การที่จะเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คสักเครื่องที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรานั้นหลายท่านอาจจะมองที่สเปคและราคาเป็นหลัก ทว่าในความเป็นจริงแล้วนั้นสิ่งที่เราควรนำมาใช้ในการพิจารณาการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คสักเครื่องนั้นไม่ได้มีเพียงแค่นั้นครับเพราะการให้บริการหลังการขายก็ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ในวันนี้นั้นเราจึงอยากจะนำบทความจากทาง NotebookCheck มาให้ทุกท่านได้ศึกษากันครับว่าบริการหลังการขายนั้นสำคัญต่อการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คสักเครื่องมากแค่ไหน
โดยเมื่อไม่นานมานี้นั้นทาง NotebookCheck ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของบริการหลังการขายจากผู้ใช้จริงซึ่งได้มีการสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้ใช้บริการกว่า 1000 คนว่าบริการหลังการขายของโน๊ตบุ๊คที่พวกเขาใช้นั้นดีมากน้อยแค่ไหนและได้ทำการสรุปไว้อย่างน่าสนใจซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้นั้นจะสามารถช่วยให้เราสามารถที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาเพื่อเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คเครื่องใหม่ได้ครับ
สาเหตุหนึ่งที่ทาง NotebookCheck ได้เขียนบทความนี้ขึ้นมาก็คือการให้ความใส่ใจกับผู้บริโภคที่ผ่านข้อมูลจากทาง NotebookCheck ครับ โดยในปีๆ นึงนั้นทาง NotebookCheck จะได้รับโน๊ตบุ๊ค(รวมไปถึงสมาร์ทโฟน) จากทางบริษัทผู้ผลิตซึ่งมีจำนวนเป็นพันๆ เครื่องเลยมทีเดียว อย่างไรก็ตามเครื่องที่ทาง NotebookCheck ได้มีการรีวิวไปนั้นจะเป็นเครื่องที่ใช้ในด้านการทดสอบรีวิวเท่านั้นซึ่งบางเครื่องนั้นก็มีปัญหาในการใช้งานจนทาง NotebookCheck เองต้องร้องไปทางบริษัทเพื่อขอเครื่องใหม่มาใช้ในการรีวิว
ด้วยความที่ทาง NotebookCheck นั้นเป็นเว็บไซต์ชั้นนำในการนำเสนอข้อมูลของโน๊ตบุ๊ค(รวมถึงสมาร์ทโฟน) ซึ่งการขอเครื่องใหม่เอามาใช้ในการทดสอบนั้นเป็นไปโดยง่ายทาง NotebookCheck เองจึงไม่มีปัญหาในการที่จะขอเครื่องใหม่เพื่อนำมาทำการทดสอบและรีวิวให้เราๆ ท่านๆ ได้อ่านกัน ทว่ากับผู้บริโภคทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ นั้นการบริการหลังการขายอาจจะไม่เหมือนกับสื่อที่นำเสนอทำให้ทาง NotebookCheck นั้นมีความคิดที่จะทำการสำรวจความพึงพอใจต่อบริการหลังการขายสำหรับผู้บริโภคจริงออกมาครับ
จำนวนผู้ที่เข้ามาตอบแบบสอบถามความพึงพอใจดังกล่าวนี้นั้นมีจำนวนอยู่ที่ราวๆ 1400 คนครับ โดยผู้ใช้ที่เข้ามาตอบแบบสอบถามนี้นั้นจะไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในส่วนใดของโลก(แบบสอบถามนั้นอยู่ในรูปแบบภาษาอังกฤษและเยอรมัน) และในตัวแบบสอบถามนั้นจะประกอบไปด้วยคำถามหลัก 13 คำถามซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นคำถามแบบปรนัยที่มีคำตอบหลายคำตอบให้ผู้ใช้ได้เลือกโดยจะเป็นการให้คะแนน 1 -5 ตามระดับความพึงพอใจจริงโดยที่การตอบคำถามเหล่านี้นั้นทางผู้ตอบเป็นอาสาสมัครที่เข้ามาทำแบบสอบถามเองและไม่มีการให้รางวัลใดๆ ในการตอบครับ
สำหรับผู้ที่เข้ามาทำการตอบคำถามส่วนใหญ่นั้นจะเป็นผู้ใช้ในยุโรปอันประกอบไปด้วยประเทศเยอรมนี, ออสเตรียหรือสวิสเซอร์แลนด์ เป็นหลัก โดยบริษัทผู้ผลิตที่อยู่ในแบบสอบถามดังกล่าวนี้จะมีทั้งหมด 10 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นผู้ที่เข้ามาทำแบบสอบถามดังกล่าวนี้จัใช้โน๊ตบุ๊คของทางบริษัท Dell, Lenovo, Asus, Apple, HP และ Acer เป้นส่วนใหญ่ทำให้เราเห็นได้ว่าในประเทศโซนยุโรปนั้นจะนิยมเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คจาก 6 บริษัทดังกล่าวนี้เป็นส่วนใหญ่ครับ
จากสถิตของการตอบแบบสอบถามนั้นพบว่าบริษัท Dell, HP และ Lenovo จะเป็น 3 ผู้ผลิตที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่เลือกใช้โน๊ตบุ๊คในการใช้งานทางด้านธุรกิจ สำหรับบริษัท MSI, Acer และ ASUS นั้นจะเป็นบริษัทที่ผู้ใชในระดับทั่วไปเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คของทั้ง 3 บริษัทมาใช้งาน อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นมีข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยอกผู้ใช้งานโน๊ตบุ๊คของทาง Apple ราวๆ 30% ที่ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่าพวกเขาใช้งานโน๊ตบุ๊คของทาง Apple ในการทำงานทางด้านธุรกิจครับ(ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกเพราะทาง Apple เองนั้นไม่ได้มีการวางจำหน่าย MacBook ในส่วนของตลาดสำหรับการใช้งานทางด้านธุรกิจแต่ MacBook นั้นจะเน้นกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้ระดับมืออาชีพมากกว่า)
อีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือผู้ใช้ Dell จำนวนมากเลือกที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทำการยืดเวลาการรับประกันเครื่องให้ยาวนานมากขึ้น ซึ่งที่เป็นเช่นนี้นั้นน่าจะมาจากการที่ทาง Dell เองเป็นบริษัทที่มีช่องทางการจัดจำหน่ายและการให้บริการหลังการขายที่แข็งแกร่งซึ่งสามารถที่จะให้บริการลูกค้าได้อย่างจริงจังมากกว่าบริษัทอื่นๆ เช่นเดียวกับทาง Apple ซึ่งมีการให้บริการซื้อประกันหลังการขายที่แข็งแกร่งเช่นเดียวกันโดยผู้ใช้งานโน๊ตบุ๊คจากทาง Apple มากถึง 1 ใน 3 เลือกที่จะขยายบริการหลังการขายและประกันมากกว่าบริษัทอื่นๆ ครับ
หมายเหตุ – จริงๆ แล้วนั้นทางผู้ผลิตอย่าง Toshiba, Lenovo และ HP ก็มีการขายระยะเวลาหลังจากขายสำหรับผู้บริโภคด้วยเช่นเดียวกันแต่ปริมาณของผู้
การให้การสนับสนุนหลังการขายผ่านทางโทรศัพท์
ในกรณีที่เกิดปัญหากับการใช้งานนั้นขั้นแรกสุดที่ผู้ใช้โดยปกติมักจะใช้ในการติดต่อกับทางบริษัทเพื่อขอบริการให้การสนับสนุนหลังการขายก็คือการโทรเข้าไปหา Call Center ของบริษัทนั้นๆ ครับ สำหรับการประเมินที่ทาง NotebookCheck ใช้ในแบบสอบถามในครั้งนี้นั้นก็ประกอบไปด้วย ระยะเวลาในการรอสายเพื่อที่จะได้คุยกับพนักงาน(ที่เป็นคนจริงๆ), คำอธิบายของพนักงานเข้าใจได้ง่ายและสามารถปฎิบัติตามเพื่อการแก้ไขในขั้นต้นและอัตราการแก้ไขที่สำเร็จโดยการใช้คำอธิบายที่ได้รับจากทาง Call Center ซึ่งผลนั้นเป็นไปดังกราต่อไปนี้ครับ
ระยะเวลาที่เครื่องโน๊ตบุ๊คจะเกิดปัญหาขึ้นมาจนผู้ใช้ต้องการบริการหลังการขายในการแก้ไขปัญหา
หัวข้อนี้นั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในลำดับต้นๆ ที่เราควรใส่ใจในการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คสักเครื่องหนึ่งเลยทีเดียวครับ หลายๆ ท่านอาจจะเคยพบปัญหาว่าเมื่อหมดระยะเวลาการรับประกันแล้วทันในนั้นเครื่องโน๊ตบุ๊คสุดรักสุดหวงก็เกิดปัญหาเข้ามาแบบไม่หยุดไม่หย่อนจนต้องเดินเข้าศูนย์บริการเป็นว่าเล่น ซึ่งแน่นอนครับว่าการเดินเข้าศูนย์หลังจากที่หมดระยะเวลารับประกันของแต่บริษัทไปแล้วนั้นสิ่งที่ตามมาให้ปวดตับก็คือค่าบริการที่โดนคิดตั้งแต่ค่าเปิดเครื่องยาวไปจนถึงค่าชิ้นส่วนที่ต้องเสียเมื่อเครื่องมีปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์เกิดขึ้น
เอาเป็นว่ามาดูกันดีกว่าครับว่าอัตราการเกิดปัญหาขึ้นในระยะเวลารับประกันของแต่ละผู้ผลิตนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง โดยในกราฟข้างบนนี้นั้นจะบ่งบอกถึงอัตราการเกิดปัญหาของตัวเครื่องในระยะเวลารับประกัน(รวมไปจนถึงระยะเวลาการขยายประกันที่ผู้บริโภคต้องเสียเงินเพื่อซื้อเพิ่ม) โดยสีนำเงินนั้่นหมายถึงเกิดปัญหาขึ้นในระยะเวลารับประกัน ส่วนสีแดงนั้นหมายถึงเกิดปัญหาขึ้นในระยะเวลาที่มีการรับประกันซึ่งได้มีการขยายเพิ่มเติมจากการซื้อประกันเพิ่มและสีส้มหมายเกิดปัญหาขึ้นในระยะเวลารับประกันตามปกติ
จากกราฟนั้นจะเห็นได้ว่า Apple และ HP มีอัตราการเกิดปัญหาในระยะเวลารับประกันน้อยที่สุดซึ่งระยะเวลาการรับประกันเครื่องตามปกติของทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวนี้จะอยู่ที่ 1 ปีเท่านั้นแต่ทว่าทั้ง 2 บริษัทนี้นั้นดันมีอัตราเครื่องเสียในระยะเวลาที่มีการขยายประกันมากที่สุดปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เปิดเฉพาะในโซนยุโรปเท่านั้นแต่เป็นกันทั่วโลกจึงทำให้มีคำพูดเล่นๆ กันว่า Apple และ HP วางยาเอาไว้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ซื้อประกันเพิ่มขึ้นครับ สำหรับ MSI และ ASUS นั้นจะมีระยะเวลาในการรับประกันปกติอยู่ที่ 2 ปี สำหรับ Medion ซึ่งในโซนยุโรปนั้นจัดจำหน่ายโดย Aldi/Hofer จะมีระยะเวลาการรับประกันตามปกติอยู่ที่ 3 ปีซึ่งมากกว่าในบริษัทอื่นๆ ครับ
สำหรับการเปรียบเทียบอัตราการเกิดปัญหาของเครื่องระหว่างผู้บริโภคทั่วไปกับผู้ใช้ในระดับธุรกิจนั้นทาง NotebookCheck ได้ทำการเปรียบเทียบแค่ 3 บริษัทเท่านั้นคือ Dell, HP และ Lenovo โดยพบว่า HP เป็นบริษัทที่เครื่องของผู้บริโภคทั่วไปและผู้ใช้ในระดับธุรกิจเกิดปัญหาขึ้นในช่วงที่มีการขยายระยะเวลารับประกันออกไปพอๆ กัน ส่วนอัตราการเกิดปัญหาของผู้ใช้ในระดับธุรกิจของทั่ง 3 บริษัทนั้นพบว่าเกิดปัญหาขึ้นมากกว่าผู้บริโภคทั่วไปครับ
ขั้นตอนในการส่งโน๊ตบุ๊คเข้าศูนย์เพื่อทำการซ่อม(รวมไปถึงการให้บริการในรูปแบบ on-site)
ในกรณีที่การโทรศัพท์ผ่านทาง Call Center ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาของตัวเครื่องที่เกิดได้นั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาก็คือการที่เราต้องนำตัวเครื่องส่งศูนย์เพื่อทำการซ่อมครับ โดยทาง NotebookCheck นั้นได้ถามผู้ใช้เกี่ยวกับความยากของขั้นตอนในการส่งเครื่องเพื่อที่จะให้ศูนย์นำไปซ่อมว่ายากมากน้อยแค่ไหน โดยคะแนน 1 นั้นหมายถึงการส่งเครื่องเพื่อเข้าศูนย์ซ่อมนั้นมีความยุ่งยากซับซ้อนมากที่สุดส่วนคะแนน 5 นั้นหมายความว่าการส่งเครื่องเพื่อเข้าศูนย์ซ่อมนั้นมีความสะดวกสบายมากที่สุดซึ่งผลนั้นเป็นไปตามกราฟทางข้างล่างนี้ครับ
ผลนั้นพบว่าผู้บริโภคนั้นค่อนข้างที่จะดพึงพอใจต่อขั้นตอนการส่งเครื่องโน๊ตบุ๊คเพื่อเข้าทำการซ่อม โดยแต่ละบริษัทนั้นได้คะแนน 4 – 5 อยู่ในระดับที่เกิน 75% ของจำนวนผู้เข้าร่วมการทดสอบทั้งหมด ตรงนี้นั้นทำให้เราเห็นได้ว่าเกือบจะทุกบริษัทนั้นให้ความสำคัญในเรื่องของขั้นตอนการส่งเครื่องเข้าซ่อมมากเลยทีเดียวครีบ
แบะเช่นเดียวกันกับผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจที่จะเห็นได้ว่าการส่งเครื่องเพื่อเข้าทำการซ่อมในศูนย์นั้นมีความซับซ้อนค่อนข้างที่จะน้อย โดยหาดูดีๆ แล้วนั้นจะเห็นได้ว่าคะแนนของผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจนั้นจะมีความพึงพอใจในการส่งเครื่องเข้าซ่อมมากกว่าผู้บริโภคทั่วไปอยู่พอสมควรครับ
ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการรอเครื่องที่ถูกส่งเข้าศูนย์เพื่อทำการซ่อม
เชื่อว่าทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคทั่วไปหรือผู้ใช้ทางด้านธุรกิจต่างก็ไม่อยากจะรอคอยนานมากนักในการส่งเครื่องเข้าศูนย์เพื่อซ่อม ดังนั้นแล้วการบริหารจัดการเวลาในการซ่อมนั้นจึงถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งครับ ในแบบสอบถามนี้นั้นกราฟสีน้ำเงินจะหมายถึงใช้เวลาซ่อมเพียง 1 วัน, สีแดงใช้เวลาในการซ่อมอยู่ในช่วง 3 วัน, สีส้มใช้เวลาซ่อมอยู่ในช่วงระยะเวลา 7 วัน, สีเขียวใช้เวลาซ่อมอยู่ในช่วงระยะเวลา 14 วัน ส่วนสีม่วงนั้นคือใช้เวลานานมากกว่า 14 วันครับ
จากกราฟนั้นจะเห็นได้ว่าระยะเวลาที่ใช้ในการซ่อมเครื่องโน๊ตบุ๊คสำหรับผู้บริโภคทั่วไปนั้นทาง Dell และ Apple จะใช้ระยะเวลาในการซ่อมเครื่องน้อยมากที่สุด ส่วนทาง ASUS และ Lenovo นั้นพบว่าจะใช้ระยะเวลาในการซ่อมเครื่องนานที่สุดครับ
เมื่อลองมาเทียบในส่วนของผู้บริโภคทั่วไปกับผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจนั้นจะพบได้ผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจนั้นจะได้รับการบริการซ่อมเครื่องที่เร็วกว่าผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งที่ผลเป็นเช่นนี้นั้นก็ไม่น่าแปลกใจมากเท่าไรเนื่องจากว่าหลายๆ บริษัทต่างก็ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจมากกว่าผู้บริโภคทั่วไปอันเนื่องมาจากว่าผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจนั้นมักจะมีสัญญาระหว่างบริษัทผู้จัดจำหน่ายและบริษัทผู้ซื้ออยู่ครับ
ความพึงพอใจหลังการซ่อม
เมื่อส่งเครื่องเข้าศูนย์เพื่อนำไปซ่อมแล้วการได้เครื่องกลับมาแล้วสามารถที่จะใช้งานได้ต่อเนื่องโดยไม่เกิดอาการเสียจนต้องส่งเครื่องเข้าซ่อมใหม่ถือว่าเป้นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ในเรื่องอื่นๆ เลยครับ จากแบบสอบถามนั้นพบว่า Lenovo, Microsoft, Medion, ASUS และ HP นั้นผู้บริโภคไม่ค่อยที่จะพอใจหลังจากได้เครื่องกลับมาแล้วเท่าไรนัก
มาดูความพึงพอใจผู้ใช้ทางด้านธุรกิจของทั้งทาง Dell, HP และ Lenovo เทียบกับผู้บริโภคทั่วไปนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ใช้ทางด้านธุรกิจจะมีความพึงพอใจมากกว่าผู้บริโภคทั่วไปครับ ตรงจุดนี้นั้นทำให้เห็นได้ว่าทั้ง 3 บริษัทนั้นจะให้ความสำคัญกับทางผู้ใช้ทางด้านธุรกิจมากกว่าผู้บริโภคทั่วไปครับ
อัตราการส่งเครื่องกลับไปซ่อมอีกครั้งกับปัญหาเดิมๆ
การส่งเครื่องเพื่อกลับไปซ่อมเมื่อเจอปัญหาเดิมๆ นั้นเป็นเรื่องที่ทำให้เห็นประสิทธิภาพโดยรวมของตัวผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดีครับ โดยจากกราฟนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วนั้นทุกๆ บริษัทที่อยู่ในแบบสอบถามนี้สามารถที่จะซ่อมเครื่องให้ผู้ใช้ได้ครั้งเดียวก็ไม่เกิดปัญหาขึ้นมาจนต้องส่งกลับไปซ่อมอีก จะมียกเว้นก็แค่ Lenovo, ASUS และ Medion ที่เกิดปัญหาเดิมซ้ำจนต้องส่งเครื่องกลับไปซ่อมอีกครั้งหนึ่งครับ
เช่นเดียวกันกับผู้ใช้งานทางด้านธุรกิจที่พบว่า Lenovo นั้นมีอัตราการส่งซ่อมมากกว่า 1 ครั้งมากที่สุด ทำให้เห็นได้ครับว่าทาง Lenovo นั้นมีอัตราการแก้ไขข้อผิดพลาดได้ในครั้งแรกต่ำกว่า 50 % ซึ่งด้วยอัตราดังกล่าวนี้นั้นถือว่าส่งผลไม่ค่อยดีต่อภาพลักษณ์ของทาง Lenovo อยู่พอสมควรครับ
ความพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการหลังการขาย
และแล้วก็มาถึงข้อสรุปกันครับ โดยจากข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านมานั้นก็สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนครับว่า Lenovo และ Medion นั้นกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตที่มีอัตราผู้พึงพอใจหลังการขายน้อยที่สุดโดยพบว่าทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวนั้นได้คะแนนความพึงพอใจโดยรวมมากกว่า 50% อยู่ที่ 1 เท่านั้น หลับกันแล้วในส่วนของ Schenker/XMG และ Apple กลับเป็นบริษัทที่มีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับ 5 เกิน 50% ครับ
ทั้งหมดทั้งมวลนี้นั้นน่าจะเพียงพอต่อการพิจารณาบริการหลังการขายได้เป็นอย่างดีครับว่าบริษัทใดที่น่าไว้วางใจมากที่สุด อย่างไรก็ตามแล้วนั้นก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่เมื่อซื้อเครื่องไปแล้วสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานโดยไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเข้าศูนย์เพื่อซ่อมไปจนกระทั่งผู้ที่ไม่พบปัญหาเลย เรื่องดังกล่าวทั้งหมดนี้จะหลีกเลี่ยงได้เมื่อบริษัทต่างๆ นั้นมีการ QC เครื่องที่ดีครับ
หมายเหตุ – ซึ่งจากประสบการณ์การใช้งานทั้ง Lenovo, ASUS และ MSI ของตัวผมเองนั้นพบว่ามีแค่ ASUS ที่ต้องส่งศูนย์เพื่อนำเครื่องไปซ่อมนอกจากนั้นแล้วก็ไม่เจอปัญหาในการใช้งานเลยครับ)
ที่มา : notebookcheck