เปิดตัวแรงส่งท้ายปีกับ ASUS TUF Gaming FX505 ที่เป็นการต่อยอดมาจาก ASUS TUF Gaming FX504 รุ่นก่อนหน้าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จากความคุ้มค่าที่ตัวเครื่องมอบให้ รวมถึงการระบายความร้อนที่ยอดเยี่ยม ไม่แปลกที่หลายร้านของหมดอยากจะได้ทีต้องสั่งจองล่วงหน้ากันทีเดียว และแน่นอนว่า FX505 ก็ถือเป็นรุ่นที่พัฒนาอัปเกรดจาก FX504 ขึ้นมาอีกขั้น โดยดีไซน์ยังคงเอกลักษณ์แบบเดิม เพิ่มเติมคือขอบจอบางตามสมัยนิยม และวัสดุแข็งแรงขึ้น
ซึ่ง ASUS TUF Gaming FX505 จะแบ่งออกเป็น 4 รุ่น รุ่นที่ทีมงาน NBS ได้มารีวิวเป็นรุ่นกลางรหัส FX505GM-BQ163T ที่ใช้สเปคเป็น Intel Core i5-8300H 4 Core/8 Thread พร้อมการ์ดจอที่เป็น NVIDIA GeForce GTX 1060 กับราคา 35,990 บาท รีวิวข้างในจะเป็นอย่างไรบ้างไปไปดูกันเลยครับ
VDO Review
Specification
ASUS TUF Gaming FX505 รุ่นที่ทางทีมงาน NBS ได้มาทดสอบใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-8300H (2.30 – 4.00 GHz) ทำงานแบบ 4 Core/ 8 Thread ประสิทธิใช้ได้ พร้อมกราฟิการ์ด NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) พร้อมฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ที่ 5400 RPM และ SSD m.2 NVMe 128 GB ในส่วนของ Ram 8 GB แบบ DDR4 Bus 2666
นอกจากนี้ ASUS TUF Gaming FX505 มาพร้อมจอแสดงผลแบบด้าน 15.6 นิ้วขอบบาง ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ดีน่าประทับใจ พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD (720p) และมีไมค์ดิจิตอลในตัว ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาให้พอตัวทั้ง HDMI, 2 x USB 3.0, 1 x USB 2.0, Kensington lock slot, LAN RJ-45, รูหูฟังกับไมค์แบบ Combo ซึ่งพอร์ตเชื่อมต่อทั้งหมดจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่อง ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็มาพร้อมกับ Bluetooth 5.0 และ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 AC พร้อมระบบปฎิบัติการติดตั้ง Windows 10 แท้มาให้ในตัว
ทางด้านราคาของ ASUS TUF Gaming FX505 รุ่นที่ทีมงานรีวิวในบทความนี้รหัส FX505GM-BQ163T สนนราคาอยู่ที่ 35,990 บาท การรับประกัน 2 ปี และที่สำคัญเมื่อเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกจากทาง ASUS อีกด้วยอุ่นใจจัดเต็ม
- ASUS TUF Gaming FX505GE i5-8300H / GTX 1050Ti ราคา 27,990 บาท
- ASUS TUF Gaming FX505GE i7-8750H / GTX 1050Ti / SSD m.2 128 GB ราคา 33,990 บาท
- ASUS TUF Gaming FX505GM i5-8300H / GTX 1060 / SSD m.2 128 GB ราคา 35,990 บาท **รุ่นที่รีวิว
- ASUS TUF Gaming FX505GM i7-8750H / GTX 1060 / SSD m.2 256 GB ราคา 39,990 บาท
Hardware / Design
ดีไซน์การออกแบบของ ASUS TUF Gaming FX505 เรียกได้ว่าถอดแบบรูปร่างทรวดทรงเหมือนกับรุ่นพี่ตัว FX504 อารมณ์เหมือนเอาไฟฉายโดเรม่อนมาย่อส่วนเครื่องเอา ซึ่งมีลักษณะที่เน้นเรื่องความโฉบเฉี่ยว ดุดัน โดยจะเปลี่ยนลายฝาหลังวัสดุจะเป็นโลหะสีเทา ทำเป็นลายขีดเส้นตัว X ผิวเรียบ ตรงกลางฝาหลังมีโลโก้ ASUS มีไฟทีสองสวยงาม สไตล์มินิมอลเรียบง่าย เอาไปเล่นตอนกลางคืนดูโดดเด่นสุดดุดตาแน่นอน โดย ASUS ให้ชื่อดีไซน์ตัว FX505 รุ่นนี้ว่า Gold Steel
ทางด้านวัสดุบอดี้ภายในตัวเครื่องจะเป็นพลาสติกสีดำเทาสี Gun Metal ทำเป็นลายบลัชปัดเสี้ยนเรียบหรู ไม่เป็นรอยนิ้วมือง่าย งานประกอบถือว่าแข็งแรงทนทานระดับ Military Grade น้ำหนักเบา ส่วนบอดี้ด้านล่างก็เป็นพลาสติกสีดำปกติ แกะลายช่องระบายความร้อนแบบใหม่ดูสวยงามดี การอัปเกรดดูเหมือนจะอยากเพราะต้องแกะน็อตออกหลายตัว เมื่อลองทำจริงๆ สามารถทำได้ง่ายมาก เอาบัตรแข็งรูดเบาๆ ก็แกะออกได้เลย
ด้านบานพับตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ วัสดุก็เป็นพลาสติกเช่นเดียวกับบอดี้ด้านใน ด้านบนคีย์บอร์ดก็จะมาพร้อมกับช่องดูดลมระบายอากาศ ส่วนด้านหลังตัวเครื่องออกแบบให้มีช่องระบายความร้อนสองช่องขนาดใหญ่ และด้านข้างขวาอีกหนึ่งช่อง รวมเป็นสามช่อง พร้อมฟินระบายความร้อนสีแดงเข้ม และ Anti-dust Cooling ช่องระบายฝุ่นมาให้อีกด้วย
นอกจากนี้อีกหนึ่งความโดดเด่นของ ASUS TUF Gaming FX505 คือคีย์บอร์ดที่ออกแบบมาเพื่อเกมเมอร์โดยเฉพาะ ทำการทำไฮไลท์ปุ่ม WASD ใหม่เป็นแบบโปร่งแสงสีขาวใส และเพิ่มไฟจากปกติมีแค่สีแดงเป็นแบบ RGB จัดเต็ม สามารถปรับได้ 3 ระดับ ปุ่ม Spacebar ด้านมุมล่างซ้ายก็ทำแหว่งออกมานิดหนึ่งเพื่อให้ใช้นิ้วโป้งซ้ายกดง่ายขึ้นด้วย ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่ที่ด้านซ้ายทั้งหมดเหมือนเดิม และมิติตัวเครื่อง FX505 รุ่นนี้ค่อนข้างเล็ก เทียบเท่ากับโน๊ตบุ๊คจอ 14 นิ้ว แต่ได้หน้าจอได้ถึง 15.6 นิ้วเลยนั่นเองครับ
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ ASUS TUF Gaming FX505 มาพร้อมไฟ RGB Auraโดยเป็นแบบ Single Zone ที่สามารถเปลี่ยนสีไฟได้ผ่านทางซอฟต์แวร์ AURA RGB ซึ่งสามารถปรับได้หลากหลายรูปแบบ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของตระกูล ASUS TUF Gaming ที่คีย์บแร์ดมีไฟ RGB เหมือนกับรุ่นพี่ ROG พร้อมกับเปลี่ยนปุ่ม WASD เป็นแบบสีใสโปร่งแสงสวยงาม
โดยตัวปุ่มกดบนแป้นจะเป็นแบบ Chiclet Switches ที่มีระยะห่างระหว่างปุ่ม 1.8 มม. ปุ่มโค้ง 0.25 มม. รองรับ N-key Rollover รองรับการกดปุ่ม 30 ปุ่มพร้อมกัน และกดได้สูงสุด 20 ล้านครั้ง พร้อมตัวคีย์บอร์ดวางเลเอาท์แยกปุ่มลูกศรชัดเจน รวมถึง Numpad ก็มีมาให้เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้แบบแป้นพิมพ์ Full Size ด้วยเช่นกัน
ส่วนของทัชแพดที่มีขนาดพอเหมาะพอดีกับตัวเครื่อง ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบซ่อนปุ่มเพื่อความสวยงาม พื้นผิวมีลักษณะเรียบลื่น แต่อาจจจะเป็นคราบรอยนิ้วมือง่ายสักหน่อย ส่วนปุ่มปิดเปิดเครื่องจะอยู่ที่มุมบนขวามีไฟสีแดงเวลาเปิดเครื่อง พร้อมกับไฟแสดงสถานะสี่จุดเยื่องอยู่ที่ด้านบนขวา
Screen / Speaker
ASUS TUF Gaming FX505 มีหน้าจอขอบจอบางเฉียบเพียง 6.5 มิลลิเมตร ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) พาเนล IPS คุณภาพดีมุมมองกว้าง 178 องศา มีค่า Refresh Rate 60 Hz พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare ลดปัญหาเรื่องแสงสะท้อนและสู้แสงจ้าจากภายนอกได้ดี
ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี พร้อมมีระบบเสียง DTS Headphone: X ทำให้มีเสียงดังฟังชัด มีน้ำหนัก เสียงดีขึ้นจากตัว FX504 อย่างรู้สึกได้ ช่องลำโพงถูกออกมาอยู่ข้างตัวเครื่องทั้งด้านซ้ายและด้านขวา พร้อมมีแผงลำโพงสีแดงสวยงาม
ถัดมาดูในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS TUF Gaming FX505 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ด้วยตัวซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นอมฟ้ากลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 60% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 230 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงแล้ว อันนี้ไม่แนะนำ
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าขอบจอด้านบนซ้ายมีค่า 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ แต่สำหรับขอบจอตรงด้านล่างขวาจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 10% เลยทีเดียว ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ
ปิดท้ายด้วยคะแนน 3.0 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite ก็ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับกลางธรรมดาทั่วไป เพียงต่อการใช้งานปกติที่ไม่เน้นเรื่องความเที่ยงตรงของสีมากนัก
Connector / Thin And Weight
มาดูทางด้านพอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS TUF Gaming FX505 กันบ้าง ซึ่งเครื่องนี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ตเชื่อมต่อมาให้ครบครับใช้ได้เลยทีเดียว โดยตัวพอร์ตจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่องทั้งหมด มีทั้ง USB 3.1 Type-A (Gen 1) จำนวน 2 พอร์ต, USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต พร้อมช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร 1 ช่อง, Lan และ HDMI ส่วน Kensington จะอยู่ที่ด้านขวา แต่แอบเสียดายที่ตัวเครื่องไม่มี SD Card Reader กับ USB 3.1 Type-C มาให้
ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 5 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11 b/g/n/ac หรือเรียกว่ามาตราฐาน Wi-Fi 5 (2×2) ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น ขนาดของตัวเครื่อง 360.4 x 262.0 x 25.8 ~26.8 มม. โดยมีน้ำหนัก 2.2 กิโลกรัม ถือว่าค่อนข้างเบาเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่มักจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป และเมื่อรวมกับอแดปเตอร์ชาร์จเข้าไปด้วยจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัมเท่านั้น พอแบกพกพาไปไหนมาไหนได้อยู่ไม่เมื่อยมาก
Inside / Upgrade
การแกะเครื่อง ASUS TUF Gaming FX505 เพื่อทำการอัปเกรดนั้นสามารถอาจจะดูเหมือนทำได้ค่อนข้างยากเพราะต้องแกะน็อตออกเยอะ แต่จริงแล้วทำง่ายมากเพียงแกะน็อตออกทุกตัวแล้วใช้บัตรแข็งๆ ค่อยๆ แงะจากด้านหลังตรงแกนฝาพับตัวเครื่องแล้วค่อยๆ รูดไปตามแนวฝาหลัง และแกะแผ่นออกมาทั้งหมด ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวังช้าๆ ไม่ต้องรีบมิฉะนั้นเกลียวอาจจะหักได้ เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ถูกออกแบบจัดระเบียบได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว จุดสังเกตที่เปลี่ยนไปคือตัวเครื่องเลือกใช้ฮีทไปป์เส้นใหญ่ 3 เส้น พัดลมขนาดใหญ่ 12V HyperCool พร้อมระบายความร้อนที่มี ANTI-DUST TUNNELS ด้วยหมดกังวลเรื่องฝุ่นที่ติดตรงครีบระบายความร้อน
หลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะเห็นแผ่นสีดำ สีเทาแปะติดไว้อยู่ในหลายๆ ส่วนเพื่อกันไฟฟ้าสถิต และในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่สามารถทำการอัปเกรดได้คือมี SSD m.2 PCIe โดยถอดตัวเก่าออกแล้วใส่ตัวใหม่เข้าไป สำหรับ Ram นั้นจะมีแผ่นกระดาษสีดำปิดไว้อยู่ ซึ่งสามารถอัพได้ 1 ช่อง และได้ใส่ได้รวมกันสูงสุด 32 GB แนะนำว่าซื้อ 8 GB DDR4 Bus 2666 มาใส่อีกตัวก็เพียงพอกับการใช้งานมากๆ แล้วครับ
Performance / Software
ASUS TUF Gaming FX505 มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i5-8300H รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.30 GHz สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.00 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core/8 Thread ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป ไปจนถึงระดับหนักๆ ก็พอทำได้สบายๆ และ มาพร้อม Ram 8 GB DDR4 Bus 2666 1 แถว (ใส่ Ram ได้ 2 แถว อัปได้สูงสุด 32 GB)
ในส่วนของกราฟิกการ์ดตัวนี้จะใช้การ์ดจอออนบอร์ดเป็นตัว Intel UHD 630 ปกติ และมีการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี สามารถตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว เล่นเกมระดับ Full HD ลื่นๆ ทุกเกมบนโลกแน่นอน
ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1 TB แบบความเร็ว 5400 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 64.7 MB/s และสูงสุดที่ 145.6 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 110.5 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 19.2 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ได้ออกมาอยู่นเกณฑ์กลางๆ ครับ
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 128 GB แบบ M.2 NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 1502.4 MB/s และเขียนที่ 477.5 MB/s
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลัก ซึ่งผลคะแนนที่ได้ตามประสิทธิภาพเป็นที่น่าประทับใจพอสมควรเลยทีเดียวครับ สูงสุดๆ ไปเลย
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,332 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ
ในส่วนนี้เราจะทดสอบ ASUS TUF Gaming FX505 ในเรื่องของประสิทธิภาพการเล่นเกมทั้ง 6 เกมยอดนิยมในตอนนี้ไปดูเลยกราฟกันเลยดีกว่าครับประสิทธิภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 40 FPS ขึ้นไปทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i5-8300H ผสานกับ NVIDIA GeForce GTX 1060 6 GB ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับ Ram 8 GB และรวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 5400 RPM ด้วย(ใช้ติดตั้งเกม)
ซึ่งถ้าอยากให้เล่นเกมลื่นไหล FPS มากกว่านี้แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องปรับสุดก็ได้ ปรับแค่ระดับ High หรือ Medium ก็พอ โดยเฉพาะเกม Monster Hunter World เมื่อเจอมอนโหดๆ พลังเยอะๆ เฟรมก็ตกได้เหมือนกันเมื่อปรับสุดทุกอย่างนั่นเอง
นอกเหนือจากนี้ทาง ASUS ยังมีซอฟต์แวร์ Utility โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อย่าง ASUS Aura RGB ที่เราสามารถปรับแต่งไฟคีย์บอร์ด RGB Single Zone ได้ ในหลายๆ แบบ หลายๆ สไตล์ ตามพรีเซ็ทต่างๆ รวมไปถึงการปรับไฟขณะเปิดหรือปิดเครื่องได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อย่าง Fan Overboost ไว้ปรับรอบพัดลมได้ 3 แบบด้วยการกดปุ่ม Fn + F5
Battery / Heat / Noise
ASUS TUF Gaming FX505 นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ 4,240 mAh และเมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว โดยสามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi เล่นอินเตอร์เน็ตดู YouTube ได้ยาวนานประมาณถึง 6 ชั่วโมงครึ่ง 2 นาทีกันเลยทีเดียวครับ (ปรับแสงหน้าจอต่ำสุดและปิดไฟคีย์บอร์ด)
ทางด้านอุณหภูมิสำหรับเครื่องนี้ที่พัดลมระบายความร้อน 2 ตัว ช่องระบายความร้อน 3 ช่อง เรียกได้ว่าระบายความได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เมื่อใช้เล่นเกมหนักๆ เป็นเวลานานๆ จะมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 95 องศาสำหรับ CPU และ 83 องศาสำหรับ GPU ถือว่าทำได้อยู่เกณฑ์กลางๆ (โปรแกรม HWMonitor มองไม่เห็นอุณหภูมิการ์ดจอแยกต้องดูในเกมเอาเท่านั้น)
และถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะแตะหลัก 95 องศา แต่ตัวเครื่องบอดี้ตรงคีย์บอร์ดก็ไม่มีอาการ้อนจนผิดสังเกต หรือเล่นเกมแล้วมีอาการแลคเพราะอุณหภูมิขึ้นสูงแต่อย่างใดครับ (รูปด้านล่างคืออุณหภูมิการ์ดจอที่ทีมงานแคปมจากเกม GTA V)
Conclusion / Award
สรุปแล้ว ASUS TUF Gaming FX505 คือเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับความสามารถรอบด้านที่ครบถ้วน ทั้งประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเน้นความคุ้มค่าเป็นหลัก ซึ่งถือว่าสเปคที่ให้มาดีเลยทีเดียวตั้งแต่เริ่มต้นเหมาะสมกับราคา โดยมีตัวเริ่มต้นตั้งแต่ 27,990 บาทจนถึง 39,990 บาท แนะนำว่าหากเพื่อนๆ ต้องการซื้อมาเล่นเกมแนะนำตัวที่เป็นการ์ดจอ GTX 1060 จะดีกว่า GTX 1050Ti กว่าค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว (เล่นเกมเน้น GPU มากกว่า CPU)
ด้านการดีไซน์ก็ถือได้ว่าพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมพอสมควร ทั้งเรื่องของขอบจอบาง น้ำหนักตัวเครื่องที่เบาลง และความแข็งแรงวัสดุที่ดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแถมผ่านการทดสอบระดับ Military Grade มาแล้วอีกด้วย ในส่วนของคีย์บอร์ดเองก็เพิ่มไฟเป็น RGB มีซอฟต์แวร์ปรับได้แบบ Single Zone (ทุกปุ่มเป็นสีเดียวกันหมด) คล้ายกับตัว ROG Stirx ก็ทำมาได้โอเคเลยทีเดียว
ส่วนข้อสังเกตของเครื่องนี้ก็พอมีอยู่บ้าง คือในเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อที่ไม่มี USB Type C กับ SD Card Reader ที่หากใครจำเป็นต้องใช้คงต้องซื้อ Hub มาเพิ่ม และอุณหภูมิตัวเครื่องหากเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้อาจจะสูงขึ้นกว่าเดิมสักหน่อย เพราะตัวเครื่องมีขนาดที่เล็กลงขอบจอบาง ทำให้มีพื้นที่ในการระบายความร้อนน้อยลงด้วย อย่างไรก็ถามถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะมีอุณหภูมิที่ร้อนกว่า แต่บอดี้ภายนอกก็ไม่ได้ร้อนจนผิดสังเกต หรือเล่นเกมจนแลคเฟรมตกแต่อย่างใด รับรองว่าไม่มีปัญหาแน่นอนครับ
ข้อดี
- ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Intel Core i5-8300H และการ์ดจอ GTX 1060
- ดีไซน์การออกแบบสวยงาม วัสดุแข็งแรงขึ้น
- ขอบหน้าจอบางพิเศษเพียง 6.5 มม ทำให้ขนาดตัวเครื่องเท่ากับรุ่นโน๊ตบุ๊คจอ 14 นิ้วธรรมดา
- ติดตั้ง SSD M.2 NVMe ความจุ 128 GB + HDD ความจุ 1TB
- คีย์บอร์ดมีไฟ RGB Single Zone พร้อมมีซอฟต์แวร์มาช่วยปรับแต่ง
- ตัวเครื่องบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
- มีความทนทานระดับ Military Grade มีไม่กี่รุ่นที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้
- มาพร้อม Windows 10 ใช้งานได้ทันที
- ประกัน 2 ปี ส่งศูนย์ พร้อมฝากส่งเคลม 7-11 และมีประกันอุบติเหตุ 1 ปี
ข้อสังเกต
- ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้
- ไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ SD Card Reader
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง ASUS TUF Gaming FX505 ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ASUS TUF Gaming FX505 สเปคเป็น Intel Core i5-8300H การ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) + Ram 8 GB + SSD m.2 128 GB PCIe + มี Windows 10 แท้ แถมได้การรับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกอีกด้วย ในราคาเพียง 35,990 บาทเท่านั้นคุ้มค่ามากๆ ครับ
Best Design
การออกแบบถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้เปลี่ยนหน้าตาไปเท่าไรนัก แต่ถือว่าพัฒนามาจากรุ่น FX504 พมควรกับ FX505 เรื่องนี้ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนคือตัวเครื่องมีความบางลง น้ำหนักเบาลง และทีสำคัญเลยคือขอบจอบางเพียง 6.5 มม เท่านั้น ดูโดยรวมแล้วเรียบหรูตามสมัยนิยม มิติตัวเครื่องใกล้เคียงพวกโน๊ตบุ๊คที่ใช้จอ 14 นิ้วเลยทีเดียว
Best Durability
ASUS TUF Gaming FX505 มีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้ เพราะที่ผ่านมาเราจะหาความทนทานระดับ Military Grade ได้ก็พวก Ultrabook ราคาแพงเท่านั้น แต่สิ่งนี้ ASUS จัดเต็มมาให้เลย
Best Gaming
ด้วยสเปคชิปประมวลผล Intel Core i5-8300H ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับ Ram ขนาด 8GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) รวมไปถึง SSD M.2 NVMe + HDD ความเร็วสูงก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยการเล่นเกมจริงๆ เล่นได้ไหลลื่นทุกเกมแน่นอนบนความละเอียด Full HD
VDO Review
Specification
ASUS TUF Gaming FX505 รุ่นที่ทางทีมงาน NBS ได้มาทดสอบใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-8300H (2.30 – 4.00 GHz) ทำงานแบบ 4 Core/ 8 Thread ประสิทธิใช้ได้ พร้อมกราฟิการ์ด NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) พร้อมฮาร์ดดิสก์ความจุ 1 TB ที่ 5400 RPM และ SSD m.2 NVMe 128 GB ในส่วนของ Ram 8 GB แบบ DDR4 Bus 2666
นอกจากนี้ ASUS TUF Gaming FX505 มาพร้อมจอแสดงผลแบบด้าน 15.6 นิ้วขอบบาง ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ดีน่าประทับใจ พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD (720p) และมีไมค์ดิจิตอลในตัว ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาให้พอตัวทั้ง HDMI, 2 x USB 3.0, 1 x USB 2.0, Kensington lock slot, LAN RJ-45, รูหูฟังกับไมค์แบบ Combo ซึ่งพอร์ตเชื่อมต่อทั้งหมดจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่อง ส่วนการเชื่อมต่อไร้สายก็มาพร้อมกับ Bluetooth 5.0 และ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 AC พร้อมระบบปฎิบัติการติดตั้ง Windows 10 แท้มาให้ในตัว
ทางด้านราคาของ ASUS TUF Gaming FX505 รุ่นที่ทีมงานรีวิวในบทความนี้รหัส FX505GM-BQ163T สนนราคาอยู่ที่ 35,990 บาท การรับประกัน 2 ปี และที่สำคัญเมื่อเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกจากทาง ASUS อีกด้วยอุ่นใจจัดเต็ม
- ASUS TUF Gaming FX505GE i5-8300H / GTX 1050Ti ราคา 27,990 บาท
- ASUS TUF Gaming FX505GE i7-8750H / GTX 1050Ti / SSD m.2 128 GB ราคา 33,990 บาท
- ASUS TUF Gaming FX505GM i5-8300H / GTX 1060 / SSD m.2 128 GB ราคา 35,990 บาท **รุ่นที่รีวิว
- ASUS TUF Gaming FX505GM i7-8750H / GTX 1060 / SSD m.2 256 GB ราคา 39,990 บาท
Hardware / Design
ดีไซน์การออกแบบของ ASUS TUF Gaming FX505 เรียกได้ว่าถอดแบบรูปร่างทรวดทรงเหมือนกับรุ่นพี่ตัว FX504 อารมณ์เหมือนเอาไฟฉายโดเรม่อนมาย่อส่วนเครื่องเอา ซึ่งมีลักษณะที่เน้นเรื่องความโฉบเฉี่ยว ดุดัน โดยจะเปลี่ยนลายฝาหลังวัสดุจะเป็นโลหะสีเทา ทำเป็นลายขีดเส้นตัว X ผิวเรียบ ตรงกลางฝาหลังมีโลโก้ ASUS มีไฟทีสองสวยงาม สไตล์มินิมอลเรียบง่าย เอาไปเล่นตอนกลางคืนดูโดดเด่นสุดดุดตาแน่นอน โดย ASUS ให้ชื่อดีไซน์ตัว FX505 รุ่นนี้ว่า Gold Steel
ทางด้านวัสดุบอดี้ภายในตัวเครื่องจะเป็นพลาสติกสีดำเทาสี Gun Metal ทำเป็นลายบลัชปัดเสี้ยนเรียบหรู ไม่เป็นรอยนิ้วมือง่าย งานประกอบถือว่าแข็งแรงทนทานระดับ Military Grade น้ำหนักเบา ส่วนบอดี้ด้านล่างก็เป็นพลาสติกสีดำปกติ แกะลายช่องระบายความร้อนแบบใหม่ดูสวยงามดี การอัปเกรดดูเหมือนจะอยากเพราะต้องแกะน็อตออกหลายตัว เมื่อลองทำจริงๆ สามารถทำได้ง่ายมาก เอาบัตรแข็งรูดเบาๆ ก็แกะออกได้เลย
ด้านบานพับตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ วัสดุก็เป็นพลาสติกเช่นเดียวกับบอดี้ด้านใน ด้านบนคีย์บอร์ดก็จะมาพร้อมกับช่องดูดลมระบายอากาศ ส่วนด้านหลังตัวเครื่องออกแบบให้มีช่องระบายความร้อนสองช่องขนาดใหญ่ และด้านข้างขวาอีกหนึ่งช่อง รวมเป็นสามช่อง พร้อมฟินระบายความร้อนสีแดงเข้ม และ Anti-dust Cooling ช่องระบายฝุ่นมาให้อีกด้วย
นอกจากนี้อีกหนึ่งความโดดเด่นของ ASUS TUF Gaming FX505 คือคีย์บอร์ดที่ออกแบบมาเพื่อเกมเมอร์โดยเฉพาะ ทำการทำไฮไลท์ปุ่ม WASD ใหม่เป็นแบบโปร่งแสงสีขาวใส และเพิ่มไฟจากปกติมีแค่สีแดงเป็นแบบ RGB จัดเต็ม สามารถปรับได้ 3 ระดับ ปุ่ม Spacebar ด้านมุมล่างซ้ายก็ทำแหว่งออกมานิดหนึ่งเพื่อให้ใช้นิ้วโป้งซ้ายกดง่ายขึ้นด้วย ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่ที่ด้านซ้ายทั้งหมดเหมือนเดิม และมิติตัวเครื่อง FX505 รุ่นนี้ค่อนข้างเล็ก เทียบเท่ากับโน๊ตบุ๊คจอ 14 นิ้ว แต่ได้หน้าจอได้ถึง 15.6 นิ้วเลยนั่นเองครับ
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ ASUS TUF Gaming FX505 มาพร้อมไฟ RGB Auraโดยเป็นแบบ Single Zone ที่สามารถเปลี่ยนสีไฟได้ผ่านทางซอฟต์แวร์ AURA RGB ซึ่งสามารถปรับได้หลากหลายรูปแบบ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของตระกูล ASUS TUF Gaming ที่คีย์บแร์ดมีไฟ RGB เหมือนกับรุ่นพี่ ROG พร้อมกับเปลี่ยนปุ่ม WASD เป็นแบบสีใสโปร่งแสงสวยงาม
โดยตัวปุ่มกดบนแป้นจะเป็นแบบ Chiclet Switches ที่มีระยะห่างระหว่างปุ่ม 1.8 มม. ปุ่มโค้ง 0.25 มม. รองรับ N-key Rollover รองรับการกดปุ่ม 30 ปุ่มพร้อมกัน และกดได้สูงสุด 20 ล้านครั้ง พร้อมตัวคีย์บอร์ดวางเลเอาท์แยกปุ่มลูกศรชัดเจน รวมถึง Numpad ก็มีมาให้เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้แบบแป้นพิมพ์ Full Size ด้วยเช่นกัน
ส่วนของทัชแพดที่มีขนาดพอเหมาะพอดีกับตัวเครื่อง ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบซ่อนปุ่มเพื่อความสวยงาม พื้นผิวมีลักษณะเรียบลื่น แต่อาจจจะเป็นคราบรอยนิ้วมือง่ายสักหน่อย ส่วนปุ่มปิดเปิดเครื่องจะอยู่ที่มุมบนขวามีไฟสีแดงเวลาเปิดเครื่อง พร้อมกับไฟแสดงสถานะสี่จุดเยื่องอยู่ที่ด้านบนขวา
Screen / Speaker
ASUS TUF Gaming FX505 มีหน้าจอขอบจอบางเฉียบเพียง 6.5 มิลลิเมตร ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) พาเนล IPS คุณภาพดีมุมมองกว้าง 178 องศา มีค่า Refresh Rate 60 Hz พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare ลดปัญหาเรื่องแสงสะท้อนและสู้แสงจ้าจากภายนอกได้ดี
ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี พร้อมมีระบบเสียง DTS Headphone: X ทำให้มีเสียงดังฟังชัด มีน้ำหนัก เสียงดีขึ้นจากตัว FX504 อย่างรู้สึกได้ ช่องลำโพงถูกออกมาอยู่ข้างตัวเครื่องทั้งด้านซ้ายและด้านขวา พร้อมมีแผงลำโพงสีแดงสวยงาม
ถัดมาดูในส่วนของการทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS TUF Gaming FX505 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ด้วยตัวซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นอมฟ้ากลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 60% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 230 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงแล้ว อันนี้ไม่แนะนำ
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าขอบจอด้านบนซ้ายมีค่า 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ แต่สำหรับขอบจอตรงด้านล่างขวาจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 10% เลยทีเดียว ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ
ปิดท้ายด้วยคะแนน 3.0 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite ก็ถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับกลางธรรมดาทั่วไป เพียงต่อการใช้งานปกติที่ไม่เน้นเรื่องความเที่ยงตรงของสีมากนัก
Connector / Thin And Weight
มาดูทางด้านพอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS TUF Gaming FX505 กันบ้าง ซึ่งเครื่องนี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ตเชื่อมต่อมาให้ครบครับใช้ได้เลยทีเดียว โดยตัวพอร์ตจะอยู่ด้านซ้ายมือตัวเครื่องทั้งหมด มีทั้ง USB 3.1 Type-A (Gen 1) จำนวน 2 พอร์ต, USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต พร้อมช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร 1 ช่อง, Lan และ HDMI ส่วน Kensington จะอยู่ที่ด้านขวา แต่แอบเสียดายที่ตัวเครื่องไม่มี SD Card Reader กับ USB 3.1 Type-C มาให้
ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 5 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11 b/g/n/ac หรือเรียกว่ามาตราฐาน Wi-Fi 5 (2×2) ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น ขนาดของตัวเครื่อง 360.4 x 262.0 x 25.8 ~26.8 มม. โดยมีน้ำหนัก 2.2 กิโลกรัม ถือว่าค่อนข้างเบาเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่มักจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัมขึ้นไป และเมื่อรวมกับอแดปเตอร์ชาร์จเข้าไปด้วยจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัมเท่านั้น พอแบกพกพาไปไหนมาไหนได้อยู่ไม่เมื่อยมาก
Inside / Upgrade
การแกะเครื่อง ASUS TUF Gaming FX505 เพื่อทำการอัปเกรดนั้นสามารถอาจจะดูเหมือนทำได้ค่อนข้างยากเพราะต้องแกะน็อตออกเยอะ แต่จริงแล้วทำง่ายมากเพียงแกะน็อตออกทุกตัวแล้วใช้บัตรแข็งๆ ค่อยๆ แงะจากด้านหลังตรงแกนฝาพับตัวเครื่องแล้วค่อยๆ รูดไปตามแนวฝาหลัง และแกะแผ่นออกมาทั้งหมด ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวังช้าๆ ไม่ต้องรีบมิฉะนั้นเกลียวอาจจะหักได้ เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ถูกออกแบบจัดระเบียบได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว จุดสังเกตที่เปลี่ยนไปคือตัวเครื่องเลือกใช้ฮีทไปป์เส้นใหญ่ 3 เส้น พัดลมขนาดใหญ่ 12V HyperCool พร้อมระบายความร้อนที่มี ANTI-DUST TUNNELS ด้วยหมดกังวลเรื่องฝุ่นที่ติดตรงครีบระบายความร้อน
หลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะเห็นแผ่นสีดำ สีเทาแปะติดไว้อยู่ในหลายๆ ส่วนเพื่อกันไฟฟ้าสถิต และในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่สามารถทำการอัปเกรดได้คือมี SSD m.2 PCIe โดยถอดตัวเก่าออกแล้วใส่ตัวใหม่เข้าไป สำหรับ Ram นั้นจะมีแผ่นกระดาษสีดำปิดไว้อยู่ ซึ่งสามารถอัพได้ 1 ช่อง และได้ใส่ได้รวมกันสูงสุด 32 GB แนะนำว่าซื้อ 8 GB DDR4 Bus 2666 มาใส่อีกตัวก็เพียงพอกับการใช้งานมากๆ แล้วครับ
Performance / Software
ASUS TUF Gaming FX505 มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i5-8300H รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.30 GHz สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 4.00 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core/8 Thread ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป ไปจนถึงระดับหนักๆ ก็พอทำได้สบายๆ และ มาพร้อม Ram 8 GB DDR4 Bus 2666 1 แถว (ใส่ Ram ได้ 2 แถว อัปได้สูงสุด 32 GB)
ในส่วนของกราฟิกการ์ดตัวนี้จะใช้การ์ดจอออนบอร์ดเป็นตัว Intel UHD 630 ปกติ และมีการ์ดจอแยก NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี สามารถตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว เล่นเกมระดับ Full HD ลื่นๆ ทุกเกมบนโลกแน่นอน
ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1 TB แบบความเร็ว 5400 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 64.7 MB/s และสูงสุดที่ 145.6 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 110.5 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 19.2 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ได้ออกมาอยู่นเกณฑ์กลางๆ ครับ
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 128 GB แบบ M.2 NVMe ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ราวๆ 1502.4 MB/s และเขียนที่ 477.5 MB/s
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลัก ซึ่งผลคะแนนที่ได้ตามประสิทธิภาพเป็นที่น่าประทับใจพอสมควรเลยทีเดียวครับ สูงสุดๆ ไปเลย
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 4,332 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานทั่วไปโดยรวมนั้นสอบผ่านแบบสบายๆ ทั้งในส่วนของการเล่นเว็บไซต์ งานเอกสาร งานตกแต่งรูปภาพ รวมถึงงานตัดต่อวิดีโอ
ในส่วนนี้เราจะทดสอบ ASUS TUF Gaming FX505 ในเรื่องของประสิทธิภาพการเล่นเกมทั้ง 6 เกมยอดนิยมในตอนนี้ไปดูเลยกราฟกันเลยดีกว่าครับประสิทธิภาพเป็นอย่างไรกันบ้าง
คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 40 FPS ขึ้นไปทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i5-8300H ผสานกับ NVIDIA GeForce GTX 1060 6 GB ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับ Ram 8 GB และรวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 5400 RPM ด้วย(ใช้ติดตั้งเกม)
ซึ่งถ้าอยากให้เล่นเกมลื่นไหล FPS มากกว่านี้แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องปรับสุดก็ได้ ปรับแค่ระดับ High หรือ Medium ก็พอ โดยเฉพาะเกม Monster Hunter World เมื่อเจอมอนโหดๆ พลังเยอะๆ เฟรมก็ตกได้เหมือนกันเมื่อปรับสุดทุกอย่างนั่นเอง
นอกเหนือจากนี้ทาง ASUS ยังมีซอฟต์แวร์ Utility โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อย่าง ASUS Aura RGB ที่เราสามารถปรับแต่งไฟคีย์บอร์ด RGB Single Zone ได้ ในหลายๆ แบบ หลายๆ สไตล์ ตามพรีเซ็ทต่างๆ รวมไปถึงการปรับไฟขณะเปิดหรือปิดเครื่องได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อย่าง Fan Overboost ไว้ปรับรอบพัดลมได้ 3 แบบด้วยการกดปุ่ม Fn + F5
Battery / Heat / Noise
ASUS TUF Gaming FX505 นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ 4,240 mAh และเมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียว โดยสามารถใช้งานผ่าน Wi-Fi เล่นอินเตอร์เน็ตดู YouTube ได้ยาวนานประมาณถึง 6 ชั่วโมงครึ่ง 2 นาทีกันเลยทีเดียวครับ (ปรับแสงหน้าจอต่ำสุดและปิดไฟคีย์บอร์ด)
ทางด้านอุณหภูมิสำหรับเครื่องนี้ที่พัดลมระบายความร้อน 2 ตัว ช่องระบายความร้อน 3 ช่อง เรียกได้ว่าระบายความได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เมื่อใช้เล่นเกมหนักๆ เป็นเวลานานๆ จะมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 95 องศาสำหรับ CPU และ 83 องศาสำหรับ GPU ถือว่าทำได้อยู่เกณฑ์กลางๆ (โปรแกรม HWMonitor มองไม่เห็นอุณหภูมิการ์ดจอแยกต้องดูในเกมเอาเท่านั้น)
และถึงแม้ว่าอุณหภูมิจะแตะหลัก 95 องศา แต่ตัวเครื่องบอดี้ตรงคีย์บอร์ดก็ไม่มีอาการ้อนจนผิดสังเกต หรือเล่นเกมแล้วมีอาการแลคเพราะอุณหภูมิขึ้นสูงแต่อย่างใดครับ (รูปด้านล่างคืออุณหภูมิการ์ดจอที่ทีมงานแคปมจากเกม GTA V)
Conclusion / Award
สรุปแล้ว ASUS TUF Gaming FX505 คือเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับความสามารถรอบด้านที่ครบถ้วน ทั้งประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเน้นความคุ้มค่าเป็นหลัก ซึ่งถือว่าสเปคที่ให้มาดีเลยทีเดียวตั้งแต่เริ่มต้นเหมาะสมกับราคา โดยมีตัวเริ่มต้นตั้งแต่ 27,990 บาทจนถึง 39,990 บาท แนะนำว่าหากเพื่อนๆ ต้องการซื้อมาเล่นเกมแนะนำตัวที่เป็นการ์ดจอ GTX 1060 จะดีกว่า GTX 1050Ti กว่าค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว (เล่นเกมเน้น GPU มากกว่า CPU)
ด้านการดีไซน์ก็ถือได้ว่าพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมพอสมควร ทั้งเรื่องของขอบจอบาง น้ำหนักตัวเครื่องที่เบาลง และความแข็งแรงวัสดุที่ดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแถมผ่านการทดสอบระดับ Military Grade มาแล้วอีกด้วย ในส่วนของคีย์บอร์ดเองก็เพิ่มไฟเป็น RGB มีซอฟต์แวร์ปรับได้แบบ Single Zone (ทุกปุ่มเป็นสีเดียวกันหมด) คล้ายกับตัว ROG Stirx ก็ทำมาได้โอเคเลยทีเดียว
ส่วนข้อสังเกตของเครื่องนี้ก็พอมีอยู่บ้าง คือในเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อที่ไม่มี USB Type C กับ SD Card Reader ที่หากใครจำเป็นต้องใช้คงต้องซื้อ Hub มาเพิ่ม และอุณหภูมิตัวเครื่องหากเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้อาจจะสูงขึ้นกว่าเดิมสักหน่อย เพราะตัวเครื่องมีขนาดที่เล็กลงขอบจอบาง ทำให้มีพื้นที่ในการระบายความร้อนน้อยลงด้วย อย่างไรก็ถามถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะมีอุณหภูมิที่ร้อนกว่า แต่บอดี้ภายนอกก็ไม่ได้ร้อนจนผิดสังเกต หรือเล่นเกมจนแลคเฟรมตกแต่อย่างใด รับรองว่าไม่มีปัญหาแน่นอนครับ
ข้อดี
- ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Intel Core i5-8300H และการ์ดจอ GTX 1060
- ดีไซน์การออกแบบสวยงาม วัสดุแข็งแรงขึ้น
- ขอบหน้าจอบางพิเศษเพียง 6.5 มม ทำให้ขนาดตัวเครื่องเท่ากับรุ่นโน๊ตบุ๊คจอ 14 นิ้วธรรมดา
- ติดตั้ง SSD M.2 NVMe ความจุ 128 GB + HDD ความจุ 1TB
- คีย์บอร์ดมีไฟ RGB Single Zone พร้อมมีซอฟต์แวร์มาช่วยปรับแต่ง
- ตัวเครื่องบริเวณที่ใช้งานจริง ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส
- มีความทนทานระดับ Military Grade มีไม่กี่รุ่นที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้
- มาพร้อม Windows 10 ใช้งานได้ทันที
- ประกัน 2 ปี ส่งศูนย์ พร้อมฝากส่งเคลม 7-11 และมีประกันอุบติเหตุ 1 ปี
ข้อสังเกต
- ตัวเลขอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้
- ไม่มีพอร์ต USB 3.1 Type-C และ SD Card Reader
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง ASUS TUF Gaming FX505 ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Value
ASUS TUF Gaming FX505 สเปคเป็น Intel Core i5-8300H การ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) + Ram 8 GB + SSD m.2 128 GB PCIe + มี Windows 10 แท้ แถมได้การรับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกอีกด้วย ในราคาเพียง 35,990 บาทเท่านั้นคุ้มค่ามากๆ ครับ
Best Design
การออกแบบถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้เปลี่ยนหน้าตาไปเท่าไรนัก แต่ถือว่าพัฒนามาจากรุ่น FX504 พมควรกับ FX505 เรื่องนี้ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนคือตัวเครื่องมีความบางลง น้ำหนักเบาลง และทีสำคัญเลยคือขอบจอบางเพียง 6.5 มม เท่านั้น ดูโดยรวมแล้วเรียบหรูตามสมัยนิยม มิติตัวเครื่องใกล้เคียงพวกโน๊ตบุ๊คที่ใช้จอ 14 นิ้วเลยทีเดียว
Best Durability
ASUS TUF Gaming FX505 มีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้ เพราะที่ผ่านมาเราจะหาความทนทานระดับ Military Grade ได้ก็พวก Ultrabook ราคาแพงเท่านั้น แต่สิ่งนี้ ASUS จัดเต็มมาให้เลย
Best Gaming
ด้วยสเปคชิปประมวลผล Intel Core i5-8300H ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับ Ram ขนาด 8GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) รวมไปถึง SSD M.2 NVMe + HDD ความเร็วสูงก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยการเล่นเกมจริงๆ เล่นได้ไหลลื่นทุกเกมแน่นอนบนความละเอียด Full HD