงอย่างเดียว เหมาะกับเกมเมอร์ที่อยากได้ความคล่องตัวในการเล่นเกม และการเคลื่อนไหวที่สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

Specification

เฮดโฟน

  • ไดร์เวอร์: 50 มม. แบบไดนามิคพร้อมแม่เหล็กนีโอดีเนียม
  • ประเภท: แบบครอบเต็ม ปิดด้านหลัง
  • ความถี่: 20Hz-20,000Hz
  • ความต้านทาน: 32 Ω
  • ระดับแรงดันเสียง: 109dBSPL/mW ที่ 1kHz
  • T.H.D.: < 2%
  • น้ำหนัก: 270 ก.
  • ความยาวและประเภทสายต่อ: สายชาร์จ USB (1 ม.)

ไมโครโฟน

  • ส่วนประกอบ: ไมโครโฟนอีเล็คเตรทคอนเดนเซอร์
  • รูปแบบขั้ว: ระบบตัดสัญญาณรบกวน
  • ความถี่: 100Hz-7,000Hz
  • ความไว: -47dBV (0dB=1V/Pa,1kHz)
  • เวลาใช้งานแบตเตอรี่1: 17 ชั่วโมง
  • ช่วงสัญญาณไร้สาย2: 2.4GHz
  • ระยะสัญญาณ: สูงสุด 12 เมตร

 

การออกแบบและฟังก์ชั่น

 

HyperX Cloud Stinger 030

ดีไซน์ของหน้ากล่อง HyperX ยังคงใช้ธีมสีขาวคาดด้วยลายสีแดง ให้ดูเป็นแนวเกมเมอร์และสีใช้ในการแข่งขัน โดยมีภาพกราฟิกของหูฟังให้เห็นกันชัดๆ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ

HyperX Cloud Stinger 033

ด้านในกล่องเมื่อแกะออกมาแล้ว ประกอบด้วยตัวหูฟัง CLOUD STINGER Wireless และ Receiver พร้อมสายชาร์จ

HyperX Cloud Stinger 010

มาดูรายละเอียดของตัวหูฟังกัน HyperX เลือกใช้โทนสีดำด้าน ให้มีพื้นผิวเล็กน้อย เพื่อการจับได้ถนัดมือ และด้านซ้ายของหูฟัง จะเป็นปุ่มเปิด-ปิด และไมโครโฟน

HyperX Cloud Stinger 011

HyperX Cloud Stinger 012

เมมโมรีโฟมบน Earcup ถือเป็นเอกลักษณ์ของ HyperX ให้ความนุ่มนวลและสบายหูมากขึ้น หุ้มด้วยวัสดุแบบหนัง ทำให้รู้สึกกระชับสบาย ตรงจุดนี้อยู่ที่ความชอบของผู้ใช้ ใครชอบแบบผ้าก็คงต้องดูรุ่นอื่นไปก่อน

HyperX Cloud Stinger 014

ในแง่ของขนาด Earcup จะไม่ได้ใหญ่มาก แต่ก็ครอบหูได้พอดี ไม่บีบจนรู้สึกอึดอัด ซึ่ง HyperX มักจะเว้นระยะไม่มากนัก ตามสไตล์หูฟังอีสปอร์ต เพื่อให้มีขนาดกระทัดรัด ไม่เทอะทะจนเกินไป

HyperX Cloud Stinger 015

HyperX Cloud Stinger 019

ไมโครโฟนเป็นแบบตัดเสียงรบกวน ให้การสื่อสารได้ดี ติดอยู่ตรงที่ถอดสายไม่ได้ แต่เป็นแบบก้านอ่อน ให้ผู้ใช้ดัดไปตามรูปแบบที่ต้องการ

HyperX Cloud Stinger 016

ก้านหูฟังปรับได้หลายระดับ เพื่อให้กระชับเข้ากับศีรษะของผู้ใช้ สามารถปรับเลื่อนได้ขณะที่วางอยู่บนศีรษะ ไม่ซับซ้อนใช้ง่ายดี

HyperX Cloud Stinger 018

HyperX Cloud Stinger 006

ครอบหูฟังหมุนได้ 90 องศา ตรงจุดนี้ถือเป็นไฮไลต์ของหูฟัง CLOUD STINGER Wireless รุ่นนี้ เพราะเวลาคล้องไว้ที่คอ จะไม่เกะกะสร้างความรำคาญ ต่างจากรุ่นที่หมุนไม่ได้ ตามตัวอย่างจากภาพ

HyperX Cloud Stinger 020

ครอบหูฟังด้านซ้ายจะเป็นจุดรวมการเชื่อมต่อต่างๆ ซึ่งรวมถึงพอร์ต micro USB สำหรับใช้ในการเชื่อมต่อและชาร์จไฟ

HyperX Cloud Stinger 021

 

HyperX Cloud Stinger 022

ที่รองศีรษะด้านบนเป็นฟองน้ำหุ้มด้วนหนัง และมีโลโก้ HyperX ให้เห็นได้เด่นชัด สามารถดัดได้เล็กน้อย กระจายน้ำหนักได้ดี

HyperX Cloud Stinger 023

ผู้ใช้สามารถปรับเลื่อนไมโครโฟนไปตามแบบที่ต้องการได้ แต่ที่สำคัญคือ ปิดเสียงไมค์ได้ด้วยการดันก้านไมค์ขึ้นไปด้านบน และเปิดใช้งานเมื่อดันลงมาด้านล่าง สะดวกดีทีเดียว

HyperX Cloud Stinger 024

HyperX Cloud Stinger 025

HyperX Cloud Stinger 026

ส่วนครอบหูฟังทางด้านขวา จะมีปุ่มปรับเพิ่ม-ลดเสียง เป็นแบบปุ่มเลื่อนได้สะดวกอย่างยิ่ง

HyperX Cloud Stinger 008

การใช้งานค่อนข้างง่ายเลยทีเดียวสำหรับบนพีซี ด้วยการต่ออแดปเตอร์เข้ากับพอร์ต USB จากนั้นหูฟังจะเชื่อมต่อเข้ากับระบบ และใช้ง่านได้ทันทีบนวินโดวส์ 10

HyperX Cloud Stinger 029

HyperX Cloud Stinger 007

 

HyperX Cloud Stinger 032

Conclusion

HyperX Cloud Stinger 004

มาว่ากันที่การใช้งานของหูฟัง HyperX CLOUD STINGER Wireless ที่เป็นหูฟังเกมมิ่งไร้สายรุ่นนี้กัน ในแง่ของการออกแบบ ค่อนข้างที่จะเรียบง่าย แต่ให้ฟังก์ชั่นสำหรับการใช้งานที่จำเป็นมาครบ ตามสไตล์ของหูฟังไร้สาย โดยเฉพาะน้ำหนักที่เบา และก้านหูฟังปรับเลื่อนได้สะดวก ครอบหูฟังหมุนได้ 90 องศา คือสิ่งที่จำเป็นที่เกมเมอร์ส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยได้สัมผัสกันนัก แต่ให้การใช้งานได้ดี โดยเฉพาะคนที่ไม่อยากวางหูฟังไว้บนโต๊ะ แต่คล้องคอเดินไปมาในบ้านได้สะดวก ไม่ต้องกลัวหูฟังจะค้ำคอ ให้หันหัวกันลำบาก นอกจากนี้ Earcup ที่เป็นแบบเมมโมรีโฟม ยังคงเป็นหัวใจหลักในการให้ความสะดวกสบาย และความกระชับ นุ่มนวลและยังลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของฟังก์ชั่น ดูเหมือน HyperX จะไม่ได้ใส่ลูกเล่นเยอะเกินไปให้มากความ เพราะหลักๆ จะจบในตัวหูฟังด้านซ้าย สำหรับการเปิด-ปิด และไมโครโฟน ที่ใช้ได้สะดวกรวดเร็ว โดยไมค์นั้นจะเปิด-ปิดอัตโนมัติ เมื่อเลื่อนก้านของไมค์ขึ้นด้านบนหรือลงด้านล่าง ส่วนการปรับเสียงอยู่ที่ครอบหูฟังด้านขวา ที่เพิ่ม-ลดเสียงได้ง่ายเช่นกัน เพียงแต่อาจจะต้องทำความคุ้นเคยเล็กน้อย เพราะค่อนข้างเลื่อนทางด้านหลังของตัวหูฟังเยอะทีเดียว การปรับเสียงระหว่างการเล่น อาจจะวืดได้เหมือนกัน

เรื่องของคุณภาพเสียง แม้ว่าจะเป็นหูฟังไร้สาย แต่ HyperX ก็จัดเต็มมาให้เหมือนกัน ด้วยไดรเวอร์ขนาด 50mm เสียงที่ได้ถือว่าคมชัด เสียงกลางแน่น และเพิ่มแหลมขึ้นมาเด่นอีกนิดหน่อย สำหรับคอเกมและดูหนัง ฟังเพลง ด้วยเสียงเอฟเฟกต์ในเกมที่เล่นได้เต็มอรรถรส แม้จะไม่หวือหวา เมื่อเทียบกับ CLOUD ในรุ่นพี่ๆ แต่ถือว่าทำได้น่าสนใจ ตอบโจทย์ในเกมที่เอฟเฟกต์กระหน่ำและทิศทางของเสียงได้ดีพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น Battlefield หรือ PUBG ที่เสียงระเบิดจากรถถังและศัตรู ซึ่งสร้างความตื่นเต้นได้ดี เช่นเดียวกับการเก็บรายละเอียดของเสียง เช่น กระจกแตก เสียงกระสุนหรือฝนตกก็ตาม นอกจากนี้เอามาใช้ฟังเพลง ก็เพลินๆ ได้เหมือนกัน

 

จุดเด่น

  • สวมใส่สบาย น้ำหนักเบา
  • ครอบหูฟังเมมโมรีโฟม นุ่มนวล
  • ให้เสียงกลางแน่น เหมาะกับการเล่นเกม
  • ตอบสนองเสียงรอบทิศทางได้ดี

ข้อสังเกต

  • อแดปเตอร์ค่อนข้างใหญ่ เมื่อใช้กับโน๊ตบุ๊ค
  • รองศีรษะค่อนข้างยืดหยุ่นได้น้อย

ราคา: ประมาณ 2,290 บาท

ติดต่อ: ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เกมมิ่งเกียร์ HyperX ทั่วประเทศ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Accessories review

Sony WF-1000XM5 ภาคต่อหูฟังขั้นเทพ เสริมสุดยอดประสบการณ์ฟังเพลงให้เหนือชั้น!! ผ่านไป 2 ปี หลังจาก Sony ส่ง Sony WF-1000XM4 หูฟังที่ขึ้นชื่อเรื่องฟังเพลงดีตัดเสียงได้เยี่ยม ปีนี้ก็เป็นเวลาของรุ่นใหม่อย่าง Sony WF-1000XM5 ซึ่งหูฟัง True Wireless ตัวใหม่นี้ แม้บางคนเห็นสเปคกับดีไซน์หลายๆ อย่างแล้วอาจรู้สึกไม่อยากอัพเดทเป็นรุ่นใหม่ก็จริง แต่ทางบริษัทก็ไม่กั๊กสเปคหรือย้อมของเก่ามาขายอย่างแน่นอน เริ่มจากไดรเวอร์ก็อัพเดทจากรุ่นก่อนเป็น...

Buyer's Guide

หูฟังไร้สายเล่นเกม 8 รุ่นงบ 3,000 บาท ใส่สบาย แบตอึด เสียงคมชัด Surround ตัดเสียงรบกวนปี 2023 รุ่นไหนโดน หูฟังไร้สายสำหรับคอเกมที่จัดมาให้เป็นแนวทางทั้ง 8 รุ่นในปี 2023 นี้ รวมมาให้ทั้งในเรื่องของราคาที่จับต้องได้ และมีดีไซน์ไม่ธรรมดา จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการเล่นเกมได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเกมแนว Action, MOBA หรือ...

CONTENT

หูฟัง Bluetooth ไร้สายพร้อมสายคล้องแบบนี้บอกเลย ถูกใจสายออกกำลังกายแน่นอน! หูฟัง Bluetooth ไร้สายนอกจากดีไซน์ยอดนิยมอย่าง True Wireless ที่ผู้ผลิตแต่ละบริษัทใส่ใจพัฒนาแล้วเปิดตัวโมเดลใหม่ๆ เป็นประจำ แต่หูฟัง TWS ก็มีข้อเสียใหญ่หลวงอยู่ คือ ถ้าใครเป็นคนขี้ลืมแล้วทำหายสักข้างก็ใช้งานไม่ได้แล้วเจ้าหูฟังตัวโปรดก็ต้องไปลงเอยในถังขยะอุปกรณ์ไอที หรือวางทับกระดาษทิ้งไว้ให้เสียอารมณ์ หรือดีหน่อยใช้ AirPods ก็ยังไปซื้อแยกข้างมาใช้ได้บ้าง ดังนั้นถ้าใครเจอปัญหาหรือห่วงว่าจะเกิดปัญหานี้ หูฟัง Bluetooth ไร้สายแบบมีสายคล้องคอ...

Buyer's Guide

อยากฟังเพลงให้ฟิน ตอนนี้ต้องมีหูฟังบลูทูธเด็ดๆ ติดกระเป๋าเอาไว้สักตัวแล้วแหละ! หูฟังบลูทูธเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาหลายปีแล้วตั้งแต่ใช้ต่อมือถือคุยโทรศัพท์ทั่วไป พัฒนาจนมีสายคล้องคอแบบ Neckband ที่สายออกกำลังกายชื่นชอบเพราะถอดหูฟังก์ไม่หล่นหายเพราะสายช่วยรั้งตัวสายหูฟังไว้ จนกระทั่งเทคโนโลยีการย่อชิ้นส่วนก้าวหน้าเป็นอย่างมากก็ทำให้หูฟังบลูทูธแบบ True Wireless ก็ถือกำเนิดขึ้นในโลกในที่สุด สำหรับหูฟังบลูทูธแบบ True Wireless หลายคนอาจคิดว่า Apple AirPods เป็น TWS รุ่นแรกของโลก ซึ่งผิดถนัดเพราะ AirPods รุ่นแรกเปิดตัวเมื่อปี 2016...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก