บริษัทรับจัดเก็บข้อมูลนั้นมีอยู่หลายบริษัทด้วยกันครับ ทว่าคงไม่มีบริษัทไหนที่บ้าระห่ำมากไปกว่า “Piql” ที่ตั้ง Arctic World Archive สถานที่ทำทำการจัดเก็บข้อมูลที่ดัดแปลงมาจากเหมืองในทวีปอเมริกาเหนือบนพื้นที่หนาวเย็นที่ทางบริษัทบอกว่าจะปลอดภัยต่อภัยทุกๆ อย่างทั้งจากธรรมชาติและเหตุการณ์วุ่นวายจากภัยที่มาจากฝีมือมนุษย์(เช่นสงคราม) ทุกรูปแบบครับ
Arctic World Archive นั้นถูกเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมาโดยผู้ใช้บริการรายแรกเป็นรัฐบาลของบราซิล, เม็กซิโกและนอร์เวย์ โดยข้อมูลส่วนใหญ่ที่เก็บนั้นจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศดังกล่าวครับ ตัวข้อมูลจะถูกนำมาบันทึกไว้ในรูปของเทปฟิมล์ซึ่งทางบริษัทบอกว่ามีอายุการใช้งานยาวที่สุดรวมไปถึงยังพังยากที่สุดหากไม่มีอะไรเข้าไปยุ่งกับมันครับ
เทปฟิมล์บันทึกข้อมูลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีของบริษัทโดยเฉพาะ
สำหรับข้อมูลที่ทางบริษัทเปิดให้จัดเก็บได้นั้นจะประกอบไปด้วย documents, PDFs, JPGs และ TIFFs ซึ่งจะถูกแปลงข้อมูลเป็น QR code อีกรอบก่อนที่จะทำการบันทึกลงเทปฟิมล์เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลอีกขั้น นอกไปจากนั้นแล้วทางบริษัทยังได้แปลง QR Code เป็นรูปแบบของสีเฉดเทาเพื่อที่จะสามารถใช้ในเพิ่มเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล โดยขั้นตอนวิธีของบริษัทแล้วนั้นก็จะสามารถแปลงข้อมูลไปมาระหว่างรูปแบบดิจิทัลที่เป็นต้นฉบับกับอนาล็อกได้ครับ
หมายเหตุ – การนำข้อมูลกลับมาเป็นรูปแบบปกตินั้นจะใช้เวลาประมาณ 20 – 30 นาที แถมทางบริษัทยังมีการบริการให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงข้อมูลแบบรีโมทโดยไม่ต้องเข้ามาที่สถานที่จัดเก็บได้อีกด้วยครับ
Piql ยืนยันว่าข้อมูลในรูปแบบของที่ทางบริษัทใช้นั้นสามารถที่จะถูกเก็บอยู่อย่างปลอดภัยได้มากกว่า 500 ปี ซึ่งบางทีอาจจะเก็บได้ยาวนานถึง 1,000 ปี ตัวเทปนั้นถูกเก็บอยู่ในที่ที่มีคุณหภูมิต่ำกว่า – 5 องศา และอยู่ในที่ลึก ซึ่งนั่นเหมาะสมมากกับการที่จะเก็บข้อมูลในรูปแบบเทปฟิล์ม
ทั้งนี้ด้วยความที่ที่ตั้งของบริษัทได้เซ็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศไว้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทางบริษัทนั้นไม่สามารถที่จะกระทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทหารได้ ดังนั้นแล้วข้อมูลที่จัดเก็บนั้นจะต้องไม่เกี่ยวข้องการทางด้านการทหารโดยเด็ดขาด ซึ่งทำให้ข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บนั้นน่าจะเป็นข้อมูลสำคัญๆ ของประวัติศาสตร์โลกมากกว่าครับ
หมายเหตุ – น่าเสียดายที่ในต้นฉบับนั้นไม่ได้บอกเอาไว้ครับว่าค่าบริการเก็บข้อมูลนั้นอยู่ที่เท่าใด
ที่มา : theverge