Connect with us

Hi, what are you looking for?

PC Review

[Review] WD Blue 1TB 3D NAND SATA SSD จุขึ้น ทนทานกว่าเดิม

blue3d product overview.jpg.imgw .1000.1000

นับวันฮาร์ดดิสค์แบบชิป หรือที่เราเรียกติดปากว่า SSD (Solid State Drive) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน เมื่อความจุไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปเพราะเราสามารถต่อฮาร์ดดิสค์เสริมแฟลชไดร์ฟ อัพขึ้นคลาว ใช้จริงๆแค่ไม่เท่าไรเฉพาะตัวระบบปฏิบัติการโปรแกรมใช้จริงอีกไม่เท่าไร (ไม่นับกลุ่มเล่นเกมนะที่ยังคงต้องการฮาร์ดดิสค์ความจุสูงๆอยู่ แต่กลุ่มนี้มักจะแยกเป็นบูธด้วย SSD แต่ลงโปรแกรมในฮาร์ดดิสคืซึ่งช่วยได้เยอะ) แต่ความเร็วนี่สิปัญหาของจริงเพราะปัจจุบันฮาร์ดดิสค์แม่จะมีรอบสูงๆ แต่ก็ยังต้องใช้หลักการอ่านเขียนบนจานแบบเดิมๆทำให้ไม่สามารถทำความเร็วในการเปิดเครื่องหรือเปิดโปรแกรมได้เร็วเท่าที่ควร แต่สำหรับ SSD นี่แทบจะเปิดเครื่องปุ๊ปติกปั๊ป เปิดโปรแกรมไว ใช้แล้วติดใจไม่อยากกลับไปใช้ฮาร์ดดิสค์อีกเลย แต่เมื่อมาถึงจุดที่ SSD แพร่หลายและความเร็วที่หลายๆแบรนด์ทำได้เหมือนๆกัน แล้วอะไรที่จะทำให้ WD Blue 1TB 3D NAND SATA SSD แตกต่างและน่าสนใจละ

Advertisement

WD SSD 3D NAND

WD Blue™ 3D NAND SATA SSD มาในซีรีย์ Blue ที่จะเน้นเรื่องของความคุ้มค่าสเปคต่อราคา โดยมาพร้อมเทคโนโลยีการผลิตชิปแบบ 3D NAND ที่จัดเก็บข้อมูลได้แบบแนวตั้ง 64 เลเยอร์ ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ความทนทาน และความจุที่สูงขึ้นมากในขนาดเท่าเดิม ซึ่งปัจจุบันมาพร้อมความจุสูงสุดถึง 2TB เท่าความจุฮาร์ดดิสค์ในโน๊ตบุ๊คเลยทีเดียว นอกจากความจุที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทนทานยิ่งกว่าเดิมด้วย เพราะจุดด้อยของฮาร์ดดิสค์แบบ SSD คือเรื่องของอายุการใช้งานที่จะมีอายุไม่ยืนยาวเท่าฮาร์ดดิสค์แบบจานหมุน แต่ด้วยเทคโนโลยีชิป 3D NAND สามารถใช้งานได้ยาวนานสูงสุดถึง 1,750,000 ชั่วโมง หรือราวๆ 15 ปี ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดของฮาร์ดดิสค์แบบ SSD ในขณะนี้

WD Blue™ 3D NAND SATA SSD มาพร้อมกัน 2 รูปแบบการเชื่อมต่อคือแบบ 2.5 นิ้ว แบบฮาร์ดดิสค์ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊ค และแบบ M.2 2280 ไซท์มาตรฐานที่อยู่บนเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คและพีซี เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อ SATA III 6GB/s พอร์ตการเชื่อมต่อมาตรฐานที่ใช้งานกันทั่วไปในปัจจุบัน โดยตามสเปคมีความเร็วการอ่านอยู่ที่ 560 MB/s และเขียนอยู่ที่ 530 MB/s

IMG 7081

IMG 7082 IMG 7083

หน้าตาของกล่อง WD Blue™ 3D NAND SATA SSD มาในรูปแบบมาตรฐานของทาง WD ซึ่งจะต่างจากแบบฮาร์ดดิสค์ที่จะไม่มีกล่องมาให้ รุ่นที่ทีมงานได้มาทดสอบจะเป็นแบบชนิด 2.5 นิ้ว โดยหน้ากล่องจะมีระบุข้อมูล 3D NAND ชัดเจน เพื่อป้องกันการสับสนกับรุ่นเก่าที่ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ (ซึ่ีงจะมีราคาถูกกว่านิดหน่อย และในอนาคตจะเหลือแค่เพียงรุ่นที่เป็น 3D NAND เท่านั้น) ระบบความเร็วอ่านเขียนและที่สำคัญคือ ความจุซึ่งตัวที่ทีมงานได้มาทดสอบเป็นความจุ 1TB และยังมาพร้อมการรับประกัน ปีเต็ม

IMG 7085

IMG 7084 IMG 7086

หน้าตาของตัว WD Blue™ 3D NAND SATA SSD เรียบๆ โดยระบุข้อมูลชัดเจ่นไม่ว่าจะเป็นความจุ รุ่น 3D NAND บนสติกเกอร์สีน้ำเงินขาว ซึ่งเป็นตัวระบุรุ่น WD Blue ซีรีย์ ส่วนด้านล่างก็จะเป็นข้อมูลอื่นๆเช่น S/N สเปคโดยละเอียด และเครื่องหมายรับรองต่างๆ พอร์ตการเชื่อมต่อ SATA มาตรฐาน แบบเดียวกับที่ใช้ในโน๊ตบุ๊คและพีซีทั่วไป

IMG 7089

ความหนาอยู่ที่ 7 มิลลิเมตร ทำให้ตัวฮาร์ดดิสค์บางมากจนสามารถติดตั้งบนโน๊ตบุ๊คได้ทุกรุ่นที่ใช้ฮาร์ดดิสค์แบบ 2.5 นิ้ว

IMG 7090

สเปครายละเอียดต่างๆที่จะถูกติดอยู่ที่ตัวของฮาร์ดดิสค์

Software

นอกจากตัว SSD แล้ว WD ยังได้มีการเปิดให้โหลดซอฟแวร์เสริมการใช้งานเข้ามาด้วยครับ 2 ตัวที่น่าสนใจคือ

sss 1

Acroins True Image WD Edition ไว้สำหรับสำรองข้อมูล ไปจนถึงการโคลนฮาร์ดดิสค์ทั้งลูกเผื่อกรณีต้องการเปลี่ยนฮาร์ดดิสค์ หรือย้ายเครื่องครับ

wd ssd

WD SSD Dashboard เป็นโปรแกรมเช็คสถานะของฮาร์ดดิสค์ทั้งแค่ความจุที่ใช้อยู่ อายุการใช้งาน ไปจนถึงเช็คอุณหภูมิก็ยังได้

Test

cry info

cry

HD Tune 2

HD Tune

AS SSD

สรุปผลการทดสอบรวมๆ เป็นไปตามมาตรฐานของรูปแบบการเชื่อมต่อ SATA III ที่ สามารถทำความเร็วได้สูงสุดในการอ่านที่ราวๆ 553 MB/s  และเขียนที่ 529 MB/s แต่แม้จะมีความจุสูงแต่ก็ยังสามารถทำเวลา Access ได้เร็วถึง 0.1 ms แต่ที่น่าสนใจคืออุณหภูมิการทำงานอยู่ราวๆเพียงแค่ 31 องศาเท่านั้น ตามที่ได้บอกไว้ว่าเทคโนโลยีใหม่นี้นอกจากทนแล้ว อุณหภูมิยังเย็นขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

IMG 7087

Comment

WD Blue™ 3D NAND SATA SSD เป็นอีกหนึ่งฮาร์ดดิสค์แบบ SSD ที่น่าสนใจด้วยเทคโนโลยีการผลิตใหม่ล่าสุดทั้งความจุที่มากขึ้น การใช้พลังงานที่น้อยลง อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น แม้เราอาจจะไม่สามารถรู้สึกได้ในเร็ววันนี้ แต่เมื่อเราใช้ไปนานๆผมเชื่อว่ามันจะเห็นผลได้ชัดเจนโดยเฉพาะความทนทานที่ยิ่งใช้งานได้ยาวนานก็ยิ่งคุ้ม และไม่ต้องพะวงว่า SSD จะใกล้พังและต้องมาคอยสำรองข้อมูลให้วุ้นวาย เหมาะกับผู้ใช้งานที่ประกอบเครื่องพีซีใหม่ซึ่งนอกจากของ WD แล้วก็ยังมีของ Sandisk ให้เลือกกันด้วย ไปจนถึงกลุ่มที่ต้องการอัพเกรทฮาร์ดดิสค์ใหม่มาใช้แบบ SSD โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้งานโน๊ตบุ๊คที่เมื่ออัพเกรทแล้วจะช่วยให้ชีวิตท่านดีขึ้นเยอะเลยเชื่อผม :3

จุดเด่น

  • หน่วยความจำแบบ SSD อ่านเขียนข้อมูลได้เร็ว
  • บางเบา สามารถติดตั้งในโน๊ตบุ๊คที่ใช้ฮาร์ดดิสค์แบบ 2,5 นิ้วได้แน่นอน
  • ประหยัดพลังงาน ร้อนน้อยกว่า SSD ทั่วไป
  • ความจุสูงมาก

ข้อสังเกตุ

  • มีราคาสูงมาก
  • ปัจจุบันยังหาซื้อได้ยาก (ยังมีขายแค่รุ่นเก่าเป็นหลัก)

ราคา

  • WD Blue 3D NAND SATA SSD 250 GB  – 4,290 บาท
  • WD Blue 3D NAND M.2 SSD 250 GB  – 4,390 บาท
  • WD Blue 3D NAND SATA SSD 500 GB  – 6,090 บาท
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

10 External SSD 1TB ไซส์จิ๋ว SSD พกพา USB-C โอนไวจุได้เยอะ เริ่มแค่ 2 พันกว่าบาท ปี 2025 Portable SSD 1TB กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับคนที่ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มและความรวดเร็วในการโอนถ่ายไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์งาน, หนัง, หรือเกม, External SSD ก็ตอบโจทย์ได้หมด...

IT NEWS

15 ของเล่น Gadget น่าใช้ในบ้านสำหรับชาวไอทีจาก CES2025 มาไทยแน่ แม้ว่า CES2025 จะผ่านไป แต่กระแสของ Gadget และของเล่นของแปลกที่เป็นไอทีสุดล้ำจากในงาน ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น และมีหลายอย่างที่เป็นไอเดีย และน่าจะมีมาให้ในบ้านเราได้ใช้กัน วันนี้ขอหยิบยกมาสัก 15 อย่าง ที่จัดว่าเป็นไฮไลต์ในงาน และบางอุปกรณ์ยังเป็นรุ่นแรกของโลก กับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ผู้ใช้จะต้องอึ้งกันเลยทีเดียว 15 ของเล่น...

IT NEWS

PLANCK อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล SSD 2TB ขนาดจิ๋ว USB-C สำหรับครีเอเตอร์ใช้ iPhone ในงาน CES 2025 ครั้งนี้ มีบรรดา Gadget น่าสนใจจัดโชว์อยู่เยอะทีเดียว ShiftCam ก็เป็นอีกค่ายที่นำเอา Storage ตัวจิ๋วอย่าง PLANCK ในการบันทึกวีดีโอให้กับ iPhone สำหรับ Vlog...

Buyer's Guide

ถ้าประกอบคอมหรือซื้อโน๊ตบุ๊คมาสักเครื่อง นาทีนี้เป็นใครก็อยากได้ SSD 1TB มาใส่ในเครื่องสัก 1~2 ชิ้นแน่นอน จะได้ติดตั้งโปรแกรมทำงาน, เกมและเก็บไฟล์งานเรียกใช้บ่อยได้สะดวก เพราะตอนนี้จะเกมหรือโปรแกรมไหนก็กินพื้นที่กันหลัก 50~100GB กันทั้งนั้น ยังไม่รวมส่วนเสริมอีกร้อยแปดสำหรับเพิ่มลูกเล่นให้งานเสร็จเร็วหรือน่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งอาจใช้พื้นที่เพิ่มอีกพอควร ยิ่งตอนนี้โน๊ตบุ๊คทำงานขนาดปกติกับเกมมิ่งส่วนใหญ่ก็ติดตั้ง SSD ตัวเสริมเข้าไปได้แทบทุกรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจะซื้อมาใส่ในเครื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้งานก็ดี เปิดเครื่องมาตั้งค่าอีกหน่อยก็ใช้งานได้เลย อย่างไรก็ตาม SSD ในปัจจุบันจะมีอินเทอร์เฟสให้เลือกหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ PCIe 3.0...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก