จริงๆ แล้วหากจะว่าไปแล้วนั้น Surface Laptop ของทาง Microsoft และ MacBook Pro 2016 ของทาง Apple ต่างก็สร้างแนวโนมใหม่ให้กับวงการโน๊ตบุ๊คด้วยกันทั้งคู่ครับ ถึงแม้ว่าทั้ง 2 นั้นจะไม่ได้สร้างความแตกต่างแนวใหม่แบบเดียวกัน ทว่าก็ปฎิเสธไม่ได้ครับว่าสิ่งที่บริษัททั้ง 2 ทำนั้นมีความเหมือนที่แตกต่างกันอยู่ในการสร้างแนวทางใหม่ให้กับโน๊ตบุ๊คครับ
เป็นที่ทราบกันดีว่า MacBook ของทาง Apple นั้นสร้างแนวทางใหม่ด้วยการมาพร้อมกับพอร์ต USB Type-C ทั้งหมดโดยพอร์ตต่างๆ อื่นๆ ได้ถูกตัดออกไป ส่วน Surface Laptop นั้นไม่มีพอร์ต USB Type-C ด้วยซ้ำไปแต่ก็มาพร้อมพอร์ตรุ่นเก่าที่ใช้งานกันมากในปัจจุบัน หลายท่านอาจจะถามว่าแล้วมันสร้างแน้วโน้มให้กับตลาดโน๊ตบุ๊คที่เหมือนกันได้อย่างไร
คำตอบดังกล่าวนั้นก็คือเรื่องของแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นแบบฝังมากับบอร์ด ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนั้นต่างก็เหมือนกันตรงที่โมเดลแต่ละรุ่นนั้นจะไม่มีตัวเลือกให้ผู้ใช้สามารถที่จะทำการเพิ่มแหล่งเก็บข้อมูลได้เองถ้าไม่เอาเข้าศูนย์บริการอย่างเป็นทางการ ซึ่งการเปลี่ยนนั้นก็จะเปลี่ยนทั้งตัวแหล่งเก็บข้อมูลและเมนบอร์ดด้วยหล่ะครับ
จริงๆ แล้วแนวโน้มดังกล่าวนี้นั้นเราไม่ได้พึ่งจะได้เห็นกันครับ ที่เราได้เห็นกันนั้นจริงๆ แล้วแนวโน้มนี้มันมาตังแต่ปี 2013 ที่ผ่านมากับ Ultrabook หรือโน๊ตบุ๊คที่เน้นความเบาและบางที่จะเห็นได้ว่าในการวางจำหน่ายนั้นมันจะมาพร้อมกับส่วนประกอบที่มีตัวเลือกให้ผู้ใช้เลือกตั้งแต่ต้นครับ ส่วนที่เป็นปัญหามากที่สุดก็คือโมเดลเริ่มต้นนั้นจะขายพร้อมกับหน่วยความจำขนาดน้อยสำหรับการลดต้นทุนการผลิดเพื่อที่จะให้ตัวเครื่องนั้นออกมาบางและเบาที่สุดนั่นเองครับ
อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานครับ ตัว Ultrabook เองนั้นก็พบว่าหน่วยความจำนั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีปัญหาน้อยที่สุด เช่นเดียวกับแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็น SSD ซึ่งอยู่บนเครื่องของทาง Apple และ Microsoft นั้นมันก็เป็นอุปกรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือและอายุการใช้งานมากที่สุด ทว่านั่นก็ทำให้มีหลายๆ คนตั้งข้อสัยขึ้นมาครับว่าทำไมพวกเขาถึงเปลี่ยน SSD ในเครื่องเองไม่ได้และนี่คือความเห็นของทาง NotebookCheck กับเรื่องทั้งหมดที่เราควรรู้ครับ
1 ถ้ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น … คุณจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
ด้วยความที่ SSD ถูกติดตั้งมาบนเมนบอร์ดเลยนั้นทำให้เมื่อมันเกิดปัญหาขึ้นมาสิ่งที่คุณต้องทำก็คือการเปลี่ยนมันทั้งเมนบอร์ดหล่ะครับ แน่นอนว่าถ้าเครื่องของคุณยังอยู่ในระยะประกันเรื่องดังกล่าวคงไม่น่าซีเรียสมากเท่าไร(เว้นแค่ว่าข้อมูลในนั้นจะหายไปทั้งหมด) แต่ถ้าเครื่องของคุณอยู่ในระยะเวลานอกประกันแล้วหล่ะก็ ค่าเปลี่ยนเมนบอร์ดนั้นแพงพอๆ กับการที่คุณจะซื้อเครื่องใหม่ได้ 1 เครื่องเลยหล่ะครับ
หมายเหตุ – เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้เราได้รู้ตัวอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่อยากให้ข้อมูลของตัวเครื่องหายทั้งหมด สิ่งที่คุณจะทำเป็นอย่างยิ่งก็คือการสำรองข้อมูลสำคัญๆ ไว้อย่างน้อยก็อาทิตย์ละครับหล่ะครับ
2 สักวันหนึ่งความจุของ SSD บนเครื่องจะต้องไม่พอขึ้นมาอย่างแน่นอน
ไม่ว่าคุณจะซื้อเครื่องทั้ง 2 รุ่นมาด้วยจุดประสงใดๆ ก็ตาม ทว่าสักวันหนึ่งนั้นคุณจะต้องได้ผจญกับปัญหาเรื่องที่ว่าแหล่งข้อมูลบนตัวเครื่องมันไม่เพียงพออีกต่อไป ปกติแล้วในทุกๆ วันนี้นั้นส่วนมากแล้วแหล่งเก็บข้อมูลบนตัวเครื่องทั้ง 2 ที่อยู่ที่ 128 GB หรือ 250 GB นั้นต่างก็ไม่เพียงพอในการเก็บข้อมูลมากๆ ครับ เอาแค่ตัวระบบปฎิบัติการเองแล้วนั้นถ้าเปิดใช้ฟีเจอร์ทั้งหมด อย่างเช่น hibernation/hybrid boot นั่นยิ่งทำให้แหล่งเก็บข้อมูลต้องเสียไปกับฟีเจอร์ดังกล่าวมากไปกันใหญ่
หลักการทำงานของ SSD นั้นก็คือหากคุณมีขนาดพื้นที่มากกว่า 50 % – 70 % บน SSD ของคุณ เวลาที่คุณจะทำการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงไปนั้นเจ้า SSD จะสามารถหาบล๊อคที่ว่างและเขียนข้อมูลลงไปได้เลยครับ อย่างไรก็ตามแต่แล้วหลักการของ SSD จะเปลี่ยนไปเมื่อคุณมีพื้นที่บน SSD น้อยลง เวลาที่จะทำการเขียนข้อมูลลงไปนั้น SSD จะอ่านข้อมูลก่อนที่จะทำการเขียนข้อมูลลงไป ซึ่งนั่นจะทำให้การใช้งานนั้นช้ามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยหล่ะครับ
แน่นอนว่าด้วยหลักการดังกล่าวนั้น ทำให้แหล่งเก็บข้อมูลแบบ SSD ขนาด 128 GB ถึง 250 GB ไม่เพียงพอต่อการใช้งานจริงๆ (เว้นแต่ว่าคุณไม่ได้มีการเก็บข้อมูลอะไรมากขนาดนั้น) ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วจึงทำให้ผู้ใช้ที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลมากๆ เวลาซื้อนั้นก็จะเลือกเครื่องที่มาพร้อมกับแหล่งเก็บข้อมูลมากกว่า(และแพงกว่ามาก) อย่าง 512 GB เป็นต้นครับ
3 อายุการใช้งานของ SSD ไม่ได้ยาวนานเหมือนที่คุณคิด
SSD แบบฝังบน MacBook Pro 2016
SSD นั้นใช้ NAND ในการเก็บข้อมูลครับ ซึ่งตัว NAND เองนั้นก็มีหลายประเภทมากมายไม่ว่าจะเป็น Single Level Cell (SLC) to Multi Level Cell (MLC) และ Triple Level Cell (TLC) เรียงตามลำดับของประสิทธิภาพและอายุการใช้งานรวมไปถึงความน่าเชื่อถือได้ แน่นอนครับว่าเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผู้ผลิตนั้นเอา NAND แบบไหนมาติดตั้งลงบนบอร์ดของตัวเอง ซึ่งก็นั่นแหละครับเพราะฉะนั้นแล้วถ้าเกิดมันเสื่อมสภาพขึ้นมาคุณก็ต้องกลับไปเปลี่ยนใหม่ซึ่งเป็นการเปลี่ยนทั้งบอร์ดที่มีราคาแพงเหมือนซื้อเครื่องใหม่เหมือนกันครับ
4 แนวโน้มนี้ไปไกลกว่า Microsoft และ Apple แล้ว
ท้ายที่สุดแต่เรื่องยังไม่จบเท่านี้ ปัญหาของมันก็คือผู้ผลิตรายอื่นๆ นั้นเริ่มที่จะทำตาม Microsoft และ Apple ในเรื่องการการฝัง SSD ลงไปกับเมนบอร์ดแล้วหล่ะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโน๊ตบุ๊คที่จะมาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Windows 10 S นั้นคงหนีไม่พ้นการทำแบบนี้อย่างนี้แน่นอน แถมดูแล้วในอนาคตนี้แนวคิดดังกล่าวนี้ก็จะลามไปเรื่อยๆ หล่ะครับ
สรุป
จากเหตุผลต่างๆ ที่บอกไปทั้ง 4 ข้อนั้น คิดได้อย่างเดียวเลยครับว่าเรื่องดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะทางผู้ผลิตต้องการกำไรมากขึ้นไม่ว่าจะทั้งจากการซ่อมหรือแม้แต่ว่าการซื้อโน๊ตบุ๊คเครื่องใหม่ของผู้บริโภคครับ แนวคิดการใช้ SSD แบบฝังบนเมนบอร์ดไม่ใช่ว่ามันจะไม่ดีนะครับ เพราะจะว่าไปแล้วมันก็ทำให้เราๆ ท่านๆ ได้เห็นโน๊ตบุ๊คที่มีความบางและเบามากกว่าเดิม แต่ก็นั่นแหละครับถ้าใครหยิบได้เครื่องที่มีปัญหาขึ้นมางานนี้ก็ตัวใครตัวมันแล้วหล่ะครับ
ที่มา : notebookcheck