Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Review – ASUS ROG Strix GL503 สุดล้ำด้วยจอ 120Hz คีย์บอร์ด RGB สเปก i7 + GTX 1060 เล่นเกมลื่นๆ

ASUS ROG Strix GL503 เป็น Gaming Notebook ที่โดดเด่นด้วยหน้าจอขนาด 15.6″ ความละเอียด Full HD พาเนล IPS ที่รองรับการแสดงผลที่ 120Hz ส่วนสเปกอื่นๆ ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กันด้วยชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ + GTX 1050 4GB (OC ไป 7%)

เปิดตัวในไทยไปแล้วสำหรับ ASUS ROG Strix รุ่นใหม่ล่าสุด โดยบทความนี้จะพาเพื่อนๆ ไปรีวิวจัดเต็ม Gaming Notebook ที่เพื่อนๆ และเหล่าแฟนๆ ROG ให้ความสนใจพร้อมจับตามอง รวมถึงรอคอยกันอย่างล้นหลามอย่าง ASUS ROG Strix GL503 ที่เป็นการต่อยอดจากรุ่นก่อนหน้า ทั้งดีไซน์ที่สวยงามและความคุ้มค่าต่อประสิทธิภาพ ศักยภาพเทียบเท่า Gaming Desktop แต่พกพาสะดวกสบายกว่าเยอะ แบ่งออกเป็น 2 สเปก สนนราคาอยู่ในช่วง 38,990 บาท และ 54,990 บาท

ด้านสเปก ASUS ROG Strix GL503 เป็น Gaming Notebook ที่โดดเด่นด้วยหน้าจอขนาด 15.6″ ความละเอียด Full HD พาเนล IPS ที่รองรับการแสดงผลที่ 120Hz ส่วนสเปกอื่นๆ ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กันด้วยชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ + GTX 1050 4GB (OC ไป 7%) และ Intel Core i7-7700HQ + GTX 1060 6GB นอกจากนี้ยังได้ SSD มาเป็นมาตรฐานพร้อมฮาร์ดดิสก์ปกติและ Windows 10 แท้ ใช้งานได้ทันที

Advertisement

VDO Review

Specification

ASUS ROG Strix GL503 จะมีจำหน่ายด้วยกัน 2 รุ่นย่อย แต่ตัวที่ NotebookSPEC เป็นรุ่นบน ใช้ชิปประมวลผลเป็นIntel Core i7-7700HQ (2.80 – 3.80 GHz) ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด ประสิทธิภาพไว้ใจได้ พร้อมกราฟฟิการ์ดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) พร้อมฮาร์ดดิสก์ความจุ 1TB ที่ 7200 RPM และได้ติดตั้ง SSD แบบ M.2 SATA 3 ความจุ 256GB ไว้ด้วย (อัพเกรดเป็น SSD NVMe ได้) ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 8GB แบบ DDR4 หนึ่งแถว อัพเกรดได้ 16GB ทันที (อัพได้สูงสุด 32GB) ระบบปฎิบัติการเป็น Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานตั้งแต่เปิดเครื่องครั้งแรก

ส่วนรุ่นเริ่มต้นจะต่างตรงที่ได้หน้าจอเป็น Full HD พาเนล IPS ที่ 60Hz ปกติ กราฟฟิการ์ดตัวยอดนิยอมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ที่ Overclock ไปแล้วจากทางโรงงาน แรงขึ้น 7% ที่นับว่าแรงใกล้เคียงกับ GTX 1050Ti พร้อมติดตั้งแรมขนาด 4GB จำนวน 1 แถว และ SSD จะเป็นความจุ 128GB

ASUS ROG Strix GL503 ทุกรุ่น มาพร้อมจอแสดงผลแบบด้าน 15.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS รองรับการทำงาน 120Hz แบบผิวด้าน ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ดีน่าประทับใจ พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD (720p) และมีไมค์ดิจิตอลในตัว ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบถ้วน ทั้ง USB 3.1 Type-C , mini DisplayPort, HDMI, 3 x USB 3.0, Kensington lock slot , SD Card Reader, RJ-45 , Headset พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Bluetooth 4.1 และ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 ac

สนนราคา ASUS ROG Strix GL503 รุ่นเริ่มต้นจะอยู่ที่ 38,990 บาทและ 54,990 บาท คือรุ่นที่เรานำมารีวิว ส่วนการรับประกันแน่นอนว่าเป็น เวลา 2 ปี จาก ASUS Thailand เช่นกัน

Hardware / Design

ASUS ROG GL503 Review 42

ดีไซน์การออกแบบโดยรวมของ ASUS ROG Strix GL503 มาพร้อมความสดใหม่สุดๆ เห็นได้ชัดว่าได้รับ DNA จาก ASUS ROG ZEPHYRUS GX501 มาเต็มๆ ทั้งฝาหลังและบานพับ ตัวเครื่องใช้วัสดุเป็นทั้งโลหะและพลาสติก พัฒนาขึ้นมาน่าใช้งานมากๆ พร้อมลวดลายที่ดูดุดัน มีความเป็น Gaming สูงกว่ารุ่นก่อนมาก มาในโทนดำตัดกับสีเทาเข้ม (Armor Titanium) ซึ่งฝาหลังและด้านในตัวเครื่องจะถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนชัดเจนแบบตัดกันแนวทะแยง ที่มีความโดดเด่นมากๆ อีกทั้งจัดว่าบางสุดๆ สำหรับ Gaming Notebook ด้วยน้ำหนัก 2.3 กิโลกรัม โดยมีความบางตัวเครื่องเพียง 23 มิลลิเมตรเท่านั้นเอง ที่สำคัญชุดระบายความร้อนยังเป็นพัดลมแบบคู่ ช่วยระบายความร้อนได้ดีเช่นเคย

ASUS ROG GL503 Review 30

ฝาหลังเป็นวัสดุอลูมิเนียมแบบขัดลาย ให้สัมผัสที่ขรุขระ จับติดมือ ไม่ลื่น และรู้สึกดีกว่าพลาสติกแบบธรรมดาทั่วไป (แต่เป็นรอยนิ้วมือง่ายหน่อย) โดยมีโลโก้ ROG มีไฟสีแดงติดขึ้นเมื่อเปิดเครื่องใช้งาน ส่วนหน้าจอของ ASUS ROG Strix GL503 จะเป็นแบบบานพับเดียวดูแล้วแข็งทนทานกางหน้าจอได้ประมาณนึง พร้อมเว้นขอบเอาไว้โชว์ไฟแสดงไฟ LED การทำงานต่างๆ ด้านหลังด้วยช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่แบบคู่สองพัดลม ครีบฟินที่แดงเน้นเรียบๆ โดยสามารถทำหน้าที่ช่วยลดความอุณหภูมิจากชิปประมวลผลและกราฟิการ์ดได้อย่างน่าประทับใจ ส่งผลให้ไม่มีความร้อนสะสม

ASUS ROG GL503 Review 14

ส่วนด้านฐานของตัวเครื่องมียางรองกันลื่น 4 มุม ช่วยยกตัวเครื่องให้สูงขึ้น พร้อมอากาศเย็นผ่าน โดยมีช่องดูดลมเย็นอีก 2 ช่องด้านล่างใต้เครื่อง อีกทั้งยังมีช่องด้านบนเหนือคีย์บอร์ดมีช่องดูดลมอีกช่องช่วยนำพาอากาศเย็นเข้าไปอีก ส่วนถ้าจะอัพเกรดก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ขันน็อตตัวเดียว (อัพแรมได้ 1 แถว, SSD M.2 และฮาร์ดดิสก์) รวมๆ แล้วต้องยอมรับว่าทาง ASUS นั้นใส่ใจในการออกแบบมาจริงๆ นอกจากที่อัพเกรดได้ไม่ยากแล้ว ยังทำความสะอาดได้สะดวกสบายอีกด้วย

สรุปโดยรวมการออกแบบดีไซน์ภายนอกและวัสดุนั้น ทำได้ดีตามมาตรฐานของ ASUS ที่ทุกคนไว้ใจและมั่นใจจริงๆ ตอบโจทย์ของคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงในดีไซน์เรียบๆ แต่แอบแฝงความแรงและเรียบหรูเอาไว้ อย่างไรก็ตามแม้ ASUS ROG Strix GL503 จะอยู่บนพื้นฐานการออกแบบของตระกูล ROG ที่เน้นสายเกมเมอร์เป็นหลัก แต่ใครจะเอาไปทำงานเบาๆ หรือทำงานหนักๆ อะไรก็แล้วแต่เลย

Keyboard / Touchpad

ASUS ROG GL503 Review 56

การควบคุมคีย์บอร์ดในการกดปุ่มสัมผัสพื้นฐานของ ASUS ROG Strix GL503 คีย์บอร์ดเรืองแสงหลากสีด้วยเทคโนโลยี AuraRGB ของทาง ROG ที่สามารถปรับแต่งเองได้ด้วยซอฟต์แวร์ภายใน ให้ความสะดวกด้วยคีย์เวิร์คหลักของ WASD ระยะของปุ่มที่เลื่อนลงไปเพียง 1.8 มล. แต่ละปุ่มมีมุมโค้งขนาด 0.25 มล. พร้อมด้วยปุ่ม N-key rollover & anti-ghosting และอายุคีย์บอร์ดที่สามารถกดได้ยี่สิบล้านครั้งเพื่อยืดอายุการใช้งาน รวมถึงสามารถมีฟังก์ชั่นเพิ่มลดเสียง เปิดไมค์ และ Gaming Center ซึ่งตัวปุ่มต่างๆ ออกแบบมาสำหรับเกมเมอร์

ทัชแพดเองขนาดใหญ่ แบบซ่อนรวมปุ่มไม่แยกชิ้น ซึ่งการใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นสะดวกสบาย ตัวทัชแพดมีเส้นแบ่งเป็นสีแดง การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี โดยมีการจับความเคลื่อนไหวว่าผู้ใช้กำลังพิมพ์ข้อความอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เคอร์เซอร์ไม่เลื่อนไปจากตำแหน่งเก่า ถ้าผู้ใช้เผลอนำมือไปโดนทัชแพดเข้ารองรับฟีเจอร์ Multi-touch หรือ Smart Gesture ที่สามารถใช้งานควบคู่กับ Windows 10 ได้เป็นอย่างดี

Screen / Speaker

ASUS ROG GL503 Review 69

ASUS ROG Strix GL503 มีหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) ตามมาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2017 พาเนลเป็น IPS คุณภาพดี มุมมองกว้าง พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare รวมๆ ทั้งสีสันความคมชัดแล้วจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปหรือการเล่นเกมก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงยังเป็นหน้าจอ 120Hz ทำให้ใช้งานเล่นเกม FPS ฉากเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าหน้าจอทั่วไปที่แค่ 60Hz

การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS ROG Strix GL503 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น

s4

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 92% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 277 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ควรคาลิเบรตเสียก่อน

ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางจอทางซ้ายเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ที่ 277 cd/m2 แต่สำหรับช่องขอบมุมด้านบนขวาเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 16% ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 3.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite

ตัวเครื่องมีช่องลำโพงคู่อยู่ขอบตัวเครื่องข้างๆ ซ้ายขวา คุณภาพสูง รวมไปถึงยังมีระบบ Smart Amp เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ระบบเสียงชั้นยอดอีกด้วย ให้เสียงคมชัด เพิ่มอรรถรสในการเล่นเกมให้ถึงใจยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็น 2 ชาแนล นเรื่องของความดังของเสียงเรียกว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจทีเดียว ส่วนในเรื่องคุณภาพเสียงนั้นถือว่าดีไวกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นให้เคียงกัน ทั้งเรื่องคุณภาพและความดัง ซึ่งหากว่าคุณเป็นผู้ใช้งานทั่วไป คุณภาพเสียงที่ได้นั้น ก็ถือว่าดีเพียงพอแบบสบายๆ แล้ว ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

Inside / Upgrade

การแกะตัวเครื่องเพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดของ ASUS ROG Strix GL503 ก็สามารถทำได้ง่ายและก็สะดวกทีเดียว ซึ่งหลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ชิ้น ชิ้นแรกจะแกะง่ายใช้น็อตยึดเพียงตัวเดียวโดยมียางแปะเอาไว้อยู่ เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะสามารถอัพเกรดแรม DDR4 2400Mz ได้อีก 1 แถวทันที รวมไปถึงสามารถเปลี่ยนหรืออัพเกรด SSD M.2 SATA 3 เดิมให้เป็น SSD M.2 NVMe ได้ทันทีเช่นกัน นอกจากนั้นก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์จานหมุนปกติขนาด 2.5″

ASUS ROG GL503 Review 23

แต่ถ้าใครต้องการจะแกะทั้งฝาล่างทั้งหมดก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ไขน็อตทั้งหมดประมาณ 10 + จากนั้นก็แกะส่วนของฮาร์ดดิสก์และสาย SATA ออกมาก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยๆ แงะแกะทีละส่วนขึ้นอย่างช้าๆ เพียงเท่านี้ก็จะแกะฝาล่างได้ไม่ยากเย็น ซึ่งเปิดมาเราก็จะพบกับชิ้นส่วนต่างๆ ภายในทั้งพัดลม 2 ตัวขนาดใหญ่ เมนบอร์ด แบตเตอรี่รวมไปถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่สำคัญเราจะเห็นถึงช่องแรมที่มีแรมอยู่แล้ว โดยจะมีแผ่นพลาสติกบางๆ คั่นเอาไว้อยู่

ASUS ROG GL503 Review 1 1

ระบบระบายความร้อนของ ASUS ROG Strix GL503 นั้นมีทิศทางการไหลของลมที่ดีขึ้นจากเดิมพอสมควร ส่วนที่ใช้ในการพัดลมเข้าออกนั้นจะอยู่ที่บริเวณด้านหลังของตัวเครื่อง (ที่มีครีบระบายความร้อนเป็นทองแดงแต่ส่วนปลายมีการย้อมสีแดง โดยการเชื่อมต่อระหว่างส่วนของพัดลมนี้กับชิปกราฟิกและชิปกราฟิกจะทำผ่าน Heat Pipe จำนวน 3 ท่อที่วางตัวยาวตั้งแต่ส่วนของชิปประมวลเรื่อยมาจนถึงส่วนที่เป็นครีบระบายความร้อนทองแดงทางด้านหลังของตัวเครื่อง

Connector / Thin And Weight

ASUS ROG GL503 Review 63

พอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS ROG Strix GL503 นี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ทมาให้ครบครับใช้ได้เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต USB 3.0 จำนวน 3 พอร์ต, และ USB 3.1 Type-C อีกจำนวน 1 พอร์ตมาให้ด้วย พร้อมช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร 1 ช่อง, SD Card Reader ขนาดมาตรฐาน, พอร์ท LAN ตัวเต็ม และ HDMI, Mini DisplayPort ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 4.0 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11b/g/n/ac รุ่นล่าสุด ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น และรองรับสัญญาณความที่ถี่ 5 Ghz ได้

ส่วนการพกพาเองก็ถือว่าASUS ROG Strix GL503 มีน้ำหนักตัวค่อนข้างเบาที่ 2.3 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วตัวอื่นๆ สเปกใกล้เคียงกันก็ถือว่าไม่หนีจากกันมากมายอะไร  อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในการพกพาไปไหนมาไหน แม้ว่าถ้ารวมอแดปเตอร์แล้วจะมีน้ำหนักประมาณ 2.6 กิโลกรัม ก็พอที่จะใส่กระเป๋าและเอาไปใช้งานนอกสถานที่ได้ไม่ยากเย็นอะไร

Performance / Software

cpu

โดย ASUS ROG Strix GL503 มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-7700HQ (รุ่นยอดนิยม) ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.80 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.80 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าแรงเท่าชิปประมวลผล Desktop ก็ว่าได้ มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 ( 1 แถว) ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่ติดมาได้แบบสบายๆ

gpu

เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดทาง ASUS ได้เลือกปิดกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 630 ใน BIOS ไป แต่ใช้เฉพาะกราฟิกการ์ดแบบแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 เท่านั้น พร้อม Overclock มาแล้ว ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี และแรงกว่า GTX 1050 แบบรู้สึกได้เลย เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว

cine

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

ssd

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 128GB แบบ M.2 มาตรฐาน SATA 3 (รองรับการอัพเกรดเป็น SSD NVMe ได้ภายหลัง) ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ 552.6MB/s และเขียนที่ 312.2MB/s

hdd

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1TB ที่ติดตั้งมาให้ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 55.9 MB/s และสูงสุดที่ 253.3 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 189.3 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 5.74 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว เรียกได้ว่าจัดอยู่เหนือมาตรฐานของฮาร์ดดิสก์

gametest GL503

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของ FPS จากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 60FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1060 ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4 รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 7200 รอบ และ SSD ทำให้มีประสิทธิภาพโดยรวมที่ดียิ่งกว่า

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง GTA V (Best)/ Battlefield 1 (Ultra)/ NFS : Payback (Ultra) ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ ที่สำคัญด้วยหน้าจอ 120Hz ทำให้เกมมีความลื่นไหลกับฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แบบสุดๆ หมดปัญหาภาพฉีก หรือภาพกระตุกไปเลย เมื่อเปิด V-Sync (แต่ตอนทดสอบปิดนะ)

ส่วนอีก 3 เกมออนไลน์ที่ทีมงานเล่นกันเป็นประจำอย่าง Overwatch (Epic), DOTA 2 (Best) ค่าเฟรมเรทไม่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 90 – 100 เฟรมเช่นกัน พูดได้เลยว่าลื่นไหลหายห่วง ไม่ว่าจะเป็นฉากบวก ฉากตะลุมบอนก็สามารถเล่นได้อย่างสบายๆ ต่อมาดูเกมเกม PUBG (Ultra) กัน ซึ่งตัว ASUS ROG Strix GL503 ก็สามารถเล่นได้ค่อนข้างลื่นในระดับหนึ่งที่เฉลี่ย 60 FPS ซึ่งพบอาการโหลดฉากไม่ทัน บ้านตึกเป็นดินน้ำมัน โดยต้องใช้เวลาโหลดเพิ่มอีกจากกระโดดร่มถึงพื้นประมาณ 20 วินาที ถึงจะเข้าบ้านได้ และมีอาการกระตุกนิดหน่อยเวลาเล่น โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อเกมได้เรนเดอร์ฉากเสร็จทั้งหมดซึ่งเวลาประมาณ 2 นาทีครับ

ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการทดสอบในส่วนของ Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ  จะเห็นได้ชัดว่าตัวท็อปสามารถทำเฟรมเรทได้ดียิ่งกว่า ประมาณ 3 – 10 + เฟรมเรท ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่แล้วแต่เกม แน่นอนว่าจากที่ทาง ASUS ได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพ ASUS ROG Strix GL503 ด้วยการ Overclock กราฟิกการ์ดเพิ่ม และปิดกราฟิกการ์ดออนบอร์ดไปเลยนั่นเอง

นอกเหนือจากนี้ทาง ASUS ยังมีซอฟต์แวร์ Utility โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมาย ที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อาทิเช่น AURA, MacroKey, GameFirst และ Sonic Radar อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ Gaming Notebook / Gaming PC ระดับสูงของทาง ASUS ROG เท่านั้น ที่ต้องบอกว่าใช้งานได้จริงและใช้งานได้ง่ายด้วย

gamecen

gamecen2

Battery / Heat / Noise

batt

แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS ROG Strix GL503 เครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 3 ชั่วโมงโดยประมาณ

ทำให้เรียกได้ว่าเป็นข้อสังเกตในส่วนของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ว่าได้ เพราะมีความจุต่ำกว่าเครื่องรุ่นอื่นๆ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการปิดกราฟิกการ์ดออนบอร์ด ทำให้ต้องใช้กราฟิกการ์ดแยกอย่างเดียว

temp2

ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS ROG Strix GL503 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 40 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 37 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด

ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 95 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 65 – 73 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยซอฟต์แวร์จากปกติที่จะเป็นแบบ Auto เท่านั้น

Conclusion / Award

ASUS ROG GL503 Review 6 1

จาการที่สัมผัสและใช้งานจริงๆ ของ ASUS ROG Strix GL503 ทั้งการเล่นเกมหลากหลายเกม รวมไปถึงทำงานและความบันเทิงดูหนังฟังเพลง บอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า ASUS ทำออกมาได้ดีกว่ารุ่นก่อนหน้า ทั้งในเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ประสบการณ์ใช้งานที่เหนือชั้น รวมไปถึงระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้น การอัพเกรดที่ง่ายกว่าเดิม ในรุ่นราคาตัวท็อปที่ 54,990 บาทแต่จะได้ Gamimg Notebook ที่มีสเปคประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญคือได้หน้าจอพาเนล IPS 120Hz และมี Windows 10 มาให้พร้อมใช้งานด้วย ส่วนตัวเริ่มต้นแม้แรมอาจจะให้มาน้อยไปหน่อยในการเล่นเกม แต่ก็อัพเกรดได้ไม่ยาก

รุ่นที่เราได้รับมารีวิวจะเป็นสเปกเ Core i7-7700HQ พร้อมด้วยการ์ดจอ GeForce GTX 1060 (6GB) และแรม DDR4 ขนาด 8GB อีกทั้งยังมี SSD แบบ M.2 ความจุ 256GB และฮาร์ดดิสก์ 1TB 7200 RPM มาให้พร้อมใช้งาน ครบครันกับการใช้งาน สมกับเป็น Gaming Notebook มีความเป็น ROG ที่ไม่ใช่แค่สวยงามดุดัน แต่เน้นประสิทธิภาพด้วย จากการที่เลือกปิดกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 630 ใน BIOS ไป แต่ใช้เฉพาะกราฟิกการ์ดจอแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 เท่านั้น พร้อม Overclock ด้วยในรุ่น GTX 1050

ASUS ROG GL503 Review 70

เรื่องของการออกแบบที่ ASUS ROG Strix GL503 ทำได้ดีมาก ฉีกรูปแบบเดิมๆ ออกไป ด้วยดีไซน์สไตล์ ROG ที่เป็น Gaming Notebook ที่ดูดุดันจริงจังเกินราคา บวกกับฟีเจอร์อย่างคีย์บอร์ดมีไฟแบบพิเศษ (WASD เป็นไฟสีขาวปุ่มสีแดง) ​ระบบเสียง Smart Amp คุณภาพดี รวมถึงมี USB 3.1 Type-C 3.1 ติดตั้งมา ซึ่งก็ได้ตัด DVD Drive ออกไปแล้ว ทำให้ตัวเครื่องมีความบางเบาลงด้วย

สรุปแล้ว ASUS ROG Strix GL503 ถือว่าเป็น Gaming Notebook ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งก็ว่าได้ในช่วงราคานี้ เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงทั้งด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดที่ OC แรงกว่าปกติ พร้อมจอพาเนล IPS 120Hz ในรุ่นบน ที่สำคัญตัวเครื่องยังบางเบาลง ไม่แค่นั้นเรื่องระบบระบายความร้อนก็ทำได้ดี ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง สมราคา 38,990 และ 54,990 บาท เหมาะกับคนที่งบถึงเงินถึงและต้องการประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่า Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ ที่สเปกใกล้เคียงกัน

อย่างไรก็ตามใช่ว่า ASUS ROG Strix GL503 จะไม่มีข้อสังเกตเสียทีเดียว ด้วยความที่เน้นประสิทธิภาพมากที่สุด เลยใช้งานได้เฉพาะกราฟิกการ์ดแบบแยกเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ากราฟิกการ์ดแบบแยกจะใช้พลังงานมากกว่ากราฟิกการ์ออนบอร์ดอยู่แล้ว ฉะนั้นเลยทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น (จากปกติสเปกใกล้เคียงกันจะใช้งานได้ประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง)

ASUS ROG GL503 Review 21

จุดเด่น

  • ดีไซน์การออกแบบสวยงามถูกใจเกมเมอร์พันธุ์ ROG งานประกอบแน่นวัสดุดี
  • ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Core i7 และการ์ดจอ GTX 1060
  • ประสิทธิภาพในการเล่นเกมดีกว่ารุ่นอื่นๆ ที่สเปกใกล้เคียงหรือเหมือนกัน
  • ติดตั้ง SSD M.2 SATA 3 (รองรับการอัพเกรดเป็น SSD NVMe ได้ภายหลัง)
  • ได้หน้าจอพาเนล IPS คุณภาพดี พร้อมรองรับ 120Hz
  • การอัพเกรดทำได้ง่ายมากๆ ด้วยฝาใต้เครื่องมีน็อตตัวเดียว
  • คีย์บอร์ดมีไฟหลากสีด้วย ROG AURA RGB
  • มีซอฟต์แวร์มากมาย ที่ใช้ได้จริง มาช่วยปรับแต่ง
  • มาพร้อม Windows 10 ใช้งานได้ทันที
  • มีพอร์ต USB 3.1 Type-C มาให้แล้ว
  • รุ่นเริ่มต้นแรมน้อยไปหน่อยที่ 4GB
  • ลำโพงคุณภาพเสียงดี น่าประทับใจ

ข้อสังเกต

  • ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปเล็กน้อยในสเปกใกล้เคียงกัน
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานเพียง 3 ชั่วโมง
  • การระบายความร้อนที่อุณหภูมิสูงไปเล็กน้อย

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS ROG Strix GL503 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ ASUS ROG โน๊ตบุ๊คสายคุ้มค่ามาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS ROG Strix GL503 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรูตามสไตล์คนรุ่นใหม่ที่ชอบเล่นเกม ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกัน ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

award_use_2_create_12

Best Performance

ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i7 ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 8GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) ที่ Overclock มาแล้ว รวมไปถึง SSD M.2 ความเร็วสูงก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย

award use 2 create 05

VDO Review

Specification

ASUS ROG Strix GL503 จะมีจำหน่ายด้วยกัน 2 รุ่นย่อย แต่ตัวที่ NotebookSPEC เป็นรุ่นบน ใช้ชิปประมวลผลเป็นIntel Core i7-7700HQ (2.80 – 3.80 GHz) ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด ประสิทธิภาพไว้ใจได้ พร้อมกราฟฟิการ์ดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB GDDR5) พร้อมฮาร์ดดิสก์ความจุ 1TB ที่ 7200 RPM และได้ติดตั้ง SSD แบบ M.2 SATA 3 ความจุ 256GB ไว้ด้วย (อัพเกรดเป็น SSD NVMe ได้) ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 8GB แบบ DDR4 หนึ่งแถว อัพเกรดได้ 16GB ทันที (อัพได้สูงสุด 32GB) ระบบปฎิบัติการเป็น Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานตั้งแต่เปิดเครื่องครั้งแรก

ส่วนรุ่นเริ่มต้นจะต่างตรงที่ได้หน้าจอเป็น Full HD พาเนล IPS ที่ 60Hz ปกติ กราฟฟิการ์ดตัวยอดนิยอมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ที่ Overclock ไปแล้วจากทางโรงงาน แรงขึ้น 7% ที่นับว่าแรงใกล้เคียงกับ GTX 1050Ti พร้อมติดตั้งแรมขนาด 4GB จำนวน 1 แถว และ SSD จะเป็นความจุ 128GB

ASUS ROG Strix GL503 ทุกรุ่น มาพร้อมจอแสดงผลแบบด้าน 15.6 นิ้ว ที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD พาเนล IPS รองรับการทำงาน 120Hz แบบผิวด้าน ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ดีน่าประทับใจ พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD (720p) และมีไมค์ดิจิตอลในตัว ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบถ้วน ทั้ง USB 3.1 Type-C , mini DisplayPort, HDMI, 3 x USB 3.0, Kensington lock slot , SD Card Reader, RJ-45 , Headset พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Bluetooth 4.1 และ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 ac

สนนราคา ASUS ROG Strix GL503 รุ่นเริ่มต้นจะอยู่ที่ 38,990 บาทและ 54,990 บาท คือรุ่นที่เรานำมารีวิว ส่วนการรับประกันแน่นอนว่าเป็น เวลา 2 ปี จาก ASUS Thailand เช่นกัน

Hardware / Design

ASUS ROG GL503 Review 42

ดีไซน์การออกแบบโดยรวมของ ASUS ROG Strix GL503 มาพร้อมความสดใหม่สุดๆ เห็นได้ชัดว่าได้รับ DNA จาก ASUS ROG ZEPHYRUS GX501 มาเต็มๆ ทั้งฝาหลังและบานพับ ตัวเครื่องใช้วัสดุเป็นทั้งโลหะและพลาสติก พัฒนาขึ้นมาน่าใช้งานมากๆ พร้อมลวดลายที่ดูดุดัน มีความเป็น Gaming สูงกว่ารุ่นก่อนมาก มาในโทนดำตัดกับสีเทาเข้ม (Armor Titanium) ซึ่งฝาหลังและด้านในตัวเครื่องจะถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนชัดเจนแบบตัดกันแนวทะแยง ที่มีความโดดเด่นมากๆ อีกทั้งจัดว่าบางสุดๆ สำหรับ Gaming Notebook ด้วยน้ำหนัก 2.3 กิโลกรัม โดยมีความบางตัวเครื่องเพียง 23 มิลลิเมตรเท่านั้นเอง ที่สำคัญชุดระบายความร้อนยังเป็นพัดลมแบบคู่ ช่วยระบายความร้อนได้ดีเช่นเคย

ASUS ROG GL503 Review 30

ฝาหลังเป็นวัสดุอลูมิเนียมแบบขัดลาย ให้สัมผัสที่ขรุขระ จับติดมือ ไม่ลื่น และรู้สึกดีกว่าพลาสติกแบบธรรมดาทั่วไป (แต่เป็นรอยนิ้วมือง่ายหน่อย) โดยมีโลโก้ ROG มีไฟสีแดงติดขึ้นเมื่อเปิดเครื่องใช้งาน ส่วนหน้าจอของ ASUS ROG Strix GL503 จะเป็นแบบบานพับเดียวดูแล้วแข็งทนทานกางหน้าจอได้ประมาณนึง พร้อมเว้นขอบเอาไว้โชว์ไฟแสดงไฟ LED การทำงานต่างๆ ด้านหลังด้วยช่องระบายความร้อนขนาดใหญ่แบบคู่สองพัดลม ครีบฟินที่แดงเน้นเรียบๆ โดยสามารถทำหน้าที่ช่วยลดความอุณหภูมิจากชิปประมวลผลและกราฟิการ์ดได้อย่างน่าประทับใจ ส่งผลให้ไม่มีความร้อนสะสม

ASUS ROG GL503 Review 14

ส่วนด้านฐานของตัวเครื่องมียางรองกันลื่น 4 มุม ช่วยยกตัวเครื่องให้สูงขึ้น พร้อมอากาศเย็นผ่าน โดยมีช่องดูดลมเย็นอีก 2 ช่องด้านล่างใต้เครื่อง อีกทั้งยังมีช่องด้านบนเหนือคีย์บอร์ดมีช่องดูดลมอีกช่องช่วยนำพาอากาศเย็นเข้าไปอีก ส่วนถ้าจะอัพเกรดก็ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ขันน็อตตัวเดียว (อัพแรมได้ 1 แถว, SSD M.2 และฮาร์ดดิสก์) รวมๆ แล้วต้องยอมรับว่าทาง ASUS นั้นใส่ใจในการออกแบบมาจริงๆ นอกจากที่อัพเกรดได้ไม่ยากแล้ว ยังทำความสะอาดได้สะดวกสบายอีกด้วย

สรุปโดยรวมการออกแบบดีไซน์ภายนอกและวัสดุนั้น ทำได้ดีตามมาตรฐานของ ASUS ที่ทุกคนไว้ใจและมั่นใจจริงๆ ตอบโจทย์ของคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงในดีไซน์เรียบๆ แต่แอบแฝงความแรงและเรียบหรูเอาไว้ อย่างไรก็ตามแม้ ASUS ROG Strix GL503 จะอยู่บนพื้นฐานการออกแบบของตระกูล ROG ที่เน้นสายเกมเมอร์เป็นหลัก แต่ใครจะเอาไปทำงานเบาๆ หรือทำงานหนักๆ อะไรก็แล้วแต่เลย

Keyboard / Touchpad

ASUS ROG GL503 Review 56

การควบคุมคีย์บอร์ดในการกดปุ่มสัมผัสพื้นฐานของ ASUS ROG Strix GL503 คีย์บอร์ดเรืองแสงหลากสีด้วยเทคโนโลยี AuraRGB ของทาง ROG ที่สามารถปรับแต่งเองได้ด้วยซอฟต์แวร์ภายใน ให้ความสะดวกด้วยคีย์เวิร์คหลักของ WASD ระยะของปุ่มที่เลื่อนลงไปเพียง 1.8 มล. แต่ละปุ่มมีมุมโค้งขนาด 0.25 มล. พร้อมด้วยปุ่ม N-key rollover & anti-ghosting และอายุคีย์บอร์ดที่สามารถกดได้ยี่สิบล้านครั้งเพื่อยืดอายุการใช้งาน รวมถึงสามารถมีฟังก์ชั่นเพิ่มลดเสียง เปิดไมค์ และ Gaming Center ซึ่งตัวปุ่มต่างๆ ออกแบบมาสำหรับเกมเมอร์

ทัชแพดเองขนาดใหญ่ แบบซ่อนรวมปุ่มไม่แยกชิ้น ซึ่งการใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นสะดวกสบาย ตัวทัชแพดมีเส้นแบ่งเป็นสีแดง การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี โดยมีการจับความเคลื่อนไหวว่าผู้ใช้กำลังพิมพ์ข้อความอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เคอร์เซอร์ไม่เลื่อนไปจากตำแหน่งเก่า ถ้าผู้ใช้เผลอนำมือไปโดนทัชแพดเข้ารองรับฟีเจอร์ Multi-touch หรือ Smart Gesture ที่สามารถใช้งานควบคู่กับ Windows 10 ได้เป็นอย่างดี

Screen / Speaker

ASUS ROG GL503 Review 69

ASUS ROG Strix GL503 มีหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) ตามมาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2017 พาเนลเป็น IPS คุณภาพดี มุมมองกว้าง พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare รวมๆ ทั้งสีสันความคมชัดแล้วจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปหรือการเล่นเกมก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงยังเป็นหน้าจอ 120Hz ทำให้ใช้งานเล่นเกม FPS ฉากเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าหน้าจอทั่วไปที่แค่ 60Hz

การทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ ASUS ROG Strix GL503 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น

s4

โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 92% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 277 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ควรคาลิเบรตเสียก่อน

ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางจอทางซ้ายเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ที่ 277 cd/m2 แต่สำหรับช่องขอบมุมด้านบนขวาเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 16% ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 3.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite

ตัวเครื่องมีช่องลำโพงคู่อยู่ขอบตัวเครื่องข้างๆ ซ้ายขวา คุณภาพสูง รวมไปถึงยังมีระบบ Smart Amp เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ระบบเสียงชั้นยอดอีกด้วย ให้เสียงคมชัด เพิ่มอรรถรสในการเล่นเกมให้ถึงใจยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็น 2 ชาแนล นเรื่องของความดังของเสียงเรียกว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจทีเดียว ส่วนในเรื่องคุณภาพเสียงนั้นถือว่าดีไวกว่าโน๊ตบุ๊ครุ่นให้เคียงกัน ทั้งเรื่องคุณภาพและความดัง ซึ่งหากว่าคุณเป็นผู้ใช้งานทั่วไป คุณภาพเสียงที่ได้นั้น ก็ถือว่าดีเพียงพอแบบสบายๆ แล้ว ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

Inside / Upgrade

การแกะตัวเครื่องเพื่ออัพเกรดหรือทำความสะอาดของ ASUS ROG Strix GL503 ก็สามารถทำได้ง่ายและก็สะดวกทีเดียว ซึ่งหลักๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ชิ้น ชิ้นแรกจะแกะง่ายใช้น็อตยึดเพียงตัวเดียวโดยมียางแปะเอาไว้อยู่ เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะสามารถอัพเกรดแรม DDR4 2400Mz ได้อีก 1 แถวทันที รวมไปถึงสามารถเปลี่ยนหรืออัพเกรด SSD M.2 SATA 3 เดิมให้เป็น SSD M.2 NVMe ได้ทันทีเช่นกัน นอกจากนั้นก็จะเป็นฮาร์ดดิสก์จานหมุนปกติขนาด 2.5″

ASUS ROG GL503 Review 23

แต่ถ้าใครต้องการจะแกะทั้งฝาล่างทั้งหมดก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ไขน็อตทั้งหมดประมาณ 10 + จากนั้นก็แกะส่วนของฮาร์ดดิสก์และสาย SATA ออกมาก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยๆ แงะแกะทีละส่วนขึ้นอย่างช้าๆ เพียงเท่านี้ก็จะแกะฝาล่างได้ไม่ยากเย็น ซึ่งเปิดมาเราก็จะพบกับชิ้นส่วนต่างๆ ภายในทั้งพัดลม 2 ตัวขนาดใหญ่ เมนบอร์ด แบตเตอรี่รวมไปถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่สำคัญเราจะเห็นถึงช่องแรมที่มีแรมอยู่แล้ว โดยจะมีแผ่นพลาสติกบางๆ คั่นเอาไว้อยู่

ASUS ROG GL503 Review 1 1

ระบบระบายความร้อนของ ASUS ROG Strix GL503 นั้นมีทิศทางการไหลของลมที่ดีขึ้นจากเดิมพอสมควร ส่วนที่ใช้ในการพัดลมเข้าออกนั้นจะอยู่ที่บริเวณด้านหลังของตัวเครื่อง (ที่มีครีบระบายความร้อนเป็นทองแดงแต่ส่วนปลายมีการย้อมสีแดง โดยการเชื่อมต่อระหว่างส่วนของพัดลมนี้กับชิปกราฟิกและชิปกราฟิกจะทำผ่าน Heat Pipe จำนวน 3 ท่อที่วางตัวยาวตั้งแต่ส่วนของชิปประมวลเรื่อยมาจนถึงส่วนที่เป็นครีบระบายความร้อนทองแดงทางด้านหลังของตัวเครื่อง

Connector / Thin And Weight

ASUS ROG GL503 Review 63

พอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง ASUS ROG Strix GL503 นี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ทมาให้ครบครับใช้ได้เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต USB 3.0 จำนวน 3 พอร์ต, และ USB 3.1 Type-C อีกจำนวน 1 พอร์ตมาให้ด้วย พร้อมช่องต่อหูฟังกับไมค์แบบ Combo ขนาด 3.5 มิลลิเมตร 1 ช่อง, SD Card Reader ขนาดมาตรฐาน, พอร์ท LAN ตัวเต็ม และ HDMI, Mini DisplayPort ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 4.0 และ Wireless Dual Band แบบ 802.11b/g/n/ac รุ่นล่าสุด ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น และรองรับสัญญาณความที่ถี่ 5 Ghz ได้

ส่วนการพกพาเองก็ถือว่าASUS ROG Strix GL503 มีน้ำหนักตัวค่อนข้างเบาที่ 2.3 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วตัวอื่นๆ สเปกใกล้เคียงกันก็ถือว่าไม่หนีจากกันมากมายอะไร  อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในการพกพาไปไหนมาไหน แม้ว่าถ้ารวมอแดปเตอร์แล้วจะมีน้ำหนักประมาณ 2.6 กิโลกรัม ก็พอที่จะใส่กระเป๋าและเอาไปใช้งานนอกสถานที่ได้ไม่ยากเย็นอะไร

Performance / Software

cpu

โดย ASUS ROG Strix GL503 มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-7700HQ (รุ่นยอดนิยม) ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่เน้นการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.80 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.80 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ เรียกได้ว่าแรงเท่าชิปประมวลผล Desktop ก็ว่าได้ มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 ( 1 แถว) ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่ติดมาได้แบบสบายๆ

gpu

เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดทาง ASUS ได้เลือกปิดกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 630 ใน BIOS ไป แต่ใช้เฉพาะกราฟิกการ์ดแบบแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 เท่านั้น พร้อม Overclock มาแล้ว ที่ต้องบอกว่าแรงเทียบเท่าระดับพีซี และแรงกว่า GTX 1050 แบบรู้สึกได้เลย เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรได้เป็นอย่างดีทีเดียว

cine

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงสุดๆ ที่น่าประทับใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ สมกับเป็นชิปประมวลผลตัวบนในรุ่นใช้งานเต็มกำลัง และการ์ดจอระดับบน ที่เน้นการทำงานเป็นหลัก

ssd

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 128GB แบบ M.2 มาตรฐาน SATA 3 (รองรับการอัพเกรดเป็น SSD NVMe ได้ภายหลัง) ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊บ ที่ต้องบอกว่าความเร็วระดับการอ่านที่ 552.6MB/s และเขียนที่ 312.2MB/s

hdd

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1TB ที่ติดตั้งมาให้ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 55.9 MB/s และสูงสุดที่ 253.3 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 189.3 MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 5.74 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นมีความน่าประทับใจทีเดียว เรียกได้ว่าจัดอยู่เหนือมาตรฐานของฮาร์ดดิสก์

gametest GL503

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของ FPS จากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 60FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1060 ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับยังใช้แรม 8GB DDR4 รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 7200 รอบ และ SSD ทำให้มีประสิทธิภาพโดยรวมที่ดียิ่งกว่า

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง GTA V (Best)/ Battlefield 1 (Ultra)/ NFS : Payback (Ultra) ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ที่ต้องบอกว่าภาพก็สวยจนน่าประทับใจ ที่สำคัญด้วยหน้าจอ 120Hz ทำให้เกมมีความลื่นไหลกับฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แบบสุดๆ หมดปัญหาภาพฉีก หรือภาพกระตุกไปเลย เมื่อเปิด V-Sync (แต่ตอนทดสอบปิดนะ)

ส่วนอีก 3 เกมออนไลน์ที่ทีมงานเล่นกันเป็นประจำอย่าง Overwatch (Epic), DOTA 2 (Best) ค่าเฟรมเรทไม่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 90 – 100 เฟรมเช่นกัน พูดได้เลยว่าลื่นไหลหายห่วง ไม่ว่าจะเป็นฉากบวก ฉากตะลุมบอนก็สามารถเล่นได้อย่างสบายๆ ต่อมาดูเกมเกม PUBG (Ultra) กัน ซึ่งตัว ASUS ROG Strix GL503 ก็สามารถเล่นได้ค่อนข้างลื่นในระดับหนึ่งที่เฉลี่ย 60 FPS ซึ่งพบอาการโหลดฉากไม่ทัน บ้านตึกเป็นดินน้ำมัน โดยต้องใช้เวลาโหลดเพิ่มอีกจากกระโดดร่มถึงพื้นประมาณ 20 วินาที ถึงจะเข้าบ้านได้ และมีอาการกระตุกนิดหน่อยเวลาเล่น โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อเกมได้เรนเดอร์ฉากเสร็จทั้งหมดซึ่งเวลาประมาณ 2 นาทีครับ

ซึ่งเมื่อเทียบกับผลการทดสอบในส่วนของ Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ  จะเห็นได้ชัดว่าตัวท็อปสามารถทำเฟรมเรทได้ดียิ่งกว่า ประมาณ 3 – 10 + เฟรมเรท ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่แล้วแต่เกม แน่นอนว่าจากที่ทาง ASUS ได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพ ASUS ROG Strix GL503 ด้วยการ Overclock กราฟิกการ์ดเพิ่ม และปิดกราฟิกการ์ดออนบอร์ดไปเลยนั่นเอง

นอกเหนือจากนี้ทาง ASUS ยังมีซอฟต์แวร์ Utility โดยเป็นลักษณะของแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมาย ที่ช่วยเอื้ออำนวยในการปรับแต่งเพื่อการเล่นหรือทำงานโดยเฉพาะ อาทิเช่น AURA, MacroKey, GameFirst และ Sonic Radar อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ Gaming Notebook / Gaming PC ระดับสูงของทาง ASUS ROG เท่านั้น ที่ต้องบอกว่าใช้งานได้จริงและใช้งานได้ง่ายด้วย

gamecen

gamecen2

Battery / Heat / Noise

batt

แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน ASUS ROG Strix GL503 เครื่องนี้เป็นแบบฝังตามปกติ ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โปรแกรม BatteryMon แจ้งระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องในเงื่อนไขดังกล่าวราวๆ 3 ชั่วโมงโดยประมาณ

ทำให้เรียกได้ว่าเป็นข้อสังเกตในส่วนของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ก็ว่าได้ เพราะมีความจุต่ำกว่าเครื่องรุ่นอื่นๆ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการปิดกราฟิกการ์ดออนบอร์ด ทำให้ต้องใช้กราฟิกการ์ดแยกอย่างเดียว

temp2

ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS ROG Strix GL503 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 40 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 37 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด

ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 95 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 65 – 73 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยซอฟต์แวร์จากปกติที่จะเป็นแบบ Auto เท่านั้น

Conclusion / Award

ASUS ROG GL503 Review 6 1

จาการที่สัมผัสและใช้งานจริงๆ ของ ASUS ROG Strix GL503 ทั้งการเล่นเกมหลากหลายเกม รวมไปถึงทำงานและความบันเทิงดูหนังฟังเพลง บอกได้อย่างเต็มปากเลยว่า ASUS ทำออกมาได้ดีกว่ารุ่นก่อนหน้า ทั้งในเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ประสบการณ์ใช้งานที่เหนือชั้น รวมไปถึงระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้น การอัพเกรดที่ง่ายกว่าเดิม ในรุ่นราคาตัวท็อปที่ 54,990 บาทแต่จะได้ Gamimg Notebook ที่มีสเปคประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญคือได้หน้าจอพาเนล IPS 120Hz และมี Windows 10 มาให้พร้อมใช้งานด้วย ส่วนตัวเริ่มต้นแม้แรมอาจจะให้มาน้อยไปหน่อยในการเล่นเกม แต่ก็อัพเกรดได้ไม่ยาก

รุ่นที่เราได้รับมารีวิวจะเป็นสเปกเ Core i7-7700HQ พร้อมด้วยการ์ดจอ GeForce GTX 1060 (6GB) และแรม DDR4 ขนาด 8GB อีกทั้งยังมี SSD แบบ M.2 ความจุ 256GB และฮาร์ดดิสก์ 1TB 7200 RPM มาให้พร้อมใช้งาน ครบครันกับการใช้งาน สมกับเป็น Gaming Notebook มีความเป็น ROG ที่ไม่ใช่แค่สวยงามดุดัน แต่เน้นประสิทธิภาพด้วย จากการที่เลือกปิดกราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 630 ใน BIOS ไป แต่ใช้เฉพาะกราฟิกการ์ดจอแยกรุ่นใหม่ล่าสุดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 เท่านั้น พร้อม Overclock ด้วยในรุ่น GTX 1050

ASUS ROG GL503 Review 70

เรื่องของการออกแบบที่ ASUS ROG Strix GL503 ทำได้ดีมาก ฉีกรูปแบบเดิมๆ ออกไป ด้วยดีไซน์สไตล์ ROG ที่เป็น Gaming Notebook ที่ดูดุดันจริงจังเกินราคา บวกกับฟีเจอร์อย่างคีย์บอร์ดมีไฟแบบพิเศษ (WASD เป็นไฟสีขาวปุ่มสีแดง) ​ระบบเสียง Smart Amp คุณภาพดี รวมถึงมี USB 3.1 Type-C 3.1 ติดตั้งมา ซึ่งก็ได้ตัด DVD Drive ออกไปแล้ว ทำให้ตัวเครื่องมีความบางเบาลงด้วย

สรุปแล้ว ASUS ROG Strix GL503 ถือว่าเป็น Gaming Notebook ที่ดีที่สุดรุ่นหนึ่งก็ว่าได้ในช่วงราคานี้ เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่สูงทั้งด้วยชิปประมวลผลและกราฟิกการ์ดที่ OC แรงกว่าปกติ พร้อมจอพาเนล IPS 120Hz ในรุ่นบน ที่สำคัญตัวเครื่องยังบางเบาลง ไม่แค่นั้นเรื่องระบบระบายความร้อนก็ทำได้ดี ทั้งจากรูปลักษณ์และใช้งานจริง สมราคา 38,990 และ 54,990 บาท เหมาะกับคนที่งบถึงเงินถึงและต้องการประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่า Gaming Notebook รุ่นอื่นๆ ที่สเปกใกล้เคียงกัน

อย่างไรก็ตามใช่ว่า ASUS ROG Strix GL503 จะไม่มีข้อสังเกตเสียทีเดียว ด้วยความที่เน้นประสิทธิภาพมากที่สุด เลยใช้งานได้เฉพาะกราฟิกการ์ดแบบแยกเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ากราฟิกการ์ดแบบแยกจะใช้พลังงานมากกว่ากราฟิกการ์ออนบอร์ดอยู่แล้ว ฉะนั้นเลยทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น (จากปกติสเปกใกล้เคียงกันจะใช้งานได้ประมาณ 4 – 5 ชั่วโมง)

ASUS ROG GL503 Review 21

จุดเด่น

  • ดีไซน์การออกแบบสวยงามถูกใจเกมเมอร์พันธุ์ ROG งานประกอบแน่นวัสดุดี
  • ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปประมวลผล Core i7 และการ์ดจอ GTX 1060
  • ประสิทธิภาพในการเล่นเกมดีกว่ารุ่นอื่นๆ ที่สเปกใกล้เคียงหรือเหมือนกัน
  • ติดตั้ง SSD M.2 SATA 3 (รองรับการอัพเกรดเป็น SSD NVMe ได้ภายหลัง)
  • ได้หน้าจอพาเนล IPS คุณภาพดี พร้อมรองรับ 120Hz
  • การอัพเกรดทำได้ง่ายมากๆ ด้วยฝาใต้เครื่องมีน็อตตัวเดียว
  • คีย์บอร์ดมีไฟหลากสีด้วย ROG AURA RGB
  • มีซอฟต์แวร์มากมาย ที่ใช้ได้จริง มาช่วยปรับแต่ง
  • มาพร้อม Windows 10 ใช้งานได้ทันที
  • มีพอร์ต USB 3.1 Type-C มาให้แล้ว
  • รุ่นเริ่มต้นแรมน้อยไปหน่อยที่ 4GB
  • ลำโพงคุณภาพเสียงดี น่าประทับใจ

ข้อสังเกต

  • ราคาสูงกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปเล็กน้อยในสเปกใกล้เคียงกัน
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานเพียง 3 ชั่วโมง
  • การระบายความร้อนที่อุณหภูมิสูงไปเล็กน้อย

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง ASUS ROG Strix GL503 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ ASUS ROG โน๊ตบุ๊คสายคุ้มค่ามาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนใน ASUS ROG Strix GL503 ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรูตามสไตล์คนรุ่นใหม่ที่ชอบเล่นเกม ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกัน ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

award_use_2_create_12

Best Performance

ด้วยสเปกชิปประมวลผล Intel Core i7 ตัวล่าสุด ที่มาพร้อมกับแรมขนาด 8GB แบบ DDR4 และกราฟิกการ์ดยอดนิยมอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1060 (6GB) ที่ Overclock มาแล้ว รวมไปถึง SSD M.2 ความเร็วสูงก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของตัวเครื่องนี้มีความน่าประทับใจ ทั้งจากในการใช้ทำงานจริงๆ รวมไปถึงการทดสอบด้วยโปรแกรมต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสเปกโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ผลคะแนนที่ออกมานั้นทำได้อยู่ในช่วงเดียวกัน หรือบางจุดก็มากกว่าซะด้วย

award use 2 create 05

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมรุ่นใหม่ก็มา รุ่นเก่าสเปคเด็ดก็มี ถ้าใครอยากเปลี่ยนเครื่องอยู่นาทีนี้มีรุ่นน่าโดนให้เลือกเพียบ! จะปี 2024 นี้หรือปีไหนโน๊ตบุ๊คเล่นเกมก็ยังคงเป็นตัวเลือกขวัญใจใครหลายคนเพราะประสิทธิภาพดี ทรงพลังเหลือเฟือไม่ว่าจะงานเบาๆ ทำเอกสารไปจนตัดต่อคลิปและงาน 3D ก็ไหว เล่นเกมก็ได้สบายๆ ยิ่ง 2~3 ปีมานี้ พอเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ซีพียูกับจีพียู็ยิ่งทรงพลังก็ทำให้เกมเมอร์และครีเอเตอร์ที่ไม่อยากเสียเวลาประกอบพีซีให้วุ่นวายเลือกตัดปัญหาทั้งหมดโดยซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมสเปคแรงมาใช้แทน แถมได้เปรียบว่าพกพาสะดวกหยิบไปทำงานได้ กลับบ้านต่อหน้าจอแยกก็เล่นเกมชั้นนำได้ดีพอตัว นอกจากสเปคแล้ว ในปี 2024 ที่ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายแบรนด์ก็เสริม AI...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook 14 OLED UM3406H พรีเมี่ยมโน๊ตบุ๊คพร้อมพลัง Ryzen AI ทำงานได้ เนียนเล่นเกมลื่นอีก!! ถ้าจะซื้อโน๊ตบุ๊กสักเครื่อง ก็จะมีทางเลือกแค่เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหนาหนักแต่แรงทรงพลังหรือเป็นกลุ่มโน๊ตบุ๊คบางเบาเช่นเดียวกับ ASUS Zenbook 14 OLED UM3406H ทว่ามันจะไม่ติดข้อจำกัดเดิมว่าเล่นเกมไม่ไหวอีกต่อไปด้วยพลังของซีพียู AMD Ryzen 8000 Series พร้อม Ryzen...

รีวิว Asus

ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เกมมิ่งตัวบางแอบแรง หยิบไปไหนก็ดูดีไม่มีใครเกิน!! ASUS ROG Zephyrus G14 GA403UV เป็นหนึ่งในสามหัวหอกเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คจากทาง ASUS ผู้คงรูปลักษณ์เรียบหรูผู้ดี ขณะที่อีกสองพี่น้องเป็นเกมมิ่งตัวแรงทรงพลังขวัญใจเกมเมอร์ปรับสุดทุกเกม ROG Zephyrus G14 จึงเหมาะกับพนักงานออฟฟิศผู้รักในการเล่นเกมและครีเอเตอร์ปั้นงานกราฟิค 3D เสียมากกว่า ซึ่งโมเดลปี 2024...

CONTENT

AMD Ryzen 8040 series ซีพียูรุ่นใหม่ เอาใจคอเกม เล่นเกมไหลลื่น พร้อมมี AI ในตัว AMD Ryzen 8040 series เป็นซีพียูโน๊ตบุ๊คในซีรีส์ล่าสุดของทาง AMD ออกแบบมาเพื่อการทำงาน สร้างงานครีเอทีฟ ไปจนถึงการใช้งานในชีวิตประจำวัน และการเล่นเกม โดยจุดเด่นอยู่ที่การใช้พลังงานน้อย ความร้อนน้อย จึงเหมาะกับผู้ใช้โน๊ตบุ๊ค ที่ต้องการทั้งศักยภาพในการทำงาน...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก