Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

How to – เทคนิคการเลือกซื้อ SSD

ต้องบอกเลยว่าช่วงนี้กระแสของ SSD มาแรงมาก เพราะราคาถูกลงมาเยอะ และยังได้ความจุสูงแบบนี้ไม่ต้องมีฮาร์ดดิสค์ก็ว่าได้ ตั้งแต่ผู้ใช้หน้าใหม่ที่ประกอบพีซีเครื่องแรก หรือสายอัพเกรทที่อยากเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ที่สุดแสนเชื่องช้าให้เป็น SSD เพื่อความรวดเร็ว แต่ว่าจะซื้อ SSD ทั้งทีต้องดูตรงไหนบ้างนั้นวันนี้ทีมงานมีเทคนิคแนะนำครับ

HP S700 15

Advertisement

พอร์ตเชื่อมต่อ

ปัจจัยหลักของการซื้อ SSD เลยก็คือ พอร์ตเชื่อมต่อที่เรามี อย่างเมนบอร์ดรุ่นใหม่สามารถเชื่อมต่อแบบ PCIe NVMe ได้หมด หรือจะต่อสาย SATA ก็ทำได้ไม่มีปัญหา แต่โน๊ตบุ๊คหรือพีซีรุ่นเก่านี่สิ จะเชื่อมต่อแบบ SATA 2.5 นิ้ว หรือ M.2 SATA กันละ ก่อนอื่นต้องไปรู้จักพอร์ตกันก่อน

  • PCIe NVMe M.2 ถือเป็นพอร์ตที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสามารถทำความเร็วอ่านเขียนได้ถึงระดับ 5,000 MB/s ใน PCIe 4.0 หรืออย่างต่ำๆก็ได้ 1500 – 3500 MB/s แล้ว เปิดเครื่องไวเปิดโปรแกรมเร็ว เมนบอร์ดส่วนใหญ่ในปัจจุบันทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊ครองรับ ถ้าซื้อเครื่องมาใหม่แนะนำใช้แบบ PCIe NVMe ไปเลย
  • SATA M.2 มีหน้าตาเป็นการ์ดเหมือน PCIe NVMe แต่จะต่างที่ขาสล๊อต และชิปควบคุม ตามสเปคจะอ่านเขียนได้ช้ากว่า PCIe ที่ราวๆ 500 MB/s เพราะอยู่บนมาตรฐาน SATA เช่นเดียวกับแบบต่อสาย แต่ได้ข้อดีคือไม่ต้องต่อสาย หรือจ่ายไฟเพิ่ม รวมไปถึงโน๊ตบุ๊คในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเน้นความบางเบาก็จะเป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบนี้
  • SATA III 2.5 นิ้ว เป็นพอร์ตที่เชื่อมต่อโดยการใช้สาย แบบเดียวกับฮาร์ดดิสค์เลย เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค พีซีรองรับเกือบทุกตัวเลยก็ว่าได้ เพราะเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีช่องต่อสาย SATA มาให้แน่นอน ไปจนถึงพีซีรุ่นเก่าหรือโน๊ตบุ๊คต่อให้เก่ามากๆยังไงก็ยังสามารถใช้ SSD แบบนี้ได้

M.2 ส่วนจะเลือกแบบไหนนั้นก่อนอื่นต้องดูเครื่องของท่านก่อน ถ้ารุ่นใหม่ส่วนใหญ่ยังไงก็ต่อ PCIe NVMe ได้หมด แต่ถ้าเก่าหน่อยอาจจะต้องเอารุ่นไปเช็คจากเว๊บไซท์ของผู้ผลิตก่อนว่าถ้าเป็น M.2 สามารถใส่แบบไหนได้ หรือถ้าเก่ามาก และไม่แน่ใจแนะนำ SATA III 2.5 นิ้ว ถ้ามีพอร์ตก็สามารถต่อใช้งานได้ชัวร์

งบประมาณ

หลังจากเลือกพอร์ตเชื่อมต่อได้แล้ว จากนั้นก็ต้องมาดูงบประมาณในกระเป๋ากันต่อ ตรงนี้ก็จะแปรผันกับความจุ และความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลด้วย โดยเฉพาะสาย PCIe NVMe ที่จะมีให้เลือกหลากหลายอย่างมาก โดยทีมงานแบ่งตามงบประมาณนี้เลย

  • ไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับท่านที่งบน้อย หรืออาจจะอยากแค่อัพเกรทเครื่องเก่าๆ งบนี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับ SSD ความจุ 128-256 GB ลงวินโดวส์ กับโปรแกรมพื้นฐานใช้งานก็เพียงพออยู่ แต่เปิดเครื่องไวกว่าฮาร์ดดิสค์เยอะ แต่ถ้าไหวแนะนำไป 256 GB ไปเลยดีกว่าครับ คุ้มกว่า และไม่ต้องห่วงเรื่องความจุมากนัก
  • ไม่เกิน 2,000 บาท งบนี้จะเป็นส่วนใหญ่ของตลาดเลยก็ว่าได้ เพราะมีให้เลือกเยอะทั้งแบบ SATA และ PCIe ได้ความจุระดับ 256 – 512 GB โดยเฉพาะแบบ SATA ไม่เกิน 2,000 บาท ได้ความจุ 512 GB แน่นอนเหมาะกับท่านที่เน้นพื้นที่เก็บข้อมูล ไม่ได้เน้นเร็วมาก แต่ถ้าเน้นเร็วแบบ PCIe NVMe ละก็จะได้ความจุที่ราว 256GB ที่ความเร็วระดับ 1500 MB/s ขึ้นไป
  • 2,001 – 4,000 บาท งบนี้สามารถเลือกได้หลากหลายเลยทีเดียว ถ้าเน้นที่ความจุ สามารถเลือกซื้อที่ความจุระดับ 1 TB ได้อย่างสบาย โดยเฉพาะฝั่ง SATA ที่มีให้เลือกเยอะมาก มีราคาตั้งแต่ไม่เกิน 3000 ไปจนถึง 4000 บาท หรือจะเป็นฝั่ง PCIe NVMe ก็มีให้เลือกตัวแรงๆความเร็วสูงระดับ 3500 MB/s ที่ความจุ 512 GB หรือไม่ได้เน้นเร็วแรงมาก ก็สามารถเลือกซื้อแบบ PCIe NVMe ที่ความจุระดับ 1 TB ได้เลย
  • 4,001-9,999 บาท งบนี้เหมาะกับท่านที่เน้น PCIe NVMe ที่เร็วๆแรงๆกับความจุระดับ 1 TB ได้อย่างสบายมีให้เลือกเยอะ แต่ถ้า PCIe 3.0 ยังแรงไม่พอ และมีบอร์ด X570 อยู่ด้วยละก็ กระโดดไป PCIe 4.0 ได้เลย หรือสำหรับท่านที่เน้นความจุก็ยังมีระดับ 2 TB ทั้งแบบ SATA และ PCIe NVMe ให้เลือกซื้อกันด้วยครับ
  • 10,000 บาท ขึ้นไป ความเร็วและความจุต้องมา ด้วย PCIe 4.0 ความจุ 1 TB หรือข้ามไป 2 – 4 TB ก็ยังได้ เมื่อเงินไม่ใช่ปัญหา ความจุและความแรงต้องมี

Samsung SSD QVO

การใช้งาน (ความจุ)

แต่ถ้าท่านไม่ได้มองที่งบประมาณ แต่เน้นการใช้งาน หรือว่ามีงบอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้อยากใช้จนเกินความจำเป็น ซื้อเพียงแค่พอใช้งาน ทีมงานก็มีแนะนำเพิ่มตามความจุด้วยว่าเหมาะกับการใช้งานแบบไหน

  • 128 GB น้องเล็กสุด ราคาถูก เหมาะกับเครื่องที่เน้นใช้งานทั่วไป ลงวินโดวส์ โปรแกรมออฟฟิต และเก็บไฟล์รูป หนังอีกนิดหน่อย ไม่เหมาะกับการลงเกมหรือโปรแกรมใหญ่ๆ เหมาะกับการซื้อไปอัพเกรทพีซีเครื่องเก่า หรือมีฮาร์ดดิสค์ไว้เก็บข้อมูลอยู่แล้ว
  • 256 GB น้องคนกลาง เป็นความจุที่เหมาะสมทั้งการใช้งานทั่วไป ลงเกมหรือโปรแกรมได้ประมาณนึง แต่ก็ไม่สามารถติดตั้งเกมหรือโปรแกรมใหญ่ๆได้มากนัก แนะนำว่าใช้งานคู่กับฮาร์ดดิสค์จะดีที่สุด ไม่ควรใช้ลูกเดียวจบเพราะอาจจะไม่พอใช้งาน
  • 512 GB พี่คนกลาง เป็นความจุที่ทีมงานแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้ SSD เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ลงเกม หรือโปรแกรมหนักๆได้เยอะ หรือจะสายตัดต่อก็ยังมีพื้นที่ไว้เก็บไฟล์งานได้ สามารถใช้ลูกเดียวจบได้โดยไม่ต้องมีฮาร์ดดิสค์มาเสริม แต่ถ้าท่านข้อมูลเยอะ ไฟล์งานมาก ก็อาจจะหาฮาร์ดดิสค์พกพามาสำรองข้อมูลเป็นพักๆ
  • 1 TB พี่คนโต ลูกเดียวจบ ลงได้ทั้งเกม โปรแกรม ไฟล์งาน หนังรูปเพลง โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความจุ ใส่ในโน๊ตบุ๊คหรือพีซีลูกเดียวไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดดิสค์ไว้สำรองข้อมูลก็ยังได้ เหมาะกับท่านที่เน้นความสะดวกไม่อยากเก็บข้อมูลหลายที่ และไม่ต้องมาห่วงเรื่องความจุเต็ม
  • 2 TB ขึ้นไป อันนี้ตัวพ่อเลยเหมาะกับท่านที่งบไม่ใช่ปัญหา SSD ลูกเดียวจบครบ พ่อทุกสถาบัน เก็บเพลง หนัง งาน โปรแกรม เกม เป็นสิบเป็นร้อยก็ยังไหว แต่ต้องระวัง SSD บินนะครับ เพราะไม่อย่างงั้นชีวิตท่านจะสูญสลายไปด้วย ยังไงต่อให้ SSD ความจุสูง ก็ต้องมีฮาร์ดดิสค์ไว้เก็บข้อมูลด้วยนะครับ

P1760077ออปชั่นอื่นๆ

นอกจากเรื่องความเร็ว ความจุต่อราคาแล้วปัจจุบันยังมีออปชั่นเสริมอื่นๆอีกที่เป็นพัจจัยการเลือกซื้อ SSD ด้วยไม่ว่าจะเป็น

  • ไฟ RGB สำหรับสายที่ชอบแต่ง ชอบโชว์ตอนนี้มี SSD ที่มีไฟ RGB ออกมาแล้ว สามารถปรับแต่งได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่สามารถใช้งานในโน๊ตบุ๊คได้เพราะจะหน้ากว่า SSD ทั่วไป (ถึงต่อให้ใส่ได้ ก็มองไม่เห็นไฟอยู่ดี) ราคาแพงขึ้นอีกนิดเหมาะกับสายแต่ง
  • ระบบระบายความร้อน สำหรับท่านที่เน้นใช้งาน SSD ต่อเนื่อง นานๆ หรือมีการแรนเดอร์ไฟล์บ่อยๆ โหลดไฟล์ทิ้งไว้ หรือมีความเร็วการอ่านเขียนสูงๆ ก็จะมี SSD รุ่นที่มาพร้อมฮีทซิงค์ช่วยในการระบายความร้อน เพื่อยืดอายุ SSD และช่วยให้ความเร็วการอ่านเขียนไม่ตก แต่เกือบทั้งหมดใช้ได้แค่ในเครื่องพีซีเท่านั้นเนื่องจากความหน้า ใส่ในโน๊ตบุ๊คไม่ได้
  • ประกัน การรับประกันก็เป็นอีกข้อที่น่าสนใจ เพราะในตลาดมือ 2 มีขายของไม่มีประกันเยอะมาก แม้ SSD จะมีโอกาสเสียน้อย แต่ถ้าเสียแล้วก็เคลมอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้ามีประกันในบ้านเราแพงอีกนิด แต่ก็อุ่นใจว่าเคลมได้อยู่ และบางเจ้าเคลมง่าย เคลมเร็วไม่ถามเยอะอันนี้ก็ควรค่าแก่การอุดหนุน แต่บางเจ้าเคลมช้า เคลมยาก อาจจะก็อาจจะต้องละเว้นไว้แม้จะราคาถูกก็ตาม ลองเช็คได้จากกระทู้ตามเว๊บไซท์ หรือกรุ๊ปใน FB ได้เลยครับ

ปล. นอกจาก 3 แบบที่กล่าวมาแล้ว ยังมี mSATA อีกด้วย แต่ปัจจุบันแทบไม่มีโน๊ตบุ๊คที่ใช้ mSATA แล้ว และหาซื้อมาเปลี่ยนได้ยากขึ้น จึงแนะนำเป็นแบบ SATA 2.5 นิ้วดีกว่า

##สุดท้ายนี้หวังว่าจะเป็นเทคนิดที่ช่วยให้ท่านเลือกซื้อ SSD ไม่มากก็น้อย##

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

PC Review

WD Blue SN5000 1TB เปิดเครื่องไว ก็อปปี้ไฟล์ ย้ายข้อมูลรวดเร็ว SSD เพื่อสายทำงาน สาย AI และงานที่เร่งด่วน WD Blue SN5000 เป็นหนึ่งในซีรีย์ของ SSD ระดับเพาเวอร์ยูสเซอร์และเกมเมอร์ของทาง WD ที่ออกแบบมาให้กับผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ใช้งานด้านความเร็ว ในการอ่านและเขียนข้อมูล บนมาตรฐาน M.2 NVMe...

REVIEW

Kingston NV3 2TB ความจุเยอะ อ่านเขียนไว ตอบโจทย์คนทำงาน คอเกมและครีเอเตอร์ Kingston NV3 เป็น SSD M.2 NVMe รุ่นใหม่ล่าสุด ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นกับ SSD M.2 ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ในชีวิตประจำวัน กับความจุที่มากสุดถึง 2TB ทำให้รองรับได้ทั้งการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการลงโปรแกรม...

REVIEW

SanDisk Desk Drive SSD 8TB เก็บข้อมูลเร็ว ความจุเยอะสะใจ จะไฟล์ใหญ่หรือจำนวนมาก ก็จบได้ในตัว Sandisk Desk Drive SSD 8TB เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงในแบบ SSD ระดับมืออาชีพ ให้ความจุมากถึง 8TB มากกว่า SSD หรือ HDD ในแบบต่อภายนอก...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก