ล่าสุด HP ได้นำเสนอโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ล่าสุดซึ่งเป็นซีรีย์เริ่มต้นประจำปี 2017 อย่าง HP 14 แนวๆ Ultrabook ที่ออกแบบดีไซน์มาใหม่ ดูสวยงามไม่แพ้รุ่นพี่ตัว Pavilion และเน้นในเรื่องของความคุ้มค่า ราคาไม่แพง เป็นหลัก และที่สำคัญมาพร้อมกับน้ำหนักที่เบามากเพียง 1.46 กิโลกรัมเท่านั้น เหมาะกับสายการทำงานและบันเทิงที่เน้นการพกพาไปนอกสถานที่ อาจจะใช้งานตามออฟฟิศหรือร้านกาแฟแบบชิคๆ คูลๆ ได้อย่างโดดเด่นไม่น้อยหน้าใคร
โดย HP 14 ปี 2017 รุ่นนี้มีความโดดเด่นสุดๆ เพราะเป็นรุ่นแรกของ HP ที่ใช้ชิปประมวลผล Intel Core i Gen 8 (Kaby Lake R) อย่าง Core i5-8250U ตัวประหยัดพลังงานรุ่นล่าสุด พร้อมการ์ดแยกรุ่นใหม่อย่าง AMD Radeon 530 (2 GB DDR3) ที่สำคัญยังมีประสิทธิภาพโดยรวมที่ดีด้วย SSD ความจุ 256GB อีกด้วย สนนราคาเพียง 20,990 บาท ได้ประกัน 2 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้านตามมาตรฐาน HP ด้วย
VDO Review
Specification
สำหรับสเปคโดยรวมของ HP 14-bp104tx (ชื่อรุ่นเต็มๆ) รุ่นที่ทีมงาน NotebookSPEC ได้รับมารีวิวนี้ ได้ใช้ชิปประมวลผลเป็น Inter Core i5-8250U ซึ่งถือได้ว่าเป็นซีพียูรุ่นประหยัดพลังงานตัวใหม่แบบ 4 Core/8 Thread (รุ่นก่อนๆ แค่ 2 Core/4 Thread) ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการทำงานทั่วไปและการเล่นเกมที่พอได้ดีกว่า Core i Gen 7 พอสมควร มาพร้อมการ์ดจอออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 620 ตามมาด้วยกราฟิกการ์ดแยกอย่าง AMD Radeon 530 (2GB GDDR3) รุ่นใหม่กลางๆ ซึ่งสามารถการเล่นเกม 3 มิติได้ในระดับนึง แรมเดิมๆ เป็น 4GB แบบ DDR4 บัส 2400 MHz (สามารถอัพเกรดได้ 16 GB) และฮาร์ดดิกส์แบบ SSD ความเร็วสูงความจุ 256GB
ในส่วนของหน้าจอกระจกขนาด 14 นิ้วความละเอียด HD 1366 × 768 พิกเซล พาเนล TN ให้สีสันและมุมมองธรรมดา ไม่ได้สวยเวอร์วังอะไร ทางด้านพอร์ตที่ติดตั้งมีมาให้จะใช้ถือว่าครบครันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง, USB 3.1 Type-C จำนวน 1 ช่อง, SD Card Reader, HDMI สำหรับต่อหน้าจอเสริม, LAN และรูหูฟังกับไมค์แบบคอมโบ ซึ่งแน่นอนว่ารองรับการเชื่อมต่อไร้สายด้วย Wi-Fi 802.11a/b/g/n/ac มาตราฐานใหม่กับ Bluetooth 4.2 และมีน้ำหนักอยู่ที่ 1.46 กิโลกรัม พร้อมการรับประกัน 2 ปีแบบ On-site Service สนนราคาจะอยู่ที่ 20,990 บาท
ชมหน้าสเปกเต็มๆ ของ HP 14-bp104tx
Hardware / Design
ลักษณะการออกแบบ HP 14 ปี 2017 ที่ทำได้น่าสนใจ จากวัสดุที่ดีอย่างพลาสติกเกรดสูง สีสันเป็นสีขาวตลอดทั้งตัวเครื่อง พร้อมพื้นผิวแบบไม่เรียบ งานประกอบก็มีความเรียบร้อยแบบสุดๆ โดยรวมถือว่าเรียบหรูตามสไตล์ HP มีโลโก้กลางฝาหลังเป็นสีเทาเข้ม ส่วนใต้เครื่องจะเป็นสีขาวสีเดียวกันกับด้านนอกที่ดูแล้วก็สวยงามดี เอาจริงๆ คือ ดีไซน์ตัวเครื่องภายนอกนั้นดูดีมีราคากว่าค่าตัว 20,990 บาทเสียอีก แต่ก็ต้องระวังเรื่องของความสะอาดตัวเครื่องเสียหน่อย
ส่วนด้านในตัวเครื่องบริเวณที่พักข้อมือก็จะเป็นสีขาวพื้นผิวก็จะเหมือนด้านนอกตัวเครื่องทั้งหมด รวมถึงแป้นคีย์บอร์ดก็เป็นสีขาว ช่วยเสริมความสวยงามได้ดี บานพับเป็นแบบแกนเดียวขนาดใหญ่ที่แลดูแข็งแรงทนทานเข้ากับเครื่อง แถมยังบางเบาพกพาง่ายกว่าเดิมมาก ด้วยน้ำหนักเพียง 1.46 กิโลกรัม และด้วยความบางของตัวเครื่องเพียงที่ 19.9 ม.ม. จากแบตเตอรี่ที่นำไปไว้ในตัวเครื่อง ตามสไตล์ Ultrabook ก็ว่าได้
HP 14 ปี 2017 ต้องบอกว่งานดีจริงๆ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คเพื่อใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารหรือเล่นอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ รวมไปถึงงานหนักๆ หรือเล่นเกมก็สามารถรองรับได้อย่างสบายๆ ที่สำคัญดีไซน์การออกแบบยังก้าวล้ำด้วยความบางเบากว่าคู่แข่งในสเปกและราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่ามีการตัดไดร์ฟออฟติคอล DVD ที่คนที่ไม่ค่อยได้ใช้ออกไปด้วย
ส่วนระบบระบายความร้อนก็ได้ติดตั้งอยู่ใต้หน้าจอ จากที่รุ่นก่อนหน้าจะติดตั้งอยู่ด้านซ้ายของตัวเครื่อง ทำให้หมดกังวลเรื่องปัญหาที่จะทำให้ร้อนมือ จนหัวร้อนอีกต่อไป เรียกได้ว่า HP ยินดีรับฟังและแก้ไขตามใจผู้ใช้งานจริงๆ แต่อย่างไรก็ตามระบบระบายความร้อนภายในนั้นจะมีพัดลมเพียงตัวเดียว ซึ่งนั่นเป็นเพราะชิปประมวลผลประหยัดพลังงานและกราฟิกการ์ดนั้นไม่ได้แรงจนทำให้ร้อนมากมายนัก
Keyboard / Touchpad
แป้นคีย์บอร์ดของ HP 14 ปี 2017 นั้นตัวปุ่มเป็นพลาสติกสีขาวเข้ากับตัวเครื่อง โดยสกรีนตัวอักษรเป็นเทา อีกทั้งได้รับการปรับดีไซน์ใหม่แบบ Island Style ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น แต่สำหรับคนที่นิ้วเล็กนิ้วใหญ่สามารถใช้งานได้สะดวกทั้งหมด อีกทั้งให้สัมผัสและการเด้งตอบสนองได้ดีในระดับหนึ่ง โดยขนาดของคีย์บอร์ดเป็นไซต์แบบปกติของโน๊ตบุ๊คจอ 14 นิ้ว ซึ่งจะไม่มีแป้นในส่วนของ Numpad มาให้ ส่วนปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมซ้ายบนสีกลืนไปกับเครื่อง ซึ่งข้อดีก็คือมั่นใจได้ว่าจะไม่ไปเผลอกดระหว่างการใช้งานแน่นอน
ทางด้านทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และยาวเมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปุ่มคลิกซ้ายขวาเป็นแบบซ่อนปุ่ม การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ กดไม่มียวบยาบ งานประกอบดี ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี ใช้งานมัลติทัชได้ลื่นไหล แถมมีฟังก์ชันการจับความเคลื่อนไหวว่าผู้ใช้กำลังพิมพ์ข้อความอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เคอร์เซอร์ไม่เลื่อนไปจากตำแหน่งเก่า ถ้าผู้ใช้เผลอนำมือไปโดนทัชแพดเข้านั่นเอง
Screen / Speaker
ในส่วนของหน้าจอ HP 14 ปี 2017 เป็นแบบจอกระจกขนาด 14 นิ้วบนความละเอียดในระดับ HD หรือ 1366 x 768 พิกเซล ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คทั่วไป พาเนล TN ซึ่งให้สีสันที่ดีในระดับธรรมดาทั่วไป ซึ่งไม่ว่าจะนำมาเล่นเกม ดูหนังฟังเพลง หรือชมวีดีโอจาก YouTube ก็พอได้ ภาพที่เห็นก็คมชัดดี เพียงแต่อาจจะเห็นเม็ดพิกเซลนิดหนึ่งบ้างแต่ก็ไม่ได้น่าเกลียด หากไม่ได้จ้องหรือมองดูผ่านๆ ก็เรียบลื่นเนียนๆ กันเลยทีเดียว ตัวงานประกอบก็ทำได้ดีเป็นพลาสติกด้าน และมียางรองหน้าจอถึง 4 จุด บน 2 ซ้ายขวา 2 ช่วยเรื่องลดแรงการกดทับได้อย่างดี
ารทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ HP 14 ปี 2017 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล TN ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 53% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 200 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงแล้ว อันนี้ไม่แนะนำ
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าขอบจอด้านซ้ายแถวบนเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ แต่สำหรับขอบจอตรงกลางด้านล่างเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 14% เลยทีเดียว ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 2.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite
ทางด้านลำโพงจะเป็นแบบสเตอริโอ 2.0 Channel ซึ่งถูกติดตั้งอยู่เหนือชุดคีย์บอร์ด คุณภาพถือว่าเพียงพอที่จะใช้งานในด้านของความบันเทิงทั่วๆ ไป เช่นดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกมต่างๆ ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งตัวลำโพงจะวางอยู่ด้านบนคีย์บอร์ด ทั้งในด้านคุณภาพของเสียงและระดับความดังของเสียงอยู่ในเกณฑ์กลางๆ คือไม่ดีเวอร์หรือแย่อะไร ซึ่งก็ถือว่าดีเลยเดียวหากเทียบกับราคา
Connector / Thin And Weight
พอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง HP 14 ปี 2017 นี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีความครบครับอย่างมากเมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง แม้ว่าจะเป็นเครื่องที่มีการออกแบบมาให้เป็นเครื่องที่มีขนาดความบางและน้ำหนักเบาแต่เรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ นั้น ก็มีมาให้มากพอทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.1 Type-C อีก 1 พอร์ต, HDMI, LAN, SD Card Reader และช่องต่อหูฟังกับไมค์ขนาดแบบคอมโบขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร เพียงพอต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ในยุคปัจจุบัน
ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของโน๊ตบุ๊ค 14 นิ้วทั่วไปถือได้ว่ามีมิติที่เล็กกว่าพอสมควร ขนาด 33.6 x 23.9 x 1.99 เซนติเมตร ส่วนน้ำหนักตัวเครื่องเปล่านั้น อยู่ที่ 1.46 กิโลกรัม และเมื่อรวมกับตัวอแด็ปเตอร์เข้าไปด้วย ก็จะมีน้ำหนักราวๆ 1.7 กิโลกรัมเท่านั้น ก็จัดว่ามีน้ำหนักเบาในระดับ Ultrabook ไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คในยุคปัจจุบันทีเดียวเลย จากการที่เลือกตัดไดร์ฟออฟติคอล DVD ช่วยได้เยอะในเรื่องของความบางเบาที่ได้กลับมา
Performance / Software
HP 14 ปี 2017 เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i5-8250U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.60 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.40 GHz ครับ เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads พร้อมแคช 6MB ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้อย่างสบายๆ แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i5 HQ Gen 7 ไม่ได้ แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 4GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 620 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกระดับกลางอย่าง AMD Radeon 530 ซะด้วย เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมบางเกมได้เป็นอย่างดีประมาณนึง (แต่ไม่แนะนำให้เอาไปเล่นเกมจริงๆ จังๆ นะ)
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD M.2 ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 256GB ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊ม
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 3692 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานพีซีทั่วไปนั่นสอบผ่านแบบสบายๆ เรียกได้ว่า PCMark 10 Advance เน้นเป้าการทดสอบที่ตรงจุดมากกว่าเดิม โดยได้มีการออกแบบการทดสอบในรูปแบบบใหม่ออกมาซึ่งผลที่ได้ก็คือตัว PCMark 10 Advance นั้นสามารถทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องได้เหมือนกับ PCMark 8 แต่ทว่าน้อยลงจากเดิมแบบครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว
ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Battlefield 1 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับต่ำสุด ภาพก็สวยงามตามท้องเรื่อง ซึ่งดูจากเฟรมเรทเฉลี่ยแล้วต่ำกว่า 30FPS เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว แม้ว่าต้องยอมว่าภาพอาจจะไม่สวยงามพวกตัวแรงๆ อยู่แล้ว
อีก 2 เกมออนไลน์ ที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง Overwatch, DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1366 x 768 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ แต่ก็ปรับภาพต่ำที่สุดเช่นเดียวกัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ใกล้ๆ 30FPS สรุปโดยรวมแล้วคือไม่เหมาะที่จะนำมาเล่นเกม แต่ถ้าจะเล่นนิดๆ หน่อยๆ ก็พอแก้ขัดไปได้
อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจของ HP 14 ปี 2017 รวมไปถึงโน๊ตบุ๊ค HP ทุกรุ่น ก็คือมาพร้อมซอฟต์แวร์บันเดิลอย่าง HP Support Assistant โดยเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เราดูแลคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และช่วยแก้ปัญหาได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โปรแกรมนี้ยังระบุข้อมูลที่สำคัญสำหรับแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนั่นหมายรวมไปถึงการอัพเดทไดร์เวอร์ต่างๆ และ Windows ด้วย จัดได้ว่าดีและใช้งานได้จริง
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ของ HP 14 ปี 2017 เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับ Ultrabook ตัวแบตเตอรี่มีขนาด 5000 mAh ทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ราว 5 – 6 ชั่วโมงต่อเนื่องในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) และคาดว่าจะทำได้นานยิ่งกว่านั้นปรับเปลี่ยนตามการใช้งานของแต่ละคน ว่าเปิดโปรแกรมอะไร อย่างถ้าใช้ Microsoft Edge ก็จะใช้งานได้ยาวนานกว่า Chrome ส่วนช่องระบายความร้อนของ HP 14 ปี 2017 มีเพียงช่องเล็กๆ พร้อมพัดลมตัวเดียว ซ่อนอยู่ใต้หน้าจอ จากการที่ใช้ Core i Gen 8 รหัส U ที่มีคุณสมบัติประหยัดพลังงานพิเศษ
อุณหภูมิต่ำสุดของเครื่องจะอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 74 องศาเซลเซียสเท่านั้น จากการใช้โปรแกรมรีดประสิทธิภาพ (ซึ่งถึงจุดนี้ชิปประมวลผลจะลดความเร็วลงมาเองอัตโนมัติประมาณครึ่งนึง) นับว่าระบบระบายความร้อนของ HP 14 ปี 2017 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่าในระดับนึงที่เคยทำการรีวิวมาพอควร เพราะความร้อนทั่วไปจะอยู่ที่เพียง 40 – 50 องศาเซลเซียสตอนทำงานปกติ ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง
Conclusion / Award
สรุปได้ว่า HP 14 ปี 2017 เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาหน้าจอขนาด 14″ พาเนล TN ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล จากระดับราคา 20,990 บาท โดยสเปกชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i5-8250U ส่วนกราฟิกการ์ด AMD Radeon 530 แรมมีขนาด 4GB DDR4 ที่สำคัญคือให้ SSD ความจุ 256GB ซึ่งมีข้อสังเกตว่าแรมให้มาเพียง 4GB ถ้าเทียบกับการใช้งานปัจจุบันอาจจะน้อยไปหน่อย เป็นไปก็ควรอัพเกรดเป็น 8GB
HP 14 ปี 2017 โดยให้ประสิทธิภาพการทำงานที่พอใช้งานทั่วๆ ไป อย่างพิมพ์งานหรือเล่นอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงเล่นเกมเล็กๆ น้อยๆ กับความบางและน้ำหนักที่เหมาะแก่การพกพาไปใช้งานนอกสถานที่มากๆ รวมไปถึงยังประหยัดพลังงาน ส่งผลให้ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก จนไม่จำเป็นต้องมีพัดลมระบายความร้อนอีกต่อไป แถมยังมีราคาเบาๆ เป็นเจ้าของได้ง่ายเพียง 20,990 บาทเท่านั้น ที่ต้องขอบอกว่าคุ้มค่ามากๆ เหมาะมากๆ สำหรับคนที่ต้องการมองหาโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงบางๆ เบาๆ ไว้ใช้งานนอกบ้าน
บวกการรับประกันอย่าง HP On-site Service รับซ่อมเครื่องถึงหน้าบ้านเป็นระยะเวลา 2 ปี + Smart Friend 1 ปี กู้ข้อมูลฟรี 1 ครั้ง , เช็คเครื่องฟรี 2 ครั้ง และ Call Center Support ตลอด 24 ชั่วโมงเพิ่มความคุ้มยิ่งเพิ่มเข้ามาอีกเยอะเลยละ เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊คที่เน้นประสบการณ์ใช้งานที่ดีเหนือระดับกว่าโน๊ตบุ๊คยุคก่อนๆ ในเรื่องความแตกต่างและมีดีไซน์ที่หรูหราน่าใช้งานแล้วล่ะก็
HP 14 ปี 2017 น่าจะตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดีทีเดียวกับโน้ตบุ๊ตบางเบา ที่ให้ความสดใหม่แบบสุดๆ ส่วนถ้าใครเน้นเล่นเกมจริงๆ แนะนำว่าเพิ่มตังค์ไปเอา HP OMEN 15 หรือ HP Pavilion 15 ดีกว่า ส่วนข้อสังเกตก็คงมีเรื่องแรมที่น้อยไปหน่อย รวมไปถึงหน้าจอเป็นเพียงพาเนล TN ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล ทำให้ไม่เหมาะกับสำหรับงานที่เน้นความเที่ยงตรงของสีหรืองานกราฟิกเท่าไหร่นัก
ข้อดี
- ตัวเครื่องออกแบบใหม่ ให้ความสวยงามและหรูหรา งานประกอบดี
- ตัวเครื่องบางเบา เพียง 1.46 กิโลกรัม บาง 19.9 มิลลิเมตร
- ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5 Gen 8 รุ่นใหม่ล่าสุด
- มาพร้อมหน่วยความจำ SSD M.2 ความจุ 256GB
- การจัดการระบายความร้อนทำออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีพอร์ต USB 3.0 ทั้งหมด พร้อม USB 3.1 Type-C
- รับประกัน 2 ปีแบบ On-site Service
- HP SmartFriend บริการหลังการขายที่มากกว่าจาก HP
ข้อสังเกตุ
- แรมมีขนาดเพียง 4GB ถ้าให้ดีแนะนำให้อัพเกรดเป็น 8GB
- หน้าจอพาเนล TN ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน้ต บุ๊คขนาดหน้าจอ 14 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง HP 14 ปี 2017 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
ในกลุ่มโน๊ตบุ๊คที่รองรับการทำงานรอบด้านและมาพร้อมหน้าจอ 14″ ที่ให้วัสดุเกรดคุณภาพ อีกทั้งมีดีไซน์ที่ทันสมัยสุดๆ แน่นอนว่าทำได้น่าประทับใจเสมอมาสำหรับ HP ซีรีส์เริ่มต้น จากวัสดุที่ดีอย่างพลาสติกเกรดสูง สีสันเป็นสีขาวตลอดทั้งตัวเครื่อง พร้อมพื้นผิวแบบไม่เรียบ งานประกอบก็มีความเรียบร้อยแบบสุดๆ แถมยังบางเบาพกพาง่ายกว่าเดิมมาก ด้วยน้ำหนักเพียง 1.46 กิโลกรัม และด้วยความบางของตัวเครื่องเพียงที่ 19.9 ม.ม. จากแบตเตอรี่ที่นำไปไว้ในตัวเครื่อง ตามสไตล์ Ultrabook ก็ว่าได้
Best Value
HP 14 ปี 2017 รุ่นนี้มีความโดดเด่นสุดๆ เพราะเป็นรุ่นแรกของ HP ที่ใช้ชิปประมวลผล Intel Core i Gen 8 (Kaby Lake R) อย่าง Core i5-8250U ตัวประหยัดพลังงานรุ่นล่าสุด พร้อมการ์ดแยกรุ่นใหม่อย่าง AMD Radeon 530 (2 GB DDR3) ที่สำคัญยังมีประสิทธิภาพโดยรวมที่ดีด้วย SSD ความจุ 256GB อีกด้วย สนนราคาเพียง 20,990 บาท ได้ประกัน 2 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้านตามมาตรฐาน HP ด้วย ถือว่าคุ้มค่าน่าใช้งานสุดๆ
VDO Review
Specification
สำหรับสเปคโดยรวมของ HP 14-bp104tx (ชื่อรุ่นเต็มๆ) รุ่นที่ทีมงาน NotebookSPEC ได้รับมารีวิวนี้ ได้ใช้ชิปประมวลผลเป็น Inter Core i5-8250U ซึ่งถือได้ว่าเป็นซีพียูรุ่นประหยัดพลังงานตัวใหม่แบบ 4 Core/8 Thread (รุ่นก่อนๆ แค่ 2 Core/4 Thread) ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งการทำงานทั่วไปและการเล่นเกมที่พอได้ดีกว่า Core i Gen 7 พอสมควร มาพร้อมการ์ดจอออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 620 ตามมาด้วยกราฟิกการ์ดแยกอย่าง AMD Radeon 530 (2GB GDDR3) รุ่นใหม่กลางๆ ซึ่งสามารถการเล่นเกม 3 มิติได้ในระดับนึง แรมเดิมๆ เป็น 4GB แบบ DDR4 บัส 2400 MHz (สามารถอัพเกรดได้ 16 GB) และฮาร์ดดิกส์แบบ SSD ความเร็วสูงความจุ 256GB
ในส่วนของหน้าจอกระจกขนาด 14 นิ้วความละเอียด HD 1366 × 768 พิกเซล พาเนล TN ให้สีสันและมุมมองธรรมดา ไม่ได้สวยเวอร์วังอะไร ทางด้านพอร์ตที่ติดตั้งมีมาให้จะใช้ถือว่าครบครันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง, USB 3.1 Type-C จำนวน 1 ช่อง, SD Card Reader, HDMI สำหรับต่อหน้าจอเสริม, LAN และรูหูฟังกับไมค์แบบคอมโบ ซึ่งแน่นอนว่ารองรับการเชื่อมต่อไร้สายด้วย Wi-Fi 802.11a/b/g/n/ac มาตราฐานใหม่กับ Bluetooth 4.2 และมีน้ำหนักอยู่ที่ 1.46 กิโลกรัม พร้อมการรับประกัน 2 ปีแบบ On-site Service สนนราคาจะอยู่ที่ 20,990 บาท
ชมหน้าสเปกเต็มๆ ของ HP 14-bp104tx
Hardware / Design
ลักษณะการออกแบบ HP 14 ปี 2017 ที่ทำได้น่าสนใจ จากวัสดุที่ดีอย่างพลาสติกเกรดสูง สีสันเป็นสีขาวตลอดทั้งตัวเครื่อง พร้อมพื้นผิวแบบไม่เรียบ งานประกอบก็มีความเรียบร้อยแบบสุดๆ โดยรวมถือว่าเรียบหรูตามสไตล์ HP มีโลโก้กลางฝาหลังเป็นสีเทาเข้ม ส่วนใต้เครื่องจะเป็นสีขาวสีเดียวกันกับด้านนอกที่ดูแล้วก็สวยงามดี เอาจริงๆ คือ ดีไซน์ตัวเครื่องภายนอกนั้นดูดีมีราคากว่าค่าตัว 20,990 บาทเสียอีก แต่ก็ต้องระวังเรื่องของความสะอาดตัวเครื่องเสียหน่อย
ส่วนด้านในตัวเครื่องบริเวณที่พักข้อมือก็จะเป็นสีขาวพื้นผิวก็จะเหมือนด้านนอกตัวเครื่องทั้งหมด รวมถึงแป้นคีย์บอร์ดก็เป็นสีขาว ช่วยเสริมความสวยงามได้ดี บานพับเป็นแบบแกนเดียวขนาดใหญ่ที่แลดูแข็งแรงทนทานเข้ากับเครื่อง แถมยังบางเบาพกพาง่ายกว่าเดิมมาก ด้วยน้ำหนักเพียง 1.46 กิโลกรัม และด้วยความบางของตัวเครื่องเพียงที่ 19.9 ม.ม. จากแบตเตอรี่ที่นำไปไว้ในตัวเครื่อง ตามสไตล์ Ultrabook ก็ว่าได้
HP 14 ปี 2017 ต้องบอกว่งานดีจริงๆ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการโน๊ตบุ๊คเพื่อใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารหรือเล่นอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ รวมไปถึงงานหนักๆ หรือเล่นเกมก็สามารถรองรับได้อย่างสบายๆ ที่สำคัญดีไซน์การออกแบบยังก้าวล้ำด้วยความบางเบากว่าคู่แข่งในสเปกและราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องยอมรับว่ามีการตัดไดร์ฟออฟติคอล DVD ที่คนที่ไม่ค่อยได้ใช้ออกไปด้วย
ส่วนระบบระบายความร้อนก็ได้ติดตั้งอยู่ใต้หน้าจอ จากที่รุ่นก่อนหน้าจะติดตั้งอยู่ด้านซ้ายของตัวเครื่อง ทำให้หมดกังวลเรื่องปัญหาที่จะทำให้ร้อนมือ จนหัวร้อนอีกต่อไป เรียกได้ว่า HP ยินดีรับฟังและแก้ไขตามใจผู้ใช้งานจริงๆ แต่อย่างไรก็ตามระบบระบายความร้อนภายในนั้นจะมีพัดลมเพียงตัวเดียว ซึ่งนั่นเป็นเพราะชิปประมวลผลประหยัดพลังงานและกราฟิกการ์ดนั้นไม่ได้แรงจนทำให้ร้อนมากมายนัก
Keyboard / Touchpad
แป้นคีย์บอร์ดของ HP 14 ปี 2017 นั้นตัวปุ่มเป็นพลาสติกสีขาวเข้ากับตัวเครื่อง โดยสกรีนตัวอักษรเป็นเทา อีกทั้งได้รับการปรับดีไซน์ใหม่แบบ Island Style ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น แต่สำหรับคนที่นิ้วเล็กนิ้วใหญ่สามารถใช้งานได้สะดวกทั้งหมด อีกทั้งให้สัมผัสและการเด้งตอบสนองได้ดีในระดับหนึ่ง โดยขนาดของคีย์บอร์ดเป็นไซต์แบบปกติของโน๊ตบุ๊คจอ 14 นิ้ว ซึ่งจะไม่มีแป้นในส่วนของ Numpad มาให้ ส่วนปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมซ้ายบนสีกลืนไปกับเครื่อง ซึ่งข้อดีก็คือมั่นใจได้ว่าจะไม่ไปเผลอกดระหว่างการใช้งานแน่นอน
ทางด้านทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และยาวเมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปุ่มคลิกซ้ายขวาเป็นแบบซ่อนปุ่ม การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ กดไม่มียวบยาบ งานประกอบดี ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี ใช้งานมัลติทัชได้ลื่นไหล แถมมีฟังก์ชันการจับความเคลื่อนไหวว่าผู้ใช้กำลังพิมพ์ข้อความอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เคอร์เซอร์ไม่เลื่อนไปจากตำแหน่งเก่า ถ้าผู้ใช้เผลอนำมือไปโดนทัชแพดเข้านั่นเอง
Screen / Speaker
ในส่วนของหน้าจอ HP 14 ปี 2017 เป็นแบบจอกระจกขนาด 14 นิ้วบนความละเอียดในระดับ HD หรือ 1366 x 768 พิกเซล ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คทั่วไป พาเนล TN ซึ่งให้สีสันที่ดีในระดับธรรมดาทั่วไป ซึ่งไม่ว่าจะนำมาเล่นเกม ดูหนังฟังเพลง หรือชมวีดีโอจาก YouTube ก็พอได้ ภาพที่เห็นก็คมชัดดี เพียงแต่อาจจะเห็นเม็ดพิกเซลนิดหนึ่งบ้างแต่ก็ไม่ได้น่าเกลียด หากไม่ได้จ้องหรือมองดูผ่านๆ ก็เรียบลื่นเนียนๆ กันเลยทีเดียว ตัวงานประกอบก็ทำได้ดีเป็นพลาสติกด้าน และมียางรองหน้าจอถึง 4 จุด บน 2 ซ้ายขวา 2 ช่วยเรื่องลดแรงการกดทับได้อย่างดี
ารทดสอบประสิทธิภาพหน้าจอของ HP 14 ปี 2017 ที่เป็นโน๊ตบุ๊คที่ใช้หน้าจอพาเนล TN ทางทีมงานเลยถือโอกาสทดสอบหน้าจอแบบละเอียดๆ ด้วยเครื่องมือที่เป็นทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่าง Spyder5Elite พร้อมทั้งคาลิเบรทหน้าจอให้สีสันมีความตรงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อคาลิเบรตแล้วเราก็เลือกโปรไฟล์ที่เราได้คาลิเบรทเอาไว้ ผลที่ได้หลังจากที่คาลิเบรทก็คือคอนทราสต์มีการไล่โทนที่กว้างขึ้น รวมไปถึงมีสีสันและอุณหภูมิสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากโทนเย็นกลายเป็นโทนอุ่น
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 53% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 200 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นความเที่ยงตรงแล้ว อันนี้ไม่แนะนำ
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าขอบจอด้านซ้ายแถวบนเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ แต่สำหรับขอบจอตรงกลางด้านล่างเหมือนจะมีแสงสว่างที่ลดลงไปถึงระดับ 14% เลยทีเดียว ในการทดสอบก็เพื่อให้เราใช้งานอย่างระมัดระวังสำหรับคนที่บังเอิญจำเป็นต้องใช้งานภาพถ่าย หรืองานกราฟิกอื่นๆ ปิดท้ายด้วยคะแนน 2.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite
ทางด้านลำโพงจะเป็นแบบสเตอริโอ 2.0 Channel ซึ่งถูกติดตั้งอยู่เหนือชุดคีย์บอร์ด คุณภาพถือว่าเพียงพอที่จะใช้งานในด้านของความบันเทิงทั่วๆ ไป เช่นดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกมต่างๆ ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งตัวลำโพงจะวางอยู่ด้านบนคีย์บอร์ด ทั้งในด้านคุณภาพของเสียงและระดับความดังของเสียงอยู่ในเกณฑ์กลางๆ คือไม่ดีเวอร์หรือแย่อะไร ซึ่งก็ถือว่าดีเลยเดียวหากเทียบกับราคา
Connector / Thin And Weight
พอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง HP 14 ปี 2017 นี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีความครบครับอย่างมากเมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง แม้ว่าจะเป็นเครื่องที่มีการออกแบบมาให้เป็นเครื่องที่มีขนาดความบางและน้ำหนักเบาแต่เรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ นั้น ก็มีมาให้มากพอทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต, USB 3.1 Type-C อีก 1 พอร์ต, HDMI, LAN, SD Card Reader และช่องต่อหูฟังกับไมค์ขนาดแบบคอมโบขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตร เพียงพอต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ในยุคปัจจุบัน
ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของโน๊ตบุ๊ค 14 นิ้วทั่วไปถือได้ว่ามีมิติที่เล็กกว่าพอสมควร ขนาด 33.6 x 23.9 x 1.99 เซนติเมตร ส่วนน้ำหนักตัวเครื่องเปล่านั้น อยู่ที่ 1.46 กิโลกรัม และเมื่อรวมกับตัวอแด็ปเตอร์เข้าไปด้วย ก็จะมีน้ำหนักราวๆ 1.7 กิโลกรัมเท่านั้น ก็จัดว่ามีน้ำหนักเบาในระดับ Ultrabook ไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ สมกับเป็นโน๊ตบุ๊คในยุคปัจจุบันทีเดียวเลย จากการที่เลือกตัดไดร์ฟออฟติคอล DVD ช่วยได้เยอะในเรื่องของความบางเบาที่ได้กลับมา
Performance / Software
HP 14 ปี 2017 เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i5-8250U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 1.60 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.40 GHz ครับ เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads พร้อมแคช 6MB ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้อย่างสบายๆ แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i5 HQ Gen 7 ไม่ได้ แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 4GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ
กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel UHD Graphics 620 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3 มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน อีกทั้งยังมีกราฟิกการ์ดจอแยกระดับกลางอย่าง AMD Radeon 530 ซะด้วย เรียกได้ยิ่งตอบสนองในส่วนของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมบางเกมได้เป็นอย่างดีประมาณนึง (แต่ไม่แนะนำให้เอาไปเล่นเกมจริงๆ จังๆ นะ)
สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก
ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD M.2 ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 256GB ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด เรียกได้ว่าเปิดอะไรปุ๊บก็ติดปั๊ม
การทดสอบประสิทธิภาพกับโปรแกรม PCMark 10 Advance ซึ่งสามารถทำคะแนนการทดสอบรวมได้มากถึง 3692 คะแนน ถือได้ว่าในส่วนของการใช้งานพีซีทั่วไปนั่นสอบผ่านแบบสบายๆ เรียกได้ว่า PCMark 10 Advance เน้นเป้าการทดสอบที่ตรงจุดมากกว่าเดิม โดยได้มีการออกแบบการทดสอบในรูปแบบบใหม่ออกมาซึ่งผลที่ได้ก็คือตัว PCMark 10 Advance นั้นสามารถทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องได้เหมือนกับ PCMark 8 แต่ทว่าน้อยลงจากเดิมแบบครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว
ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Battlefield 1 ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล โดยกราฟิกปรับระดับต่ำสุด ภาพก็สวยงามตามท้องเรื่อง ซึ่งดูจากเฟรมเรทเฉลี่ยแล้วต่ำกว่า 30FPS เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว แม้ว่าต้องยอมว่าภาพอาจจะไม่สวยงามพวกตัวแรงๆ อยู่แล้ว
อีก 2 เกมออนไลน์ ที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง Overwatch, DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1366 x 768 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ แต่ก็ปรับภาพต่ำที่สุดเช่นเดียวกัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ใกล้ๆ 30FPS สรุปโดยรวมแล้วคือไม่เหมาะที่จะนำมาเล่นเกม แต่ถ้าจะเล่นนิดๆ หน่อยๆ ก็พอแก้ขัดไปได้
อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจของ HP 14 ปี 2017 รวมไปถึงโน๊ตบุ๊ค HP ทุกรุ่น ก็คือมาพร้อมซอฟต์แวร์บันเดิลอย่าง HP Support Assistant โดยเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เราดูแลคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และช่วยแก้ปัญหาได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โปรแกรมนี้ยังระบุข้อมูลที่สำคัญสำหรับแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนั่นหมายรวมไปถึงการอัพเดทไดร์เวอร์ต่างๆ และ Windows ด้วย จัดได้ว่าดีและใช้งานได้จริง
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ของ HP 14 ปี 2017 เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับ Ultrabook ตัวแบตเตอรี่มีขนาด 5000 mAh ทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ราว 5 – 6 ชั่วโมงต่อเนื่องในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) และคาดว่าจะทำได้นานยิ่งกว่านั้นปรับเปลี่ยนตามการใช้งานของแต่ละคน ว่าเปิดโปรแกรมอะไร อย่างถ้าใช้ Microsoft Edge ก็จะใช้งานได้ยาวนานกว่า Chrome ส่วนช่องระบายความร้อนของ HP 14 ปี 2017 มีเพียงช่องเล็กๆ พร้อมพัดลมตัวเดียว ซ่อนอยู่ใต้หน้าจอ จากการที่ใช้ Core i Gen 8 รหัส U ที่มีคุณสมบัติประหยัดพลังงานพิเศษ
อุณหภูมิต่ำสุดของเครื่องจะอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 74 องศาเซลเซียสเท่านั้น จากการใช้โปรแกรมรีดประสิทธิภาพ (ซึ่งถึงจุดนี้ชิปประมวลผลจะลดความเร็วลงมาเองอัตโนมัติประมาณครึ่งนึง) นับว่าระบบระบายความร้อนของ HP 14 ปี 2017 เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่าในระดับนึงที่เคยทำการรีวิวมาพอควร เพราะความร้อนทั่วไปจะอยู่ที่เพียง 40 – 50 องศาเซลเซียสตอนทำงานปกติ ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง
Conclusion / Award
สรุปได้ว่า HP 14 ปี 2017 เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาหน้าจอขนาด 14″ พาเนล TN ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล จากระดับราคา 20,990 บาท โดยสเปกชิปประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Intel Core i5-8250U ส่วนกราฟิกการ์ด AMD Radeon 530 แรมมีขนาด 4GB DDR4 ที่สำคัญคือให้ SSD ความจุ 256GB ซึ่งมีข้อสังเกตว่าแรมให้มาเพียง 4GB ถ้าเทียบกับการใช้งานปัจจุบันอาจจะน้อยไปหน่อย เป็นไปก็ควรอัพเกรดเป็น 8GB
HP 14 ปี 2017 โดยให้ประสิทธิภาพการทำงานที่พอใช้งานทั่วๆ ไป อย่างพิมพ์งานหรือเล่นอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงเล่นเกมเล็กๆ น้อยๆ กับความบางและน้ำหนักที่เหมาะแก่การพกพาไปใช้งานนอกสถานที่มากๆ รวมไปถึงยังประหยัดพลังงาน ส่งผลให้ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก จนไม่จำเป็นต้องมีพัดลมระบายความร้อนอีกต่อไป แถมยังมีราคาเบาๆ เป็นเจ้าของได้ง่ายเพียง 20,990 บาทเท่านั้น ที่ต้องขอบอกว่าคุ้มค่ามากๆ เหมาะมากๆ สำหรับคนที่ต้องการมองหาโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงบางๆ เบาๆ ไว้ใช้งานนอกบ้าน
บวกการรับประกันอย่าง HP On-site Service รับซ่อมเครื่องถึงหน้าบ้านเป็นระยะเวลา 2 ปี + Smart Friend 1 ปี กู้ข้อมูลฟรี 1 ครั้ง , เช็คเครื่องฟรี 2 ครั้ง และ Call Center Support ตลอด 24 ชั่วโมงเพิ่มความคุ้มยิ่งเพิ่มเข้ามาอีกเยอะเลยละ เอาเป็นว่าใครกำลังมองหาโน๊ตบุ๊คที่เน้นประสบการณ์ใช้งานที่ดีเหนือระดับกว่าโน๊ตบุ๊คยุคก่อนๆ ในเรื่องความแตกต่างและมีดีไซน์ที่หรูหราน่าใช้งานแล้วล่ะก็
HP 14 ปี 2017 น่าจะตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดีทีเดียวกับโน้ตบุ๊ตบางเบา ที่ให้ความสดใหม่แบบสุดๆ ส่วนถ้าใครเน้นเล่นเกมจริงๆ แนะนำว่าเพิ่มตังค์ไปเอา HP OMEN 15 หรือ HP Pavilion 15 ดีกว่า ส่วนข้อสังเกตก็คงมีเรื่องแรมที่น้อยไปหน่อย รวมไปถึงหน้าจอเป็นเพียงพาเนล TN ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล ทำให้ไม่เหมาะกับสำหรับงานที่เน้นความเที่ยงตรงของสีหรืองานกราฟิกเท่าไหร่นัก
ข้อดี
- ตัวเครื่องออกแบบใหม่ ให้ความสวยงามและหรูหรา งานประกอบดี
- ตัวเครื่องบางเบา เพียง 1.46 กิโลกรัม บาง 19.9 มิลลิเมตร
- ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5 Gen 8 รุ่นใหม่ล่าสุด
- มาพร้อมหน่วยความจำ SSD M.2 ความจุ 256GB
- การจัดการระบายความร้อนทำออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีพอร์ต USB 3.0 ทั้งหมด พร้อม USB 3.1 Type-C
- รับประกัน 2 ปีแบบ On-site Service
- HP SmartFriend บริการหลังการขายที่มากกว่าจาก HP
ข้อสังเกตุ
- แรมมีขนาดเพียง 4GB ถ้าให้ดีแนะนำให้อัพเกรดเป็น 8GB
- หน้าจอพาเนล TN ความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน้ต บุ๊คขนาดหน้าจอ 14 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง HP 14 ปี 2017 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
ในกลุ่มโน๊ตบุ๊คที่รองรับการทำงานรอบด้านและมาพร้อมหน้าจอ 14″ ที่ให้วัสดุเกรดคุณภาพ อีกทั้งมีดีไซน์ที่ทันสมัยสุดๆ แน่นอนว่าทำได้น่าประทับใจเสมอมาสำหรับ HP ซีรีส์เริ่มต้น จากวัสดุที่ดีอย่างพลาสติกเกรดสูง สีสันเป็นสีขาวตลอดทั้งตัวเครื่อง พร้อมพื้นผิวแบบไม่เรียบ งานประกอบก็มีความเรียบร้อยแบบสุดๆ แถมยังบางเบาพกพาง่ายกว่าเดิมมาก ด้วยน้ำหนักเพียง 1.46 กิโลกรัม และด้วยความบางของตัวเครื่องเพียงที่ 19.9 ม.ม. จากแบตเตอรี่ที่นำไปไว้ในตัวเครื่อง ตามสไตล์ Ultrabook ก็ว่าได้
Best Value
HP 14 ปี 2017 รุ่นนี้มีความโดดเด่นสุดๆ เพราะเป็นรุ่นแรกของ HP ที่ใช้ชิปประมวลผล Intel Core i Gen 8 (Kaby Lake R) อย่าง Core i5-8250U ตัวประหยัดพลังงานรุ่นล่าสุด พร้อมการ์ดแยกรุ่นใหม่อย่าง AMD Radeon 530 (2 GB DDR3) ที่สำคัญยังมีประสิทธิภาพโดยรวมที่ดีด้วย SSD ความจุ 256GB อีกด้วย สนนราคาเพียง 20,990 บาท ได้ประกัน 2 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้านตามมาตรฐาน HP ด้วย ถือว่าคุ้มค่าน่าใช้งานสุดๆ