ในปัจจุบันนั้นเราจะเห็นได้ครับว่าผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมนั้นเริ่มจะให้ตัวเลือกหน้าจอที่มาพร้อมกับ refresh rate สูงถึง 300 Hz แล้ว (อย่างเช่นทาง Acer และ ASUS ที่พึ่งจะมีการเปิดตัวในงาน IFA 2019 นี้) แน่นอนครับว่าอีกไม่นานนักเราน่าจะได้เห็นการเปิดตัวของโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่มาพร้อมกับ refresh rate 300 Hz มากขึ้นเรื่อยๆ ทว่าสิ่งหนึ่งที่ควรจะคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือว่าเราจำเป็นแล้วจริงๆ หรือไม่ที่จะต้องใช้หน้าจอที่มาพร้อมกับ refresh rate สูงขนาดนั้นครับ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันเล็กน้อยครับเพราะเชื่อได้ว่ามีหลายๆ ท่านที่เข้าใจผิดกันเป็นอย่างมากว่าเมื่อหน้าจอมาพร้อมกับ refresh rate สูงๆ แล้วนั้นนั่นหมายความว่าเวลาเล่นเกมจำนวนเฟรมภาพที่แสดงผลได้ในแต่ละวินาที(FPS) นั้นก็จะสูงตามไปด้วยซึ่งมันไม่ใช่ความจริงครับ refresh rate ของหน้าจอนั้นจะเป็น native refresh rate ที่สูงที่สุดที่หน้าจอสามารถรองรับได้ครับ ทว่าในการเล่นเกมนั้นคุณจะขับ FPS ออกมาได้เท่าไรนั้นมันขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผลและชิปกราฟิกมากกว่าครับ
แต่ก็ใช่ว่า native refresh rate สูงๆ แล้วจะไม่ดีนะครับ หน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate สูงๆ นั้นจะช่วยทำให้การแสดงผลเฟรมภาพต่อวินาทีนั้นดีมากกว่าหน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate ต่ำๆ ก็เท่านั้น(เฉพาะถ้าเครื่องคุณแรงพอ) ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงยังเห็นว่าหน้าจอสำหรับการเล่นเกมส่วนใหญ่นั้นจะยังไม่ได้มาพร้อมกับ native refresh rate ที่สูงไปกว่า 144 Hz สักเท่าไรนัก โดยลองไปดูผลการทดสอบการเล่นเกมต่างๆ นั้นคุณจะเห็นได้ว่าต่อให้กราฟิกการ์ดของคุณเป็นรุ่นใหม่ที่แรงมากขนาดไหน FPS ที่ได้ก็จะไม่ได้สูงเกิน 240 Hz เท่าไรครับ
Acer Predator Triton 500 โน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่มาพร้อม native refresh rate 300 Hz โดยใช้ชิปกราฟิกแยก RTX 2080
สำหรับหน้าจอที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AMD FreeSync หรือ NVIDIA G-Sync ที่มาพร้อมกับความสามารถในการปรับ refresh rate ให้เป็นไปตามที่ชิปกราฟิกสามารถขับ FPS ออกมาได้จริงนั้นเราจะไม่พูดถึงครับ ณ จุดๆ นี้เราจะพูดถึงหน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate สูงแต่ไม่รองรับเทคโนโลยีทั้ง 2 ดังกล่าวนี้ ข้อดีของการที่หน้าจอมาพร้อมกับ native refresh rate สูงนั้นก็คือมันจะรองรับกับ refresh rate ในช่วงต่างๆ กันได้มากกว่าหน้าจอที่มี native refresh rate ต่ำๆ ครับ โดยในการหาว่า refresh rate ของหน้าจอนั้นจะปรับลงมาได้เท่าไรนั้นจะทำได้ด้วยการหาตัวหารที่ต่ำกว่า 15 ซึ่งสามารถหาร native refresh rate ลงตัวได้ซึ่งจะเป็นไปตามตารางนี้ครับ
จากตารางนั้นจะเห็นได้ครับว่ายิ่งหน้าจอมี native refresh rate สูงมากเท่าไรหน้าจอดังกล่าวนั้นก็จะมีอัตรา refresh rate ที่รองรับได้มากขึ้นเท่านั้น สิ่งที่เราต้องดูกันนั้นก็คือว่ากราฟิกชิปของคุณสามารถที่จะทำการขับเหรมภาพต่อวินาทีได้เท่าไรตัวหน้าจอก็จะแสดงภาพได้นิ่งมากขึ้นครับ
ตัวอย่างเช่นสมมติว่าตัวเกมนั้นมีเฟรมภาพต่อวินาทีเฉลี่ยอยู่ที่ 75 FPS นั้นหมายความว่าหน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate 60 Hz จะแสดงผลภาพได้สูงสุดก็แค่ 60 FPS เท่านั้น ในขณะที่มองหน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate 144 Hz ก็จะพบว่าตัวหน้าจอนั้นจะสามารถแสดงผลภาพได้ที่ 72 FPS ในขณะที่หน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate 300 Hz นั้นก็จะสามารถแสดงผลภาพได้ที่ 75 Hz แบบเต็มๆ ครับ
ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ครับว่าการที่หน้าจอมาพร้อมกับ native refresh rate สูงนั้นก็จะมีช่วงของการรองรับในการแสดงผลเฟรมภาพต่อวินาทีมากกว่าหน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate น้อยๆ นั่นเองครับ ถ้าถามว่ามันดีกว่าไหมนั้นก็คงต้องบอกว่าดีกว่าครับ ทว่าหน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate สูงๆ นั้นก็จะมีราคาสูงมากขึ้นตามไปด้วยแถมยิ่งบนโน๊ตบุ๊คแล้วนั้นเราก็ไม่สามารถที่จะอัพเกรดชิปกราฟิกเองได้เหมือนกับเครื่องเล่นเกมที่เราประกอบขึ้นมาเอง
ดังนั้นบอกได้เลยครับว่า ณ ปัจจุบันนั้นกับหน้าจอที่มาพร้อมกับ native refresh rate 300 Hz นั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นมากนักต่อให้มันมีกราฟิกชิปที่แรงมากแค่ไหน นอกจากที่มันจะแสดงผลไม่ได้เต็มประสิทธิภาพแล้วนั้นราคาของมันก็จะแพงกว่าโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับ native refresh rate ต่ำๆ เป็นอย่างมากครับ
ที่มา : notebookcheck