ย้อนกลับไปในปี 2012 ที่ทาง AMD ได้ทำการเปิดตัวหน่วยประมวลผล FX-8150 ภายใต้สถาปัตยกรรม Bulldozer ซึ่งมีการโฆษณาเอาไว้ว่าเป็นหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับแกนการประมวลผล 8 แกนตัวแรกของโลกนั้นมีปัญหากิดขึ้นครับเนื่องจากว่าสถาปัตยกรรม Bulldozer นั้นจะมาพร้อมกับการแยกหน่วยประมวลผลออกมาเป็น 2 โมดูลที่ในแต่ละโมดูลนั้นมาพร้อมกับแกนการประมวลผลจำนวน 4 แกน
ซึ่งแต่ละโมดูลนั้นจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลจำนวนเต็มแบบแยกอิสระพร้อมกับ L1 cache ขนาด 64 KB และ L2 cache ขนาด 2 MB ทว่าปัญหานั้นมันอยู่ที่ L1 cache นั้นจะถูกใช้งานร่วมกันสำหรับแกนการประมวลผลในแต่ละโมดูลไม่ใช่ว่าแต่ละแกนย่อยมี L1 เป็นของตัวเองครับ
ด้วยการออกแบบดังที่กล่าวออกไปนั้นเลยทำให้เกิดการถกเถียงการอย่างหนัก ณ เวลานั้นเลยครับว่าสรุปแล้วเจ้าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Bulldozer นั้นสรุปแล้วมันมีแกนการประมวลผลจำนวนทั้งหมด 8 แกนจริงหรือไม่ ก่อนอื่นเอาเป็นว่าไปลองดูแผนผังวงจรสถาปัตยกรรม Bulldozer กันก่อนครับ
ณ เวลานั้นตอนแรกที่ตัวหน่วยประมวลผลเริ่มออกวางจำหน่าย ระบบปฎิบัติการไม่ได้มองเห็นว่าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Bulldozer นั้นมีจำนวนแกนการประมวลผลทั้งหมด 8 แกนครับ แถมในการประมวลผลนั้นก็มีปัญหาในส่วนของคอขวดเกิดขึ้นเข้ามาอีกจนทำให้ต้องมีการอัพเดท kernel ของระบบปฎิบัติการกันอีกรอบถึงจะทำให้มองเห็นว่าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมมีแกนการประมวลผลจำนวน 8 แกนแบบเป็น logical processor ซึ่งในตอนแรกนั้น Windows 10 มองว่าหน่วยประมวลผล FX-8350 มีแกนการประมวลผลทั้งหมด 4 แกน 8 threads ดังรูปครับ
จริงๆ แล้วมันก็ไม่น่าจะมีปัญหาครับถ้าอัพเดทนั้นของระบบปฎิบัติการได้ออกมาเตรียมไว้ก่อนที่จะมีการวางจำหน่ายหน่วยประมวลผลจริง ทว่ากว่าอัพเดทดังกล่าวจะออกมานั้นมันก็สายไปแล้วครับ ด้วยปัญหาดังกล่าวนั้นในปี 2015 ทาง AMD ก็เลยโดนฟ้องเรื่องการให้ข้อมูลหลอกลวงผู้ใช้งานโดยมีการยกข้อมูลดังที่ได้บอกไปนั้นมาเป็นการฟ้องร้องว่าหน่วยประมวลผลในซีรีส์ FX-8000 และ FX-9000 เป็นหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับแกนการประมวลผลจำนวน 8 แกนจริงหรือไม่ครับ
ตอนนั้นทาง AMD ได้สู้ด้วยการให้เหตุผลเอาไว้ครับว่าผู้บริโภคนั้นเข้าใจในส่วนของแกนการประมวลผลผิดเอง ทว่าศาลแขวงในเขตภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียโดยผู้พิพากษา Haywood Gilliam ได้ยกคำร้องในส่วนของข้อโต้เถียงของทาง AMD ไปเลยทำให้ ณ เวลานั้นทาง AMD มี 2 ทางเลือกก็คือยอมชดเฉยค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องซึ่งทางบริษัทจะต้องเสียงเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อยอมความหรือเลือกที่จะสู้คดีต่อเพื่อที่จะให้ทางลูกขุนได้ทำการพิจารณาคดีตามที่ถูกฟ้องซึ่งลูกขุนทั้ง 12 ท่านนั้นไม่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้านลึกเลยครับ
ในการสู้คดีครั้งนี้นั้นทั้งโจทย์และจำเลยต่างก็นำเอาเรื่องของเทคนิคเป็นข้อต่อสู้ครับ โดยทางโจทย์นั้นได้ยกในส่วนของการที่ระบบปฎิบัติการไม่ได้มองเห็นหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Bulldozer เป็นหน่วยประมวลผลที่มาะร้อมกับแกนการประมวลผล 8 แกนมาตั้งแต่แรก โดยระบบปฎิบัติการนั้นมองเห็นว่าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Bulldozer เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 4 แกน 8 threads ครับ
ขณะที่ทาง AMD ได้ยกในส่วนของ multi-threaded floating-point benchmark ที่ผู้ใช้ทั่วไปเอามากล่าวอ้างว่าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Bulldozer ไม่ใช่หน่วยประมวลผล 8 แกนจริงตามที่ AMD กล่าวอ้างว่าการทดสอบดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่จะเอามาอ้างได้ครับ(ตรงจุดนี้นั้นทาง AMD มองว่าแต่ละแกนมีชุดคำสั่งในการประมวลผลตัวเลขแบบจำนวนเต็มอยู่แล้วดังนั้นก็ต้องเรียกว่าเป็นหน่วยประมวลผลแบบ 8 แกนได้)
อย่างไรก็ตามครับในปี 2017 ที่ผ่านมานั้นทาง AMD ได้มีการเปิดตัวหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen ออกมาซึ่งสถาปัตยกรรม Zen นั้นตัวแกนการประมวลผลจะแยกกันออกเป็นอิสระอย่างชัดเจนไม่ได้รวมกันอยู่ในโมดูลแล้ว(เหมือนกับหน่วยประมวลผลสถาปัคตยกรรม Skylake ของทาง Intel) ซึ่งเจ้า Zen นี่ล่ะครับโจทย์อาจจะนำเข้าไปเป็นเหตุผลในการกล่าวอ้าง AMD เพิ่มขึ้นอีกครั้ง งานนี้จะเป็นเช่นไรนั้นคงต้องติดตามดูกันต่อไปครับเพราะมีข่าวออกมาแล้วครับว่าทางศาลอาจจะทำการตัดสินในเวลาอันใกล้นี้ครับ
ที่มา : techpowerup