ในช่วงแรกของการเปิดมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบใหม่อย่าง USB Type-C นั้นถือได้ว่าเป็นอะไรที่ดีเอามากๆ เลยครับ ผู้ผลิตนั้นได้ชูประเด็นเอาไว้ว่าต่อจากนี้ไปเราจะสามารถที่ทำการใช้งานอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ภายใต้พอร์ตแบบเดียวกันซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากครับ
นอกเหนือไปจากนั้นแล้วอีกจุดเด่นหนึ่งของ USB-C นั้นก็คือความสามารถในการนำไฟฟ้าที่สูงกว่าเดิมโดยมันสามารถที่จะรองรับการชาร์จจากแหล่งพลังงานที่มีกำลังไฟฟ้าสูงถึง 100 W ได้แบบสบายๆ ทำให้ในปัจจุบันนั้นเราได้เห็นอุปกรณ์ยุคใหม่มาพร้อมกับ USB-C กันอย่างมากมายครับ
จุดเริ่มต้นของการแทนที่พอร์ตต่างๆ ด้วย USB-C นั้นก็คือ MacBook Pro ครับ โดยหลายๆ ท่านน่าจะจำกันได้ดีครับว่า ณ ตอนนั้น Apple ได้ทำการถอดพอร์ตต่างๆ ออกไปทั้งหมดให้มาแต่เพียงพอร์ต USB-C เท่านั้น และนั่นล่ะครับที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาเพราะกลายเป็นว่าการจะใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบันนั้นคุณต้องใช้งานผ่าน adapter ทั้งสิ้นซึ่งเจ้า adapter ดังกล่าวนี้นั้นก็ไม่ได้รวมมาพร้อมกับชุดวางจำหน่ายแต่ว่าทุกท่านต้องเสียเงินซื้อเพิ่มเป็นการเพิ่มต้นทุนเข้าไปให้กับตัวเองอีกครับ
หายนะต่อมานั้นผู้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตนั้นน่าจะทราบกันดีครับกับการยุติการใช้งานพอร์ต 3.5 audio jack ของทาง Apple บน iPhone ที่สุดท้ายแล้วนั้นกลายเป็นกระแสใหม่ที่สมาร์ทโฟนของบริษัทอื่นนั้นต่างก็ทำตามๆ กันมาแบบไม่หยุดไม่หย่อนแถมผู้ผลิตบางรายนั้นก็ไม่ได้ให้ adapter สำหรับ 3.5 audio jack มาให้ด้วยทำให้สุดท้ายก็กลายเป็นทุกท่านที่ต้องเสียเงินซื้อเพิ่มนี่ล่ะครับ ยังไม่หมดเท่านั้นนะครับปัญหายังคงมีตามมากับเรื่องการชาร์จที่ในตอนแรกเหมือนจะดูดีแต่กลายเป็นว่าสุดท้ายก็กลายเป็นแค่คำโฆษณาเท่านั้นครับ
สำหรับสมาร์ทโฟนระบบปฎิบัติการ Android นั้นผู้ที่เริ่มเปลี่ยนมาใช้ USB-C รายแรกก็คือ OnePlus ครับกับรุ่น OnePlus 6 ครับ ตอนนั้นถือได้ว่ามันน่าตื่นเต้นมากเนื่องจากว่า OnePlus 6 นั้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีการชาร์จเร็วซึ่งทำให้หลายๆ ผู้ใช้ต้องการ ทว่าการชาร์จเร็วนั้นแทนที่ท่านจะสามารถใช้กับสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ได้ด้วยกลับกลายเป็นว่าไม่สามารถใช้ได้ครับเพราะแต่ละบริษัทนั้นต่างก็พัฒนาเทคโนโลยีการชาร์จเร็วออกมาเป็นของตัวเองกันทั้งนั้นทำให้คำโฆษณาของผู้ออกมาตรฐาน USB-C หลายเป็นสิ่งที่หลอกให้เราหลงเชื่อว่ามันจะดีไปโดยปริยายครับ
จริงๆ แล้วเราจะโทษผู้ออกมาตรฐานก็คงไม่ได้ครับเพราะความผิดในครั้งนี้นั้นมันอยู่ที่ผู้ผลิตต่างๆ มากกว่าเพราะสุดท้ายก็กลายเป็นว่าถึงแม้พอร์ตจะใช้เป็น USB-C เหมือนกันทั้งโลกแต่กลับกลายเป้นว่าตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในการใช้งานนั้นไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ งานนี้นั้นก็กลายเป็นเราๆ ท่านๆ ครับที่ต้องเป็นเหยื่อของคำโฆษณาไปโดยปริยาย
ถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะเห็นว่าบริษัทจากทางประเทศจีนหันมาพัฒนาสายเชื่อมต่อแบบ USB-C แบบที่สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการชาร์จเร็วได้มากขึ้นแต่ผมเชื่อเหลือเกินครับว่าเกินกว่า 90% ของผู้ใช้คงยังไม่กล้าใช้งานผลิตภัณฑ์จากประเทศจีนกันอย่างจริงจังจริงไหมครับ?
หมายเหตุ – อย่างไรก็ตามแล้วอย่าเหมารวมทั้งหมดนะครับเพราะบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เสริมจากประเทศจีนบางรายนั้นผลิตภัณฑ์ของเขาก็มีคุณภาพที่ดีมากเอาจริงๆ เพียงแต่ว่าตอนที่ทุกท่านสั่งซื้อนั้นรองเสียเวลาอ่านรีวิวของผู้ที่ใช้งานจริงมาก่อนแล้วก็จะดีมากเลยครับ เชื่อผมเถอะครับว่าของจีนไม่ได้ไร้คุณภาพหมดเสมอไปครับ
ที่มา : wccftech