ASUS พร้อมขายแล้วสำหรับ ASUS X509F ที่เป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 15.6″ เน้นดีไซน์เรียบหรูคุ้มค่ารุ่นใหม่ ใช้สเปก Core i7-8565U การ์ดจอเป็น GeForce MX250 โดยมีราคาที่ 26,990 บาท ได้สเปกใหม่ล่าสุด มาพร้อมแรม 16GB และ SSD ความจุสูงที่ 256GB + HDD 1TB โดยมีระบบปฏิบัติการ Windows 10 พร้อมใช้งาน จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจในปี 2019 โดดเด่นที่ตัวเครื่องเบาแค่ 1.8 กิโลกรัม และมิติตัวเครื่องเทียบเท่าโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14″ เท่านั้นเอง จากการที่มีดีไซน์ขอบจอบางตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คปีนี้
ASUS X509FL เน้นตอบโจทย์คนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6″ พาเนล IPS คุณภาพดี ที่มีบางเบาหน่อย เน้นใช้งานทั่วไปในทุกๆ วัน กับราคาที่ไม่สูงมาก แต่ได้ประสิทธิภาพแรงเกินคุ้มค่า รองรับการทำงานพื้นฐานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นทำงานเอกสาร เล่นอินเตอร์เน็ต ดูหนังฟังเพลงดูซีรีส์สตรีมมิ่งต่างๆ หรือตัดต่อวีดีโอก็ยังได้ เหมาะสำหรับคนหาโน๊ตบุ๊คคุ้มๆ ไม่แพง โดยมีเล่นเกมออนไลน์พอได้บ้าง ซื้อมาแล้วจบไม่ต้องอัพอะไร นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานเน้นความเรียบง่ายอีกรุ่นที่น่าสนใจจริงๆ
Specification
แอดมินโป้งได้รับ ASUS X509FL จากทาง ASUS ประเทศไทย เป็นตัวขายจริง สเปกภายในใช้ชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i7-8565U ความเร็ว 1.80 – 4.60 GHz เป็นสถาปัตยกรรม 14 nm ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด การ์ดจอแยกเป็น NVIDIA GeForce MX250 (2GB GDDR5) ประสิทธิภาพดีรองรับการเล่นเกม 3 มิติออนไลน์พอได้ แรมให้มาขนาด 16GB DDR4 แบบแถวเดียว สำหรับฮาร์ดดิสก์ให้มาทั้ง SSD ความเร็วสูงแบบ NVMe M.2 ความจุ 256GB และ HDD 1TB ส่วนหน้าจอเป็นขนาด 15.6″ ที่ได้ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี
นอกจากนี้ ASUS X509FL ยังมีลำโพงคุณภาพทำงานร่วมกับระบบเสียง ASUS SonicMaster ส่วนพอร์ตที่ให้มาก็ครบครัน ได้แก่ USB 3.1 Type-C, USB 3.1 Type-A , 2 x USB 2.0 Type-A, HDMI, และ microSD card reader รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Dual-band Wi-Fi 5 (802.11ac) และ Bluetooth 4.2 ด้วย รองรับการทำงานทุกไลฟ์สไตล์ ในราคาเบาๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานได้ทันที พร้อมการรับประกัน 2 ปี ปีแรกได้ประกันอุบัติเหตุ
โดยในตอนนี้ ASUS X509FL มีอีกสเปกที่ใช้ชิปประมวลผล Intel อย่าง Core i5-8265U ส่วนแรมจะเป็น 8GB และฮาร์ดดิสก์จะมีเพียงฮาร์ดดิสก์ธรรมดา 1TB เท่านั้น สำหรับอื่นๆ เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอเป็น NVIDIA GeForce MX250 พร้อมมี Windows ใช้งานได้ทันที กับส่วนต่าง 7,000 บาท ส่วนตัวแล้ว แนะนำว่าถ้างบถึง 26,990 บาท จัดตัวนี้เลยดีกว่า ใช้งานยาวๆ ไม่ต้องอัพเกรดอะไรเพิ่ม
- X509FL | Windows 10/i5-8265U/RAM 8GB/HDD1TB/MX250/FHD 15.6″ ราคา 19,990 บาท
- X509FL | Windows 10/i7-8565U/RAM 16GB/HDD1TB/MX250/FHD 15.6″ ราคา 26,990 บาท
Hardware / Design
ASUS X509FL ได้ดีไซน์บางเบา Thin & Light ขอบจอบางเฉียบ NanoEdge ทั้ง 4 ด้าน สัดส่วนจอแสดงผล 82.5% เหมาะสำหรับคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพง แต่ได้ความสวยงามคุ้มค่า ที่จะมาพร้อมกับโมเดลที่มีการปรับเปลียนดีไซน์ใหม่ทั้งหมดจาก X Series รุ่นก่อนๆ มาพร้อมสีสัน 2 เฉดสี ไม่ว่าจะเป็น สีเงิน (Transparent Silver) และสีเทา (Slate Grey) ซึ่งคือสีนำมารีวิว ซึ่งขอบจอด้านในจะตัดเป็นสีดำดูแล้วมีความสวยงามลงตัว ตามสไตล์ของ ASUS ที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะตัว
จัดได้ว่า ASUS X509FL เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6″ ที่ทำมาได้สวยดูดีเกินราคา มีความเรียบง่ายเน้นพกพา ด้วยน้ำหนักเพียง 1.8 กิโลกรัมเท่านั้น รวมไปถึงมิติตัวเครื่องมีความเล็กกระชับเทียบเท่าโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14″ เท่านั้น ฝาหลังจะเป็นไปตามสีของตัวเครื่อง ประกอบกับวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงให้สัมผัสที่ดีน่าประทับใจพร้อมกางจอได้สูงสุดที่ 145 องศา ขอบจอตัวเครื่องก็บางมากๆ ดูแล้วลดขนาดตัวเครื่องลงไปได้เยอะเลยทีเดียว ยิ่งใส่กระเป๋าเดินทางไปไหนมาไหนสบายๆ
ตัวเครื่อง ASUS X509FL จะเป็นพลาสติกคุณภาพดีทั้งหมดแต่ภายในได้มีโครงสร้างโลหะ ให้ความแข็งแรงและสวยงามพร้อมความเรียบง่าย แน่นอนว่ามโลโก้ ASUS ตามปกติ ส่วนตัวด้านล่างก็จะเป็นพลาสติกเช่นกัน ทำให้ตัวเครื่องน้ำหนักที่เบา ส่วนตัวเครื่องด้านในจะเป็นพลาสติกโดยมีผิวไม่ต่างจากภายนอกส่งผลให้เวลาที่เราเอามือมาวางบนคีย์บอร์ดจะรู้สึกการสัมผัสที่ดูเหนือชั้นกว่าวัสดุพลาสติกทั่วๆ ไป แถมเป็นรอยนิ้วมือค่อนข้างยากอีกด้วย อย่างไรก็ตามงานประกอบแน่นหนาไว้ใจได้อยู่
สำหรับช่องระบายความร้อนถูกติดตั้งไว้ด้านขวาพร้อมเป่าลมระบายออกมาทางช่องด้านซ้าย โดยเป็นการใช้งานพัดลมระบาย 1 ตัว ช่วยนำพาความร้อนชิปประมวลผล ซึ่งการใช้งานโดยรวมถือว่าเอาอยู่ มีช่องดูดลมเย็นด้านล่างตัวเครื่องร่วมกับช่องดูดลมเย็นด้านหลัง ส่งผลให้ถ่ายเทความร้อนได้อย่างรวดเร็วน่าประทับใจ ไม่รบกวนการทำงานของเราขณะใช้งานเลย นับได้ว่า ASUS X509FL เป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงแต่ ASUS ใส่ใจในการออกแบบทุกรายละเอียดจริงๆ เหมาะกับทั้งสาวๆ หรือหนุ่มๆ ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คซักเครื่องที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน
Keyboard / Touchpad
ในส่วนของคีย์บอร์ด ASUS X509FL ติดตั้งคีย์บอร์ดเป็นปุ่มพลาสติกสีเดียวกับตัวเครื่องสกรีนตัวอักษรสีเมา มีการออกแบบมาให้ปุ่มมีขนาดใหญ่พอดีกับนิ้วมือตัดขอบมน ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น มีระยะกดเด้งในส่วนการสัมผัสให้การสัมผัสที่นุ่มกำลังดี การตอบสนองทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วกันและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด ปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมบนขวากลืนไปกับคีย์บอร์ด ส่วนปุ่ม Fn ที่เป็นทางลัดต่างๆ ติดตั้งอยู่ชุดคีย์บอร์ดแถวบนเป็นมาตรฐาน ใช้งานได้สะดวก พร้อมแป้นตัวเลข Numpad ก็มีให้ใช้งานปกติ แม้อาจจะแคบหน่อย แต่ก็ยังถือว่าพอใช้งานได้อยู่
ตัวทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ดีไซน์ออกมาแบบซ่อมปุ่ม ไม่มีปุ่มแยกเป็นชิ้นเดียวทั้งคลิกซ้ายคลิกขวา ซึ่งขอบรอบๆ มีกรเล่นสีสันเป็นโปร่งแสงสะดุดตา พร้อมตัวทัชแพดเองจะมีสีเข้มกว่าตัวเครื่องด้วย การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ที่ให้มาสามารถควบคุมจัดการได้ดีเมื่อใช้งานร่วมกับ Windows 10 โดยใช้งานแบบมัลติทัชได้ลื่นไหลพอสมควร
Screen / Speaker
ASUS X509FL ได้ติดตั้งหน้าจอด้านขนาด 15.6″ มีขอบที่บางมากตามสไตล์ NanoEdge โดยให้พื้นที่หน้าจอถึง 82.5% ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS คุณภาพดีมีความเรียบเนียนตากว่ามาตรฐาน 1366 x 768 พิกเซล HD แบบเดิมๆ ให้มุมมองที่ค่อนข้างกว้างกว่าพาเนล TN ทั่วไปอย่างชัดเจน ถ้าบอกตรงๆ ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว แต่ถ้ามองมุมขึ้นลงหรือซ้ายขวาก็จะเห็นถึงความต่าง ให้ประสบการณ์การใช้งานที่น่าประทับใจมากเมื่อเทียบกับราคาที่จ่าย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คจอ 14″ ที่ให้สีจอที่ดีทีเดียว
แม้ขอบจอจะบางเฉียบแต่ก็ได้ติดตั้งกล้องเว็บแคมไว้ด้านบนเหมือนเดิม เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบ การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS X509FL ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด
การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS X509FL ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB 61% / AdobeRGB 46% เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีเมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คในราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูงในประมาณนึงจัดว่าอยู่ในระดับกลางๆ ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 220 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว กับคะแนนรวมแล้วอยู่ที่ 3.5
ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอเลือกใช้ลำโพง SonicMaster ให้เสียงที่ดีในระดับหนึ่ง มีทั้งเสียงเบสที่มีน้ำหนักบางๆ ไม่ใช่ใส่แต่เสียงกลาง เสียงแหลมออกมาอย่างเดียว โดยตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น ทำให้เสียงที่ค่อนข้างดังพอสมควร แยกรายละเอียดได้ซ้ายขวาได้ดี โดยรวมถือในส่วนของลำโพงถือว่าทำออกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป ทั้งในคุณภาพเสียงที่ได้และเสียงดังฟังชัดเพียงพอจะออกไปในนอกสถานที่ได้ ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก
Connector / Thin And Weight
ASUS X509FL ในเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อก็ถือว่ามีความครบครัน ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต USB 3.1 Type-A จำนวนหนึ่งพอร์ต (น่าจะให้มาสักสอง) ไว้สำหรับการเชื่อมต่อกับแฟลชไดร์ฟหรือฮาร์ดดิสก์ภายนอกไว้ถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว พอร์ต USB 2.0 Type-A อีกสองพอร์ตที่ไว้เชื่อมต่อกับเมาส์หรืออุปกรณ์อื่นๆ และมีพอร์ต USB 3.1 Type-C มาให้อีกหนึ่งพอร์ท ทางด้านพอร์ทการเชื่อมต่อหน้าจอก็จะมีพอร์ท HDMI มาให้ รูเชื่อมต่อหูฟังเป็นแบบ Combo ไมค์และหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร ส่วนช่องอ่าน microSD Card จะอยู่ด้านขวามือตัวเครื่อง แต่หากใครที่ต้องการใช้พอร์ท Lan คงต้องหาซื้ออแดปเตอร์แปลง USB to Lan เอาเอง
ขนาดของโน๊ตบุ๊คตัวนี้ถือว่ามีมิติที่ค่อนข้างเล็กและบางเบา น้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม และตัวอแดปเตอร์ที่ชาร์จเองก็มีขนาดเล็ก กะทัดรัดซึ่งเมื่อรวมเข้าไปด้วยกันแล้วน่าจะมีหนักราวๆ ไม่เกิน 2 กิโลกรัม ถือว่ามีน้ำหนักที่มีความเบามากๆ เลยทีเดียว เพราะปกติแล้วโน๊ตบุ๊ค 15.6″ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัมขึ้นไปแน่นอน ซึ่ง ASUS X509FL ออกแบบมาเพื่อตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ เอาไปใช้ตามร้านกาแฟออนไลน์ หรือทำงานที่มหาวิทาลับชิลๆ เลยล่ะ
Inside / Upgrade
การแกะเครื่องเพื่ออัพเกรด ASUS X509FL นั้นสามารถทำได้ง่าย โดยเฉพาะในส่วนของแรมและฮาร์ดดิสก์เพียงแค่ไขน็อตทุกตัวรอบฝาล่างออก จากนั้นใช้บัตรแข็งค่อยๆ รูดถอดออกที่ละส่วน จากด้านหลังมาด้านหน้าทีละข้าง งานประกอบการจัดวางตำแหน่งดูแล้วเรียบง่าย (ไปหน่อย) โดยอาศัยพัดลมทางด้านซ้ายของภาพ ดูดลมเย็นจากใต้ตัวเครื่องและด้านหลัง จากนั้นเป่าลมเย็นออกไปให้โดนฮีทไปป์พร้อมฟินทองแดงที่มีอยู่น้อยนิด เพื่อไล่ลมร้อนออกไปทางช่องขวามือ
ซึ่งแรมกับฮาร์ดดิสก์จะแยกส่วนกันอย่างชัดเจน ที่เห็นได้ถึงแรมสามารถติดตั้งได้ 1 แถว โดยติดตั้ง 16GB มาแล้วส่วน SSD M.2 NVMe ติดมาแล้วที่ 256GB มีการติดตั้งใกล้ๆ กับพัดลม ส่วนอื่นๆ ก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ 2.5″ ที่ให้มาอยู่แล้วเป็นมาตรฐานความจุ 1TB โดยมีคุณสมบัติ E A R ™ HDD ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลจากแรงกระแทกทางกายภาพ ที่คอยตรวจจับการกระแทกและการสั่นสะเทือนผ่านแกนทั้ง 3 โดยอัตโนมัติเพื่อลดโอกาสที่ HDD จะเสียหาย โดยรวมแล้วการแกะตัวเครื่อง ASUS X509FL เพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดก็สามารถทำได้ง่ายและก็สะดวกทีเดียว
Performance / Software
ASUS X509FL มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home Single Language มาตั้งแต่แกะกล่อง ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงเรื่องลิขสิทธิ์ Windows เลยครับ ส่วนถ้าต้องการเคลียร์เครื่อง ก็สามารถใช้งานฟังก์ชัน Reset this PC ที่อยู่ใน Settings ของ Windows 10 ได้เลยโดยไม่ต้องฟอร์แมต SSD เพื่อลง Windows ใหม่
เมื่อตรวจสอบข้อมูลของชิปประมวลผลด้วยโปรแกรม CPU-Z ก็พบว่าข้อมูลขึ้นมาครบถ้วนเลยครับ โดย ASUS X509FL เลือกใช้ชิป Intel Core i7-8565U ที่มี 4 คอร์ 8 เธรดสำหรับการประมวลผล ความเร็วที่ 1.8 – 4.6 GHz มีค่า TDP ในการปลดปล่อยความร้อนสูงสุดแค่ 15W เท่านั้น ซึ่งจัดว่าต่ำมากสำหรับชิป Core i7 ในโน๊ตบุ๊ค ทำให้ตัวเครื่องโดยรวมไม่ร้อนจนเกินไป ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการใช้สถาปัตยกรรมการผลิตที่ระดับ 14 นาโนเมตร
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 620 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา และนอกจากนี้ยังมาพร้อมกับการ์ดจอน้องเล็กรุ่นล่าสุดอย่าง NVIDIA GeForce MX250 (2GB GDDR5) ที่ประสิทธิภาพที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับ GTX 950m เลยทีเดียว ซึ่งสามารถเล่นเกม 3 มิติ พอได้บ้าง เดี๋ยวไปดูผลทดสอบกันอีกที
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้เป็น SSD ความเร็วสูงแบบ NVMe M.2 ที่ความจุ 256GB ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจ กับความเร็วระดับ Read: 1741 MB/s – Write: 589 MB/s ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหลน่าประทับใจมากๆ
ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ ความจุอยู่ที่ 1TB แบบความเร็วรอบ 5400 ที่ติดตั้ง Flash Memory มาให้ด้วย ทำการเทสกับโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่เป็น 107.2 MB/s และสูงสุดที่ 273.2.6 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 256.6.8 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 0.519 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว ยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ SSD M.2 NVMe แล้ว การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหลน่าประทับใจมากๆ
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,056 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ ส่วนถ้าเอาไปใช้งานหนักๆ เช่นงานประมวลผล ตัดต่อวีดีโอ โปรเซสไฟล์ภาพความละเอียดสูง รวมไปถึงเล่นเกม 3 มิติ ซึ่งก็พอได้ แต่คงตอบสนองได้ไม่เท่าพวก Gaming Notebook หรือโน๊ตบุ๊คแรงๆ ที่ใช้ Core i ตระกูล H และการ์ดจอ GTX / RTX
ทดสอบเกมสำหรับ ASUS X509FL คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 3 ออนไลน์ เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยค่อนข้างลื่นไหล น่าประทับใจทีเดียว เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คที่ไม่ได้เน้นเล่นเกมมาก ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-8565U ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce MX250 ประกอบกับยังใช้แรม 16GB DDR4 รวมไปถึง SSD + HDD ก็ส่งผลช่วยด้วย
เกมออนไลน์อย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมด ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ใกล้เคียง 60 ขึ้นไปตลอด แต่ในส่วนของเกมอื่นๆ อย่าง Overwatch / PUBG ที่ปรับกลางๆ อาจจะมีเฟรมเรทตกไปต่ำกว่า 30 บ้าง ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเป็นเกมออนไลน์ที่กินทรัพยากรพอตัวเหมือนกัน ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ก็ถือว่าเล่นได้สบายๆ อยู่
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ของ ASUS X509FL เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ตัวแบตเตอรี่มีขนาด 3 Cell สามารถทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้นในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) โหมด Power Saver นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ตามมาตรฐาน ยังไงเป็นไปได้พกพาอแดปเตอร์ไปด้วยตลอดเวลาจะดีกว่า ยังไงก็เล็กๆ เบาๆ อยู่แล้ว น่าสนใจตรงที่มีคุณสมบัติชาร์จเร็วช่วยเติมพลังให้แบตเตอรีจาก 0-60% ได้ภายในเวลาเพียง 49 นาที
ทางด้านอุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 40 – 50 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่ด้วยการเล่นเกมยาวๆ ทั้ง DOTA 2 / Overwatch / PUBG จะเห็นว่า CPU จะร้อนที่สุดที่ 100 องศาเซลเซียส และ GPU อยู่ที่ 93 องศาเซลเซียส นับว่าเรื่องระบบระบายความร้อนของ ASUS X509FL เครื่องนี้ทำออกมาได้ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก ASUS ที่ออกแบบมาไม่นำพาความร้อนเท่าที่ควร จากที่แกะฝาล่างดูแล้วก็ไม่น่าแปลกในใจเท่าไร ต่างจาก ASUS VivoBook ที่ดูเหมือนว่าจะระบายความร้อนได้ดีกว่า ส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่าด้วย
Conclusion / Award
เป็นโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งซีรีส์ที่ทุกๆ คนให้ความสนใจอย่าง ASUS X509FL ที่ต่อยอดความสำเร็จตระกูล X Series รุ่นปีก่อน ได้เป็นอย่างดีมาพร้อมความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ภาพลักษณ์ วัสดุ งานประกอบ รวมไปถึงสเปคประสิทธิภาพและประสบการณ์ใช้งาน สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คราคาคุ้มค่าไม่แพงแต่ได้สเปกที่ดีของทาง ASUS ที่ทุกคนต่างในการยอมรับ เหมาะกับนักเรียนนักศึกษา คนทำงานออฟฟิศ ที่เน้นความเรียบง่ายดูไม่เยอะ
ทางด้านราคา ASUS X509FL เทียบกับสเปกที่ได้แล้วถือว่าไม่แพง ทำให้จับต้องจับจองได้ง่ายๆ สนนราคาเริ่มต้นที่ 19,990 บาท ซึ่งเหนือกว่าในเรื่องดีไซน์การออกแบบ ErgoLift ยกตัวเอียงให้สูงขึ้น และด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กขอบจอบางเทียบและมีหน้าจอขนาด 14 นิ้ว แต่มีขนาดบอดี้ น้ำหนัก มีขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 1.8 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังได้ชิปประมวลผล แรม ฮาร์ดดิสก์ ที่พร้อมใช้งาน รวมถึง SSD ที่มากกว่าคู่แข่งอื่นๆ ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมดีเยี่ยมนั่นเอง
สรุปแล้ว ASUS X509FL ถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ดีในช่วงราคานี้ เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงเหมาะกับการทำงานทั่วไป หรือหนักๆ อย่างตัดต่อวีดีโอ ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก หรือถ้าจะเล่นเกมบ้างก็สามารถทำได้ดีลื่นไหล ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง แต่ในส่วนของข้อสังเกตุต้องบอกตรงๆ เลยเรื่องระบบระบายความร้อนยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรนัก
เมื่อเทียบกับ ASUS VivoBook S S531 ที่เคยรีวิวไปแล้ว (มีราคาสูงกว่า 3,000 บาท) เพราะเมื่อใช้งานหนักๆ อุณหภูมิพุ่งสูงไปมากกว่าพอตัว ส่งผลให้ประสิทธิภาพน้อยกว่าด้วย ทั้งๆ ที่ใช้ชิปประมวลผลและการ์ดจอรุ่นเดียวกัน อีกทั้งแบตเตอรี่ก็ใช้งานได้เพียง 3 ชั่วโมง ยังไงก็ต้องพกพาอแดปเตอร์ไปด้วยเพื่อความแน่นอน
ปิดท้ายด้วยการรับประกันก็ตามมาตรฐานของ ASUS ที่แม้ว่าจะไม่ออนไลน์อย่างหลายๆ แบรนด์ แต่ก็สามารถเคลมผ่านทาง 7-11 ได้สะดวกไม่แพ้กัน รวมไปถึงในปีแรกแค่เราลงทะเบียนก็จะได้ประกันอุบัติเหตุในปีแรก อย่าง Perfect Warranty แล้ว ถือว่าได้อยู่เพราะก็มีจุดเด่นต่างกันออกไป ให้เราได้ตัดสินใจเลือกอีกที
จุดเด่น
- เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6 นิ้ว แต่มีขนาดตัวเครื่องเล็กเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 14 นิ้ว
- น้ำหนักเบา ตัวเครื่องบาง วัสดุดี มีให้เลือก 2 สีสัน ตามสไตล์การใช้งาน
- หน้าจอมีความละเอียดสูงระดับ Full HD พาเนล IPS ให้สีสันดีกว่า TN
- ขอบจอบางเฉียบด้วย เทคโนโลยี Nano Edge บางพิเศษกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
- ใช้งานจริงลื่นไหลแบบสุดๆ ด้วย i7 + MX250 + RAM 16GB + SSD 256GB +HDD 1TB
- เทคโนโลยี Fast charging ที่ให้แบตเตอรี่เต็ม 60% ได้ใน 49 นาที
- มี Windows 10 แท้มาให้พร้อมใช้งานทันที
- ประกัน 2 ปีเคลมผ่าน 7-11 ได้ พร้อมประกันอุบัติเหตุ 1 ปีแรก
ข้อสังเกต
- อุณหภูมิร้อนสุดสูงไป เพราะระบบระบายความร้อนไม่ค่อยดีนัก
- แบตเตอรี่น่าจะใช้งานยาวนานที่ 3 ชั่วโมง
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS X509FL ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-8565Uทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด ประสิทธิภาพไว้ใจได้ พร้อมกราฟฟิการ์ดตัวบนอย่าง NVIDIA GeForce MX250 (2GB GDDR5) ที่ทั้ง 2 อย่างนี้แรงเหลือเฟือในการใช้งานทั่วไป มีที่เก็บข้อมูลรองรับการติดตั้ง SSD 256GB +HDD 1TB ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 16GB แบบ DDR4 แน่นอนทั้งตัวเครื่องนั้นแทบไม่ต้องอัพเกรดอะไร ลื่นไหลที่สุดอย่างไร้กังวล รองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ ในราคาที่ไม่แพงมากนัก
Best Design
เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ X Series มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS X509FL ยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโดดเด่น ให้มิติที่เล็กกระชับลงกว่าเดิม ขอบจอบางเฉียบ แต่มีการออกแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ออกแนวพรีเมียมและเรียบหรูมากยิ่งขึ้น ด้วยการสีสันให้เลือกถึง 2 เฉด ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาเชื่อได้ว่าหลายๆ คนส่วนมากต้องชื่นชอบอย่างแน่นอน
พิเศษสำหรับท่านที่ซื้อรุ่นซึ่งมาพร้อมกับ Intel Core i7 รับฟรีโปรแกรม Ultimate creativity pack โปรแกรมทำงาน 14 โปรแกรม ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้เท่านั้น อย่างลืมไปลงทะเบียนรับโปรแกรมฟรีกันนะครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม >>คลิก<<
Specification
แอดมินโป้งได้รับ ASUS X509FL จากทาง ASUS ประเทศไทย เป็นตัวขายจริง สเปกภายในใช้ชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i7-8565U ความเร็ว 1.80 – 4.60 GHz เป็นสถาปัตยกรรม 14 nm ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด การ์ดจอแยกเป็น NVIDIA GeForce MX250 (2GB GDDR5) ประสิทธิภาพดีรองรับการเล่นเกม 3 มิติออนไลน์พอได้ แรมให้มาขนาด 16GB DDR4 แบบแถวเดียว สำหรับฮาร์ดดิสก์ให้มาทั้ง SSD ความเร็วสูงแบบ NVMe M.2 ความจุ 256GB และ HDD 1TB ส่วนหน้าจอเป็นขนาด 15.6″ ที่ได้ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพดี
นอกจากนี้ ASUS X509FL ยังมีลำโพงคุณภาพทำงานร่วมกับระบบเสียง ASUS SonicMaster ส่วนพอร์ตที่ให้มาก็ครบครัน ได้แก่ USB 3.1 Type-C, USB 3.1 Type-A , 2 x USB 2.0 Type-A, HDMI, และ microSD card reader รวมไปถึงการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Dual-band Wi-Fi 5 (802.11ac) และ Bluetooth 4.2 ด้วย รองรับการทำงานทุกไลฟ์สไตล์ ในราคาเบาๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานได้ทันที พร้อมการรับประกัน 2 ปี ปีแรกได้ประกันอุบัติเหตุ
โดยในตอนนี้ ASUS X509FL มีอีกสเปกที่ใช้ชิปประมวลผล Intel อย่าง Core i5-8265U ส่วนแรมจะเป็น 8GB และฮาร์ดดิสก์จะมีเพียงฮาร์ดดิสก์ธรรมดา 1TB เท่านั้น สำหรับอื่นๆ เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอเป็น NVIDIA GeForce MX250 พร้อมมี Windows ใช้งานได้ทันที กับส่วนต่าง 7,000 บาท ส่วนตัวแล้ว แนะนำว่าถ้างบถึง 26,990 บาท จัดตัวนี้เลยดีกว่า ใช้งานยาวๆ ไม่ต้องอัพเกรดอะไรเพิ่ม
- X509FL | Windows 10/i5-8265U/RAM 8GB/HDD1TB/MX250/FHD 15.6″ ราคา 19,990 บาท
- X509FL | Windows 10/i7-8565U/RAM 16GB/HDD1TB/MX250/FHD 15.6″ ราคา 26,990 บาท
Hardware / Design
ASUS X509FL ได้ดีไซน์บางเบา Thin & Light ขอบจอบางเฉียบ NanoEdge ทั้ง 4 ด้าน สัดส่วนจอแสดงผล 82.5% เหมาะสำหรับคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพง แต่ได้ความสวยงามคุ้มค่า ที่จะมาพร้อมกับโมเดลที่มีการปรับเปลียนดีไซน์ใหม่ทั้งหมดจาก X Series รุ่นก่อนๆ มาพร้อมสีสัน 2 เฉดสี ไม่ว่าจะเป็น สีเงิน (Transparent Silver) และสีเทา (Slate Grey) ซึ่งคือสีนำมารีวิว ซึ่งขอบจอด้านในจะตัดเป็นสีดำดูแล้วมีความสวยงามลงตัว ตามสไตล์ของ ASUS ที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะตัว
จัดได้ว่า ASUS X509FL เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6″ ที่ทำมาได้สวยดูดีเกินราคา มีความเรียบง่ายเน้นพกพา ด้วยน้ำหนักเพียง 1.8 กิโลกรัมเท่านั้น รวมไปถึงมิติตัวเครื่องมีความเล็กกระชับเทียบเท่าโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14″ เท่านั้น ฝาหลังจะเป็นไปตามสีของตัวเครื่อง ประกอบกับวัสดุพลาสติกคุณภาพสูงให้สัมผัสที่ดีน่าประทับใจพร้อมกางจอได้สูงสุดที่ 145 องศา ขอบจอตัวเครื่องก็บางมากๆ ดูแล้วลดขนาดตัวเครื่องลงไปได้เยอะเลยทีเดียว ยิ่งใส่กระเป๋าเดินทางไปไหนมาไหนสบายๆ
ตัวเครื่อง ASUS X509FL จะเป็นพลาสติกคุณภาพดีทั้งหมดแต่ภายในได้มีโครงสร้างโลหะ ให้ความแข็งแรงและสวยงามพร้อมความเรียบง่าย แน่นอนว่ามโลโก้ ASUS ตามปกติ ส่วนตัวด้านล่างก็จะเป็นพลาสติกเช่นกัน ทำให้ตัวเครื่องน้ำหนักที่เบา ส่วนตัวเครื่องด้านในจะเป็นพลาสติกโดยมีผิวไม่ต่างจากภายนอกส่งผลให้เวลาที่เราเอามือมาวางบนคีย์บอร์ดจะรู้สึกการสัมผัสที่ดูเหนือชั้นกว่าวัสดุพลาสติกทั่วๆ ไป แถมเป็นรอยนิ้วมือค่อนข้างยากอีกด้วย อย่างไรก็ตามงานประกอบแน่นหนาไว้ใจได้อยู่
สำหรับช่องระบายความร้อนถูกติดตั้งไว้ด้านขวาพร้อมเป่าลมระบายออกมาทางช่องด้านซ้าย โดยเป็นการใช้งานพัดลมระบาย 1 ตัว ช่วยนำพาความร้อนชิปประมวลผล ซึ่งการใช้งานโดยรวมถือว่าเอาอยู่ มีช่องดูดลมเย็นด้านล่างตัวเครื่องร่วมกับช่องดูดลมเย็นด้านหลัง ส่งผลให้ถ่ายเทความร้อนได้อย่างรวดเร็วน่าประทับใจ ไม่รบกวนการทำงานของเราขณะใช้งานเลย นับได้ว่า ASUS X509FL เป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงแต่ ASUS ใส่ใจในการออกแบบทุกรายละเอียดจริงๆ เหมาะกับทั้งสาวๆ หรือหนุ่มๆ ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คซักเครื่องที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน
Keyboard / Touchpad
ในส่วนของคีย์บอร์ด ASUS X509FL ติดตั้งคีย์บอร์ดเป็นปุ่มพลาสติกสีเดียวกับตัวเครื่องสกรีนตัวอักษรสีเมา มีการออกแบบมาให้ปุ่มมีขนาดใหญ่พอดีกับนิ้วมือตัดขอบมน ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น มีระยะกดเด้งในส่วนการสัมผัสให้การสัมผัสที่นุ่มกำลังดี การตอบสนองทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วกันและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด ปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมบนขวากลืนไปกับคีย์บอร์ด ส่วนปุ่ม Fn ที่เป็นทางลัดต่างๆ ติดตั้งอยู่ชุดคีย์บอร์ดแถวบนเป็นมาตรฐาน ใช้งานได้สะดวก พร้อมแป้นตัวเลข Numpad ก็มีให้ใช้งานปกติ แม้อาจจะแคบหน่อย แต่ก็ยังถือว่าพอใช้งานได้อยู่
ตัวทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ดีไซน์ออกมาแบบซ่อมปุ่ม ไม่มีปุ่มแยกเป็นชิ้นเดียวทั้งคลิกซ้ายคลิกขวา ซึ่งขอบรอบๆ มีกรเล่นสีสันเป็นโปร่งแสงสะดุดตา พร้อมตัวทัชแพดเองจะมีสีเข้มกว่าตัวเครื่องด้วย การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ที่ให้มาสามารถควบคุมจัดการได้ดีเมื่อใช้งานร่วมกับ Windows 10 โดยใช้งานแบบมัลติทัชได้ลื่นไหลพอสมควร
Screen / Speaker
ASUS X509FL ได้ติดตั้งหน้าจอด้านขนาด 15.6″ มีขอบที่บางมากตามสไตล์ NanoEdge โดยให้พื้นที่หน้าจอถึง 82.5% ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS คุณภาพดีมีความเรียบเนียนตากว่ามาตรฐาน 1366 x 768 พิกเซล HD แบบเดิมๆ ให้มุมมองที่ค่อนข้างกว้างกว่าพาเนล TN ทั่วไปอย่างชัดเจน ถ้าบอกตรงๆ ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทีเดียว แต่ถ้ามองมุมขึ้นลงหรือซ้ายขวาก็จะเห็นถึงความต่าง ให้ประสบการณ์การใช้งานที่น่าประทับใจมากเมื่อเทียบกับราคาที่จ่าย เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คจอ 14″ ที่ให้สีจอที่ดีทีเดียว
แม้ขอบจอจะบางเฉียบแต่ก็ได้ติดตั้งกล้องเว็บแคมไว้ด้านบนเหมือนเดิม เพื่อเติมเต็มประสบการณ์การใช้งานที่สมบูรณ์แบบ การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS X509FL ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด
การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS X509FL ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB 61% / AdobeRGB 46% เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันนั้นดีเมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คในราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีความเที่ยงตรงของสีสูงในประมาณนึงจัดว่าอยู่ในระดับกลางๆ ส่วนความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 220 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่ามีความสว่างในระดับกลางๆ ทำให้เมื่อคาลิเบตหน้าจอแล้วสามารถไปทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงได้โอเคเลยทีเดียว กับคะแนนรวมแล้วอยู่ที่ 3.5
ตัวลำโพงเป็นแบบสเตอริโอเลือกใช้ลำโพง SonicMaster ให้เสียงที่ดีในระดับหนึ่ง มีทั้งเสียงเบสที่มีน้ำหนักบางๆ ไม่ใช่ใส่แต่เสียงกลาง เสียงแหลมออกมาอย่างเดียว โดยตัวลำโพงจะอยู่บริเวณใต้ตัวเครื่องซ้ายและขวาลักษณะยิงลงพื้น ทำให้เสียงที่ค่อนข้างดังพอสมควร แยกรายละเอียดได้ซ้ายขวาได้ดี โดยรวมถือในส่วนของลำโพงถือว่าทำออกได้ดีกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป ทั้งในคุณภาพเสียงที่ได้และเสียงดังฟังชัดเพียงพอจะออกไปในนอกสถานที่ได้ ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก
Connector / Thin And Weight
ASUS X509FL ในเรื่องพอร์ตเชื่อมต่อก็ถือว่ามีความครบครัน ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต USB 3.1 Type-A จำนวนหนึ่งพอร์ต (น่าจะให้มาสักสอง) ไว้สำหรับการเชื่อมต่อกับแฟลชไดร์ฟหรือฮาร์ดดิสก์ภายนอกไว้ถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว พอร์ต USB 2.0 Type-A อีกสองพอร์ตที่ไว้เชื่อมต่อกับเมาส์หรืออุปกรณ์อื่นๆ และมีพอร์ต USB 3.1 Type-C มาให้อีกหนึ่งพอร์ท ทางด้านพอร์ทการเชื่อมต่อหน้าจอก็จะมีพอร์ท HDMI มาให้ รูเชื่อมต่อหูฟังเป็นแบบ Combo ไมค์และหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร ส่วนช่องอ่าน microSD Card จะอยู่ด้านขวามือตัวเครื่อง แต่หากใครที่ต้องการใช้พอร์ท Lan คงต้องหาซื้ออแดปเตอร์แปลง USB to Lan เอาเอง
ขนาดของโน๊ตบุ๊คตัวนี้ถือว่ามีมิติที่ค่อนข้างเล็กและบางเบา น้ำหนักตัวเครื่องอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม และตัวอแดปเตอร์ที่ชาร์จเองก็มีขนาดเล็ก กะทัดรัดซึ่งเมื่อรวมเข้าไปด้วยกันแล้วน่าจะมีหนักราวๆ ไม่เกิน 2 กิโลกรัม ถือว่ามีน้ำหนักที่มีความเบามากๆ เลยทีเดียว เพราะปกติแล้วโน๊ตบุ๊ค 15.6″ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัมขึ้นไปแน่นอน ซึ่ง ASUS X509FL ออกแบบมาเพื่อตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ เอาไปใช้ตามร้านกาแฟออนไลน์ หรือทำงานที่มหาวิทาลับชิลๆ เลยล่ะ
Inside / Upgrade
การแกะเครื่องเพื่ออัพเกรด ASUS X509FL นั้นสามารถทำได้ง่าย โดยเฉพาะในส่วนของแรมและฮาร์ดดิสก์เพียงแค่ไขน็อตทุกตัวรอบฝาล่างออก จากนั้นใช้บัตรแข็งค่อยๆ รูดถอดออกที่ละส่วน จากด้านหลังมาด้านหน้าทีละข้าง งานประกอบการจัดวางตำแหน่งดูแล้วเรียบง่าย (ไปหน่อย) โดยอาศัยพัดลมทางด้านซ้ายของภาพ ดูดลมเย็นจากใต้ตัวเครื่องและด้านหลัง จากนั้นเป่าลมเย็นออกไปให้โดนฮีทไปป์พร้อมฟินทองแดงที่มีอยู่น้อยนิด เพื่อไล่ลมร้อนออกไปทางช่องขวามือ
ซึ่งแรมกับฮาร์ดดิสก์จะแยกส่วนกันอย่างชัดเจน ที่เห็นได้ถึงแรมสามารถติดตั้งได้ 1 แถว โดยติดตั้ง 16GB มาแล้วส่วน SSD M.2 NVMe ติดมาแล้วที่ 256GB มีการติดตั้งใกล้ๆ กับพัดลม ส่วนอื่นๆ ก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ 2.5″ ที่ให้มาอยู่แล้วเป็นมาตรฐานความจุ 1TB โดยมีคุณสมบัติ E A R ™ HDD ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลจากแรงกระแทกทางกายภาพ ที่คอยตรวจจับการกระแทกและการสั่นสะเทือนผ่านแกนทั้ง 3 โดยอัตโนมัติเพื่อลดโอกาสที่ HDD จะเสียหาย โดยรวมแล้วการแกะตัวเครื่อง ASUS X509FL เพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดก็สามารถทำได้ง่ายและก็สะดวกทีเดียว
Performance / Software
ASUS X509FL มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home Single Language มาตั้งแต่แกะกล่อง ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงเรื่องลิขสิทธิ์ Windows เลยครับ ส่วนถ้าต้องการเคลียร์เครื่อง ก็สามารถใช้งานฟังก์ชัน Reset this PC ที่อยู่ใน Settings ของ Windows 10 ได้เลยโดยไม่ต้องฟอร์แมต SSD เพื่อลง Windows ใหม่
เมื่อตรวจสอบข้อมูลของชิปประมวลผลด้วยโปรแกรม CPU-Z ก็พบว่าข้อมูลขึ้นมาครบถ้วนเลยครับ โดย ASUS X509FL เลือกใช้ชิป Intel Core i7-8565U ที่มี 4 คอร์ 8 เธรดสำหรับการประมวลผล ความเร็วที่ 1.8 – 4.6 GHz มีค่า TDP ในการปลดปล่อยความร้อนสูงสุดแค่ 15W เท่านั้น ซึ่งจัดว่าต่ำมากสำหรับชิป Core i7 ในโน๊ตบุ๊ค ทำให้ตัวเครื่องโดยรวมไม่ร้อนจนเกินไป ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการใช้สถาปัตยกรรมการผลิตที่ระดับ 14 นาโนเมตร
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 620 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา และนอกจากนี้ยังมาพร้อมกับการ์ดจอน้องเล็กรุ่นล่าสุดอย่าง NVIDIA GeForce MX250 (2GB GDDR5) ที่ประสิทธิภาพที่เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับ GTX 950m เลยทีเดียว ซึ่งสามารถเล่นเกม 3 มิติ พอได้บ้าง เดี๋ยวไปดูผลทดสอบกันอีกที
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้เป็น SSD ความเร็วสูงแบบ NVMe M.2 ที่ความจุ 256GB ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจ กับความเร็วระดับ Read: 1741 MB/s – Write: 589 MB/s ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหลน่าประทับใจมากๆ
ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ ความจุอยู่ที่ 1TB แบบความเร็วรอบ 5400 ที่ติดตั้ง Flash Memory มาให้ด้วย ทำการเทสกับโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่เป็น 107.2 MB/s และสูงสุดที่ 273.2.6 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 256.6.8 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 0.519 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว ยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ SSD M.2 NVMe แล้ว การใช้งานโดยรวมก็ลื่นไหลน่าประทับใจมากๆ
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,056 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ ส่วนถ้าเอาไปใช้งานหนักๆ เช่นงานประมวลผล ตัดต่อวีดีโอ โปรเซสไฟล์ภาพความละเอียดสูง รวมไปถึงเล่นเกม 3 มิติ ซึ่งก็พอได้ แต่คงตอบสนองได้ไม่เท่าพวก Gaming Notebook หรือโน๊ตบุ๊คแรงๆ ที่ใช้ Core i ตระกูล H และการ์ดจอ GTX / RTX
ทดสอบเกมสำหรับ ASUS X509FL คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 3 ออนไลน์ เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยค่อนข้างลื่นไหล น่าประทับใจทีเดียว เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คที่ไม่ได้เน้นเล่นเกมมาก ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-8565U ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce MX250 ประกอบกับยังใช้แรม 16GB DDR4 รวมไปถึง SSD + HDD ก็ส่งผลช่วยด้วย
เกมออนไลน์อย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมด ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ใกล้เคียง 60 ขึ้นไปตลอด แต่ในส่วนของเกมอื่นๆ อย่าง Overwatch / PUBG ที่ปรับกลางๆ อาจจะมีเฟรมเรทตกไปต่ำกว่า 30 บ้าง ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะเป็นเกมออนไลน์ที่กินทรัพยากรพอตัวเหมือนกัน ซึ่งสรุปโดยรวมแล้ว ก็ถือว่าเล่นได้สบายๆ อยู่
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ของ ASUS X509FL เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ตัวแบตเตอรี่มีขนาด 3 Cell สามารถทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้นในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) โหมด Power Saver นับได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่สามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ตามมาตรฐาน ยังไงเป็นไปได้พกพาอแดปเตอร์ไปด้วยตลอดเวลาจะดีกว่า ยังไงก็เล็กๆ เบาๆ อยู่แล้ว น่าสนใจตรงที่มีคุณสมบัติชาร์จเร็วช่วยเติมพลังให้แบตเตอรีจาก 0-60% ได้ภายในเวลาเพียง 49 นาที
ทางด้านอุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 40 – 50 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่ด้วยการเล่นเกมยาวๆ ทั้ง DOTA 2 / Overwatch / PUBG จะเห็นว่า CPU จะร้อนที่สุดที่ 100 องศาเซลเซียส และ GPU อยู่ที่ 93 องศาเซลเซียส นับว่าเรื่องระบบระบายความร้อนของ ASUS X509FL เครื่องนี้ทำออกมาได้ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก ASUS ที่ออกแบบมาไม่นำพาความร้อนเท่าที่ควร จากที่แกะฝาล่างดูแล้วก็ไม่น่าแปลกในใจเท่าไร ต่างจาก ASUS VivoBook ที่ดูเหมือนว่าจะระบายความร้อนได้ดีกว่า ส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่าด้วย
Conclusion / Award
เป็นโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งซีรีส์ที่ทุกๆ คนให้ความสนใจอย่าง ASUS X509FL ที่ต่อยอดความสำเร็จตระกูล X Series รุ่นปีก่อน ได้เป็นอย่างดีมาพร้อมความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ภาพลักษณ์ วัสดุ งานประกอบ รวมไปถึงสเปคประสิทธิภาพและประสบการณ์ใช้งาน สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คราคาคุ้มค่าไม่แพงแต่ได้สเปกที่ดีของทาง ASUS ที่ทุกคนต่างในการยอมรับ เหมาะกับนักเรียนนักศึกษา คนทำงานออฟฟิศ ที่เน้นความเรียบง่ายดูไม่เยอะ
ทางด้านราคา ASUS X509FL เทียบกับสเปกที่ได้แล้วถือว่าไม่แพง ทำให้จับต้องจับจองได้ง่ายๆ สนนราคาเริ่มต้นที่ 19,990 บาท ซึ่งเหนือกว่าในเรื่องดีไซน์การออกแบบ ErgoLift ยกตัวเอียงให้สูงขึ้น และด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กขอบจอบางเทียบและมีหน้าจอขนาด 14 นิ้ว แต่มีขนาดบอดี้ น้ำหนัก มีขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 1.8 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังได้ชิปประมวลผล แรม ฮาร์ดดิสก์ ที่พร้อมใช้งาน รวมถึง SSD ที่มากกว่าคู่แข่งอื่นๆ ในกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ประสบการณ์ใช้งานโดยรวมดีเยี่ยมนั่นเอง
สรุปแล้ว ASUS X509FL ถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ดีในช่วงราคานี้ เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงเหมาะกับการทำงานทั่วไป หรือหนักๆ อย่างตัดต่อวีดีโอ ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก หรือถ้าจะเล่นเกมบ้างก็สามารถทำได้ดีลื่นไหล ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง แต่ในส่วนของข้อสังเกตุต้องบอกตรงๆ เลยเรื่องระบบระบายความร้อนยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรนัก
เมื่อเทียบกับ ASUS VivoBook S S531 ที่เคยรีวิวไปแล้ว (มีราคาสูงกว่า 3,000 บาท) เพราะเมื่อใช้งานหนักๆ อุณหภูมิพุ่งสูงไปมากกว่าพอตัว ส่งผลให้ประสิทธิภาพน้อยกว่าด้วย ทั้งๆ ที่ใช้ชิปประมวลผลและการ์ดจอรุ่นเดียวกัน อีกทั้งแบตเตอรี่ก็ใช้งานได้เพียง 3 ชั่วโมง ยังไงก็ต้องพกพาอแดปเตอร์ไปด้วยเพื่อความแน่นอน
ปิดท้ายด้วยการรับประกันก็ตามมาตรฐานของ ASUS ที่แม้ว่าจะไม่ออนไลน์อย่างหลายๆ แบรนด์ แต่ก็สามารถเคลมผ่านทาง 7-11 ได้สะดวกไม่แพ้กัน รวมไปถึงในปีแรกแค่เราลงทะเบียนก็จะได้ประกันอุบัติเหตุในปีแรก อย่าง Perfect Warranty แล้ว ถือว่าได้อยู่เพราะก็มีจุดเด่นต่างกันออกไป ให้เราได้ตัดสินใจเลือกอีกที
จุดเด่น
- เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6 นิ้ว แต่มีขนาดตัวเครื่องเล็กเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 14 นิ้ว
- น้ำหนักเบา ตัวเครื่องบาง วัสดุดี มีให้เลือก 2 สีสัน ตามสไตล์การใช้งาน
- หน้าจอมีความละเอียดสูงระดับ Full HD พาเนล IPS ให้สีสันดีกว่า TN
- ขอบจอบางเฉียบด้วย เทคโนโลยี Nano Edge บางพิเศษกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป
- ใช้งานจริงลื่นไหลแบบสุดๆ ด้วย i7 + MX250 + RAM 16GB + SSD 256GB +HDD 1TB
- เทคโนโลยี Fast charging ที่ให้แบตเตอรี่เต็ม 60% ได้ใน 49 นาที
- มี Windows 10 แท้มาให้พร้อมใช้งานทันที
- ประกัน 2 ปีเคลมผ่าน 7-11 ได้ พร้อมประกันอุบัติเหตุ 1 ปีแรก
ข้อสังเกต
- อุณหภูมิร้อนสุดสูงไป เพราะระบบระบายความร้อนไม่ค่อยดีนัก
- แบตเตอรี่น่าจะใช้งานยาวนานที่ 3 ชั่วโมง
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS X509FL ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i7-8565Uทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด ประสิทธิภาพไว้ใจได้ พร้อมกราฟฟิการ์ดตัวบนอย่าง NVIDIA GeForce MX250 (2GB GDDR5) ที่ทั้ง 2 อย่างนี้แรงเหลือเฟือในการใช้งานทั่วไป มีที่เก็บข้อมูลรองรับการติดตั้ง SSD 256GB +HDD 1TB ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 16GB แบบ DDR4 แน่นอนทั้งตัวเครื่องนั้นแทบไม่ต้องอัพเกรดอะไร ลื่นไหลที่สุดอย่างไร้กังวล รองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ ในราคาที่ไม่แพงมากนัก
Best Design
เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ X Series มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS X509FL ยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโดดเด่น ให้มิติที่เล็กกระชับลงกว่าเดิม ขอบจอบางเฉียบ แต่มีการออกแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ออกแนวพรีเมียมและเรียบหรูมากยิ่งขึ้น ด้วยการสีสันให้เลือกถึง 2 เฉด ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาเชื่อได้ว่าหลายๆ คนส่วนมากต้องชื่นชอบอย่างแน่นอน
พิเศษสำหรับท่านที่ซื้อรุ่นซึ่งมาพร้อมกับ Intel Core i7 รับฟรีโปรแกรม Ultimate creativity pack โปรแกรมทำงาน 14 โปรแกรม ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้เท่านั้น อย่างลืมไปลงทะเบียนรับโปรแกรมฟรีกันนะครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม >>คลิก<<