และแล้วทาง AMD นั้นก็ได้ทำการเปิดตัวหน่วยประมวลผลระดับ Server อย่างเป็นทางการครับกับ EPYC Rome ที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรม Zen 2 ภายใต้กระบวนการผลิตที่ระดับ 7 nm ซึ่งตัวหน่วยประมวลผล EPYC Rome ที่มีการเปิดตัวออกมานั้นจะมีให้ผู้ใช้ได้เลือกหลายรุ่นตามจำนวนแกนการประมวลผลตั้งแต่ 8 Core 16 thread ไปจนถึง 64 Core 128 Thread ซึ่งทาง AMD นั้นได้บอกเอาไว้ว่า EPYC Rome รุ่นที่ 2 นี้นั้นจะมาพร้อมกับ IPC มากกว่า EPYC Rome รุ่นแรกที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen ถึง 15% ทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าแถมการใช้พลังงานนั้นก็ดีกว่า EPYC Rome รุ่นแรกอีกด้วยครับ
ในงานเปิดตัวนั้นทาง AMD ได้เชิญคู่ค้าของทาง AMD ที่ตัดสินใจเลือกใช้ EPYC Rome รุ่นที่ 2 นี้มาพูดด้วยอย่างมากมายครับ สำหรับคู่ค้าที่มีการเข้ามาพูดในงานนี้นั้นประกอบไปด้วย
- Google ที่ได้บอกเอาไว้ว่าจะนำเอา EPYC Rome ไปใช้กับตัวเครื่องที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานภายในของ datacenter โดยมีกำหนดการเอาไว้ในช่วงปลายปี 2019 นี้ รวมทั้งจะยังเอาไปใช้กับ Google Cloud Compute Engine อีกด้วยครับ
- Twitter นั้นก็จะนำเอา EPYC Rome ไปใช้กับตัวเครื่องที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานภายในของ datacenter ภายในปีนี้ด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการลด TCO ถึง 25% ครับ
- Microsoft ได้มีการโชว์ Azure virtual machines สำหรับการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงและนำเอา HPC workloads ที่ใช้ EPYC Rome เป็นคุมพลังงานครับ
- HPE ประกาศการสนับสนุนการใช้งาน EPYC Rome ให้กับบอร์ดเครื่อง Server ของตัวเองอย่าง HPE ProLiant DL385 และ HPE ProLiant DL325
- Cray ได้ออกมาประกาศว่าสำนักงานพยากรณ์อากาศจะยังคงใช้ Cray Shasta system ที่ได้มีการเปลี่ยนมาใช้ EPYC Rome รุ่นที่ 2 อยู่ต่อไปครับ
- Lenovo ประกาศเปิดตัวเครื่อง Server ของตัวเองที่ใช้ EPYC Rome รุ่นที่ 2 อย่าง ThinkSystem SR655 และ SR635
- Dell ประกาศเตรียมทำการเปิดตัวเครื่อง Server รุ่นใหม่ที่ใช้ EPYC Rome รุ่นที่ 2 ในเร็วๆ นี้
- VMware และ AMD ประกาศร่วมกันพัฒณาระบบความปลอดภัยและฟีเจอร์ใหม่ๆ ต่างๆ ที่ใช้พลังงานจาก EPYC Rome รุ่นที่ 2 พร้อมทั้งจะนำเอา EPYC Rome รุ่นที่ 2 ไปใช้กับ VMware vSphere ด้วยครับ
ในส่วนของตัวสถาปัตยกรรม Zen 2 นั้นทำให้ EPYC Rome รุ่นที่ 2 มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ๆ ดังต่อไปนี้ครับ
- Improved Execution Pipeline
- Doubled Floating Point (256-bit) and Load/Store (Doubled Bandwidth)
- Doubled Core Density
- Half the Energy Per Operation
- Improved Branch Prediction
- Better Instruction Pre-Fetching
- Re-Optimized Instruction Cache
- Larger Op Cache
- Increased Dispatch / Retire Bandwidth
- Maintaining High Throughput for All Modes
งานนี้นั้นเรียกได้ว่าทาง AMD ทำให้ Intel ต้องทำการบ้านแบบหนักๆ แล้วครับเพราะทาง AMD เองนั้นได้เปิดแผนการปล่อยหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen ออกมาแบบยาวๆ คงต้องรอดูต่อไปครับว่าสงครามในครั้งนี้นั้นทาง Intel จะตอบกลับอย่างไรแล้วการตอบกลับมานั้นจะสู้กับทาง AMD ได้หรือไม่ครับ
ที่มา : wccftech