หากจะหาการ์ดจอราคาประหยัดราคาประมาณ 7,000 บาท ในยุคนี้นั้นมีตัวเลือกมากมายทั้งค่ายเขียวและค่ายแดง เพราะเป็นการ์ดจอที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยราคาไม่แพงมากนัก แต่ถ้าหากว่าเป็นการ์ดจอแรง ๆ อย่าง Geforce GTX 1060 3GB ราคาแค่นี้คงมีตัวเลือกไม่มากนัก ซึ่งส่วนมากจะเป็นการ์ดจอที่มีรุ่นสูงฟีเจอร์เยอะและมีราคาแพง แต่มีการ์ดจออย่างแบรนด์ PALIT ที่ได้เปิดตัวการ์ดจอประสิทธิภาพสูง พัดลมคู่ ระบายความร้อนดี Overclock ได้ และยังเป็นการ์ดจอที่เน้นความคุ้มค่าเป็นหลัก
PALIT Geforce GTX 1060 3GB DUAL คือการ์ดจอค่ายเขียว Nvidia รุ่นยอดนิยมในช่วงราคา 7,000 บาท ที่เน้นความคุ้มค่าเป็นหลัก ด้วยประสิทธิภาพความเร็วที่อยู่ในระดับสูง แต่มีราคาที่ถูกกว่าการ์ดจอระดับเดียวกันในตลาดส่วนมาก รวมถึงการออกแบบตัวการ์ดที่เน้นความเรียบง่าย แต่ก็ยังมี Design ที่สวยงาม เหมาะสำหรับผู้ใช้งานในทุกระดับที่ต้องการการ์ดจอแรง ๆ ราคาไม่แพงไปใช้งานเล่นเกมเป็นหลัก อีกทั้งยังเหมาะสำหรับการนำไปจัดสเปคคอมพิวเตอร์คุ้ม ๆ แต่ในส่วนหน้าตา รายละเอียด และประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไร ติดตามชมกันได้
Specification
Memory Amount | 3G |
Memory Interface | 192bit |
DRAM Type | GDDR5 |
Graphics Clock | 1506MHz |
Boost Clock | 1708MHz |
Memory Clock | 8000MHz |
CUDA Cores | 1152 |
Memory Bandwidth (GB/sec) | 192 |
Microsoft DirectX | 12 API with feature level 12_1 |
OpenGL | 4.5 |
Bus Support | PCI-E 3.0 x 16 |
DVI | Dual-Link DVI-D |
HDMI | HDMI 2.0b |
DisplayPort | DP1.4 x 3 |
Maximum Digital Resolution | 7680×4320@60Hz |
Height | 2 Slot |
Board Size | 252mm x 112mm |
Graphics Card Power | 120 W |
Minimum Recommended System Power | 400 W |
Supplementary Power Connectors | 6-pin X1 |
Accessory | Manual, DVD Driver |
Package and Bundle
ตัวกล่องภายนอกไม่หวือหวาอะไรมากมายแต่มีความสวยงามโดดเด่นด้วยโลโก้ PALIT ตัวใหญ่หน้ากล่องยังมีสติ๊กเกอร์ระบุรุ่น DUAL FAN พร้อมบอกถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น VR Work, G-Sync, DirectX12 และ GAME Work ส่วนด้านหลังนั้นบอกสเปคร่าว ๆ ของการ์ดจอรุ่นนี้เป็นภาษาต่าง ๆ ตัวกล่องมาในโทนสีดำพร้อมชื่อ GTX 1060 3GB อย่างชัดเจน เป็นกล้องลูกฟูกแข็งชั้นเดียวเน้นความเรียบง่ายใช่ร่วมกับการ์ดจอหลาย ๆ รุ่น
ส่วนภายในกล่องได้มีการบุโฟมกันกระแทกมาอย่างแน่นหนา ภายในไม่มีอะไรหวือหวา บันเดิ้ลที่แถมมาแบบมินิมอลสมกับราคาค่าตัว โดยจะแถมเพียงแค่ คู่มือ และ DVD Driver เท่านั้น โดยรวมแล้ว Package และ Bundle ไม่ได้เน้นความหวือหวาอะไรมากมายแต่ทำออกมาเพื่อนให้การ์ดจอมีราคาถูกที่สุดนั่นเอง
Design
การ์ดจอออกแบบมาเป็นทรงกล่องเรียบ ๆ มาพร้อมกับพันลม 2 ตัว โดยชุดระบายความร้อนของตัวการ์ด ตัว Cover ผลิตจากวัสดุ ABS Plastic มีการเล่นลวดลายเล็กน้อยเพิ่มความสวยงามให้กับตัวการ์ด ส่วนพับลมมีมาให้ 2 ตัวขนาด 90mm ส่วนซิงก์ระบายความร้อนภายในมีมาให้ 2 แบบคือใช้ Heat Pipe นำความร้อนให้กับครีปฟิน สำหรับระบายความร้อนให้กับชิป GPU ในส่วนซิงก์ระบายความ้อนอลูมิเนียมสำหรับระบายความร้อนให้กับภาคจ่ายไฟแยกกันมาคนละส่วน พัดลมออกแบบมาให่สามารถเป่าลมอัดได้อย่างทั่วถึงตัวการ์ดจอ ไว้ใจได้เรื่องการระบายความร้อน
ถักมาที่ตัวการ์ดด้านข้างเป็นแบบโล่ง ๆ ไม่ได้มีการสกรีนลายอะไรทั้งสิ้นเน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก พร้อมพอร์ต 6 Pin PCI-E สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงให้กับการ์ดจอ ส่วนการ์ดด้านหลังไม่มี Blackplate มาให้ แต่ถ้าสังเกตุ PCB จะเห็นว่าการ์ดจอรุ่นนี้วางชิว GPU สลับฝั่งไม่เหมือนกับการ์ดจอทั่ว ๆ ไป ซื้อเป็นการออกแบบทางเทคนิคที่ดูแปลกตา และในส่วนของพอร์ตการเชื่อมต่อ DVI-DL, HDMI และ Display Port 3 พอร์ต โดยรวมแล้วการออกแบบเน้นความเรียบง่ายและระบายความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง
Performance
สำหรับสเปค Test Base ที่เราใช้ในการทดสอบครั้งนี้จะมาพร้อมกับ CPU Intel Core i7 8700K แกนประมวลผล 6 Cores 128 Threads แรม Gskill 16GB DDR4 เมนบอร์ด ROG STRIX Z370-G ส่วนวินโดส์บูทจาก SSD M.2 HyperX 480GB ส่วนพาวเวอร์ซัพพลายนั้นใช้ 1st player steampunk 650W เรียกได้ว่าเป็นสเปคระดับสูงเพื่อให้สามารถรีดประสิทธิภาพการทำงานของการ์ดจอออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ส่วนสเปคของตัวการ์ดจากโปรแกรม GPU-Z จะมี CUDA Core 2432 หน่วย ความเร็ว Base Clock 1,506 MHz และความเร็ว Boost Colck 1,709 MHz ส่วนแรมแบบ GDDR5 3GB ความเร็ว 2,002 MHz ความเร็ว Bandwidth 192.2 GB/s และ Ban Width 192 Bit
การเทสกับโปรแกรม 3D Mark Fire Strike สามารถทำคะแนนรวมได้ 10,930 คะแนน ด้วยคะแนน Graphic Score 12,719 คะแนน ในแต่ละการทดสอบตัวการ์ดจอสามารถแสดงผลกราฟฟิกออกมาได้ดีเยี่ยม อาจจะมีหน่วงบ้างในบางช่วงที่โหลดหนัก ๆ
การทดสอบกับโปรแกรม 3DMark ในการทดสอบ Fire Strike Ultra สามารถทำคะแนนรวมได้ 2,810 คะแนน โดยเป็นคะแนนด้านกราฟฟิกในส่วนของ Graphic Score 2,683 คะแนน สำหรับการแสดงการทำงานของระบบขณะทำการเทส 3D Mark Fire Strike นั้นจะสังเกตได้ว่าการ์ดจอรักษาระดับอุณหภูมิในโหมดปกติได้เสถียรมาก ในระดับไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส
การเทสกับโปรแกรม 3D Mark Time Spy บน DirectX12 สามารถทำคะแนนรวมได้ 1,939 คะแนน ด้วยคะแนน Graphic Score 1,784คะแนน ในแต่ละการทดสอบตัวการ์ดจอยังสามารถเล่นเกมบน DirectX12 ได้ แต่ในการทดสอบยังถือว่ากระตุกมาก แต่ก็เป็นระดับมาตรฐานของการ์ดจอรุ่นนี้
สำหรับอุณหภูมิสูงสุดที่ทำการทดสอบด้วยโปรแกรม Furmark และเปิดพัดลมโหมดออโต้ จะสังเกตได้ว่าการ์ดจอพยายามรักษาอุณหภูมิให้คงที่ 76 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ให้เสียงพัดลมดังมากจนเกินไป
Conclusion / Award
PALIT Geforce GTX 1060 3GB DUAL จากการที่ได้ทดสอบก็รู้สึกได้ว่านี่เป็นการ์ดจออีกตัวหนึ่งที่มีความคุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับราคา ทั้งในด้านประสิทธิภาพเองที่สามารถเล่นเกมได้อยากไหลลื่น อีกทั้งการระบายความร้อนยังทำออกมาได้ดีเยี่ยม ในส่วนหน้าตาของตัวการ์ดเองก็ยังถือว่าสวยงานในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้มีความหวือหวาอะไรมากนัก ซึ่งในภาพรวมแล้วถือว่าการ์ดจอรุ่นนี้ทำออกมาได้น่าพอใจเป็นอย่างมาก
สรุป สั้น ๆ ง่าย ๆ PALIT Geforce GTX 1060 3GB DUAL คือการ์ดจอที่เน้นประสิทธิภาพเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการการ์ดจอคุ้ม ๆ ไม่เน้นความสวยงาม ไม่เน้นฟีเจอร์และซอฟแวร์ ซึ่งการ์ดจอรุ่นนี้สามารถตอบสนองการเล่นเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้การ์ดจอ GTX 1060 3GB รุ่นอื่น ๆ แต่มีราคาที่ถูกกว่ามาก อีกทั้งชุดระบายความร้อนยังมีประสิทธิภาพเยี่ยมเชื่อถือได้
ข้อดี
- ราคาคุ้มค่า
- มีความเร็ว Clock Speed ที่ค่อนข้างสูง
- หน้าตาตัวการ์ดถูกออกแบบมาสวยงาม
- วัสดุผลิตตัวการ์ดคุณภาพสูง
- ระบบระบายความร้อนมีประสิทธิภาพสูงเชื่อถือได้
ข้อสังเกตุ
- ลูกเล่นน้อยเหมาะสำหรับการใช้งานเน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก
Specification
Memory Amount | 3G |
Memory Interface | 192bit |
DRAM Type | GDDR5 |
Graphics Clock | 1506MHz |
Boost Clock | 1708MHz |
Memory Clock | 8000MHz |
CUDA Cores | 1152 |
Memory Bandwidth (GB/sec) | 192 |
Microsoft DirectX | 12 API with feature level 12_1 |
OpenGL | 4.5 |
Bus Support | PCI-E 3.0 x 16 |
DVI | Dual-Link DVI-D |
HDMI | HDMI 2.0b |
DisplayPort | DP1.4 x 3 |
Maximum Digital Resolution | 7680×4320@60Hz |
Height | 2 Slot |
Board Size | 252mm x 112mm |
Graphics Card Power | 120 W |
Minimum Recommended System Power | 400 W |
Supplementary Power Connectors | 6-pin X1 |
Accessory | Manual, DVD Driver |
Package and Bundle
ตัวกล่องภายนอกไม่หวือหวาอะไรมากมายแต่มีความสวยงามโดดเด่นด้วยโลโก้ PALIT ตัวใหญ่หน้ากล่องยังมีสติ๊กเกอร์ระบุรุ่น DUAL FAN พร้อมบอกถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น VR Work, G-Sync, DirectX12 และ GAME Work ส่วนด้านหลังนั้นบอกสเปคร่าว ๆ ของการ์ดจอรุ่นนี้เป็นภาษาต่าง ๆ ตัวกล่องมาในโทนสีดำพร้อมชื่อ GTX 1060 3GB อย่างชัดเจน เป็นกล้องลูกฟูกแข็งชั้นเดียวเน้นความเรียบง่ายใช่ร่วมกับการ์ดจอหลาย ๆ รุ่น
ส่วนภายในกล่องได้มีการบุโฟมกันกระแทกมาอย่างแน่นหนา ภายในไม่มีอะไรหวือหวา บันเดิ้ลที่แถมมาแบบมินิมอลสมกับราคาค่าตัว โดยจะแถมเพียงแค่ คู่มือ และ DVD Driver เท่านั้น โดยรวมแล้ว Package และ Bundle ไม่ได้เน้นความหวือหวาอะไรมากมายแต่ทำออกมาเพื่อนให้การ์ดจอมีราคาถูกที่สุดนั่นเอง
Design
การ์ดจอออกแบบมาเป็นทรงกล่องเรียบ ๆ มาพร้อมกับพันลม 2 ตัว โดยชุดระบายความร้อนของตัวการ์ด ตัว Cover ผลิตจากวัสดุ ABS Plastic มีการเล่นลวดลายเล็กน้อยเพิ่มความสวยงามให้กับตัวการ์ด ส่วนพับลมมีมาให้ 2 ตัวขนาด 90mm ส่วนซิงก์ระบายความร้อนภายในมีมาให้ 2 แบบคือใช้ Heat Pipe นำความร้อนให้กับครีปฟิน สำหรับระบายความร้อนให้กับชิป GPU ในส่วนซิงก์ระบายความ้อนอลูมิเนียมสำหรับระบายความร้อนให้กับภาคจ่ายไฟแยกกันมาคนละส่วน พัดลมออกแบบมาให่สามารถเป่าลมอัดได้อย่างทั่วถึงตัวการ์ดจอ ไว้ใจได้เรื่องการระบายความร้อน
ถักมาที่ตัวการ์ดด้านข้างเป็นแบบโล่ง ๆ ไม่ได้มีการสกรีนลายอะไรทั้งสิ้นเน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก พร้อมพอร์ต 6 Pin PCI-E สำหรับจ่ายไฟเลี้ยงให้กับการ์ดจอ ส่วนการ์ดด้านหลังไม่มี Blackplate มาให้ แต่ถ้าสังเกตุ PCB จะเห็นว่าการ์ดจอรุ่นนี้วางชิว GPU สลับฝั่งไม่เหมือนกับการ์ดจอทั่ว ๆ ไป ซื้อเป็นการออกแบบทางเทคนิคที่ดูแปลกตา และในส่วนของพอร์ตการเชื่อมต่อ DVI-DL, HDMI และ Display Port 3 พอร์ต โดยรวมแล้วการออกแบบเน้นความเรียบง่ายและระบายความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง
Performance
สำหรับสเปค Test Base ที่เราใช้ในการทดสอบครั้งนี้จะมาพร้อมกับ CPU Intel Core i7 8700K แกนประมวลผล 6 Cores 128 Threads แรม Gskill 16GB DDR4 เมนบอร์ด ROG STRIX Z370-G ส่วนวินโดส์บูทจาก SSD M.2 HyperX 480GB ส่วนพาวเวอร์ซัพพลายนั้นใช้ 1st player steampunk 650W เรียกได้ว่าเป็นสเปคระดับสูงเพื่อให้สามารถรีดประสิทธิภาพการทำงานของการ์ดจอออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ส่วนสเปคของตัวการ์ดจากโปรแกรม GPU-Z จะมี CUDA Core 2432 หน่วย ความเร็ว Base Clock 1,506 MHz และความเร็ว Boost Colck 1,709 MHz ส่วนแรมแบบ GDDR5 3GB ความเร็ว 2,002 MHz ความเร็ว Bandwidth 192.2 GB/s และ Ban Width 192 Bit
การเทสกับโปรแกรม 3D Mark Fire Strike สามารถทำคะแนนรวมได้ 10,930 คะแนน ด้วยคะแนน Graphic Score 12,719 คะแนน ในแต่ละการทดสอบตัวการ์ดจอสามารถแสดงผลกราฟฟิกออกมาได้ดีเยี่ยม อาจจะมีหน่วงบ้างในบางช่วงที่โหลดหนัก ๆ
การทดสอบกับโปรแกรม 3DMark ในการทดสอบ Fire Strike Ultra สามารถทำคะแนนรวมได้ 2,810 คะแนน โดยเป็นคะแนนด้านกราฟฟิกในส่วนของ Graphic Score 2,683 คะแนน สำหรับการแสดงการทำงานของระบบขณะทำการเทส 3D Mark Fire Strike นั้นจะสังเกตได้ว่าการ์ดจอรักษาระดับอุณหภูมิในโหมดปกติได้เสถียรมาก ในระดับไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส
การเทสกับโปรแกรม 3D Mark Time Spy บน DirectX12 สามารถทำคะแนนรวมได้ 1,939 คะแนน ด้วยคะแนน Graphic Score 1,784คะแนน ในแต่ละการทดสอบตัวการ์ดจอยังสามารถเล่นเกมบน DirectX12 ได้ แต่ในการทดสอบยังถือว่ากระตุกมาก แต่ก็เป็นระดับมาตรฐานของการ์ดจอรุ่นนี้
สำหรับอุณหภูมิสูงสุดที่ทำการทดสอบด้วยโปรแกรม Furmark และเปิดพัดลมโหมดออโต้ จะสังเกตได้ว่าการ์ดจอพยายามรักษาอุณหภูมิให้คงที่ 76 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ให้เสียงพัดลมดังมากจนเกินไป
Conclusion / Award
PALIT Geforce GTX 1060 3GB DUAL จากการที่ได้ทดสอบก็รู้สึกได้ว่านี่เป็นการ์ดจออีกตัวหนึ่งที่มีความคุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับราคา ทั้งในด้านประสิทธิภาพเองที่สามารถเล่นเกมได้อยากไหลลื่น อีกทั้งการระบายความร้อนยังทำออกมาได้ดีเยี่ยม ในส่วนหน้าตาของตัวการ์ดเองก็ยังถือว่าสวยงานในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้มีความหวือหวาอะไรมากนัก ซึ่งในภาพรวมแล้วถือว่าการ์ดจอรุ่นนี้ทำออกมาได้น่าพอใจเป็นอย่างมาก
สรุป สั้น ๆ ง่าย ๆ PALIT Geforce GTX 1060 3GB DUAL คือการ์ดจอที่เน้นประสิทธิภาพเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการการ์ดจอคุ้ม ๆ ไม่เน้นความสวยงาม ไม่เน้นฟีเจอร์และซอฟแวร์ ซึ่งการ์ดจอรุ่นนี้สามารถตอบสนองการเล่นเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้การ์ดจอ GTX 1060 3GB รุ่นอื่น ๆ แต่มีราคาที่ถูกกว่ามาก อีกทั้งชุดระบายความร้อนยังมีประสิทธิภาพเยี่ยมเชื่อถือได้
ข้อดี
- ราคาคุ้มค่า
- มีความเร็ว Clock Speed ที่ค่อนข้างสูง
- หน้าตาตัวการ์ดถูกออกแบบมาสวยงาม
- วัสดุผลิตตัวการ์ดคุณภาพสูง
- ระบบระบายความร้อนมีประสิทธิภาพสูงเชื่อถือได้
ข้อสังเกตุ
- ลูกเล่นน้อยเหมาะสำหรับการใช้งานเน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก