Connect with us

Hi, what are you looking for?

INTEL

Special Scoop – Intel เผยหน่วยประมวล Core ในอนาคต, Intel GPU, กระบวนการผลิตระดับ 10 nm และ Hybrid x86

เมื่อไม่นานมานี้ทาง Intel ได้ทำการจัดงาน Intel Architecture Days ขึ้นมาครับ โดยในงานนั้นได้มีการเผยข้อมูลอัปเดทผลิตภัณฑ์ของทาง Intel หลายๆ อย่าง

เมื่อไม่นานมานี้ทาง Intel ได้ทำการจัดงาน Intel Architecture Days ขึ้นมาครับ โดยในงานนั้นได้มีการเผยข้อมูลอัปเดทผลิตภัณฑ์ของทาง Intel หลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดตัวของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมใหม่สำหรับหน่วยประมวลผลในซีรีย์ Core (ที่มีข้อมูลยาวไปจนถึงปี 2021), Intel GPU, กระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm, หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม x86 แบบลูกผสม

และสถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลที่จะออกวางจำหน่ายในปี 2019 ที่จะถึงนี้ เรียกได้ว่าในงานนั้นทาง Intel ได้ให้ข้อมูลในส่วนต่างๆ ค่อนข้างละเอียด จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นติดตามได้เลยครับ

Advertisement

2018 12 11

The CPU Core Roadmaps

สำหรับในส่วนของแผนการในการเปิดตัวและวางจำหน่ายของหน่วยประมวลผลในซีรีย์ Core นั้นได้กลับมาอีกครั้งหลังจากที่ตั้งแต่ทาง Intel ได้มีการเผยข้อมูวลหน่วยความจำสถาปัตยกรรม Skylake ออกมาทาง Intel ก็ได้ทำการหยุดเผยแผนการปวดตัวหน่วยประมวลผลเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งนั่นก็เข้าใจได้ครับเพราะทาง Intel เองนั้นก็มีปัญหาในเรื่องของการผลิตชิปที่ระดับ 10 nm อยู่ดังนั้นที่ผ่านมาเราจึงไม่ได้เห็น Intel เผยแผนการของหน่วยประมวลผลเลยจนกระทั่งมาถึงในงานครั้งนี้ครับ

1

สำหรับแผนการเปิดตัวหน่วยประมวลผลในครั้งนี้ที่ทาง Intel นำมาแสดงนั้นจะประกอบไปด้วยหน่วยประมวลผล 2 ซีรีย์อย่าง Core กับ Atom ครับ เริ่มต้นกันที่หน่วยประมวลผลซีรีย์ Core กับสถาปัตยกรรมใหม่อย่าง Sunny Cove ที่จะผลิตด้วยกระบวนการผลิตระดับ 10 nm พร้อมเริ่มวางจำหน่ายในปี 2019 ที่จะถึงนี้ สำหรับสิ่งที่ Sunny Cove ได้รับการปรับปรุงมากขึ้นจากเดิม โดยจะประกอบไปด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแบบ single-threaded และยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ AVX-512 ด้วยครับ

ต่อกันด้วย Willow Cove ที่จะมีการเปิดตัวและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปี 2020 อย่างไรก็ตาม Willow Cove จะยังคงมาพร้อมกระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm อยู่(แต่อาจจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในขั้นตอนกระบวนการ) สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับ Willow Cove นั้นก็คือการดีไซน์ cache ใหม่(ซึ่งน่าจะเป็น cache L1 และ L2) พร้อมด้วยการปรับปรุงทรานซิสเตอร์ภายในตัวหน่วยประมวลผลใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นและตัวหน่วยประมวลผลยังมาพร้อมกับคุณลักษณะด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมในระดับฮาร์ดแวร์ครับ

สำหรับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมสุดท้ายซึ่งจะเปิดตัวในปี 2021 นั้นมีชื่อว่า Golden Cove ซึ่งในส่วนของข้อมูลต่างๆ ที่ทาง Intel ให้เอาไว้นั้นยก็มีไม่มากนักครับ อย่างกระบวนการผลิตที่จะใช้ในการผลิตหน่วยประมวลผลตัวนี้นั้นก็ระบุไว้เป็น 7 / 10 nm ? ซึ่งทำให้เราไม่รู้ได้ชัดเจนว่าสรุปแล้วจะใช้กระบวนการผลิตที่ระดับเท่าไรกันแน่ ทว่าก็มีบางข้อมูลที่เด่นชัดอยู่บ้างเช่นการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแบบ single-threaded, เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน AI, ปรับปรุงเรื่องของระบบเครือข่ายและรองรับระบบเครือข่าย 5G ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ท้ายสุดนั้นก็คือฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยในระดับฮาร์ดแวร์ที่แข็งแกร่งมากกว่าเดิม

1x

เปลี่ยนมาดูในส่วนของหน่วยประมวลผลที่ประหยัดพลังงานอย่างซีรีย์ Atom ซึ่งทาง Intel ได้เผยข้อมูลแผนการยาวไปจนถึงปี 2023 ครับ สำหรับหน่วยประมวลผลตัวแรกสำหรับปี 2019 นั้นจะมีชื่อสถาปัตยกรรมว่า Tremont โดยจะใช้กระบวนการผลิตที่ขนาด 10 nm ? สิ่งที่ทาง Intel เน้นพัฒนามากขึ้นก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแบบ single-threaded, เพิ่มประสิทธิภาพด้าน Network Server พร้อมทั้งกับปรับปรุงเรื่องการใช้พลังงานทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มหนึ่งครั้งนั้นมากขึ้นกว่าเดิม

และตามระเบียบปฎิบัติของการเปิดตัวหน่วยประมวลผลในซีรีย์ Atom ที่จะทำกันแบบบปีเว้นปีนั้นทำให้คุณจะได้เห็นหน่วยประมวลผล Atom สถาปัตยกรรมใหม่ที่ใช้ชื่อว่า Gracemont โดยจะยังคงใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm ? อยู่ ทั้งนี้จะมีการปรับปรุงในส่วนของการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแบบ single-threaded, เพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาให้กับตัวหน่วยประมวลผลและเพิ่มประสิทธิภาพทางด้าน Vector

ส่วน Atom ลำดับสุดท้ายที่ถูกเผยออกมานั้นจะเปิดตัวในปี 2023 โดย ณ ขณะนี้นั้นยังคงไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการซึ่งทาง Intel ได้ใช้ชื่อว่า Next Mont ในส่วนของการพัฒนานั้นก็จะมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแบบ single-threaded, เพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาให้กับตัวหน่วยประมวลผลและสิ่งที่ทาง Intel เรียกว่า “Features” ซึ่งยังคงไม่มีการเปิดเผยครับว่าเจ้า “Features” ดังกล่าวนี้จะคืออะไร

1x2

อย่างไรก็ตามแต่แล้วนะครับข้อมูลทั้งหมดนี้ก็ค่อนข้างที่จะน้อยและไม่ได้เจาะจงอะไรมากนัก แถมด้วยตอนหลังที่เริ่มมีการผลิตขายจริงแล้วนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนชื่อเรียกได้อีกต่างหากเพราะข้อมูลในส่วนนี้นั้นเป็นข้อมูลในระดับสถาปัตยกรรมขนาดเล็กที่ถูกใช้เป็นการออกแบบส่วนของแกนการประมวลผลที่อยู่ภายในตัวหน่วยความจำอีกที ตัวอย่างเช่นหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Ice Lake จะมาพร้อมกับแกนการประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรม Sunny Cove เป็นต้นครับ

Sunny Cove Microarchitecture

ส่วนที่ดีที่สุดในงานของด้านที่เกี่ยวกับหน่วยประมวลผลก็คือการเผยข้อมูลของ Sunny Cove Microarchitecture ออกมาครับ ย้อนกลับไปตั้งแต่ในปี 2015 ที่ทาง Intel เปิดตัวสถาปัตยกรรมของแกนการประมวลผล Skylake นั้น เจ้าแกนการประมวลผลดังกล่าวก็ถูกใช้กับหน่วยประมวลสถาปตยกรรมต่างๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้เช่น Kaby Lake, Coffee Lake และ Coffee Lake refresh เป็นต้นครับ สำหรับ Sunny Cove นั้นจะได้รับการปรับปรุงในส่วนที่แตกต่างกันถึง 2 ส่วนซึ่งจุดประสงค์ในการปรับปรุงครั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำการเพิ่มประสิทธิภาพของตัวหน่วยประมวลผลโดยรวมและการเพิ่มประสิทธิภาพของจุดประสงค์พิเศษโดยเฉพาะครับ

ในส่วนของการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของตัวหน่วยประมวลผลนั้นทาง Intel ได้อธิบายเอาไว้ว่าจะมีการปรับปรุงในส่วนของ IPC (instructions per clock) ซึ่งจะช่วยทำให้การประมวลผลของหน่วยประมวลผลหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกานั้นสามารถรองรับโค้ดโปรแกรมได้จำนวนมากขึ้นกว่าเดิม, มี parallelism ต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกามากขึ้นกว่าเดิมและตัวหน่วยประมวลผลจะมีความฉลาดมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเช่นมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่สูงขึ้น สำหรับอีกส่วนที่จะมีการปรับปรุงก็คือการเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาซึ่งในจุดนี้นั้นจะทำให้ในการปรับมวลผลหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกาสามารถรองรับการดำเนินการและกระบวนการทำงานต่างๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิมครับ

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพของจุดประสงค์พิเศษนั้นจะช่วยทำให้การทำงานเฉพาะด้านพิเศษหรือด้านเฉพาะต่างๆ สามารถที่จะประมวลผลได้รวดเร็วมากขึ้นตัวอย่างะเช่นในเรื่องของการประมวลผลระบบ AI/Machine Learning หรือการขุดเหมืองดิจิทัลเป็นต้นครับ

ในส่วนของการปรับปรุงแผงผังวงจรของ Sunny Cove นั้นจะมีหลายส่วนด้วยกันตัวอย่างเช่นการเพิ่มขนาดของ cache, เพิ่มความกว้างของการประมวลผลในแกนการประมวลผลให้กว้างขึ้น, เพิ่มขนาดของการเก็บข้อมูลใน L1 cache สูงกว่าเดิมถึง 50% ซึ่งนั่นทำให้ Sunny Cove จะมีขนาดของ L1 cache เพิ่มมาเป็น 48 KB จากเดิมอยู่ที่ 32 KB ซึ่งสามารถคาดการได้ว่าอัตราการหายไปของข้อมูลใน L1 cache จะลดลง 22% ตามมาด้วยขนาดของ L2 cache นั้นก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมด้วยโดยจะขึ้นอยู่กับว่าสถาปัตยกรรม Sunny Cove ถูกนำไปใช้กับหน่วยประมวผลซีรีย์ใด ทั้งนี้คาดว่าขนาดของ L2 cache นั้นจะมีการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระหว่าง 256 KB – 1 MB ครับ

สำหรับการปรับเปลี่ยนดีไซน์แผงผังวงจรนั้นทาง Intel ยังไม่มีการเผยข้อมูลออกมามากเท่าไรครับ ทว่าจากสไลด์นั้นจะเห็นได้ว่า micro-op (uOp) cache มีการเพิ่มขึ้นเป็น 2048-entry design ตามมาด้วย TLB ลำดับที่ 2 ก็จะมีขนาดเพิ่มขึ้นซึ่งจะมีผลช่วยให้ตัวหน่วยประมวลผลสามารถทำงานในด้าน machine address translation ณ ตำแหน่งปัจจุบันได้ดีขึ้นครับ

สำหรับส่วนที่น่าสนใจมากที่สุดและน่าจะเป็นการเรียกลูกค้าที่ยังคงขุดเหมืองดิจิทัลอยู่ได้นั้นก็คือการเพิ่มคำสั่งมาตรฐานในการทำงานเข้าไปที่ตัวแกนการประมวลผลโดยตรงเลยด้วยการเพิ่มหน่วยการทำงานที่เรียกว่า AVX-512 นอกไปจากนั้นแล้ว Sunny Cove ยังรองรับคำสั่ง IFMA ในตัวทำให้สามารถทำการคำนวนทางคณิตศาสตร์ในระดับใหญ่ได้มากขึ้นอย่างเช่นการประมวลผลเพื่อขุดเหมืองดิจิทัลเป็นต้น ส่วนอื่นๆ นั้นก็จะมีการรองรับ Vector-AES และ Vector Carryless Multiply แถมด้วยการเพิ่มชุดคำสั่ง SHA และ SHA-NI ลงไปอีกด้วยครับ

The Next Generation Gen11 Graphics

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้สถาปัตยกรรมของแกนการประมวลผลในหน่วยประมวลผลนั้นก็คือกราฟิกชิปแบบฝังรุ่นใหม่ซึ่งเป็นรุ่นที่ 11 ของทาง Intel แล้ว ซึ่งกราฟิกแบบฝังในตัวหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 11 นี้นั้นจะได้รับการออกแบบโดยเน้นทางด้านประสิทธิภาพในการใช้งานและรองรับฟีเจอร์กราฟิกใหม่ๆ เพื่อที่จะทำให้นักเล่นเกมสามารถที่จะเล่นเกมดังๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิมไม่ว่าตัวเกมนั้นจะใช้เอนจิ้นใดในการผลิตเกมครับ

Graphics

จากกราฟที่ท่านได้เห็นข้างบนนั้นจะเห็นได้ว่ามีการข้ามกราฟิกชิป Gen 10 ไปอันเนื่องมาจากว่าในตอนแรกนั้นทาง Intel ได้กำหนดให้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Cannon Lake มาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบฝัง Gen 10 แต่ทว่าด้วยความที่ทาง Intel นั้นมีปัญหาทางด้านกระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm ทำให้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Cannon Lake นั้นเลยไม่มีชิปกราฟิกแบบในตัวหน่วยประมวลผลออกมาเลยสักรุ่น และด้วยความที่ทาง Intel นั้นได้มีความสำเร็จในการออกแบบชิปกราฟิกแบบฝังในตัวหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 11 แล้วนั้น ทาง Intel เองก็เลยข้าม Gen 10 ไปเลยครับ

หมายเหตุ – หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake และ Coffee Lake นั้นมาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบฝัง Gen 9.5 เนื่องจากทาง Intel ได้มีการนำเอาฟีเจอร์บางอย่างจาก Gen 10 มาเพิ่มเข้าไปในชิปกราฟิกแบบฝังในหน่วยประมวลผลของทั้ง 2 สถาปัตยกรรมดังกล่าวครับ

Graphics

อย่างไรก็ตามแต่แล้วในงานนั้นทาง Intel ไม่ได้เผยข้อมูล architecture layout ของกราฟิกชิป Gen 11 ออกมาทว่าได้แสดงในส่วนของแผนผังระดับบนให้ผู้เข้าร่วมงานได้ดูกัน ซึ่งจากภาพนั้นเราสามารถที่จะอนุมานสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงบนกราฟิกชิป Gen 11 ได้ 2 – 3 อย่างดังต่อไปนี้ครับ

  • execution units เพิ่มขึ้นจากเดิมมาอยู่ที่ 64 หน่วย โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กันและยังทำการแบ่งส่วนของ execution units ในแต่ละส่วนออกเป็น 2 ส่วนย่อยเท่าๆ กันซึ่งในแต่ละส่วนย่อยนั้นจะมี execution units อยู่ที่ 8 หน่วย
  • ในแต่ละส่วนย่อยของตัวกราฟิกชิปนั้นจะมีการเพิ่ม instruction cache และ 3D sampler เพื่อใช้ในการประมวลผล
  • รองรับฟีเจอร์ PixelFE
  • มีการเพิ่มในส่วนของฮาร์ดแวร์สำหรับการโหลดและบันทึกลงไปในแต่ละ 4 ส่วนย่อยนั้นด้วย

Graphics

นอกเหนือจากนั้นแล้ว execution units ที่ถูกใช้งานในชิปกราฟิก Gen 11 นั้นก็ยังได้รับการออกแบบใหม่เพื่อที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานทางด้าน 3D และการเล่นสื่อวีดีโอในรูปแบบต่างๆ ดีขึ้นมากกว่าเดิม Intel ได้บอกเอาไว้ว่า FPU interfaces ที่อยู่ในแต่ละ execution units นั้นได้ถูกดีไซน์ขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับ fast (2x) FP16, ในแต่ละ execution units จะรองรับการประมวลผลได้ทีละ 8 threads ซึ่งนั่นจะทำให้ตัวชิปกราฟิก GT2 นั้นมี 512 concurrent pipelines และเพื่อที่จะทำให้สามารถใช้งาน 512 concurrent pipelines ได้อย่างเต็มรูปแบบทาง Intel ยังได้มีการดีไซน์ memory interface ใหม่ด้วยเช่นเดียวกันครับ

หมายเหตุ – ทาง Intel ยังได้ทำการเพิ่ม L3 cache ของชิปกราฟิกขึ้นมาอยู่ที่ 3 MB อีกด้วยครับ

Graphics

ทาง Intel ยังได้ทำการเพิ่มฟีเจอร์เข้าไปบนตัวชิปกราฟิก Gen 11 อีกหลายอย่างเช่น

  • tile-based rendering(ซึ่งตามหลัง NVIDIA ที่ได้เพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวนี้แล้วในปี 2014 และกับทาง AMD ที่เพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวแล้วในปี 2017)
  • lossless memory compression ได้มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดีขึ้นกว่าเดิม
  • GTI interface สนับสนุน 64 bytes ต่อการอ่านข้อมูลในช่องหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา
  • throughput ของชิปกราฟิกเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมทำให้ memory interface ดีขึ้น
  • มาพร้อมกับ Coarse Pixel Shading ซึ่งเป็น multi-rate shading แบบใหม่ที่ทาง Intel ดีไซน์ขึ้นโดยหลักการทำงานนั้นจะคล้ายกันกับ Variable Pixel Shading ของทาง NVIDIA มีผลให้ตัวชิปกราฟิกสามารถทำการประมวลผลด้านอื่นได้มากขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากได้มีการแบ่งการประมวลผล shading ไปที่ Coarse Pixel Shading ทำการประมวลผลแทน
  • มีการออกแบบฟีเจอร์สำหรับการประมวลผลโดยตรงเพื่อช่วยให้การใช้งานในด้านต่างๆ สามารถที่จะทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นตัวอย่างเช่น foveated rendering สำหรับการแสดงภาพเสมือนจริง
  • มีการใช้งาน 2×2 pixel stencil ทำให้ในแต่ละการทำงานของ pixel shading ถูกประมวลผลเป็น block ของ 4 pixels โดยทาง Intel ได้บอกไว้ว่ามันจะทำให้การประมวลผลในเกมที่รองรับกับระบบดังกล่าวมี FPS มากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 30%

บนตัวชิปกราฟิก Gen 11 นั้นยังมาพร้อมกับ media block โดยที่ทาง Intel ได้เน้นออกแบบให้รองรับกับ HEVC encoder เป็นส่วนสำคัญทำให้สามารถที่จะทำการเข้าและถอดรหัสไฟล์วีดีโอ HEVC ได้มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นแล้วทาง Intel ยังได้มีการเพิ่ม parallel decoders ซึ่งจะทำให้ชิปกราฟิก Gen 11 นั้นรองรับการทำ video streams ไปพร้อมๆ กันได้ หรือใช้งานในรูปแบบ single large stream ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

Graphics

ส่วนที่เด็ดที่สุดเลยของชิปกราฟิก Gen 11 นั้นก็คือการรองรับเทคโนโลยี  Adaptive Sync ซึ่งจริงๆ แล้วนั้นตอนแรกทาง Intel ตั้งใจจะใส่ฟีเจอร์นี้ไปบนหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Skylake แล้วแต่ก็พึ่งจะสามารถทำได้จริงบนชิปกราฟิก Gen 11 นี้ครับ นอกไปจากนั้นแล้วด้วยความที่ตัวชิปกราฟิก Gen 11 นั้นมาพร้อมกับ high-precision data path ทำให้ตัวชิปกราฟิกรองรับการแสดงผล HDR ด้วยครับ

ทั้งนี้ในงานทาง Intel ไม่ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ครับว่าชิปกราฟิก Gen 11 จะรองรับการใช้งานปล่อยสัญญาณภาพผ่านทาง USB Type-C หรือไม่ ทว่าตามการคาดการนั้นมีความเป็นไปได้ว่าทาง Intel น่าจะนำเอาฟีเจอร์ดังเกล่านี้ไปไว้บนชิปเซ็ทบนเมนบอร์ดมากกว่า(รวมไปถึงฮาร์ดที่จำเป็น) เพื่อที่จะได้เป็นการลดจำนวน IC ของแผงวงจรเมนบอร์ดครับ

Demonstrating Sunny Cove and Gen11 Graphics

นอกเหนือไปจากการเผยข้อมูลของสถาปัตยกรรมใหม่แล้วนั้น ในงานครั้งนี้ทาง Intel ยังได้มีการสาธิตชิปที่ใช้สถาปัตยกรรม Sunny Cove ที่มาพร้อมกับกราฟิกชิป Gen 11 ตัวต้นแบบให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชมกันด้วยครับ

2018 12 11

อย่างไรก็ตามนั้นตัวเครื่องต้นแบบที่ทาง Intel นำมาโชว์ให้ผู้เข้างานได้ชมกันนั้นก็ดูจะไม่ค่อยสวยงามสักเท่าไรครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับส่วนของ heatsinks ที่ดูตลกกับพัดลมระบายความร้อนที่เสียงดังเอามากๆ ซึ่งเหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็คงจะเป็นการป้องกันไม่ให้ตัวหน่วยประมวลผลร้านมากจนไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แล้วก็ยังมีจุดที่ดูตลกอยู่อีกหนึ่งอย่างก็คือที่ตัวฐานนั้นจะมีการแปะเทปสีดำเอาไว้ซึ่งก็ไม่สามารถทราบได้ว่า Intel จะติดไว้ทำไมเพราะตอนหลังก็มีการถอดออกและเห็นกันเป็นดังรูปทางด้านล่างนี้ครับ

จากภาพนั้นจะเห็นได้ครับว่ามีตัวอักษรระบุว่า ICL-U หรือ Ice Lake-U อยู่ด้วยครับ ซึ่งการที่ทาง Intel ใช้ heatsink ของ ICL-U นั้นน่าจะมาจากความเป็นไปได้ที่ตัวหน่วยประมวลผลดังกล่าวนั้นได้รับการออกแบบสำหรับการคายความร้อนของตัวหน่วยประมวลผลที่ 15 W TDP

2018 12 11

ในการทดสอบทางด้านประสิทธิภาพนั้นทาง Intel ได้ทดสอบประสิทธิภาพโดยการบีบอัดไฟล์โดยโปรแกรม 7-Zip ซึ่งเป็นการโชว์ชุดข้อมูลใหม่อย่าง Vector-AES และ SHA-NI ที่อยู่บนแกน Sunny Cove โดยผลการทดสอบนั้นพบว่าเร็วกว่าแกนสถาปัตยกรรม Skylake อยู่ถึง 75%

นอกจากนั้นแล้วทาง Intel ยังได้โชว์การเล่นเกม Tekken 7 โดยพบว่าในการเล่นเกมนั้นไหลลื่นมากกว่าหน่วยวประมวลผลที่ใช้แกนสถาปัตยกรรม Skylake เก่าซึ่งในการเล่นเกมนั้น FPS ต่ำสุดจะอยู่ที่ราวๆ 30 FPS ครับ

XE Discrete Graphics Brand

ยังครับยังไม่หมด ในส่วนของกราฟิกชิปนั้นทาง Intel ได้มีการประกาสอย่างเป็นทางการในงานนี้ออกมาด้วยว่าทาง Intel กำลังพัฒนาชิแกราฟิกแบบแยกเป็นของตัวเองอยู่โดยตามกำหนดการนั้นคาดว่าจะสามารถทำการเปิดตัวได้ภายในปี 2020 นี้

สำหรับชื่อแบรนด์ของกราฟิกชิปของทาง Intel นั้นจะใช้ชื่อว่า Xซึ่งในส่วนของสถาปัตยกรรมที่จะใช้บนชิปกราฟิกแบบแนกรุ่นแรกนั้นน่าสจะเป็น Gen 12 โดยทาง Intel นั้นได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะส่งชิปกราฟิกแบบแยกรุ่นแรกลงในตลาด client และ datacenter ครับ

Graphics

ตามที่ทาง Intel ได้บอกเอาไว้นั้น Xจะรองรับในการใช้งานสำหรับเป็นกราฟิกชิปแบบฝังในหน่วยประมวลผลด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ทาง Intel คาดว่า Xนั้นจะสามารถเจาะตลาดกราฟิกการ์ดในระดับกลางไปจนถึงกราฟิกการ์ดสำหรับการประมวลผลทางด้าน AI โดยเฉพาะ กราฟิกชิป Xนั้นจะผลิตที่กระบวนการผลิตระดับ 10 nm อีกทั้งยังจะมาพร้อมกับ single stack software philosophy ที่จะช่วยให้นักพัฒนาโปรแกรมสามารถใช้ออกแบบโปรแกรมของตัวเองให้ใช้งาน CPU, GPU, FPGA และ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม

First Fovoros and First Hybrid x86 CPU: Core plus Atom in 7 W on 10 nm

ทาง Intel นั้นเคยมีการทำหน่วยประมวลผลเพื่อลงตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่มาก่อนแล้วหน้านี้โดยใช้ชื่อทางตลาดว่า Atom ทว่าทาง Intel นั้นยังคงใช้สถาปัตยกรรม x86 กับหน่วยประมวลผลดังกล่าวนี้ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการออกแบบแอปพลิเคชันที่จะมารองรับเพราะหน่วยประมวลผลที่ถูกนิยมใช้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้นจะเป็นหน่วยประมวลผลที่พัฒนามาจากสถาปัตยกรรม ARM มากกว่า ทำให้ในที่สุดทาง Intel ก็ไม่สามารถเจาะตลาดหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้

อย่างไรก็ตามนั้นจุดจบในครั้งที่แล้วก็ไม่สามารถที่จะทำให้ Intel ไม่คิดที่จะก้าวเข้ามาในตลาดหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ครับ ในงานนี้นั้นทาง Intel ได้เผยข้อมูลของหน่วยประมวลผลสำหรับตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ตัวใหม่ออกมาซึ่งหน่วยประมวลผลดังกล่าวนั้นจะเป็นหน่วยประมวลผลแบบ Hybrid x86 ที่มีขนาดเล็กมากที่ 12×12 package เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตหน่วยประมวลผลดังกล่าวนี้มีชื่อว่า Fovoros โดยจะมาพร้อมกับชิป 22FFL IO เป็น active interposer เชื่อมต่อกันกับ TSFs ภายใต้กระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm

Foveros

ในตัวหน่วยประมวลผลรุ่นนี้นั้นจะมาพร้อมกับแกนการประมวลผลสถาปัตยกรรม Sunny Cove จำนวน 1 แกนและแกนการประมวลผลสถาปัตยกรรม Tremont ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลในซีรีย์ Atom จำนวนทั้งหมด 4 แกน(ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เนื่องจากว่าทาง Intel ยังไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเป็นทางการของแกนการประมวลผลของ Atom ออกมาอย่างเป็นทางการ) ทั้งนี้ทาง Intel ได้เผยข้อมูลเอาไว้ว่าหน่วยประมวลผลดังกล่าวจะใช้กำลังไฟฟ้าเพียงแค่ 2 mW เท่านั้น ณ สถานะ standby

2018 12 11

เช่นเคยครับ ทาง Intel ไม่ลืมที่จะนำเอาตัวหน่วยประมวลผลรุ่นต้นแบบมาแสดงให้ผู้ชมในงานได้เห็นกันด้วย ทว่าเจ้าชุดประกอบของตัวต้นแบบหน่วยประมวลผล Hybrid x86 นั้นดูแล้วก็เหมือนกันกับตัวต้นแบบของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Sunny Cove พอสมควร ส่วนที่แตกต่างอย่างชัดเจนเลยนั้นก็คือระบบระบายความร้อนที่มีขนาดเล็กกว่าชุดต้นแบบของ Sunny Cove เป็นอย่างมากครับ ทาง Intel ยังได้บอกเอาไว้อีกว่าหน่วยประมวลผล Hybrid x86 นั้นจะรองรับ PCIe สำหรับการเชื่อมต่อกับแหล่งเก็บข้อมูล M.2 และ UFS ด้วยครับ

Foveros

ตาม block diagram ของหน่วยประมวลผล Hybrid x86 ตามภาพทางด้านบนนั้นจะเห็นได้ชัดเจนครับว่าในตัวชิปหน่วยประมวลผลนั้นจะมาพร้อมกับแกนการประมวลผลที่เน้นประสิทธิภาพหรือแกนที่เรียกว่า Big จำนวน 1 แกนเชื่อมต่อกับ cache ขนาด 0.5 MB สำหรับใช้งานด้วยโดยเฉพาะ ส่วนแกนการประมวลผลที่ประหยัดพลังงานจะมีจำนวน 4 แกนด้วยกัน ซึ่งทั้ง 4 แกนนั้นจะใช้ L2 cache แบบแชร์ร่วมกันที่ขนาด 1.5 MB

นอกไปจากนั้นแล้วในตัวหน่วยประมวลผลจะมี cache ที่ไม่ได้เจาะจงให้ใช้งานร่วมกับตัวแกนการประมวลผลอยู่ที่ขนาด 4 MB LLC ตัวหน่วยประมวลผลจะมาพร้อมกับ quad-channel memory controller (4×16-bit) ซึ่งทำให้ตัวหน่วยประมวลผลนั้นรองรับกับหน่วยความจำแบบ LPDDR4 ในส่วนของกราฟิกชิปแบบฟังนั้นจะมาพร้อมกับชิปกราฟิกสถาปัตยกรรมรุ่นที่ 11 โดยที่จะมี execution units จำนวนทั้งหมด 64 หน่วย

สำหรับส่วนของ display controller นั้นจะมาจากชิปกราฟิกสถาปัตยกรรม Gen 11.5 อีกทั้งยังจะมาพร้อมกับ IPU รุ่นใหม่และ MIPI ที่สนับสนุนการใช้งานการเฃื่อมต่อชิกราฟิกผ่านช่องทาง DisplayPort 1.4 สำหรับฟีเจอร์ของหน่วยประมวลผล Hybrid x86 ที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือมันสามารถที่จะเข้าสู่โหมด C6 ในขณะที่ตัวเครื่องอยู่ในสถานะไม่ได้ใช้งาน ท้ายที่สุดนั้นกับอัตราการคายความร้อนของตัวหน่วยประมวลผลนั้นจะอยู่ที่ 7 W TDP เท่านั้นโดยที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ระบบระบายความร้อนที่ใช้พัดลมเข้ามาช่วยได้ครับ

อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นด้วยความที่หน่วยประมวลผล Hybrid x86 นั้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีในการพัฒนาที่ใหม่เอามากๆ ซึ่งบางเทคโนโลยีนั้นยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาอีกด้วย ดังนั้นแล้วจึงได้มีการคาดการว่ากว่าที่เราจะได้เห็นหน่วยประมวลผล Hybrid x86 วางตลาดจริงๆ นั้นก็น่าจะเป็นช่วงปลายปี 2019 หรือไม่ก็รอยาวไปจนปี 2020 เลยครับ

Ice Lake 10nm Xeon Scalable On Display

ยังไม่หมดครับเพราะว่าในงานนี้นั้นทาง Intel ได้ทำการเผยข้อมูลของหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่อง Server หรือ datacenter ออกมาด้วยซึ่งตัวหน่วยประมวลผลดังกล่าวนั้นจะเป็นหน่วยประมวลผลที่ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรม Ice Lake ซึ่งจะถูกผลิตที่กระบวการผลิตในระดับ 10 nm จุดที่น่าสนใจของตัวหน่วยประมวลผลรุ่นนี้นั้นก็คือการใช้สถาปัตยกรรมเกนการประมวลผล Sunny Cove ซึ่งแน่นอนครับว่าหน่วยประมวลผลดังกล่าวจะต้องมาพร้อมกับความแรงที่สมน้ำสมเนื้อกับการเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่อง Server หรือ datacenter

Q&A

ในตอนท้ายสุดของงานนั้นทาง Intel ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทำการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยผู้ที่มาตอบให้กับผู้ชมนั้นจะประกอบไปด้วย Raja Koduri, Jim Keller และ Dr. Murthy Renduchintala โดยคำถามที่น่าสนใจนั้นส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm ที่มีปัญหาของ Intel จนทำให้ทาง Intel ต้องเลื่อนการผลิตหน่วยประมวผลรุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ ซึ่งทาง Intel ได้ตอบเอาไว้ว่าจริงๆ แล้วการลดกระบวนการผลิตให้มีขนาดที่เล็กลงไม่ใช่ตัวเลือกเพียงตัวเดียวสำหรับการผลิตหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพที่ดีได้ สิ่งที่ทาง Intel ดำเนินการในเรื่องนี้อยู่นั้นก็คือการพยายามออกแบบสถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลใหม่โดยยึดจากการใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 14 nm ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก่อนที่ทาง Intel จะพร้อมสำหรับการผลิตที่กระบวนการผลิตระดับ 10 nm ครับ

2018 12 11

นอกไปจากนั้นแล้วในช่วงของ Q&A นั้นก็ยังมีคำถามที่น่าสนใจอยู่มากมายครับ ทว่าคำถามส่วนใหญ่นั้นจะเป็นการพยายามขยายความเข้าใจของสื่อซะมากกว่า ในงาน Intel Architecture Days ประจำปี 2018 นี้นั้นถือว่าเป้นปีที่น่าสนใจเป็นอย่างมากครับ อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยในงานยังไม่ใช่ข้อมูลที่ได้บทสรุปแท้จริงแล้วอย่างแน่นอนเพราะในอนาคตนั้นทาง Intel อาจจะมีการดัดแปลงปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของทาง Intel นั้นออกมามีคุณภาพมากที่สุดครับ

ที่มา : anandtech

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

PR-News

การเปิดใช้งานโปรแกรมเร่งความเร็วสำหรับ AI PC ของอินเทลในครั้งนี้ ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์และผู้จัดจําหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) เข้าถึงการใช้ประโยชน์จาก AI บนพีซี กว่า 300 ฟีเจอร์ บริษัท Intel Corporation ได้ประกาศการริเริ่มโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใหม่สองโครงการโดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AI PC Acceleration โดยโปรแกรม AI PC...

Buyer's Guide

เลือกโน๊ตบุ๊ค AMD ที่มี AI ตอบโจทย์ครีเอเตอร์ เพื่อการสร้างสรรค์งานยุคใหม่ ได้ทั้งการทำงานและการเล่นเกม โน๊ตบุ๊ค AMD ที่มี AI ให้ประโยชน์กับการใช้งานทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เพราะนอกจากช่วยในการสร้างสรรค์ผลงาน ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ สร้างรูปในแบบที่คุณจินตนาการได้ ยังช่วยแต่งเพลง เขียนโปรแกรม ไปจนถึงสร้างพรีเซนเทชั่น หรือทำวีดีโอตามแต่การพัฒนาของ AI Generator แต่ละที่จัดทำเอาไว้ ซึ่งนั่นก็ทำให้ลดเวลาในการทำงานของคุณลง รวมถึงอุดช่องว่างของปัญหาในเรื่องที่คุณไม่ถนัด...

CONTENT

5 ซีพียูประกอบคอมรุ่นใหม่ ที่เกมเมอร์ตัวจริงไม่ควรพลาด สำหรับการเล่นเกมในปี 2024 คุ้มค่า ราคาดี รีดพลังการ์ดจอรุ่นใหม่ได้เต็มที่ แม้ว่าจะผ่านช่วงงาน Commart ไปแล้ว แต่เชื่อว่าหลายท่านยังมีแผนจะประกอบคอม ไว้ใช้เล่นเกมช่วงหยุดยาวอย่างช่วงสงกรานต์กันอยู่บ้างแน่ ๆ ซึ่งการเล่นเกม นอกจากการ์ดจอที่เป็นปัจจัยหลักแล้ว CPU เองก็มีผลไม่แพ้กัน ดังจะเห็นจากชิปหลายรุ่นที่มีผลทดสอบออกมาว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเล่นเกมอย่างเห็นได้ชัด ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ CPU เล่นเกมที่น่าซื้อในช่วงต้นปี 2024 กัน...

COMMART

โน๊ตบุ๊ค 2024 ราคาไม่เกิน 30000 บาท มีให้เลือกซื้อเพียบ!! ไปเดินเลือกกันได้ในงาน COMMART COMTECH! โน๊ตบุ๊ค 2024 ราคาไม่เกิน 30000 บาท เป็นระดับราคาในใจที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่พร้อมจ่ายแถมสเปคยังดีพอควรแล้วด้วย ภายในงบประมาณนี้ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาเน้นใช้ทำงานออฟฟิศก็ได้ซีพียู AMD Ryzen 7000 Series หรือ Intel 13~14th Generation...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก