Connect with us

Hi, what are you looking for?

INTEL

[Special] เทียบประสิทธิภาพระหว่าง Intel 8th gen Kaby Lake-R vs 7th gen Kaby Lake คุ้มไหมถ้าจะรอซื้อ

เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วครับที่เราได้เห็นว่าผู้ผลินโน๊ตบุ๊คเริ่มอัพเกรดโน๊ตบุ๊คของตัวเองให้มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 ของทาง Intel อย่าสถาปัตยกรรม Kaby Lake-R โดยสิ่งที่เปลี่ยนไปนั้นก็คือในหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8

เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วครับที่เราได้เห็นว่าผู้ผลินโน๊ตบุ๊คเริ่มอัพเกรดโน๊ตบุ๊คของตัวเองให้มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 ของทาง Intel อย่าสถาปัตยกรรม Kaby Lake-R โดยสิ่งที่เปลี่ยนไปนั้นก็คือในหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 นี้นั้นตัวหน่วยประมวลผลที่เน้นประหยัดพลังงานหรือซีรีส์ U มาพร้อมกับแกนการประมวลผล 4 แกนจากเดิมที่เคยใช้ 2 แกนมาตลอด

Intel 8th Generation Kaby Lake Refresh 600

Advertisement

จุดเด่นที่สำคัญก็คืออัตราการคายความร้อนของหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 นั้นยังต่ำมากคืออยู่ที่ 15 W TDP เท่านั้น สิ่งที่น่าสงสัยก็คือประสิทธิภาพครับ วันนี้เราจะนำการเปรียบเทียบระหว่างหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Intel 8th gen Kaby Lake-R กับ 7th gen Kaby Lake มาเสนอให้ทุกท่านได้ชมกันครับ

สถาปัตยกรรมของ Kaby Lake-R

kaby lake r 600

Kaby Lake-R ที่ถูกเปิดตัวออกมานั้นประกอบไปด้วย 4 รุ่นคือ Core i5-8250U, Core i5-8350U, Core i7-8550U และ Core i7-8650U ตัวหน่วยประมวลผลนั้นมาพร้อมกับกระบวนการผลิตที่ระดับ 14 nm+ พร้อมด้วยแกนการประมวลผลจำนวน 4 แกนและยังมีเทคโนโลยี hyperthreading อัตราการคายความร้อนร้อนอยู่ที่ 15 W TDP ซึ่งเท่ากันกับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake ซีรีส์ U ครับ

เพื่อให้ได้มาซึ่งอัตราการคายความร้อนที่เท่ากันแต่มีแกนการประมวลผลมากกว่า ทาง Intel ได้ลดความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ Kaby Lake-R ลงอย่างเช่น Core i5-8250U มีความเร็วสัญญานาฬิกาฐานอยู่ที่ 1.6 GHz และที่ turbo boost อยู่ที่ 3.4 GHz ในขณะที่ หน่วยประมวลผลรุ่นที่ 7 นั้นจะมีสัญญาณนาฬิกามากกว่าอย่างเช่น Core i5-7260U มีความเร็วสัญญานาฬิกาฐานอยู่ที่ 2.2 GHz และที่ turbo boost อยู่ที่ 3.4 GHz

ด้วยความที่ความเร็วสัญญานาฬิกาฐานของหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 นั้นมีความเร็วช้ากว่า ดังนั้นแล้วเราคงไม่สามารถที่จะเห็นประสิทธิภาพที่เปลี่ยนไปมากเท่าไรนักเมื่อทำงานทั่วไปอย่างเช่นงานเอกสาร, ท่องเว็บ หรือเล่นเกมแบบที่ไม่ต้องใช้กำลังในการประมวลผลมากนัดครับ ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 น่าจะเห็นได้ชัดเจนกว่าเมื่อมีการใช้งานอย่างเต็มที่ครับ

ในส่วนของกราฟิกแบบฝังนั้นหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 จะมาพร้อมกับ Intel HD Graphics 620 เหมือนกันกับในหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 7 ทว่าทาง Intel ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “UHD Graphics” ซึ่งน่าจะมาจากเหตุผลที่ว่าตัวชิปกราฟิกรองรับ 4K/HEVC สิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมนั้นก็คือชิปกราฟิกแบบฝังบนหน่วยประมวลผลรุ่นที่ 8 จะรองรับ HDMI 2.2 แล้วครับ

Benchmarks

ในการทดสอบประสิทธิภาพอย่างแรกนั้นจะเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลทั้งแบบ Single Core และ Multi Core ผ่านทางโปรแกรม Cinebench R15 โดยผลการทดสอบนั้นมีดังต่อไปนี้ครับ

Gen 8 Cinebench R15 CPU Single 64Bit 600 01

Gen 8 Cinebench R15 CPU Single 64Bit 600 02

จุดที่น่าสนใจก็คือในการทดสอบด้วย Cinebench R15 แบบ multi core นั้นในการทดสอบครั้งแรก Core i5-8250U สามารถทำคะแนนได้ดีแต่หลังจากที่ทดสอบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นั้นพบว่าคะแนนที่ได้จะลดต่ำลงเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ Core i5-8250U รันไม่เต็มสปีดที่ Turbo boost เพื่อรักษาเรื่องของการคายความร้อนของตัวหน่วยประมวลผลให้ไม่เกิน 15 W TDP  ครับ

Gen 8 Cinebench R15 CPU Single 64Bit 600 03

ต่อกันด้วยผลการทดสอบการใช้พลังงานของตัวหน่วยประมวลผลดังต่อไปนี้ครับ

Gen 8 Power Consumption 600 01

จะเห็นได้อย่างชัดเจนครับว่าอัตราการใช้พลังงานของ Core i5-8250U นั้นน้อยกว่าหน่วยประมวลผลของเครื่องเปรียบเทียบอื่นๆ อยู่ค้อนข้างที่จะมากเลยทีเดียว ซึ่งผลตรงนี้นั้นก็จะทำให้หน่วยประมวลผลในรุ่นที่ 8 ของทาง Intel นั้นสามารถทำให้ตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คใช้งานได้ยาวนานกว่าเดิมครับ

Gen 8 GPU 600 01

Gen 8 GPU 600 02

สำหรับผลการทดสอบกราฟิกชิปที่ฝังมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลอย่าง UHD Graphics 620 บน Core i5-8250U พบว่าสามารถทำคะแนนอยู่ในระดับที่ใช้ได้ครับ ถึงจะไม่มากเท่ากับกราฟิกแบบแยกแต่ถ้าเทียบกับกราฟิกแบบฝังเหมือนกันแล้วนั้น UHD Graphics 620 ก็ยังเอาอยู่ อย่างไรก็ตามแต่หากต้องการเล่นเกมที่มีกราฟิกหนักๆ นั้นก็คงต้องใช้กราฟิกแบบแยกอยู่ดีครับ

สรุป

โดยรวมแล้วนั้นหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake-R นั้นถือว่าทำได้ตามที่ทาง Intel พูดเอาไว้ครับ แต่ทว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของเครื่องที่ใช้หน่วยประมวลผล Kaby Lake U-series และ the HQ-series อยู่แล้วนั้นก็ยังคงไม่มีความจำเป็นถึงกับจะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่เนื่องจากประสิทธิภาพในการใช้งานจริงๆ แล้วนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันมากสักเท่าไรครับ

ที่มา : notebookcheck

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

เล่นเกมด้วย Intel Core Ultra 5 245K กับ 7 เกมยอดนิยมบนการ์ดจอบนซีพียู Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

INTEL

โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra 200S series ใหม่ล่าสุด ส่งมอบประสิทธิภาพการเล่นเกมและการประมวลผลอันเหนือชั้นสำหรับเดสก์ท็อปพีซี พร้อมประหยัดพลังงานมากกว่าที่เคย กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 ตุลาคม 2567 –  ประเด็นสำคัญ: อินเทล ประกาศเปิดตัวตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra 200S series...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook S 14 UX5406SA พร้อม Intel Core Ultra Series 2 สุดทรงพลัง แบตฯ ทนถึงใจ 18 ชม. ได้สบาย! ในงาน IFA Berlin เมื่อไม่นานนี้ Intel ก็เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่อย่าง Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก