ถือว่าเป็นกระแสมาแรงช่วงนี้เลยก็ว่าได้กับ ASUS A570 ที่ใช้ CPU เป็นค่ายแดง AMD และ GPU ค่ายเดียว NVIDIA ตัวแรกและตัวเดียวในไทยในตอนนี้ ซึ่งปกติแล้วไม่น่าอยู่ในเครื่องเดียวกันได้สำหรับโน๊ตบุ๊ค โดยก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทาง ASUS ไปคุยดีลคุยตกลงกันได้อย่างไร แต่สุดท้ายก็มีโผล่มาวางจำหน่ายแล้วแถมรูปทรงดีไซน์และประสิทธิภาพถือว่าโอเคอีกด้วย
โดยสเปครุ่นที่ทีมงาน NBS ได้มารีวิวจะใช้ชื่อเต็มๆ ว่า ASUS A570UD DM133T (ในกล่องจะเขียนว่า A570Z) สเปคตัวเครื่องใช้ AMD Ryzen 5 2500U พร้อมการ์ดจอที่เป็น NVIDIA GTX 1050 ขนาด 4 GB และ Ram ตัวเครื่องก็ให้มาเลย 8 GB แถมรองรับ SSD m.2 NVMe ด้วย ซึ่งดูจากสเปครวมๆ แล้วถือว่าใช้ได้เลยกับราคาเพียง 19,900 บาท ส่วนประสิทธิภาพและผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรไปดูล่างกันได้เลยครับ
VDO Review
Specification
ASUS A570 รุ่นที่ทาง NBS ได้มาทดสอบใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 5 2500U (2.00 – 3.60 GHz) ทำงานแบบ 4 Core/ 8 Thread ประสิทธิภาพแรงใช้ได้ พร้อมกราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ที่ 5400 RPM รองรับได้ติดตั้ง SSD m.2 NVMe ในส่วนของ Ram 8 GB แบบ DDR4 Bus 2400
จอแสดงผลแบบด้านขนาด 15.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล TN ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ธรรมดาทั่วไป พร้อมด้วยกล้องเว็บแคมความละเอียด VGA และมีไมค์ดิจิตอลในตัว ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาให้พอร์ตทั้ง HDMI, USB 3.1 Tpye C, 1 x USB 3.0, 2 x USB 2.0, Kensington lock slot, LAN RJ-45, รูหูฟังกับไมค์แบบ Combo และ Micro SD Card Reader ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็มาพร้อมกับ Bluetooth 4.1 และ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11a/b/g/n/ac พร้อมติดตั้งระบบปฎิบัติการติดตั้ง Windows 10 แท้มาให้ในตัว
ทางด้านราคาของ ASUS A570 รุ่นที่ทีมงานรีวิวในบทความนี้รหัส A570UD DM133T จะสนนราคาอยู่ที่ 19,900 บาท การรับประกัน 2 ปี และที่สำคัญอย่าลืมเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS เพื่อที่ได้รับสิทธิ์ประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกด้วยนะครับ
Hardware / Design
การออกแบบของ ASUS A570 ถือเป็นการออกแบบใหม่หมดจด แตกต่างจากซีรีส์ TUF Gaming ที่ในคราวนี้ตระกูล A จะเน้นความเป็นพรีเมียมแบบเรียบง่าย มีสีสันมีรูปลักษณ์สะดุดตา ด้วยพื้นผิวสีดำ Reaper Black ดูประณีต พร้อมตัดขอบสีฟ้าเขียว Lightning Blue ดูดุดันโดดเด่นไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนแน่นอน มองดูภายนอกก็รู้เลยว่า A570 เครื่องนี้ สเปคไม่ธรรมดาแน่นอน
ในส่วนของวัสดุตัวเครื่องทั้งหมดจะเป็นพลาสติกซึ่งช่วยให้ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา พร้อมบลัชลาย Aluminum Texture เป็นเส้นตรง เส้นเฉียงลวดลายสวยงาม ให้สัมผัสที่ขรุขระ จับติดมือ ไม่ลื่นและที่สำคัญเลยคือไม่เป็นรอยนิ้วมือง่าย ตรงกลางก็จะมีโลโก้ ASUS สีฟ้าเขียวโดดเด่นไม่เหมือนใคร
ส่วนหลังตัวเครื่องก็จะมีช่องระบายความร้อนหนึ่งช่องธรรมดา ไม่มี Anti Dust Tunnel แกะลายช่องระบายความร้อนก็ดูสวยงามดี ขอบตัวเครื่องสีฟ้าเขียวเช่นเดียวกับโลโก้ ASUS บานพับเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ซ้ายขวาแข็งแรงทนทาน ไม่มีโยกเยก บอดี้ด้านในกับการบลัชลาย Aluminum Texture คล้ายกับซีรีส์ Tuf Gaming ซึ่งมาพร้อมกับคีย์บอร์ดขนาด Full Size มาตรฐานปกติไม่มีไฟ พร้อมช่องดูดความร้อนด้านบนตรงกลาง และปุ่มปิดเครื่องอยู่จะที่มุมบนขวาซ่อนกลืนเข้ากับตัวเครื่องไปเลย
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ ASUS A570 เป็นจะคีย์บอร์ดขนาด Full Size ธรรมดา แบบ Chiclet Switches ดีไซน์ปกติ ไม่ได้ทำลวดลายใดๆ วัสดุเป็นพลาสติกสีดำ ฟอนต์ตัวอีกษรสีขาว ปุ่มกดขนาดกลางๆ ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป ระยะกด 1.4 มิลลิเมตร ที่ให้ความรู้สึกหนักแน่นและประสบการณ์การพิมพ์ที่สะดวกสบายแม้จะใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานบน ปุ่มลูกศรกลืนเข้ากับตัวเครื่องไม่ได้แยกออกมา ซึ่งมีข้อสังเกตนิดหนึ่งตรงที่ปุ่มกด Numpad การวาง Layout จะสลับแปลกๆ และไม่มีปุ่ม Enter ที่ด้านขวาสุด ทำให้คนที่จำเป็นต้องใช้ปุ่มนั้นบ่อยๆ คงจะหงุดหงิดเล็กน้อย
ในส่วนของ Touch Pad ก็ถือว่าเป็นจุดเด่นของเครื่องเลยก็ว่าได้เพราะดีไซน์ขอบสีฟ้าเขียว สวยงามโดดเด่นสะดุดตามาก ขนาดก็พอเหมาะพอดีกับตัวเครื่อง ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นแบบซ่อนปุ่ม ทำไฮไลท์สีฟ้าเขียวแบ่งปุ่ม รองรับการใช้งาน Multitouch ได้ลื่นไหลดี พื้นผิวมีลักษณะเรียบลื่น ซึ่งอาจจจะเป็นคราบรอยนิ้วมือง่ายนิด ส่วนปุ่มปิดเปิดเครื่องจะอยู่ที่มุมบนขวาตัวเครื่องสีดำสวยงาม พร้อมไฟแสดงสถานะสองจุดด้านข้าง
Screen / Speaker
หน้าจอ ASUS A570 จะใช้ขนาด 15.6 นิ้ว ผิวจอด้านแบบ Anti-Glare ความละเอียด 1920 x 1080 Pixel Full HD มีค่า Refresh Rate อยู่ที่ 60 Hz ธรรมดา ส่วน Panel จอเป็นแบบ TN ปกติ ทำให้การแสดงผลมุมมองภาพออกมากสู้พวกจอ IPS แบบรุ่นพี่ Tuf Gaming ไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปหรือเล่นเกมหนักๆ วัสดุขอบจอจะเป็นพลาสติกด้านมีดำ มียางรอง 5 จุด กล้องตรงกลางด้านบน 1 ตัวความละเอียด VGA พร้อมไมค์ตัดเสียงก็อยู่ด้านบนเช่นกัน
ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี ระบบเสียง SonicMaster ทำให้มีเสียงมีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอยู่ด้านใต้ตัวเครื่องซ้ายขวา ช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้ แต่มีข้อสังเกตนิดหนึ่งตรงที่เสียงได้เบาไปหน่อย
การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS A570 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล TN ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 54% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่ 200 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงแล้ว อันนี้ไม่แนะนำ
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าขอบจอด้านบนซ้ายมีค่า 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ แต่สำหรับขอบจอตรงด้านขวาล่างจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 14% เลยทีเดียว ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 3.0 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite
Connector / Thin And Weight
มาดูทางด้านพอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS A570 กันบ้าง ซึ่งถือได้ว่าเซอร์ไพรส์เลยทีเดียวให้พอร์ตเชื่อมต่อเยอะกว่ารุ่นพี่ตัว Tuf Gaming เสียงอีก โดยมีทั้ง USB 3.1 Type C, USB 2.0 จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.0 จำนวน 1 พอร์ต, ช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร, Lan, HDMI, Kensington และมี Micro SD Card Reader มาให้อีกด้วย เรียกได้ว่าครบครันมากๆ กับโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ครับ
ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 4.1 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11b/g/n/ac มาตราฐานใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น และรองรับสัญญาณความที่ถี่ 5 Ghz ได้ ขนาดของตัวเครื่อง 374.6 x 256 x 21.9 มม. โดยมีน้ำหนักเพียง 1.9 กิโลกรัมเท่านั้น เบามากๆ สำหรับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คในราคานี้ โดยเมื่อรวมกับอะแดปเตอร์ชาร์จเข้าไปด้วยจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.20 กิโลกรัม โดยหากจะพกพาไปไหนมาไหนถือว่าสะดวกเอามากๆ เลยทีเดียวครับ
Inside / Upgrade
การแกะเครื่อง ASUS A570 เพื่อทำการอัปเกรดนั้นบอก ณ ตรงนี้เลยว่า ถ้าไม่เก่งจริงห้ามแกะเองด้วยเด็ดขาด เพราะตัวเมนบอร์ดที่ใส่อุปกรณ์อัปเกรดจำพวก Ram, SSD m.2 จะอยู่ที่ด้านหลังเมนบอร์ดทั้งหมด แล้วการแกะคือต้องถอดคีย์บอร์ดออกไม่ใช่ฝาปิดด้านหลัง พูดง่ายๆ ก็คือหากจะอัปเกรด Ram หรือ SSD m.2 นั้นจะต้องแกะทุกชิ้นส่วนที่มีอยู่ในเครื่องออกทั้งหมด ทั้งคีย์บอร์ด, แบต, พัดลม รวมถึงหน้าจอเครื่องด้วย เพื่อทำการพลิกเมนบอร์ดมาใส่อุปกรณ์อัปเกรดนั่นเอง งานนี้แนะนำว่าให้ร้านหรือศูนย์บริการอัปเกรดให้ดีสุดนะครับ โดยข้างในตัวเครื่องมาพร้อมกับพัดลม 1 ตัว ฮีทไปป์ 2 เส้น ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานไม่มีปัญหาอะไร
การอัปเกรดตัวเครื่องสามารถใส่ Ram ได้สูงสุดสุด 16 GB มี Ram 2 Slot ตัวเครื่องให้มาเป็นแบบ 8 GB DDR4 Bus 2400 ส่วน SSD m.2 จากที่ทีมงานได้ทดสอบใส่ Samsung EVO 970 ขนาด 1 TB ไปผลปรากฏว่าสามารถใส่ได้ไม่มีปัญหาอะไร เทสสปีดก็วิ่งเต็มได้อีกด้วยโคตรคุ้ม
Performance / Software
ASUS A570 มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก AMD Ryzen 5 2500U รุ่นประหยัดพลังงานตัวใหม่ มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.00 GHz สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.60 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core/ 8 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ และมาพร้อม Ram 8 GB DDR4 Bus 2400
ในส่วนของกราฟิกการ์ดตัวนี้จะใช้การ์ดจอออนบอร์ดเป็นตัว VEGA 8 ปกติ และมีการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี สามารถตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว และเป็นเครื่องแรกและเครื่องเดียวที่ใช้การ์ดจออนบอร์ด AMD การ์ดจอแยก NVIDIA อีกด้วย
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลัก ซึ่งผล คะแนนที่ได้ตามประสิทธิภาพเป็นที่น่าประทับใจพอสมควรเลยทีเดียวครับ แถมแรงกว่า i5-8250U อีกด้วย
ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1 TB แบบความเร็ว 5400 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 28.2 MB/s และสูงสุดที่ 142.9 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 100.5 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 20.4 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ได้ออกมาอยู่นเกณฑ์กลางๆ ครับ
ผลคะแนนจากการทดสอบด้วย PCMark 10 ก็อยู่ที่ 2,771 คะแนน ซึ่งจัดว่าอยู่ในกลุ่มเครื่องสำหรับใช้งานทั่วไป ใช้งานด้านเอกสาร นำเสนองาน ทำงานผ่านหน้าเว็บ ดูหนัง ฟังเพลง ก็สามารถทำได้สบายๆ ส่วนการตัดต่อวิดีก็ถือว่าได้ดีในระดับหนึ่งครับ
ในส่วนนี้เราจะทดสอบ ASUS A570 ในเรื่องของประสิทธิภาพการเล่นเกมทั้ง 6 เกมยอดนิยมในตอนนี้ไปดูเลยกราฟกันเลยดีกว่าครับประสิทธิภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 6 เกมบนความละเอียด Full HD นั้นมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 30 FPS ขึ้นไปทุกเกม(ขึ้นกับการปรับกราฟิคด้วย) ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 2500U ผสานกับ NVIDIA GeForce GTX 1050 4 GB ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับ Ram 8 GB และรวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 1 TB 5400 RPM ด้วย(ใช้ติดตั้งเกม)
Battery / Heat / Noise
ASUS A570 นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด 4,110 mAh เมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว โดยสามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi เล่นอินเตอร์เน็ตดู YouTube ปรับแสงหน้าจอจ่ำสุด ได้ยาวนานประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง 12 นาทีเลยทีเดียวครับ ถือว่าใช้งานได้ยาวนานพอสมควร พอพกพาไปนไหนได้อยู่ด้วยไม่ต้องพกอะแดปเตอร์ไปด้วย
ทางด้านอุณหภูมิ สำหรับเครื่อง A570 นี้มีพัดลมระบายความร้อน 1 ตัว ช่องระบายความร้อน 1 ช่อง ฮีทไปป์ 2 เส้น อาจจะดูเหมือนให้มาน้อยไปหน่อยแต่จากผลการทดสอบเรียกได้ว่าการระบายความร้อนดีใช้ได้เลย โดยมีอุณหภูมิ CPU สูงสุด 74 องศา และการ์ดจอ GPU สูงสุดที่ 86 องศาครับ (ทีมงานทดสอบโดยการเล่นเกมในห้องแอร์อุณหภูมิ 25 องศา)
Conclusion / Award
สรุป ASUS A570 ถือได้ว่า ณ เวลานี้คือเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับความสามารถที่ครบถ้วน ทั้งประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องความคุ้มค่า ในราคาไม่เกิน 20,000 บาท ที่คุ้มค่าที่สุดแล้วก็ว่าได้ แถมตัวเครื่องยังมี Windows 10 แท้มาให้ด้วย และจากการทดสอบประสิทธิภาพก็ทำได้ไม่เลว เล่นเกมได้ลื่นๆ ทุกเกมบนความละเอียด Full HD ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด (อยู่ที่การปรับกราฟิคในเกมด้วย)
ทั้งนี้การ Design ตัวเครื่องก็ออกแบบมาใหม่หมดจด สวยงามโดดเด่นไม่เหมือนใคร โทนสีดำเขียว วัสดุงานประกอบถึงแม้ว่าจะเป็นพลาสติกแต่ก็ดูแน่นหนาไม่เป็นสองรองใครในรุ่นราคาระดับไล่เลี่ยกัน และที่สำคัญที่สุดคือ ASUS A570 เครื่องนี้เป็นเครื่องแรกและเครื่องเดียวในไทยที่ใช้สเปค CPU เป็น AMD Ryzen 5 จับคู่กับการ์ดจอ NVDIA GTX 1050 ซึ่งจากการใช้งานสามารถรีดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ ยังไม่เจอปัญหาเรื่องไดร์เวอร์ที่อาจจะสลับการ์ดจอในบางเกม (สามารถแก้ไขได้โดยการไปปรับใน NVIDIA Control Panel) บอกเลยว่าแค่นี้ก็คุ้มมากๆ แล้ว แถมตัวเครื่องยังรองรับการอัปเกรด SSD m.2 NVMe อีกด้วย
ส่วนข้อสังเกตของเครื่องนี้ที่ดูอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคนที่อาจจะอัปเกรดสักหน่อย เพราะตัวเครื่องแกะยากมากและต้องแกะออกแทบจะทุกชิ้นส่วนในอยู่ภายใน ซึ่งหากใครที่คิดจะอัปเกรดแนะนำว่าต้องเข้าร้านหรือเข้าศูนย์ให้ทำให้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่แนะนำให้แกะเองเลย เพราะมีโอกาสประกอบคืนไม่ครบ หรือแกะไปโดนสายขาด หรือฮาร์ดแวร์แตกหัก ถ้าแบบนี้ประกันเขาอาจจะไม่รับผิดชอบนะครับ ดังนั้นย้ำอีกทีถ้าจะอัปเกรดอะไรก็ตามแนะนำเข้าศูนย์ หรือไม่ก็ให้ร้านอัปเกรดให้เลยตั้งแต่ซื้อมานะครับ
ข้อดี
- สเปคแรงและคุ้มมากได้ทั้ง AMD Ryzen 5 2500U + NVIDIA GTX 1050 4 GB
- ดีไซน์บอดี้ทำออกมาได้สวยงาม ลงตัว งานประกอบแข็งแรง
- รองรับการอัพเกรด SSD m.2 NVMe
- มีพอร์ต USB 3.1 Type C และ Micro SD Card Reader มาให้ด้วย
- การระบายความร้อนตัวเครื่องทำได้ดี แทบไม่มีความร้อนแผดออกมาจากตัวบอดี้เลย
- ตัวเครื่องมาพร้อมกับ Windows 10 แท้ในตัว
- ตัวเครื่องน้ำหนักเบาเพียง 1.9 กิโลกรัมพกพาสบายๆ
- แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่า 5 ชั่วโมง เมื่อต่อเน็ตดู YouTube
- ประกันอุบัติเหตุ Prefect Warranty ฟรี 1 ปีแรก (ต้องลงทะเบียน)
ข้อสังเกต
- การแกะอัปเกรดทำได้ยากมาก ไม่แนะนำให้ทำเอง
- ลำโพงเสียงเบาไปนิด
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง ASUS A570 ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ASUS A570 สเปคเป็น AMD Ryzen 5 2500U 4 Core/8 Thread การ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) + Ram 8 GB มี Windows 10 แท้ แถมได้การรับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกอีกด้วย ในราคาเพียง 19,900 บาท ไม่คุ้มก็ไม่รู้จะพูดยังไงละครับ
Best Design
การดีไซน์ตัวเครื่อง ASUS A570 ถือว่าทำออกมาได้สวยงามลงตัวมากๆ ด้วยสีสันที่เป็นโทนสีดำฟ้าเขียวสวยงาม โดดเด่นกว่าเกมมิ่โน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่อยู่ในราคาระดับเดียวกัน แถมการออกแบบไม่ได้ดูเป็นเกมมิ่งจนเกินไป ทำให้ใครที่จะเอาไปใช้ทำงานปกติทั่วไปแต่อยากได้สเปคแรงๆ ก็สามารถซื้อไปใช้งานได้โดยไม่ติดขัดอะไรครับ
VDO Review
Specification
ASUS A570 รุ่นที่ทาง NBS ได้มาทดสอบใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 5 2500U (2.00 – 3.60 GHz) ทำงานแบบ 4 Core/ 8 Thread ประสิทธิภาพแรงใช้ได้ พร้อมกราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ที่ 5400 RPM รองรับได้ติดตั้ง SSD m.2 NVMe ในส่วนของ Ram 8 GB แบบ DDR4 Bus 2400
จอแสดงผลแบบด้านขนาด 15.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล TN ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ธรรมดาทั่วไป พร้อมด้วยกล้องเว็บแคมความละเอียด VGA และมีไมค์ดิจิตอลในตัว ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาให้พอร์ตทั้ง HDMI, USB 3.1 Tpye C, 1 x USB 3.0, 2 x USB 2.0, Kensington lock slot, LAN RJ-45, รูหูฟังกับไมค์แบบ Combo และ Micro SD Card Reader ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็มาพร้อมกับ Bluetooth 4.1 และ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11a/b/g/n/ac พร้อมติดตั้งระบบปฎิบัติการติดตั้ง Windows 10 แท้มาให้ในตัว
ทางด้านราคาของ ASUS A570 รุ่นที่ทีมงานรีวิวในบทความนี้รหัส A570UD DM133T จะสนนราคาอยู่ที่ 19,900 บาท การรับประกัน 2 ปี และที่สำคัญอย่าลืมเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS เพื่อที่ได้รับสิทธิ์ประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกด้วยนะครับ
Hardware / Design
การออกแบบของ ASUS A570 ถือเป็นการออกแบบใหม่หมดจด แตกต่างจากซีรีส์ TUF Gaming ที่ในคราวนี้ตระกูล A จะเน้นความเป็นพรีเมียมแบบเรียบง่าย มีสีสันมีรูปลักษณ์สะดุดตา ด้วยพื้นผิวสีดำ Reaper Black ดูประณีต พร้อมตัดขอบสีฟ้าเขียว Lightning Blue ดูดุดันโดดเด่นไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนแน่นอน มองดูภายนอกก็รู้เลยว่า A570 เครื่องนี้ สเปคไม่ธรรมดาแน่นอน
ในส่วนของวัสดุตัวเครื่องทั้งหมดจะเป็นพลาสติกซึ่งช่วยให้ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา พร้อมบลัชลาย Aluminum Texture เป็นเส้นตรง เส้นเฉียงลวดลายสวยงาม ให้สัมผัสที่ขรุขระ จับติดมือ ไม่ลื่นและที่สำคัญเลยคือไม่เป็นรอยนิ้วมือง่าย ตรงกลางก็จะมีโลโก้ ASUS สีฟ้าเขียวโดดเด่นไม่เหมือนใคร
ส่วนหลังตัวเครื่องก็จะมีช่องระบายความร้อนหนึ่งช่องธรรมดา ไม่มี Anti Dust Tunnel แกะลายช่องระบายความร้อนก็ดูสวยงามดี ขอบตัวเครื่องสีฟ้าเขียวเช่นเดียวกับโลโก้ ASUS บานพับเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ซ้ายขวาแข็งแรงทนทาน ไม่มีโยกเยก บอดี้ด้านในกับการบลัชลาย Aluminum Texture คล้ายกับซีรีส์ Tuf Gaming ซึ่งมาพร้อมกับคีย์บอร์ดขนาด Full Size มาตรฐานปกติไม่มีไฟ พร้อมช่องดูดความร้อนด้านบนตรงกลาง และปุ่มปิดเครื่องอยู่จะที่มุมบนขวาซ่อนกลืนเข้ากับตัวเครื่องไปเลย
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ ASUS A570 เป็นจะคีย์บอร์ดขนาด Full Size ธรรมดา แบบ Chiclet Switches ดีไซน์ปกติ ไม่ได้ทำลวดลายใดๆ วัสดุเป็นพลาสติกสีดำ ฟอนต์ตัวอีกษรสีขาว ปุ่มกดขนาดกลางๆ ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป ระยะกด 1.4 มิลลิเมตร ที่ให้ความรู้สึกหนักแน่นและประสบการณ์การพิมพ์ที่สะดวกสบายแม้จะใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานบน ปุ่มลูกศรกลืนเข้ากับตัวเครื่องไม่ได้แยกออกมา ซึ่งมีข้อสังเกตนิดหนึ่งตรงที่ปุ่มกด Numpad การวาง Layout จะสลับแปลกๆ และไม่มีปุ่ม Enter ที่ด้านขวาสุด ทำให้คนที่จำเป็นต้องใช้ปุ่มนั้นบ่อยๆ คงจะหงุดหงิดเล็กน้อย
ในส่วนของ Touch Pad ก็ถือว่าเป็นจุดเด่นของเครื่องเลยก็ว่าได้เพราะดีไซน์ขอบสีฟ้าเขียว สวยงามโดดเด่นสะดุดตามาก ขนาดก็พอเหมาะพอดีกับตัวเครื่อง ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นแบบซ่อนปุ่ม ทำไฮไลท์สีฟ้าเขียวแบ่งปุ่ม รองรับการใช้งาน Multitouch ได้ลื่นไหลดี พื้นผิวมีลักษณะเรียบลื่น ซึ่งอาจจจะเป็นคราบรอยนิ้วมือง่ายนิด ส่วนปุ่มปิดเปิดเครื่องจะอยู่ที่มุมบนขวาตัวเครื่องสีดำสวยงาม พร้อมไฟแสดงสถานะสองจุดด้านข้าง
Screen / Speaker
หน้าจอ ASUS A570 จะใช้ขนาด 15.6 นิ้ว ผิวจอด้านแบบ Anti-Glare ความละเอียด 1920 x 1080 Pixel Full HD มีค่า Refresh Rate อยู่ที่ 60 Hz ธรรมดา ส่วน Panel จอเป็นแบบ TN ปกติ ทำให้การแสดงผลมุมมองภาพออกมากสู้พวกจอ IPS แบบรุ่นพี่ Tuf Gaming ไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปหรือเล่นเกมหนักๆ วัสดุขอบจอจะเป็นพลาสติกด้านมีดำ มียางรอง 5 จุด กล้องตรงกลางด้านบน 1 ตัวความละเอียด VGA พร้อมไมค์ตัดเสียงก็อยู่ด้านบนเช่นกัน
ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี ระบบเสียง SonicMaster ทำให้มีเสียงมีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอยู่ด้านใต้ตัวเครื่องซ้ายขวา ช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้ แต่มีข้อสังเกตนิดหนึ่งตรงที่เสียงได้เบาไปหน่อย
การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS A570 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล TN ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 54% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่ 200 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงแล้ว อันนี้ไม่แนะนำ
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าขอบจอด้านบนซ้ายมีค่า 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ แต่สำหรับขอบจอตรงด้านขวาล่างจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 14% เลยทีเดียว ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 3.0 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite
Connector / Thin And Weight
มาดูทางด้านพอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS A570 กันบ้าง ซึ่งถือได้ว่าเซอร์ไพรส์เลยทีเดียวให้พอร์ตเชื่อมต่อเยอะกว่ารุ่นพี่ตัว Tuf Gaming เสียงอีก โดยมีทั้ง USB 3.1 Type C, USB 2.0 จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.0 จำนวน 1 พอร์ต, ช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร, Lan, HDMI, Kensington และมี Micro SD Card Reader มาให้อีกด้วย เรียกได้ว่าครบครันมากๆ กับโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ครับ
ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 4.1 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11b/g/n/ac มาตราฐานใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น และรองรับสัญญาณความที่ถี่ 5 Ghz ได้ ขนาดของตัวเครื่อง 374.6 x 256 x 21.9 มม. โดยมีน้ำหนักเพียง 1.9 กิโลกรัมเท่านั้น เบามากๆ สำหรับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คในราคานี้ โดยเมื่อรวมกับอะแดปเตอร์ชาร์จเข้าไปด้วยจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.20 กิโลกรัม โดยหากจะพกพาไปไหนมาไหนถือว่าสะดวกเอามากๆ เลยทีเดียวครับ
Inside / Upgrade
การแกะเครื่อง ASUS A570 เพื่อทำการอัปเกรดนั้นบอก ณ ตรงนี้เลยว่า ถ้าไม่เก่งจริงห้ามแกะเองด้วยเด็ดขาด เพราะตัวเมนบอร์ดที่ใส่อุปกรณ์อัปเกรดจำพวก Ram, SSD m.2 จะอยู่ที่ด้านหลังเมนบอร์ดทั้งหมด แล้วการแกะคือต้องถอดคีย์บอร์ดออกไม่ใช่ฝาปิดด้านหลัง พูดง่ายๆ ก็คือหากจะอัปเกรด Ram หรือ SSD m.2 นั้นจะต้องแกะทุกชิ้นส่วนที่มีอยู่ในเครื่องออกทั้งหมด ทั้งคีย์บอร์ด, แบต, พัดลม รวมถึงหน้าจอเครื่องด้วย เพื่อทำการพลิกเมนบอร์ดมาใส่อุปกรณ์อัปเกรดนั่นเอง งานนี้แนะนำว่าให้ร้านหรือศูนย์บริการอัปเกรดให้ดีสุดนะครับ โดยข้างในตัวเครื่องมาพร้อมกับพัดลม 1 ตัว ฮีทไปป์ 2 เส้น ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานไม่มีปัญหาอะไร
การอัปเกรดตัวเครื่องสามารถใส่ Ram ได้สูงสุดสุด 16 GB มี Ram 2 Slot ตัวเครื่องให้มาเป็นแบบ 8 GB DDR4 Bus 2400 ส่วน SSD m.2 จากที่ทีมงานได้ทดสอบใส่ Samsung EVO 970 ขนาด 1 TB ไปผลปรากฏว่าสามารถใส่ได้ไม่มีปัญหาอะไร เทสสปีดก็วิ่งเต็มได้อีกด้วยโคตรคุ้ม
Performance / Software
ASUS A570 มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก AMD Ryzen 5 2500U รุ่นประหยัดพลังงานตัวใหม่ มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.00 GHz สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.60 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core/ 8 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ และมาพร้อม Ram 8 GB DDR4 Bus 2400
ในส่วนของกราฟิกการ์ดตัวนี้จะใช้การ์ดจอออนบอร์ดเป็นตัว VEGA 8 ปกติ และมีการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี สามารถตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว และเป็นเครื่องแรกและเครื่องเดียวที่ใช้การ์ดจออนบอร์ด AMD การ์ดจอแยก NVIDIA อีกด้วย
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลัก ซึ่งผล คะแนนที่ได้ตามประสิทธิภาพเป็นที่น่าประทับใจพอสมควรเลยทีเดียวครับ แถมแรงกว่า i5-8250U อีกด้วย
ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1 TB แบบความเร็ว 5400 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 28.2 MB/s และสูงสุดที่ 142.9 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 100.5 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 20.4 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ได้ออกมาอยู่นเกณฑ์กลางๆ ครับ
ผลคะแนนจากการทดสอบด้วย PCMark 10 ก็อยู่ที่ 2,771 คะแนน ซึ่งจัดว่าอยู่ในกลุ่มเครื่องสำหรับใช้งานทั่วไป ใช้งานด้านเอกสาร นำเสนองาน ทำงานผ่านหน้าเว็บ ดูหนัง ฟังเพลง ก็สามารถทำได้สบายๆ ส่วนการตัดต่อวิดีก็ถือว่าได้ดีในระดับหนึ่งครับ
ในส่วนนี้เราจะทดสอบ ASUS A570 ในเรื่องของประสิทธิภาพการเล่นเกมทั้ง 6 เกมยอดนิยมในตอนนี้ไปดูเลยกราฟกันเลยดีกว่าครับประสิทธิภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 6 เกมบนความละเอียด Full HD นั้นมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 30 FPS ขึ้นไปทุกเกม(ขึ้นกับการปรับกราฟิคด้วย) ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 2500U ผสานกับ NVIDIA GeForce GTX 1050 4 GB ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับ Ram 8 GB และรวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 1 TB 5400 RPM ด้วย(ใช้ติดตั้งเกม)
Battery / Heat / Noise
ASUS A570 นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด 4,110 mAh เมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว โดยสามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi เล่นอินเตอร์เน็ตดู YouTube ปรับแสงหน้าจอจ่ำสุด ได้ยาวนานประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง 12 นาทีเลยทีเดียวครับ ถือว่าใช้งานได้ยาวนานพอสมควร พอพกพาไปนไหนได้อยู่ด้วยไม่ต้องพกอะแดปเตอร์ไปด้วย
ทางด้านอุณหภูมิ สำหรับเครื่อง A570 นี้มีพัดลมระบายความร้อน 1 ตัว ช่องระบายความร้อน 1 ช่อง ฮีทไปป์ 2 เส้น อาจจะดูเหมือนให้มาน้อยไปหน่อยแต่จากผลการทดสอบเรียกได้ว่าการระบายความร้อนดีใช้ได้เลย โดยมีอุณหภูมิ CPU สูงสุด 74 องศา และการ์ดจอ GPU สูงสุดที่ 86 องศาครับ (ทีมงานทดสอบโดยการเล่นเกมในห้องแอร์อุณหภูมิ 25 องศา)
Conclusion / Award
สรุป ASUS A570 ถือได้ว่า ณ เวลานี้คือเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับความสามารถที่ครบถ้วน ทั้งประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องความคุ้มค่า ในราคาไม่เกิน 20,000 บาท ที่คุ้มค่าที่สุดแล้วก็ว่าได้ แถมตัวเครื่องยังมี Windows 10 แท้มาให้ด้วย และจากการทดสอบประสิทธิภาพก็ทำได้ไม่เลว เล่นเกมได้ลื่นๆ ทุกเกมบนความละเอียด Full HD ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด (อยู่ที่การปรับกราฟิคในเกมด้วย)
ทั้งนี้การ Design ตัวเครื่องก็ออกแบบมาใหม่หมดจด สวยงามโดดเด่นไม่เหมือนใคร โทนสีดำเขียว วัสดุงานประกอบถึงแม้ว่าจะเป็นพลาสติกแต่ก็ดูแน่นหนาไม่เป็นสองรองใครในรุ่นราคาระดับไล่เลี่ยกัน และที่สำคัญที่สุดคือ ASUS A570 เครื่องนี้เป็นเครื่องแรกและเครื่องเดียวในไทยที่ใช้สเปค CPU เป็น AMD Ryzen 5 จับคู่กับการ์ดจอ NVDIA GTX 1050 ซึ่งจากการใช้งานสามารถรีดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ ยังไม่เจอปัญหาเรื่องไดร์เวอร์ที่อาจจะสลับการ์ดจอในบางเกม (สามารถแก้ไขได้โดยการไปปรับใน NVIDIA Control Panel) บอกเลยว่าแค่นี้ก็คุ้มมากๆ แล้ว แถมตัวเครื่องยังรองรับการอัปเกรด SSD m.2 NVMe อีกด้วย
ส่วนข้อสังเกตของเครื่องนี้ที่ดูอาจจะเป็นปัญหาสำหรับคนที่อาจจะอัปเกรดสักหน่อย เพราะตัวเครื่องแกะยากมากและต้องแกะออกแทบจะทุกชิ้นส่วนในอยู่ภายใน ซึ่งหากใครที่คิดจะอัปเกรดแนะนำว่าต้องเข้าร้านหรือเข้าศูนย์ให้ทำให้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่แนะนำให้แกะเองเลย เพราะมีโอกาสประกอบคืนไม่ครบ หรือแกะไปโดนสายขาด หรือฮาร์ดแวร์แตกหัก ถ้าแบบนี้ประกันเขาอาจจะไม่รับผิดชอบนะครับ ดังนั้นย้ำอีกทีถ้าจะอัปเกรดอะไรก็ตามแนะนำเข้าศูนย์ หรือไม่ก็ให้ร้านอัปเกรดให้เลยตั้งแต่ซื้อมานะครับ
ข้อดี
- สเปคแรงและคุ้มมากได้ทั้ง AMD Ryzen 5 2500U + NVIDIA GTX 1050 4 GB
- ดีไซน์บอดี้ทำออกมาได้สวยงาม ลงตัว งานประกอบแข็งแรง
- รองรับการอัพเกรด SSD m.2 NVMe
- มีพอร์ต USB 3.1 Type C และ Micro SD Card Reader มาให้ด้วย
- การระบายความร้อนตัวเครื่องทำได้ดี แทบไม่มีความร้อนแผดออกมาจากตัวบอดี้เลย
- ตัวเครื่องมาพร้อมกับ Windows 10 แท้ในตัว
- ตัวเครื่องน้ำหนักเบาเพียง 1.9 กิโลกรัมพกพาสบายๆ
- แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่า 5 ชั่วโมง เมื่อต่อเน็ตดู YouTube
- ประกันอุบัติเหตุ Prefect Warranty ฟรี 1 ปีแรก (ต้องลงทะเบียน)
ข้อสังเกต
- การแกะอัปเกรดทำได้ยากมาก ไม่แนะนำให้ทำเอง
- ลำโพงเสียงเบาไปนิด
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง ASUS A570 ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ASUS A570 สเปคเป็น AMD Ryzen 5 2500U 4 Core/8 Thread การ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) + Ram 8 GB มี Windows 10 แท้ แถมได้การรับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกอีกด้วย ในราคาเพียง 19,900 บาท ไม่คุ้มก็ไม่รู้จะพูดยังไงละครับ
Best Design
การดีไซน์ตัวเครื่อง ASUS A570 ถือว่าทำออกมาได้สวยงามลงตัวมากๆ ด้วยสีสันที่เป็นโทนสีดำฟ้าเขียวสวยงาม โดดเด่นกว่าเกมมิ่โน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่อยู่ในราคาระดับเดียวกัน แถมการออกแบบไม่ได้ดูเป็นเกมมิ่งจนเกินไป ทำให้ใครที่จะเอาไปใช้ทำงานปกติทั่วไปแต่อยากได้สเปคแรงๆ ก็สามารถซื้อไปใช้งานได้โดยไม่ติดขัดอะไรครับ