Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

[Review] Asus FX553VD Gaming Notebook สเปก Core i7-7700HQ + GTX 1050 มาแล้ว ราคาคุ้ม

หลังจากที่แบรนด์ต่างๆ ได้เปิดตัวโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งที่ใช้สเปคตัวใหม่ปี 2017 ไปแล้ว คราวนี้มาถึงฝั่งของ Asus กันบ้าง ถึงจะมาช้าแต่ก็ดีกว่าไม่มา กับโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสนใจที่จะมาสารต่อรุ่นพี่ในซีรีย์ FX ที่เน้นความคุ้มค่าครบถ้วนเป็นหลัก

หลังจากที่แบรนด์ต่างๆ ได้เปิดตัวโน๊ตบุ๊คเกมมิ่งที่ใช้สเปคตัวใหม่ปี 2017 ไปแล้ว คราวนี้มาถึงฝั่งของ Asus กันบ้าง ถึงจะมาช้าแต่ก็ดีกว่าไม่มา กับโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสนใจที่จะมาสารต่อรุ่นพี่ในซีรีย์ FX ที่เน้นความคุ้มค่าครบถ้วนเป็นหลัก ซึ่งอยากจะมาแนะนำใหเพื่อนๆ ได้รู้จักกันโน๊ตบุ๊คเครื่องนี้ ที่สามารถตอบโจทย์การทำงานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเล่นเกม ดูหนังฟังเพลง ท่องอินเตอร์เน็ตได้ครบถ้วน และสามารถพกพาไปได้สะดวกทุกที่ กับโน๊ตบุ๊ครุ่น Asus FX553VD ตัวนี้กันครับ

หน้าตาภายนอกดูเป็นโน๊ตบุ๊คหน้าตาเรียบๆ สีดำลายกราฟฟิคสีแดง ดูมินิมอลดุดันแบบเข้มๆ ภายในประกอบไปด้วย CPU รุ่นล่าสุดสถาปัตยกรรม Kaby Lake อย่าง Intel Core i7 7700HQ และการ์ดจอสถาปัตยกรรม Pascal ใหม่ล่าสุดจากNVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ซึ่งมีประสิทธิภาพความแรงกว่ารุ่นเดิมอย่าง GTX 960M พอสมควร Ram 4 GB DDR4 และฮาร์ดดิสกฺ์ 1 TB 5400 RPM หน้าจอด้าน 15.6 นิ้ ความละเอียด 1920 x 1080 Full HD Panel IPS พร้อมราคาเปิดตัวอยู่ที่ 31,900 บาทเท่านั้น

Advertisement

VDO Review

Specification

สเปคเต็มของ Asus FX553VD ใช้ชิป CPU ตัวแรง รุ่นล่าสุดอย่าง Intel Core i7-7700HQ (2.80 – 3.80 GHz) Gen 7 Kaby Lake ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เทรด ศักยภาพสูง พร้อมทั้งเลือกใช้การ์ดแยกสำหรับนักเล่นเกมโดยเฉพาะอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ซึ่งเป็นการ์ดจอรุ่นเดียวกับคอมตั้งโต๊ะแถมมีประสิทธิภาพแรงกว่ารุ่น GTX 960M ของเดิมอยู่ประมาณ 30% รองรับการเล่นเกมปัจจุบันในระดับ Full HD ได้ลื่นๆ เกือบทั้งหมด

ในส่วนของ Harddisk มีความจุ 1 TB 5400 RPM โดยสามารถใส่ SSD แบบ M.2 ได้อีก 1 ตัว Ram 4 GB DDR4 หนึ่งแถว(สามารถใส่ได้สองแถว) ซึ่งสามารถอัพได้สูงสุด 32 GB (ใส่ 16 GB 2 ตัว)

หน้าจอแสดงผลของ Asus FX553VD มีขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1920×1080 Full HD เป็นแบบด้าน Panel Matte(IPS) ให้สีที่ค่อนข้างน่าพอใจ และมีมุมมองกว้างกว่า 178 องศา ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบครันอย่าง USB 3 มีให้สองช่อง USB 2 หนึ่งช่อง และ USB 3 type C หนึ่งช่อง พร้อมรองรับมาตรฐานการใหม่ของการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Wifi 802.11 AC และ Bluetooth 4.0

ขนาดภายนอกของตัวเครื่อง Asus FX553VD จะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วค่ายอื่นนิดหน่อย เพราะ รุ่นนี้จะมี Drive DVD มาให้ด้วยนั่นเอง ตัวเครื่องมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัม บอดี้เป็นพลาสติกสีดำ ลายกราฟฟิกแดง ราคาวางจำหน่ายอยู่ที่ 31,990 บาท

Hardware / Design

ASUS FX553V-14a
การออกแบบของ Asus FX553VD มีลักษณะคล้านรุ่นพี่ตัวเก่าที่เน้นความโฉบเฉี่ยวแต่เรียบง่าย แฝงไปด้วยความดุดันที่เป็นเกมมิ่งได้อย่างลงตัว โทนสีของตัวเครื่องเป็นสีดำลายกราฟฟิกสีแดงคาดทั้งด้านนอกและด้านใน ซึ่งช่วยให้ดูเด่นแตกต่างจากรุ่นพี่มันอย่างเห็นได้ชัด พร้อมผิวสัมผัสที่เป็นที่ดีแต่เป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อยสำหรับฝาปิด ในส่วนของพอร์ทเชื่อมต่อของตัวเครื่องออกแบบมาครบครันดูลงตัวพอดี

ในส่วนของวัสดุตัวเครื่องทั้งหมดทำมาจากพลาสติก ซึ่งช่วยให้น้ำหนักเบา บวกกับลวดลายเส้นสีแดงคาดขวางตลอดทั้งเครื่อง ทำให้เครื่องที่เป็นสีดำดูมีเสน่ห์ เท่ดุดันขึ้นมาทันที การสัมผัสตัวเครื่องดูดีกว่าโน๊ตบุ๊คพลาสติกธรรมดาทั่วไป บนฝาพับมีโลโก้ยี่ห้อ Asus สีเงินแปะไว้สวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ประจำรุ่น

ASUS FX553V-12

บานพับเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ วัสดุเป็นพลาสติกดูแข็งแรงทนทาน หน้าจอของตัวเครื่องแบบ Panel Matte IPS ผิวจอแบบ Anti-Glare ความละเอียด Full HD ให้สีที่ดูสวยกว่า Panel TN ทั่วไป และช่วยลดการสะท้อนจากแสงไฟที่อยู่รอบๆ โดยมุมมองกว้างถึง 178 องศา

ความโดดเด่นอีกย่างของ Asus FX553VD คือ ปุ่มคีย์บอร์ดที่มีการทำไฮไลท์สี Orange Reflective เสริมความโดดเด่นให้ที่ปุ่มกด WASD พร้อมไฟ Red-ฺBacklit ส่องสว่างสามารถปรับได้ 3 ระดับ ช่วยให้สวยงามและมองเห็นคีย์ได้ง่ายในที่แสงน้อย ในส่วนของ Touch Pad ปุ่มกดคลิกซ้ายขวาจะเป็นแบบซ่อนปุ่ม ตีกรอบแบ่งโซนด้วยเส้นสีแดง เสริมความโดดเด่นให้เข้ากับตัวเครื่องมากยิ่งขึ้น

ในส่วนด้านล่างซ้ายของเจ้าตัว Asus FX553VD จะติดสติ๊กเกอร์ฟีเจอร์ไอคอนต่างๆ ขนาดเล็กไว้สำหรับบอกคุณสมบัติของตัวเครื่องว่ามีอะไรบ้างเหมือนยี่ห้ออื่นๆ ทั่วไป ซึ่งไม่ได้เกะกะอะไรมากนักดูเรียบๆ ดี

Keyboard / Touchpad

ASUS FX553V-49

ส่วนของคีย์บอร์ดตัวปุ่มเป็นพลาสติกสีดำฟอนต์สีแดงดูเข้ากับตัวเครื่อง ปุ่มกดให้สัมผัสที่นุ่มไม่แข็งจนเกินไปถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว และมาพร้อมกับ ปุ่มชุดตัวเลข Numpad แบบปกติทั่วไปอยู่ด้านขวามือ

ในส่วนของไฟ LED Backlit จะเป็นสีแดงก็สามารถปรับใช้งานได้ 3 ระดับ ตัวปุ่ม-เปิด จะไปอยู่ที่มุมบนขวาตัวเครื่องกลืนเข้ากับ Numpad พร้อมแสดงไฟสถานะเปิด-ปิดสีแดง ซึ่งหากเปิดไฟคีย์บอดแล้วไม่ได้ใช้นานๆ เครื่องจะดับไฟให้อัติโนมัติ เพื่อช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

ทัชแพดมีขนาดกลางๆ พอดีมือ ส่วนดีไซน์นั้นก็ใช้เป็นแบบไม่มีปุ่มแยกออกมาเช่นเดียวกับรุ่นใหม่ๆ หลายรุ่น การใช้งานได้ถึงความลื่นไหลอยู่ในเกณฑ์ระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี แต่ต้องลงไดร์เวอร์ให้ครบเสียใจไม่งั้นจะใช้งานไม่ได้เต็มที ซึ่งในตอนแรกจะคลิกขวาไม่ได้ต้องลงไดร์เวอร์ก่อนถึงจะคลิกได้

Screen / Speaker

ASUS FX553V-37

ในส่วนของหน้าจอ Asus FX553VD นั้น มีขนาด 15.6 นิ้ว ผิวจอแบบ Anti-Glare ความละเอียด 1920 x 1080 Pixel Full HD ตัวหน้าจอ Panel เป็นแบบ Matte (IPS) มุมกว้าง ทำให้แสดงผลภาพออกมาได้อย่างสวยงามคมชัดทุกมุมมอง ลดปัญหาเรื่องแสงสะท้อนจากแสงไฟรอบๆ ตัวได้อย่างดีเยี่ยม แสงสว่างของหน้าจอสามารถปรับได้หลายระดับให้พอดีกับสายตา สามารถสู้แสงจ้าจากภายนอกได้ในระดับหนึ่ง ส่วนเรื่องของสีดูสวยงามกว่า Panel TN ทั่วไปพอสมควรทั้งสีสด ไม่จืด และไม่เพี้ยนมาก อยู่ในระดับที่ดีพอดีกว่าจอ TN รุ่นก่อนหน้านี้เยอะ

ลำโพงของตัวเครื่องใช้ระบบเสียงของ ICEPOWER ให้เสียงที่ดังฟังชัด มีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอย่างแนบเนียน อยู่ด้านล่างตัวเครื่อง ซึ่งอาจจะมีปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้ ส่วนราคาเจ้าตัว Asus FX553VD เปิดตัวอยู่ที่ 31,990 บาท

Connector / Thin And Weight

ASUS FX553V-26
พอร์ทการเชื่อมต่อตัวเครื่อง Asus FX553VD นี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ทมาให้ครบครับอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ท, USB 2.0 อีก 1 พอร์ท และ USB 3.1 Type-C รุ่นล่าสุด จำนวน 1 พอร์ทมาให้ด้วย พร้อมช่องต่อหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร SD Card Reader ขนาดมาตรฐาน พอร์ท LAN ตัวเต็ม และ HDMI

ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 4.0 และ Wireless แบบ 802.11b/g/n/ac รุ่นล่าสุด ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น และรองรับสัญญาณความที่ถี่ 5 Ghz ได้

ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของโน๊ตบุ๊ค 15.6  ทั่วไปถือได้ว่าใหญ่และหนักกว่ารุ่นอื่นพอสมควรในราคาระดับใกล้เคียงกัน น่าจะเป็นเพราะมี Drive DVD มาให้ด้วย และสายชาร์จที่มีขนาดใหญ่ เมื่อรวมกับอแดปเตอร์กับตัวโน๊ตบุ๊คด้วยแล้วก็จะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม(โน๊ตบุ๊คหนัก 2.4 กิโลกรัม)

Inside

ASUS FX553V-38

การแกะเครื่อง Asus FX553VD นั้นสามารถที่จะทำได้ค่อนข้างง่าย โดยการถอดน็อตให้หมดทุกตัวด้านหลังเครื่องรวมถึงใต้แผ่นสติ๊กเกอร์สีดำที่ปิดอยู่กลางด้านหลังตัวเครื่องด้วย(ต้องแงะ) เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ถูกออกแบบจัดระเบียบได้ค่อนข้างดี แต่ที่น่าสังเกตก็คือตัวเครื่องนี้จะมีพัดลมมาให้แค่ตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งดูแล้วจะเป็นพัดลมตัวใหญ่กว่ายี่ห้ออื่นพอสมควร

หลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะเห็นแผ่นสีดำๆ แปะติดไว้อยู่ในหลายๆ ส่วนกันไฟฟ้าสถิต และในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่สามารถทำการอัพเกรดได้สามารถอัพเกรดได้ทั้ง Harddisk  SATA ขนาด 2.5 นิ้วกับ M.2 ซึ่งสามารถไขน๊อคออกถอดออกหรือใส่เข้าอัพเกรดได้ทันทีโดยไม่ต้องไปยุ่งกับส่วนอื่นๆ สำหรับในส่วนของ Ram นั้นจะมีแผ่นกระดาษสีดำปิดไว้อยู่ ซึ่งสามารถอัพได้ 2 ช่องและได้สูงสุดถึง 32 GB แต่เครื่องนี้ทีมงานได้อัพเกรดเป็น 8GB (4GB x 2)

ระบบระบายความร้อนของ Asus FX553VD จะใช้พัดลมตัวเดียว และมี Heat Pipe จำนวน 2 ท่อที่วางตัวยาวตั้งแต่ส่วนของชิปประมวลจากกลางเครื่องยาวเรื่อยมาจนถึงส่วนที่เป็นครีบระบายความร้อนทองแดงทางด้านขวาของตัวเครื่อง

Performance / Software

ทางด้านชิปประมวลใช้ CPU เป็น Intel Core i7-7700HQ ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่ใช้สำหรับการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลเริ่มต้นอยู่ที่ 2.80 GHz เร่งได้สูงสุดถึง 3.80 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads ซึ่งเพียงพอสำหรับการประมวลผลหนักๆ เรนเดอร์ไฟล์ หรือเล่นเกมจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 บัส 2400 MHz (ทีมงานใส่เพิ่ม 4 GB)

cpu1

ในส่วนของกราฟิกการ์ดตัวออนบอร์ดเป็น Intel HD Graphics 630 ที่สามารถใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง เพียงพอต่อการใช้งานกราฟิก 2 มิติสบายๆ แต่ถ้าเป็น 3 มิติ รองรับในระดับเบื้องต้นเท่านั้น โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics 530 รุ่นก่อนหน้าพอสมควร เพราะ สามารถทำงานกับหน้าจอความละเอียด Full HD ได้แบบไม่มีปัญหา

และตัวกราฟิกการ์ดจอแยกใช้เป็นตัว NVIDIA GeForce GTX 1050 รุ่นยอดนิยมที่แรงเทียบเท่าระดับ PC หรือถ้าเทียบกับรุ่นก่อนก็บอกได้เลยว่าแรงกว่า GTX 960M ประมาณ 30% สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรมากๆ ได้เป็นอย่างดีทีเดียว รองรับเกมใหม่ๆ ที่ความละเอียด Full HD ได้อย่างไม่มีปัญหา

gpu2

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงและที่น่าประทับใจมากคือ สูงกว่ายี่ห้อนอื่นๆ ที่ใช้ชิปเดียวกันพอสมควร ส่วนถ้าเปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้วถือว่าทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ

cine103

ในส่วนนี้เราจะทดสอบ Asus FX553VD ในเรื่องของประสิทธิภาพการเล่นเกมทั้ง 6 เกม โดยรุ่นที่ทีมงาน NotebookSPEC ได้ซื้อมารีวิวนั้นได้ทำการอัพเกรดในส่วนของแรมเป็น 8 GB ไปเรียบร้อยแล้ว ไปชมกราฟกันดีกว่าครับ

chart

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 30 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1050 ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับใช้แรม 8GB DDR4 และรวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 5400 RPM ด้วย(ใช้ติดตั้งเกม)

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Battlefield 1 /GTA V และ  Rise of the Tomb Raider ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ตาม Native ของหน้าจอ โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ภาพก็สวยจนน่าประทับใจแบบที่สุด ซึ่งดูจากเฟรมเรทเฉลี่ยแล้วแทบไม่ต่ำไปกว่า 30 FPS เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุด แม้ว่าต้องยอมว่ามีข้อสังเกตุว่ามีภาพฉีกอยู่บ้างกับเกมบางฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ จากการที่หน้าจอไม่ได้เป็น G-Sync เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แต่ในส่วนของ Panel Matte(IPS) ก็ทำหน้าที่เรื่องสีสันได้ดีน่าพอใจ

อีก 2 เกมออนไลน์ที่ทีมงานเล่นเป็นประจำอย่าง Overwatch, DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยแทบไม่ต่ำ 60 เฟรมเช่นกัน สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบาย ประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามพอสมควร

ส่วนเกมออนไลน์ฟอร์มยักษ์ใหม่ล่าสุดอย่าง For Horner ก็ได้นำมาทดสอบกัน โดยปรับเป็นกราฟิกแบบสุดทางอย่างเป็น Extreme ซึ่งก็สามารถทำได้อย่างลืนไหลและสวยงาม  ด้วยเฟรมเรทเฉลี่ยที่ 30+ ซึ่งก็เพียงพอต่อการเล่นได้อย่างสบายๆ แล้ว

Battery / Heat / Noise

bat

Asus FX553VD นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ประมาณ 3,000 mAh ซึ่งจะว่าไปแล้วนั้นก็ค่อนข้างที่จะน้อยไปหน่อย แต่เมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าโอเคเลย โดยสามารถใช้งาน Wi-Fi เพื่อท่องเว็บดูยูปทูปได้ยาวนานประมาณ 3–4 ชั่วโมงเลยทีเดียว ซึ่งดูเหมือนว่าตัวเครื่องจะจัดการเรื่องการใช้พลังงานได้ดีกว่ารุ่นอื่นพอสมควร

hdd1

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1 TB แบบความเร็ว 5400 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 2.4 MB/s และสูงสุดที่ 137.9 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 97.8MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 19.3 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นค่อนข้างความน่าประทับใจทีเดียว แม้ว่าความเร็วสะดุดตกเล็กน้อยก็ตาม แนะนำถ้าอยากให้ลื่นไหลกว่านี้ให้ใส่ SSD เพิ่มดีกว่าครับ

temp4

มาดูทางด้านการระบายความร้อนของตัว Asus FX553VD กันบ้าง ดูจากรูปแล้วจะเห็นได้ว่า อุณหภูมิค่อนข้างสูงทีเดียวโดยเฉพาะ GPU ที่วิ่งสูงไป 81 องศา เวลาเล่นเกมหนักๆ โดยตัวเครื่องรุ่นนี้จะมีพัดลมมาให้แค่ตัวเดียว(ตัวใหญ่) ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอสู้โน๊ตบุ๊คที่มีพัดลมสองตัวไม่ได้ และเวลาใช้งานหนักๆ พัดลมเสียงดังพอสมควรประกอบกับไอร้อนที่ออกมาถือว่าค่อนข้างร้อนกว่ารุ่นอื่น

อุณหภูมิ CPU ต่ำสุดของเครื่องจะอยู่ที่ 51 องศาเซลเซียส พอเร่งประสิทธิสูงสุดจะเห็นว่าอุณหภูมิสูงสุดที่ประมาณ 86 องศา ซึ่งทดสอบในห้องแอร์ที่อุณหภูมิ 23 องศา โดยใช้วิธีการเล่นเกมยาวๆ หลายเกมต่อเนื่อง สรุปได้ว่าเจ้าตัว Asus FX553VD ในเรื่องระบายความร้อนทำได้ไม่ค่อยดีนัก ควรเล่นเกมหนักๆ ในห้องแอร์ถ้าเป็นไปได้ หรือถ้าหากต้องนำไปใช้งานเล่นเกมข้างนอกก็ควรมี Cooling Pad คอยช่วงระบายความร้อนสักหน่อย เพราะเจ้าตัว Asus FX553VD มีฮีทไปป์สองเส้นใช้พัดลมระบายความร้อนตัวเดียวเท่านั้น

ส่วนถ้าหากในเรื่องกาใช้งานทั่วไปตามปกตินั้น เช่น ท่องเว็บ พิมพ์งาน ฯลฯ การระบายความร้อนของเครื่องก็จะอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป ไม่ร้อนมาก และแทบจะไม่พัดลมเลย งานนี้ทาง ซึ่งถือว่ายังทำได้ดีในส่วนการบริหารจัดการเรื่องระบายความร้อน

Conclusion / Award

ASUS FX553V-36
สำหรับเจ้าตัว Asus FX553VD โน๊ตบุ๊คเกมมิ่งที่มาพร้อมกับความสามารถที่ครบถ้วน ทั้งประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการนำมาเล่นเกม ดูหนังฟังเพลงเป็นหลักโดยเฉพาะ รวมถึงประสิทธิภาพของการ์ดจอที่ได้แรงเในระดับคอมตั้งโต๊ะที่ใช้รุ่นเดียวกันอย่าง GTX 1050 พร้อมทั้ง CPU Gen ล่าสุดอย่าง Intel i7-7700 HQ Kaby Lake และมีพอร์ท USB Type-C 3.1 รุ่นล่าสุดมาให้ด้วย ส่วนการดีไซน์ใช้ลายใหม่เป็นสีดำลายเส้นแดง ดูโดยรวมมีความเป็นเกมมิ่งมากขึ้นสำหรับซีรีย์ FX แถมตัวนี้ยังมี Drive DVD มาให้ซึ่งเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งสำหรับใครที่ยังจำเป็นต้องใช้แผ่น DVD ในการทำงานปัจจุบันอยู่ หรือใครไม่ได้ใช้ก็สามารถถอดออก แปลงไปใส่ Harddisk อีกลูกก็ได้เช่นกัน

ASUS FX553V-6

อย่างไรก็ตาม Asus FX553VD ก็ยังพอมีข้อสังเกตอยู่บ้าง เช่น พัดลมที่ให้มาแค่ตัวเดียว ซึ่งการระบายความร้อนทำได้ไม่ค่อยดีนัก และพัดลมเสียงค่อนข้างดังเวลาทำงานหนักๆ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการเล่นในห้องแอร์หรือใช้ Cooling Pad ช่วยระบายความร้อนเสริมได้ และถ้าหากใครคิดจะเอาไปเล่นเกมหนักๆ แล้วละก็ ต้องเผื่องบไว้อีกสักประมาณ 3,000 บาทเป็นอย่างน้อย เพื่อใส่ Ram เพิ่มให้เป็น 8 GB เป็นอย่างต่ำ เพราะ ถ้ามี Ram แค่ 4 GB เล่นเกมในยุคปัจจุบันแทบจะไม่พอใช้แล้ว รวมถึงซื้อ Harddisk m.2 มาใส่เพิ่ม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าในการทำงาน เวลา เปิด-ปิด คอม หรือโหลดฉากต่างๆ สามารถทำได้รวดเร็วทันใจนั่นเอง

ข้อดี

  • สเปคสูงด้วย Intel Core i7-7700HQ + Nvidia GTX 1050 รุ่นล่าสุด
  • ประสิทธิภาพการเล่นเกมทำได้ดีเยี่ยม (เมื่ออัพเกรดเป็นแรม 8GB)
  • ลำโพงเสียงดี เสียงดังฟังชัด
  • คีย์บอร์ดให้สัมผัสที่ดีกดแล้วนุ่ม แถมมีไฟสีแดงสวยงาม โดยเฉพาะปุ่ม WSAD ที่ใต้ปุ่มเป็นสีแดง
  • รองรับ SSD M.2
  • มี Drive DVD และ พอร์ท USB 3.1 Type-C มาให้
  • การดีไซน์ใหม่ที่เป็นสีดำลายเส้นแดงดูสวยงามมีความเป็นเกมมิ่งมากขึ้น

ข้อสังเกต

  • พัดลมระบายความร้อนมีมาให้แค่ตัวเดียว
  • หากคุณนำมาเล่นเกม ควรอัพเกรด Ram ให้เป็น 8 GB ขึ้นไป
  • ฝาหลังเป็นรอยนิ้วมือง่าย
  • ค่อนข้างหนักกว่ารุ่นอื่นเพราะมี Drive DVD

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง Asus FX553VD ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Performance

 

award_use_2_create_05

Asus FX553VD  มีสเปคที่ครบครัน ทั้งชิบประมวลผล Core i7-7700HQ และการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) พร้อมแรมเริ่มต้นขนาด 4 GB มาตรฐานใหม่แบบ DDR4  รองรับความจุ Harddisk SSD M.2 รวมถึงมีพอร์ท USB 3.1 type C มาให้ด้วยทำให้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว รองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ กันได้หลายงาน รวมถึงเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล

Best Value

 

award_use_2_create_14

โน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง ราคา 31,990 บาท เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คให้ความครบครันที่สุดตัวหนึ่งก็ได้ โดยได้ทั้ง CPU ที่เป็น Core i7-7700HQ และการ์ดจอระดับ GTX 1050 4 GB DDR5 พร้อม Drive DVD และมีประกันให้ 2 ปีเต็ม ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจโน๊ตบุ๊คที่มี Drive DVD ในตัวมี Asus FX553VD เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากทีเดียว

VDO Review

Specification

สเปคเต็มของ Asus FX553VD ใช้ชิป CPU ตัวแรง รุ่นล่าสุดอย่าง Intel Core i7-7700HQ (2.80 – 3.80 GHz) Gen 7 Kaby Lake ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เทรด ศักยภาพสูง พร้อมทั้งเลือกใช้การ์ดแยกสำหรับนักเล่นเกมโดยเฉพาะอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) ซึ่งเป็นการ์ดจอรุ่นเดียวกับคอมตั้งโต๊ะแถมมีประสิทธิภาพแรงกว่ารุ่น GTX 960M ของเดิมอยู่ประมาณ 30% รองรับการเล่นเกมปัจจุบันในระดับ Full HD ได้ลื่นๆ เกือบทั้งหมด

ในส่วนของ Harddisk มีความจุ 1 TB 5400 RPM โดยสามารถใส่ SSD แบบ M.2 ได้อีก 1 ตัว Ram 4 GB DDR4 หนึ่งแถว(สามารถใส่ได้สองแถว) ซึ่งสามารถอัพได้สูงสุด 32 GB (ใส่ 16 GB 2 ตัว)

หน้าจอแสดงผลของ Asus FX553VD มีขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1920×1080 Full HD เป็นแบบด้าน Panel Matte(IPS) ให้สีที่ค่อนข้างน่าพอใจ และมีมุมมองกว้างกว่า 178 องศา ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบครันอย่าง USB 3 มีให้สองช่อง USB 2 หนึ่งช่อง และ USB 3 type C หนึ่งช่อง พร้อมรองรับมาตรฐานการใหม่ของการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Wifi 802.11 AC และ Bluetooth 4.0

ขนาดภายนอกของตัวเครื่อง Asus FX553VD จะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วค่ายอื่นนิดหน่อย เพราะ รุ่นนี้จะมี Drive DVD มาให้ด้วยนั่นเอง ตัวเครื่องมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัม บอดี้เป็นพลาสติกสีดำ ลายกราฟฟิกแดง ราคาวางจำหน่ายอยู่ที่ 31,990 บาท

Hardware / Design

ASUS FX553V-14a
การออกแบบของ Asus FX553VD มีลักษณะคล้านรุ่นพี่ตัวเก่าที่เน้นความโฉบเฉี่ยวแต่เรียบง่าย แฝงไปด้วยความดุดันที่เป็นเกมมิ่งได้อย่างลงตัว โทนสีของตัวเครื่องเป็นสีดำลายกราฟฟิกสีแดงคาดทั้งด้านนอกและด้านใน ซึ่งช่วยให้ดูเด่นแตกต่างจากรุ่นพี่มันอย่างเห็นได้ชัด พร้อมผิวสัมผัสที่เป็นที่ดีแต่เป็นรอยนิ้วมือง่ายไปหน่อยสำหรับฝาปิด ในส่วนของพอร์ทเชื่อมต่อของตัวเครื่องออกแบบมาครบครันดูลงตัวพอดี

ในส่วนของวัสดุตัวเครื่องทั้งหมดทำมาจากพลาสติก ซึ่งช่วยให้น้ำหนักเบา บวกกับลวดลายเส้นสีแดงคาดขวางตลอดทั้งเครื่อง ทำให้เครื่องที่เป็นสีดำดูมีเสน่ห์ เท่ดุดันขึ้นมาทันที การสัมผัสตัวเครื่องดูดีกว่าโน๊ตบุ๊คพลาสติกธรรมดาทั่วไป บนฝาพับมีโลโก้ยี่ห้อ Asus สีเงินแปะไว้สวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ประจำรุ่น

ASUS FX553V-12

บานพับเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่ วัสดุเป็นพลาสติกดูแข็งแรงทนทาน หน้าจอของตัวเครื่องแบบ Panel Matte IPS ผิวจอแบบ Anti-Glare ความละเอียด Full HD ให้สีที่ดูสวยกว่า Panel TN ทั่วไป และช่วยลดการสะท้อนจากแสงไฟที่อยู่รอบๆ โดยมุมมองกว้างถึง 178 องศา

ความโดดเด่นอีกย่างของ Asus FX553VD คือ ปุ่มคีย์บอร์ดที่มีการทำไฮไลท์สี Orange Reflective เสริมความโดดเด่นให้ที่ปุ่มกด WASD พร้อมไฟ Red-ฺBacklit ส่องสว่างสามารถปรับได้ 3 ระดับ ช่วยให้สวยงามและมองเห็นคีย์ได้ง่ายในที่แสงน้อย ในส่วนของ Touch Pad ปุ่มกดคลิกซ้ายขวาจะเป็นแบบซ่อนปุ่ม ตีกรอบแบ่งโซนด้วยเส้นสีแดง เสริมความโดดเด่นให้เข้ากับตัวเครื่องมากยิ่งขึ้น

ในส่วนด้านล่างซ้ายของเจ้าตัว Asus FX553VD จะติดสติ๊กเกอร์ฟีเจอร์ไอคอนต่างๆ ขนาดเล็กไว้สำหรับบอกคุณสมบัติของตัวเครื่องว่ามีอะไรบ้างเหมือนยี่ห้ออื่นๆ ทั่วไป ซึ่งไม่ได้เกะกะอะไรมากนักดูเรียบๆ ดี

Keyboard / Touchpad

ASUS FX553V-49

ส่วนของคีย์บอร์ดตัวปุ่มเป็นพลาสติกสีดำฟอนต์สีแดงดูเข้ากับตัวเครื่อง ปุ่มกดให้สัมผัสที่นุ่มไม่แข็งจนเกินไปถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว และมาพร้อมกับ ปุ่มชุดตัวเลข Numpad แบบปกติทั่วไปอยู่ด้านขวามือ

ในส่วนของไฟ LED Backlit จะเป็นสีแดงก็สามารถปรับใช้งานได้ 3 ระดับ ตัวปุ่ม-เปิด จะไปอยู่ที่มุมบนขวาตัวเครื่องกลืนเข้ากับ Numpad พร้อมแสดงไฟสถานะเปิด-ปิดสีแดง ซึ่งหากเปิดไฟคีย์บอดแล้วไม่ได้ใช้นานๆ เครื่องจะดับไฟให้อัติโนมัติ เพื่อช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

ทัชแพดมีขนาดกลางๆ พอดีมือ ส่วนดีไซน์นั้นก็ใช้เป็นแบบไม่มีปุ่มแยกออกมาเช่นเดียวกับรุ่นใหม่ๆ หลายรุ่น การใช้งานได้ถึงความลื่นไหลอยู่ในเกณฑ์ระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี แต่ต้องลงไดร์เวอร์ให้ครบเสียใจไม่งั้นจะใช้งานไม่ได้เต็มที ซึ่งในตอนแรกจะคลิกขวาไม่ได้ต้องลงไดร์เวอร์ก่อนถึงจะคลิกได้

Screen / Speaker

ASUS FX553V-37

ในส่วนของหน้าจอ Asus FX553VD นั้น มีขนาด 15.6 นิ้ว ผิวจอแบบ Anti-Glare ความละเอียด 1920 x 1080 Pixel Full HD ตัวหน้าจอ Panel เป็นแบบ Matte (IPS) มุมกว้าง ทำให้แสดงผลภาพออกมาได้อย่างสวยงามคมชัดทุกมุมมอง ลดปัญหาเรื่องแสงสะท้อนจากแสงไฟรอบๆ ตัวได้อย่างดีเยี่ยม แสงสว่างของหน้าจอสามารถปรับได้หลายระดับให้พอดีกับสายตา สามารถสู้แสงจ้าจากภายนอกได้ในระดับหนึ่ง ส่วนเรื่องของสีดูสวยงามกว่า Panel TN ทั่วไปพอสมควรทั้งสีสด ไม่จืด และไม่เพี้ยนมาก อยู่ในระดับที่ดีพอดีกว่าจอ TN รุ่นก่อนหน้านี้เยอะ

ลำโพงของตัวเครื่องใช้ระบบเสียงของ ICEPOWER ให้เสียงที่ดังฟังชัด มีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอย่างแนบเนียน อยู่ด้านล่างตัวเครื่อง ซึ่งอาจจะมีปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้ ส่วนราคาเจ้าตัว Asus FX553VD เปิดตัวอยู่ที่ 31,990 บาท

Connector / Thin And Weight

ASUS FX553V-26
พอร์ทการเชื่อมต่อตัวเครื่อง Asus FX553VD นี้จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ทมาให้ครบครับอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ท, USB 2.0 อีก 1 พอร์ท และ USB 3.1 Type-C รุ่นล่าสุด จำนวน 1 พอร์ทมาให้ด้วย พร้อมช่องต่อหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร SD Card Reader ขนาดมาตรฐาน พอร์ท LAN ตัวเต็ม และ HDMI

ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายจะใช้ Bluetooth 4.0 และ Wireless แบบ 802.11b/g/n/ac รุ่นล่าสุด ซึ่งจะช่วยให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้มีความสเถียรมากยิ่งขึ้น และรองรับสัญญาณความที่ถี่ 5 Ghz ได้

ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของโน๊ตบุ๊ค 15.6  ทั่วไปถือได้ว่าใหญ่และหนักกว่ารุ่นอื่นพอสมควรในราคาระดับใกล้เคียงกัน น่าจะเป็นเพราะมี Drive DVD มาให้ด้วย และสายชาร์จที่มีขนาดใหญ่ เมื่อรวมกับอแดปเตอร์กับตัวโน๊ตบุ๊คด้วยแล้วก็จะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม(โน๊ตบุ๊คหนัก 2.4 กิโลกรัม)

Inside

ASUS FX553V-38

การแกะเครื่อง Asus FX553VD นั้นสามารถที่จะทำได้ค่อนข้างง่าย โดยการถอดน็อตให้หมดทุกตัวด้านหลังเครื่องรวมถึงใต้แผ่นสติ๊กเกอร์สีดำที่ปิดอยู่กลางด้านหลังตัวเครื่องด้วย(ต้องแงะ) เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ถูกออกแบบจัดระเบียบได้ค่อนข้างดี แต่ที่น่าสังเกตก็คือตัวเครื่องนี้จะมีพัดลมมาให้แค่ตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งดูแล้วจะเป็นพัดลมตัวใหญ่กว่ายี่ห้ออื่นพอสมควร

หลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะเห็นแผ่นสีดำๆ แปะติดไว้อยู่ในหลายๆ ส่วนกันไฟฟ้าสถิต และในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่สามารถทำการอัพเกรดได้สามารถอัพเกรดได้ทั้ง Harddisk  SATA ขนาด 2.5 นิ้วกับ M.2 ซึ่งสามารถไขน๊อคออกถอดออกหรือใส่เข้าอัพเกรดได้ทันทีโดยไม่ต้องไปยุ่งกับส่วนอื่นๆ สำหรับในส่วนของ Ram นั้นจะมีแผ่นกระดาษสีดำปิดไว้อยู่ ซึ่งสามารถอัพได้ 2 ช่องและได้สูงสุดถึง 32 GB แต่เครื่องนี้ทีมงานได้อัพเกรดเป็น 8GB (4GB x 2)

ระบบระบายความร้อนของ Asus FX553VD จะใช้พัดลมตัวเดียว และมี Heat Pipe จำนวน 2 ท่อที่วางตัวยาวตั้งแต่ส่วนของชิปประมวลจากกลางเครื่องยาวเรื่อยมาจนถึงส่วนที่เป็นครีบระบายความร้อนทองแดงทางด้านขวาของตัวเครื่อง

Performance / Software

ทางด้านชิปประมวลใช้ CPU เป็น Intel Core i7-7700HQ ซึ่งเป็นชิปประมวลผลที่ใช้สำหรับการใช้งานหนักๆ ไม่จะเป็นการโปรเซสหรือเล่นเกม มีความเร็วในการประมวลผลเริ่มต้นอยู่ที่ 2.80 GHz เร่งได้สูงสุดถึง 3.80 GHz เป็นซีพียูแบบ 4 Core 8 Threads ซึ่งเพียงพอสำหรับการประมวลผลหนักๆ เรนเดอร์ไฟล์ หรือเล่นเกมจริงจังก็รองรับได้อย่างสบายๆ มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB DDR4 บัส 2400 MHz (ทีมงานใส่เพิ่ม 4 GB)

cpu1

ในส่วนของกราฟิกการ์ดตัวออนบอร์ดเป็น Intel HD Graphics 630 ที่สามารถใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง เพียงพอต่อการใช้งานกราฟิก 2 มิติสบายๆ แต่ถ้าเป็น 3 มิติ รองรับในระดับเบื้องต้นเท่านั้น โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics 530 รุ่นก่อนหน้าพอสมควร เพราะ สามารถทำงานกับหน้าจอความละเอียด Full HD ได้แบบไม่มีปัญหา

และตัวกราฟิกการ์ดจอแยกใช้เป็นตัว NVIDIA GeForce GTX 1050 รุ่นยอดนิยมที่แรงเทียบเท่าระดับ PC หรือถ้าเทียบกับรุ่นก่อนก็บอกได้เลยว่าแรงกว่า GTX 960M ประมาณ 30% สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับ 3 มิติ หรือเกมที่กินทรัพยากรมากๆ ได้เป็นอย่างดีทีเดียว รองรับเกมใหม่ๆ ที่ความละเอียด Full HD ได้อย่างไม่มีปัญหา

gpu2

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับสูงและที่น่าประทับใจมากคือ สูงกว่ายี่ห้อนอื่นๆ ที่ใช้ชิปเดียวกันพอสมควร ส่วนถ้าเปรียบเทียบกับชิปประมวลผลรุ่นก่อนหน้าแล้วถือว่าทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ รวดเร็วทันใจแบบสุดๆ

cine103

ในส่วนนี้เราจะทดสอบ Asus FX553VD ในเรื่องของประสิทธิภาพการเล่นเกมทั้ง 6 เกม โดยรุ่นที่ทีมงาน NotebookSPEC ได้ซื้อมารีวิวนั้นได้ทำการอัพเกรดในส่วนของแรมเป็น 8 GB ไปเรียบร้อยแล้ว ไปชมกราฟกันดีกว่าครับ

chart

คะแนนและเฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรทจากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่ามากกว่า 30 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี จากการที่สเปกภายในเป็นชิปประมวลผล Intel Core i7-7700HQ ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce GTX 1050 ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับใช้แรม 8GB DDR4 และรวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ 5400 RPM ด้วย(ใช้ติดตั้งเกม)

ทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง Battlefield 1 /GTA V และ  Rise of the Tomb Raider ก็สามารถเล่นได้ดีที่ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล ตาม Native ของหน้าจอ โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ภาพก็สวยจนน่าประทับใจแบบที่สุด ซึ่งดูจากเฟรมเรทเฉลี่ยแล้วแทบไม่ต่ำไปกว่า 30 FPS เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุด แม้ว่าต้องยอมว่ามีข้อสังเกตุว่ามีภาพฉีกอยู่บ้างกับเกมบางฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ จากการที่หน้าจอไม่ได้เป็น G-Sync เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แต่ในส่วนของ Panel Matte(IPS) ก็ทำหน้าที่เรื่องสีสันได้ดีน่าพอใจ

อีก 2 เกมออนไลน์ที่ทีมงานเล่นเป็นประจำอย่าง Overwatch, DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทเฉลี่ยแทบไม่ต่ำ 60 เฟรมเช่นกัน สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบาย ประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามพอสมควร

ส่วนเกมออนไลน์ฟอร์มยักษ์ใหม่ล่าสุดอย่าง For Horner ก็ได้นำมาทดสอบกัน โดยปรับเป็นกราฟิกแบบสุดทางอย่างเป็น Extreme ซึ่งก็สามารถทำได้อย่างลืนไหลและสวยงาม  ด้วยเฟรมเรทเฉลี่ยที่ 30+ ซึ่งก็เพียงพอต่อการเล่นได้อย่างสบายๆ แล้ว

Battery / Heat / Noise

bat

Asus FX553VD นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ประมาณ 3,000 mAh ซึ่งจะว่าไปแล้วนั้นก็ค่อนข้างที่จะน้อยไปหน่อย แต่เมื่อมาดูประสิทธิภาพโดยรวมของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่แล้วถือว่าโอเคเลย โดยสามารถใช้งาน Wi-Fi เพื่อท่องเว็บดูยูปทูปได้ยาวนานประมาณ 3–4 ชั่วโมงเลยทีเดียว ซึ่งดูเหมือนว่าตัวเครื่องจะจัดการเรื่องการใช้พลังงานได้ดีกว่ารุ่นอื่นพอสมควร

hdd1

ทดสอบการทำงานฮาร์ดดิสก์ความจุอยู่ที่ 1 TB แบบความเร็ว 5400 รอบที่ติดตั้งมาให้ ด้วยโปรแกรม HD Tune แล้วพบว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลน้อยสุดที่ 2.4 MB/s และสูงสุดที่ 137.9 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 97.8MB/s ด้วยกัน มีอัตราการเข้าถึงข้อมูลที่ 19.3 ms ซึ่งนับได้ว่าผลทดสอบที่ออกมานั้นค่อนข้างความน่าประทับใจทีเดียว แม้ว่าความเร็วสะดุดตกเล็กน้อยก็ตาม แนะนำถ้าอยากให้ลื่นไหลกว่านี้ให้ใส่ SSD เพิ่มดีกว่าครับ

temp4

มาดูทางด้านการระบายความร้อนของตัว Asus FX553VD กันบ้าง ดูจากรูปแล้วจะเห็นได้ว่า อุณหภูมิค่อนข้างสูงทีเดียวโดยเฉพาะ GPU ที่วิ่งสูงไป 81 องศา เวลาเล่นเกมหนักๆ โดยตัวเครื่องรุ่นนี้จะมีพัดลมมาให้แค่ตัวเดียว(ตัวใหญ่) ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอสู้โน๊ตบุ๊คที่มีพัดลมสองตัวไม่ได้ และเวลาใช้งานหนักๆ พัดลมเสียงดังพอสมควรประกอบกับไอร้อนที่ออกมาถือว่าค่อนข้างร้อนกว่ารุ่นอื่น

อุณหภูมิ CPU ต่ำสุดของเครื่องจะอยู่ที่ 51 องศาเซลเซียส พอเร่งประสิทธิสูงสุดจะเห็นว่าอุณหภูมิสูงสุดที่ประมาณ 86 องศา ซึ่งทดสอบในห้องแอร์ที่อุณหภูมิ 23 องศา โดยใช้วิธีการเล่นเกมยาวๆ หลายเกมต่อเนื่อง สรุปได้ว่าเจ้าตัว Asus FX553VD ในเรื่องระบายความร้อนทำได้ไม่ค่อยดีนัก ควรเล่นเกมหนักๆ ในห้องแอร์ถ้าเป็นไปได้ หรือถ้าหากต้องนำไปใช้งานเล่นเกมข้างนอกก็ควรมี Cooling Pad คอยช่วงระบายความร้อนสักหน่อย เพราะเจ้าตัว Asus FX553VD มีฮีทไปป์สองเส้นใช้พัดลมระบายความร้อนตัวเดียวเท่านั้น

ส่วนถ้าหากในเรื่องกาใช้งานทั่วไปตามปกตินั้น เช่น ท่องเว็บ พิมพ์งาน ฯลฯ การระบายความร้อนของเครื่องก็จะอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป ไม่ร้อนมาก และแทบจะไม่พัดลมเลย งานนี้ทาง ซึ่งถือว่ายังทำได้ดีในส่วนการบริหารจัดการเรื่องระบายความร้อน

Conclusion / Award

ASUS FX553V-36
สำหรับเจ้าตัว Asus FX553VD โน๊ตบุ๊คเกมมิ่งที่มาพร้อมกับความสามารถที่ครบถ้วน ทั้งประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการนำมาเล่นเกม ดูหนังฟังเพลงเป็นหลักโดยเฉพาะ รวมถึงประสิทธิภาพของการ์ดจอที่ได้แรงเในระดับคอมตั้งโต๊ะที่ใช้รุ่นเดียวกันอย่าง GTX 1050 พร้อมทั้ง CPU Gen ล่าสุดอย่าง Intel i7-7700 HQ Kaby Lake และมีพอร์ท USB Type-C 3.1 รุ่นล่าสุดมาให้ด้วย ส่วนการดีไซน์ใช้ลายใหม่เป็นสีดำลายเส้นแดง ดูโดยรวมมีความเป็นเกมมิ่งมากขึ้นสำหรับซีรีย์ FX แถมตัวนี้ยังมี Drive DVD มาให้ซึ่งเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งสำหรับใครที่ยังจำเป็นต้องใช้แผ่น DVD ในการทำงานปัจจุบันอยู่ หรือใครไม่ได้ใช้ก็สามารถถอดออก แปลงไปใส่ Harddisk อีกลูกก็ได้เช่นกัน

ASUS FX553V-6

อย่างไรก็ตาม Asus FX553VD ก็ยังพอมีข้อสังเกตอยู่บ้าง เช่น พัดลมที่ให้มาแค่ตัวเดียว ซึ่งการระบายความร้อนทำได้ไม่ค่อยดีนัก และพัดลมเสียงค่อนข้างดังเวลาทำงานหนักๆ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการเล่นในห้องแอร์หรือใช้ Cooling Pad ช่วยระบายความร้อนเสริมได้ และถ้าหากใครคิดจะเอาไปเล่นเกมหนักๆ แล้วละก็ ต้องเผื่องบไว้อีกสักประมาณ 3,000 บาทเป็นอย่างน้อย เพื่อใส่ Ram เพิ่มให้เป็น 8 GB เป็นอย่างต่ำ เพราะ ถ้ามี Ram แค่ 4 GB เล่นเกมในยุคปัจจุบันแทบจะไม่พอใช้แล้ว รวมถึงซื้อ Harddisk m.2 มาใส่เพิ่ม เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าในการทำงาน เวลา เปิด-ปิด คอม หรือโหลดฉากต่างๆ สามารถทำได้รวดเร็วทันใจนั่นเอง

ข้อดี

  • สเปคสูงด้วย Intel Core i7-7700HQ + Nvidia GTX 1050 รุ่นล่าสุด
  • ประสิทธิภาพการเล่นเกมทำได้ดีเยี่ยม (เมื่ออัพเกรดเป็นแรม 8GB)
  • ลำโพงเสียงดี เสียงดังฟังชัด
  • คีย์บอร์ดให้สัมผัสที่ดีกดแล้วนุ่ม แถมมีไฟสีแดงสวยงาม โดยเฉพาะปุ่ม WSAD ที่ใต้ปุ่มเป็นสีแดง
  • รองรับ SSD M.2
  • มี Drive DVD และ พอร์ท USB 3.1 Type-C มาให้
  • การดีไซน์ใหม่ที่เป็นสีดำลายเส้นแดงดูสวยงามมีความเป็นเกมมิ่งมากขึ้น

ข้อสังเกต

  • พัดลมระบายความร้อนมีมาให้แค่ตัวเดียว
  • หากคุณนำมาเล่นเกม ควรอัพเกรด Ram ให้เป็น 8 GB ขึ้นไป
  • ฝาหลังเป็นรอยนิ้วมือง่าย
  • ค่อนข้างหนักกว่ารุ่นอื่นเพราะมี Drive DVD

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Gaming Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ซึ่ง Asus FX553VD ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Performance

 

award_use_2_create_05

Asus FX553VD  มีสเปคที่ครบครัน ทั้งชิบประมวลผล Core i7-7700HQ และการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1050 (4GB GDDR5) พร้อมแรมเริ่มต้นขนาด 4 GB มาตรฐานใหม่แบบ DDR4  รองรับความจุ Harddisk SSD M.2 รวมถึงมีพอร์ท USB 3.1 type C มาให้ด้วยทำให้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว รองรับการทำงานต่างๆ พร้อมๆ กันได้หลายงาน รวมถึงเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล

Best Value

 

award_use_2_create_14

โน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง ราคา 31,990 บาท เรียกได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คให้ความครบครันที่สุดตัวหนึ่งก็ได้ โดยได้ทั้ง CPU ที่เป็น Core i7-7700HQ และการ์ดจอระดับ GTX 1050 4 GB DDR5 พร้อม Drive DVD และมีประกันให้ 2 ปีเต็ม ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจโน๊ตบุ๊คที่มี Drive DVD ในตัวมี Asus FX553VD เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากทีเดียว

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

Buyer's Guide

หน้าจอคอมในปัจจุบันเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 18.5 นิ้วเมื่อสิบกว่าปีก่อน จนตอนนี้ก็มีจอคอม 32 นิ้ว ทั้งจอคอมทำงานและจอคอมเล่นเกมให้เลือกซื้อมากมายหลายรุ่น แม้บางคนอาจคิดว่ามันมีขนาดใหญ่จนเท่ากับจอทีวีรุ่นเล็กแล้วจะวางบนโต๊ะคอมก็คงใหญ่เกินไป แต่ในความเป็นจริงขนาดของมันก็ใหญ่กว่าจอ 27 นิ้ว ตรงหน้าไปอีกนิดเดียว ทำให้พื้นที่แสดงผลกว้างจนสุดขอบสายตายิ่งขึ้น ถ้าใครเล่นเกมเป็นประจำจะได้เห็นฉากหลังของเกมเต็มสายตาจนดื่มด่ำไปกับบรรยากาศได้เต็มอิ่มยิ่งขึ้น กรณีจอทำงานก็มีพื้นที่แสดงผลกว้างขึ้นทั้งมองเห็นตารางและหน้าเอกสารกว้างขึ้น รวมไปถึง Timeline เวลาตัดต่อคลิปยาวกว่าเดิม ถ้าสังเกตจะเห็นว่าผู้ผลิตหน้าจอแบรนด์ต่างๆ พากันใส่ฟีเจอร์มาให้หน้าจอขนาดนี้มากขึ้นจนกลายเป็นจอพรีเมี่ยมระดับเริ่มต้นกันแล้ว ไม่ว่าจะได้พาเนลคุณภาพขอบเขตสีกว้างใช้ทำงานกราฟิคได้, มีพอร์ต USB-C...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

AMD

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ติดตั้งชิปเซ็ต AMD Ryzen AI NPU ก็เริ่มหาซื้อได้ง่ายขึ้น มีตัวเลือกมากมายแถมซอฟท์แวร์หรือส่วนเสริม AI จากบริษัทชั้นนำก็มีให้ใช้งานมากขึ้นรวมทั้ง Microsoft ก็รับลูก จับมือกับผู้พัฒนาซีพียูปรับแต่ง Windows 11 ให้ใช้งานกับซีพียูรุ่นใหม่มี NPU ได้ดีขึ้นและมีฟังก์ชั่นตรวจจับการทำงานเพิ่มเข้ามาใน Task Manager เป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้ดูได้ว่าชิปเซ็ตใหม่นี้ทำงานตอนไหนบ้าง อย่างไรก็ตามชิปนี้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเฉพาะอย่าง ปกติมักไมเ่ห็นคอร์นี้ทำงานบ่อยนักจนบางคนเกิดกังขาว่าชิปเซ็ตตัวนี้มันสมคำโฆษณาหรือเปล่า?...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก