ในยุคที่วงการ eSport กำลังมาแรงอย่างหนักหลายๆคนก็เริ่มที่จะสนใจและอยากจะแข่งขันกันจำนวนมาก นอกเหนือจากฝีมือและพรสวรรค์ของผู้เล่นแล้ว อีกสิ่งที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญเลยคือ Gaming Gear หรือก็คืออุปกรณ์ที่จะช่วยให้คนเล่นมีข้อได้เปรียบมากกว่าคนอื่นๆขึ้นมา จะมากหรือน้อยก็อยู่ที่ตัวผู้ใช้งานจะประยุกต์เอา ในวันนี้ผมจะมาไล่เรียงดูว่า Gaming Gear ในความคิดของผมนั้นมีอะไรบ้างว่าแล้วก็มาดูกันเลย
Keyboard
ถือว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญใน 3 สิ่งเลยก็ว่าได้สำหรับคีย์บอร์ดเนื่องจากในการแข่งกันจริงๆใครที่สามารถตอบสนองกับเกมได้เร็วกว่ากันก็ย่อมได้เปรียบเสมอ โดยสำหรับประเภทของคีย์บอร์ดที่มีอยู่จะแบ่งเป็น Membrane Keyboard เป็นคีย์บอร์ดแบบที่เราใช้กันอยู่ทั่วๆไป ราคาไม่แพงมาก เสียงเบาเมื่อกดลงไป แต่การตอบสนองของปุ่มหากนำมาใช้งานเล่นเกมจะไม่ดีเท่าพวก Mechanical เนื่องจากแผ่นยางเป็นตัวนำกว่าที่จะส่งข้อมูลที่เรากระทำจึงช้าในการตอบสนอง
ส่วนอีกแบบคือ Mechanical Keyboard ซึ่งจะเป็นคีย์บอร์ดที่ใช้งานกลไกของปุ่มมาแทนที่การใช้งาน ข้อดีเลยคือเวลากดลงไปแล้วจะได้การตอบสนองกลับในทันที ความหน่วงระหว่างการกระทำจึงไม่เกิดขึ้น โดยสำหรับ Mechanical จะมีปัจจัยที่ทำให้แต่ละตัวต่างกันคือประเภทของ Switch ที่เลือกใช้งานโดยแต่ละมีรายละเอียดตามนี้
- Cherry Black จะเป็นปุ่มที่มีแรงต้านสูงทำให้โอกาสในการกดพลาดเกิดขึ้นยาก
- Cherry Red คล้ายกับแบบ Black แต่จะมีแรงต้านที่น้อยกว่าทำให้สามารถนำไปใช้งานได้มากกว่าเล่นเกม
- Cherry Brown กดได้สองจังหวะ เสียงที่เกิดจากการกดจะน้อยกว่าตัวอื่นๆ
- Cherry Blue จังหวะกดสองจังหวะเช่นเดียวกัน ใช้แรงกดมากกว่า Brown มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์
- Cherry White ใช้งานได้สองจังหวะ ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากจะไปคล้ายกับแบบ Black เมื่อกด
- Cherry Green ใช้แรงกดที่สูงมาก ถึงแม้จะเป็นแบบสองจังหวะก็ตาม เหมาะสำหรับคนที่ชอบกดปุ่มแรงๆ
สำหรับตัวอย่างคีย์บอร์ดที่จะหยิบยกมานั้นเป็นรุ่น Tt eSPORTS Neptune Elite RGB ที่จะมาพร้อมกับองค์ประกอบที่เหมาะสำหรับการใช้งานไม่ว่าจะเป็น Full Anti-Ghosting ที่ผู้ใช้สามารถกดทุกปุ่มบนคีย์บอร์ดได้พร้อมกัน Polling Rate 1000 Hz ที่จะช่วยให้ส่งข้อมูลของแต่ละปุ่มได้อย่างไม่มีดีเลย์ พร้อมปุ่มฟังก์ชั่นต่างๆที่จะช่วยทั้งการเข้าถึงและตั้งค่ามาโครได้หลากหลาย มาพร้อมไฟ RGB หลากสีสัน ใช้งาน ฺBlue Switch
Mouse
ในส่วนของเม้าส์ที่ใช้งานในการเล่นเกมนั้นจะค่อนข้างมีทิศทางไปในแนวๆเดียวกันโดยจะต่างกันที่รูปทรงเสียมากกว่า สิ่งต่างๆที่เม้าส์สำหรับเล่นเกมควรจะมีคือ การปรับระดับ DPI ปุ่มใช้งานที่หลากหลายสำหรับการตั้งค่ามาโครต่างๆ ค่า Response ที่ต่ำระดับ 1ms ประเภทของเม้าส์ Optical หรือ Laser
สำหรับ Optical Mouse จะใช้แสง LED เป็นตัวกลางในการเคลื่อนไหวของเม้าส์ โดยที่ Laser Mouse จะใช้งานเป็น Laser ในการระบุการเคลื่อนไหว ในขณะที่การใช้งานบนพื้ผิวต่างๆตัวของ Laser จะใช้งานได้ในทุกๆพื้นผิวขณะที่ Optical จะใช้งานได้บนพื้นผิวที่ไม่ค่อยมีการสะท้อนเนื่องจากว่าใช้ LED เป็นตัวนำหากมีการสะท้อนจะใช้งานไม่ได้
มาอธิบายเพิ่มเติมจากช่วงแรกเกี่ยวกับค่า DPI และ Polling Rate กันดีกว่า โดยสำหรับค่า DPI จะค่าที่บอกความไวของเม้าส์โดยสำหรับการใช้งานบนความละเอียดของจอทีไม่ได้สูงอะไรมากมายเช่น 1600 x 900 สามารถใช้งาน DPI ระดับทั่วๆไปได้อาจจะอยู่ช่วง 800 – 1500 DPI ตามแต่ความคุ้นชิน แต่ถ้าจอมีความละเอียดมากระดับ 4K การที่มี DPI ยิ่งสูงก็จะช่วยให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ต่างๆบนจอได้รวดเร็วกว่านั้นเอง ไม่ต้องสะบัดเม้าส์หลายรอบ
ส่วนค่า Polling Rate เป็นค่าที่ใช้ในการวัดการตอบสนองของการกระทำที่เราใช้งานลงไปเช่นเราคลิ้กลงไปแล้วหากมีค่า Polling Rate ต่ำอาจจะเกิดอาการหน่วงหรือไม่ทันใจ แต่หากเป็นค่า Polling Rate สูงเช่น 1000 Hz ก็จะตอบสนองได้ในทันที โดยจริงๆแล้ว Polling Rate ช่วง 500 – 1000 Hz เราแทบจะแยกกันไม่ออกแล้วนั้นเอง
ในส่วนของประเภทเกมที่เหมาะสำหรับเม้าส์ทั้งสองประเภท Optical Mouse จะเหมาะกับเกมที่ไม่ได้ต้องใช้ Action ของเม้าส์มากๆ อาจจะขยับไปมาบ้างแต่ไม่ได้ทำอย่างรวดเร็ว เนื่องจากใช้ LED เป็นตัวนำหากต้องขยับหรือสะบัดเร็วๆอาจจะเกิดความคาดเคลื่อนได้ ส่วน Laser Mouse เหมาะสำหรับเกมที่ต้องมีการใช้การสะบัดเม้าส์รั่วๆและเร็วยกตัวอย่างอาจจะเป็นเกมแนว MOBA หรือ RTS ก็ดูจะเหมาะสมกับเม้าส์ประเภทนี้
โดยจะขอยกตัวอย่างเม้าส์ที่น่าสนใจเป็นรุ่น Tt eSPORT TALON ELITE RGB ที่จะเป็นเม้าส์แบบ Optical มาพร้อมกับการรองรับ DPI สูงสุดที่ 5000 DPI ซึ่งถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานในทุกรูปแบบ ส่วน Polling Rate อยู่ที่ 1000 Hz พร้อมตัว Software สำหรับการปรับแต่งให้สุดไปอีก ที่สำคัญไม่ได้มีเพียงแค่เม้าส์แต่แถมแผ่นรองเม้าส์มาให้พร้อมใช้งาน
Headset
สำหรับหูฟังที่เลือกใช้งานก็จะแบ่งออกได้เป็นทั้งแบบ In-ear และ On-ear ซึ่งแบบแรกจะเป็นเหมือนหูฟังทั่วๆไปที่เราใช้งานกันสำหรับมือถือที่แถมมา แต่เมื่อมาอยู่ในวงการเกมแล้วหูฟังแบบ In-ear ก็จะให้ความละเอียดและเนื้อเสียงรวมไปถึงทิศทางได้ดีกว่าหูฟังทั่วๆไป แต่ข้อเสียอาจจะเป็นเรื่องเสียงภายนอกที่เข้ามาได้ง่ายกว่า
สำหรับหูฟังแบบ On-ear จะเป็นหูฟังที่เป็นแบบครอบทั้งใบหูของเราเลย แน่นอนว่าเรื่องเสียงรบกวนภายนอกที่จะเข้ามาให้เราได้ยินจะน้อยกว่าแบบ In-ear โดยส่วนอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องเสียงถือว่าไม่ได้ต่างจากแบบ In-ear มาก ส่วนข้อเสียของแบบ On-ear คือจะเกิดอาการล้าได้ง่ายกว่าแบบ In-ear และเรื่องของการพกพา
สำหรับข้อแนะนำในการเลือกใช้งานของทั้งสองแบบในส่วนของ In-ear เหมาะกับเกมเมอร์ที่ชีวิตไม่ได้อยู่กับเกมเป็นหลักและชอบอะไรที่ไม่เกะกะ หรือเปลืองพื้นที่ในกระเป๋ามาก เพราะด้วยขนาดของมันก็เหมือนหูฟังที่ติดมากับมือถือ ทำให้ง่ายต่อการพกพาและเข้ากับทุกๆการใช้งานมากกว่า
ในขณะเดียวกันสำหรับหูฟังแบบ On-ear จะเหมาะกับคนที่ชื่นชอบในการเก็บรายละเอียดของเสียงแบบหมดจด เนื่องจากเสียงรบกวนที่่จะได้จากภายนอกนั้นจะน้อยจนไปถึงไม่ได้ยินเลย โดยอีกปัจจัยที่น่าจะเกี่ยวข้องคือการพกพาโดยสำหรับการออกแบบหูฟัง On-ear เดี้ยวนี้สามารถพับและเก็บได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมากๆแล้ว เรื่องของการพกพาจึงไม่ใช่ปัญหา
โดยตัวที่จะแนะนำขอยกเป็น HyperX Cloud Flight ที่เป็นหูฟัง On-ear แบบไร้สายทำให้ง่ายต่อการใช้งาน สามารถรับส่งสัญญาณของเสียงได้ไกลแบบข้ามห้องได้ แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้นานถึง 30 ชั่วโมง มาพร้อมกับไมค์ที่ตัดเสียงรบกวนรอบๆ เก็บทุกรายละเอียดของเสียงได้ชัดเจนแม้จะเป็นแบบไร้สาย ที่สำคัญรองรับการใช้งานกับเครื่อง PS4 ด้วย
Mousepad
สำหรับแผ่นรองเม้าส์เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่เกมเมอร์มักจะมีใช้งานกัน เพราะมันจะช่วยในเรื่องของการใช้งานเม้าส์ให้มีประสิทธิภาพและเป็นดั่งใจมากขึ้น โดยสำหรับวัสดุที่ใช้งานกันหลักๆจะเป็นยางที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากทำได้ง่ายและมีราคาที่ถูก คุณภาพก็ถือว่าใช้งานได้ อาจจะมีตัวอื่นๆที่นำมาใช้งานเป็นวัสดุเช่น อะลูมิเนียม สำหรับแผ่นรองเม้าส์หลักๆจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ Control และ Speed
สำหรับแผ่นรองเม้าส์แบบ Control จะถูกออกแบบมาให้พื้นผิวของแผ่นเม้าส์มีการใส่ Texture ลงไปทำให้เวลาใช้งานสามารถควบคุมได้ดีและไม่มีความคาดเคลื่อนของเม้าส์ โดยสำหรับการเลือกใช้งานแบบ Control เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบในความแม่นยำของเม้าส์และรูปแบบการเล่นที่เน้นรายละเอียดมากกว่าความเร็ว
ต่อมาเป็นแบบ Speed ที่จะมีการออกแบบพื้นผิวของตัวแผ่นให้เรียบไปทั่วทั้งแผ่น โดยจะไม่มีการใส่ Texture อะไรลงไปเพื่อไปขัดต่อการใช้งานเสียส่วนใหญ่ โดยข้อดีของมันคือการที่สามารถสะบัดเม้าส์ได้อย่างว่องไวและรวดเร็ว เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบในความลื่นไหลและชำนาญในการคุมเม้าส์มากๆแล้ว ก็จะดึงประสิทธิภาพออกมาได้อย่าางเต็มที่
สำหรับขนาดของแผ่นรองเม้าส์จะแบ่งได้หลักๆอยู่ 4 แบบคือ เล็ก กลาง ใหญ่ และเต็มพื้นที่ โดยที่การเลือกขนาดของแผ่นรองเม้าส์ก็ต้องดูปัจจัยทั้งพื้นที่ เกมที่เล่น และผู้ใช้งาน สำหรับคนที่ไม่ได้ชื่นชอบในการสะบัดเม้าส์หรือเคลื่อนไหวมากๆขนาดเล็กและกลางจะเหมาะกับคุณ แต่ถ้าไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่แล้วชื่นชอบในการสะบัดเม้าส์หรือลากแบบยาวๆการเลือกขนาดใหญ่หรือเต็มพื้นที่ดูจะเหมาะสมกว่านั้นเอง
สำหรับตัวที่แนะนำจะเป็น Razer Goliathus Chroma RGB ที่มาพร้อมกับการใช้งานวัสดุแบบยาง โดยมีการออกแบบพื้นผิวให้มี Texture ที่สามารถใช้งานได้ทั้งแบบ Control และ Speed โดยตัวของพื้นผิวยังถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งเม้าส์แบบ Optical และ Laser ขนาดมีให้เลือกใช้งานสองแบบคือ กลาง และ เต็มพื้นที่ ทำให้สามารถใช้งานได้ครบครันในผืนเดียว
และนี้คือ Gaming Gear ทั้งหมดที่อยู่ในความคิดของผมนั้นเอง โดยในปัจจุบันยังไม่ได้มีคำจำกัดความหรือการแบ่งประเภทของ Gaming Gear ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยตอนนี้ก็มีอุปกรณ์หลายๆตัวที่ถูกนำมาใช้งานสำหรับการเล่นเกม ไม่ว่าจะเป็น Gaming Chair ซึ่งเป็นเก้าอี้ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับการกระทำของคนเล่นเกมเป็นหลัก ซึ่งเจ้าสิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจเลยทีเดียว ซึ่งถ้าหากว่ามีอุปกรณ์อะไรที่น่าสนใจก็สามารถรอติดตามได้ทาง NotebookSPEC ได้เลยครับ