โน๊ตบุ๊คซีรีส์ Y นั้นถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมในฝันสำหรับใครหลายๆ คนก็ว่าได้ครับ ทว่าตั้งแต่ที่ซีรีส์ Y เปิดตัวออกมานั้นมันก็มีปัญหาบ้างเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นบางรุ่นก็มีปัญหาเรื่องระบบเสียง, บางรุ่นมีปัญหาเรื่องระบบระบายความร้อน ฯลฯ ทำให้ซีรีส์ Y นั้นไม่ลงตัวสักที จนกระทั่งมาในตอนนี้ในที่สุดก็เหมือนกับว่า Lenovo ได้ทำให้ซีรีส์ Y ลงตัวสักทีกับ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ที่พึ่งเปิดตัวและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ครับ
สำหรับ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นเรียกได้ว่ามาครบเครื่องเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้วที่ครบครัน ลงตัวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนครับ ที่เด็ดที่สุดก็คือเรื่องของราคาที่สามารถสู้กับโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมในตลาดระดับกลางได้อย่างสบาย(เทียบกับ Dell Inspiron 7567 และ Acer Aspire VX 15 (VX5-591G))
Legion Y520 (GTX 1050 Ti) มีจุดเด่นในเรื่องของระบบระบายความร้อนที่ได้รับการปรับปรุงมาเป็นอย่างดี(ในส่วนของเคสด้านนอก) ในแบบที่รับรองได้ว่ามันสามารถที่จะสร้างประสบการณ์ในการเล่นเกมแบบใหม่ให้กับผู้ใช้งานได้อย่างสบายๆ ในขณะที่ทุกอย่างที่ลงตัวของ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นมีราคาอยู่ในระดับที่ใครๆ ก็เอื้อมถึง คือเริ่มต้นที่ราวๆ $900 หรือประมาณ 32,400 บาทเท่านั้นครับ
Specification
สำหรับโน๊ตบุ๊คเพื่อการเล่นเกมนั้นจะขาดการดูในส่วนของสเปคไปไม่ได้เลยหล่ะครับ โดยจากตารางด้านบนนั้นจะเห็นได้ชัดเลยหล่ะครับว่า Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นมีสเปคที่จัดเต็มไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ(RAM) และแหล่งเก็บข้อมูลที่เรียกได้ว่าเทียบกับโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมระดับบนได้อย่างสบาย นี่ถ้าเปลี่ยนชิปกราฟิกเป็น GTX 1060 หรือ GTX 1070 หล่ะก็ในตลาดน่าจะเกิดสงครามราคาขึ้นมากันเลยทีเดียวครับ
พอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ นั้นเรียกว่าให้มาครบครันมีรองรับทั้งอดีต ปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างสบายๆ ตัวเครื่องมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้คือราวๆ 2.5 kg ซึ่งน่าจะทำให้การพกพาไปไหนมาไหนนั้นยังพอสะดวก แต่เสียดายที่ในส่วนความหนาของตัวเครื่องนั้นดูจะหนาไปหน่อยเพราะอยู่ที่ 25.8 mm ซึ่งเกือบจะหนาเท่ากับโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 17.3 นิ้วของบางยี่ห้อเลยหล่ะครับ
Design and construction
อย่างที่บอกไปในตอนต้นครับว่า Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ทำให้การออกแบบและดีไซน์ตัวเครื่องของซีรีส์ Y กลับมาเข้าที่เข้าทางหลังจากที่มีอะไรขาดๆ เกินๆ มาหลายปี ดีไซน์ของตัวเครื่องนั้นลงตัวเอามากๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์ พอร์ตต่างๆ หรือกระทั่งตำแหน่งของระบบระบายความร้อนก็ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและให้ประสิทธิภาพได้ดีมากๆ
แต่ทว่าด้วยราคาของตัวเครื่อง Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ที่ลดลงจากเดิมมากทำให้เกิดข้อเสียที่ยิ่งใหญ่ขึ้นซึ่งนั่นก็คือเรื่องของวัสดุที่ใช้ในการประกอบเครื่องรุ่น Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นจะเป็นพลาสติกทั้งหมด จากเดิมที่ในซีรีส์ Y นั้นจะใช้งานพลาสติกในส่วนด้านล่างของตัวเครื่องส่วนที่เป็นฝาพับด้านหน้าจอนั้นจะเป็นอลูมิเนียมครับ
อีกจุดที่จะว่าเป็นข้อดีก็ได้หรือจะบอกว่าเป็นข้อเสียก็ไม่เชิงนั่นก็คือเรื่องความหนาและน้ำหนักของตัวเครื่องที่ค่อนข้างจะมากถ้าเปรียทเทียบกับคู่แข่งที่เป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่มีหน้าจออยู่ที่ 15.6 นิ้วครับ ด้วยน้ำหนักตัวเครื่องที่ 2.5 kg และความหนาที่ 25.8 mm นั้นทำให้มันค่อนข้างที่จะพกพาได้ไม่สะดวกเท่าไรนักแถมจะพูดไปแล้วทั้งน้ำหนักและความหนาขนาดนี้นั้นก็ไปใกล้เคียงกับเครื่องรุ่นที่มาพร้อมกับหน้าจอ 17.3 นิ้วเลยหล่ะครับ
ถึงแม้ว่าวัสดุจะถูกเปลี่ยนมาใช้แบบถูก แต่เรื่องของดีไซน์นั้นดูเหมือนกับว่าทาง Lenovo จะใส่ใจมาค่อนข้างดีครับ ไม่ว่าจะเป็นโค้งที่มุมของบานพับ(ระหว่างส่วนของหน้าจอด้านบนกับส่วนของคีย์บอร์ด) ถูกปรับปรุงใหม่ให้มีความสวยงามมากขึ้น การวางตำแหน่งของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ นั้นก็ลงตัวดีมีระยะห่างที่สวยงามและเวลาใช้งานนั้นพอร์ตที่อยู่ติดกันก็สามารถที่จะเสียบใช้งานอุปกรณ์ได้พร้อมๆ กัน ไม่เหมือนกับโน๊ตบุ๊คบางรุ่นที่จะไม่สามารถใช้งานพอร์ตที่ติดกันได้เนื่องจากมีพื้นที่น้อยเกินไปครับ
ระบบระบายความร้อนของ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยในที่นี้เราจะพูดถึงตำแหน่งลมเข้าออกตัวเครื่องซึ่งถูกประปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมของในรุ่น Y50 โดยบน Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นเมื่อใช้งานไปนานๆ ผู้ใช้จะสังเกตได้ครับว่าตรงบริเวณลมเข้าและออกจากตัวเครื่องนั้นจะไม่มีฝุ่นเกาะเหมือนกับในรุ่น Y50 นั่นเป็นเพราะตัวระบบกรองฝุ่นได้ถูกเอาออกไปทำให้ฝุ่นที่เข้ามาจะเข้าและออกไปทางส่วนที่ใบพัดระบายความร้อนออกครับ
สำหรับการออกแบบทางด้านใต้ในส่วนของคีย์บอร์ดและ Touchpad นั้น Lnovo ยังคงใช้การออกแบบแบบ soft-touch matte ทำให้การทำความสะอาดในส่วนของแป้นคีย์บอร์ดและ Touchpad สามารถที่จะทำความสะอาดได้ง่ายเช่นเดิม อย่างไรก็ตามแต่ในส่วนของ Touchpad นั้นได้รับการออกแบบมาใหม่ที่ลักษณะของส่วน Touchpad นั้นจะลาดเอียงลงเข้าไปหาปุ่มสำหรับคลิ๊ก ที่หากจะพูดไปแล้วนั้นก็เป็นการนำของเก่ามาผสมกับรูปแบบใหม่ซึ่งมันไม่เข้ากันแล้วและถือว่าการมีปุ่มสำหรับคลิ๊กเมาส์บน Touchpad นั้นเป็นเรื่องที่ล้าหลังไปแล้วหล่ะครับ
หมายเหตุ – และจากการออกแบบที่ยกของเก่ามารวมกับของใหม่นี้ ทำให้ตรงกลางของปุ่มคลิ๊กทั้ง 2 บน Touchpad ไม่สามารถที่จะใช้งานได้และด้วยดีไซน์ของมันนั้นก็ทำให้ทุกครั้งที่เผลอผู้ใช้(ในที่นี้คือผู้รีวิวของ LaptopMedia) พบว่าตัวเองจะนำนิ้วมือไปคลิ๊กที่ตรงกลางของปุ่มทั้ง 2 แถบจะทุกครั้งที่ใช้ Touchpad บน Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ครับ
อีกจุดที่ถือว่าเป็นเรื่องประหลาดก็คือตำแหน่งของปุ่ม Numpad ที่โดยปกติแล้วนั้นจะอยู่บริเวณด้านซ้ายบนของชุดปุ่ม Numpad แต่ทว่าบน Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นมันกลับมาอยู่ด้านล่างใกล้ๆ กับปุ่ม Enter ของคีย์บอร์ดหลัก(ตามรูปกลางทางด้านบน) ดังนั้นเมื่อใช้งานจริงแล้วจะพบว่าการกดปุ่ม Enter นั้นมักจะพลาดไปโดนปุ่ม Numpad บ่อยๆ ครับ(แถมปุ่ม Enter ก็ยังเล็กจนทำให้กดพลาดหลายครั้งด้วยหล่ะครับ)
หมายเหตุ – ท่ามกลางข้อเสียนั้นก็มีข้อดีอยู่บ้างตรงที่ทาง Lenovo ได้ใส่ปุ่มควบคุมโปรแกรมมีเดียมาให้แล้วครับ(กด FN แล้วตามด้วยตัวเลขที่ Numpad)
การออกแบบตัวเครื่องที่แค่เห็นก็รู้ว่าเป็นซีรีส์ Y
Disassembly, maintenance and upgrade
การแกะเครื่องนั้นสามารถที่จะทำได้ค่อนข้างง่ายครับ เมื่อแกะออกมาแล้วก็จะเห็นฮาร์ดแวร์หลายๆ ส่วนวางตัวอยู่เช่นที่เห็นได้ชัดเจนก็คือแหล่งเก็บข้อมูลทั้ง 2 ประเภทซึ่งสามารถที่จะไขน๊อตแล้วอัพเกรดได้ทันที ทางด้านบนของตัวเครื่องจะเห็นที่วางพัดลมระบายความร้อนอยู่ส่วนทางด้านล่างของตัวเครื่องนั้นจะเป็นแบตเตอรี่ที่มีความจุอยู่ที่ 45 Wh ครับ
หลังจากที่แกะออกมาแล้วนั้นจะพบกับฮาร์ดแวร์ในส่วนที่สามารถทำการอัพเกรดได้ทันทีอย่างแหล่งเก็บข้อมูลแบบ SATA ขนาด 2.5 นิ้วกับ M.2 ที่ทั้ง 2 ส่วนนี้แค่ไขเอาน๊อคออกก็สามารถที่จะทำการอัพเกรดได้ทันทีโดยไม่ต้องไปยุ่งกับส่วนอื่นๆ ครับ
สำหรับในส่วนของหน่วยความจำนั้นจะต้องถอดเอาที่ครอบออกก่อนจากนั้นก็จะเห็นหน่วยความจำโดยตัวเครื่องนั้นจะมี slot สำหรับหน่วยความจำมาให้จำนวน 2 slot ทำให้จริงๆ แล้วเราสามารถที่จะอัพเกรดหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 32 GB(แต่ในตัวเลือกของทาง Lenovo นั้นจะให้อัพได้สูงสุดที่ 16 GB และยังไม่แน่ชัดครับว่าถ้าผู้ใช้ไปอัพเกรดเองแล้วประกันจะหลุดหรือไม่)
Cooling system
ระบบระบายความร้อนของ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นมีทิศทางการไหลของลมที่ดีขึ้นจากเดิมพอสมควรครับ(อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่ามันสามารถที่จะจัดการกับฝุ่นที่ไหลเข้าและออกได้เป็นอย่างดี) แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่การจัดการเรื่องของทิศทางการไหลของลมเท่านั้นเพราะเมื่อแกะดูภายในเครื่องแล้วนั้นจะเห็นได้เลยครับว่าระบบระบายความร้อนของ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ยังคงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม(ดังนั้นแล้วเรื่องที่เปลี่ยนไปก็คือส่วนของที่ครอบซึ่งอยู่ด้านนอกที่ทำให้ทิศทางของลมดีขึ้นครับ)
ส่วนที่ใช้ในการพัดลมเข้าออกนั้นจะอยู่ที่บริเวณด้านหลังของตัวเครื่อง(ที่มีครีบระบายความร้อนเป็นทองแดงอยู่ โดยการเชื่อมต่อระหว่างส่วนของพัดลมนี้กับหน่วยประมวลผลและ GPU จะทำผ่าน heat pipe จำนวน 2 ท่อที่วางตัวยาวตั้งแต่ส่วนของ CPU เรื่อยมาจนถึงส่วนที่เป็นครีบระบายความร้อนทองแดงทางด้านหลังของตัวเครื่องครับ
Display quality
หน้าจอของ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นจะมีขนาด 15.6 นิ้วมาพร้อมกับความละเอียดสูงสุดที่ระดับ 1920 x 1080 pixels ใช้พาเนลแบบ IPS(AH-IPS) รุ่น LG Philips LP156WF6-SPK3 ความหนาแน่นของจุด pixels อยู่ที่ 142 PPI และขนาดความกว้างของจุด pixels ทั้ง 3 สีอยู่ที่ 0.18 x 0.18 mm pixel เมื่อมองในระยะช่วง 60 cm แล้วจะพบว่าหน้าจอนี้นั้นอยู่ในระดับ Retina ครับ
มุมมองของหน้าจอนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของสีสันเกิดขึ้นเมื่อมองหน้าจอที่ความลาดเอียงตั้งแต่ 45 องศาเป็นต้นไป แต่ในส่วนของการมองตรงแบบไม่มีเฉียงนั้นสามารถมองได้ตามปกติสูงถึง 178 องศาทั้งแนวตั้งและแนวนอนครับ
จุดที่น่าเสียดายก็คือเรื่องของความสว่างสูงสุดของหน้าจอที่ทำได้เพราะหน้าจอของ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) จะไม่สว่างไปมากกว่า 290 nits ในขณะที่ตรงกลางของหน้าจอนั้นจะสว่างสูงสุดที่ 268 nits อย่างไรก็ตามแต่แล้วที่ระดับความสว่างขนาดนี้นั้นก็ถือว่าทำได้ดีและสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีในที่ๆ มีแสงจากสิ่งแวดล้อมไม่มากจนเกินไปครับ
สำหรับเรื่องความถูกต้องของการแสดงสีสันของหน้าจอนั้น Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควรครับ แต่ตรงนี้ก็ต้องไม่ลืมครับว่า Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นเป็นโน๊ตบุ๊คที่เน่นเรื่องของการเล่นเกมเป็นหลักซึ่ง Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นสามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดีในเรื่องของสีที่จำเป็นต่อการมองเห็นครับ
เมื่อเปิด Gaming Profile แล้วนั้นจะพบว่าความสว่างของหน้าจอเพิ่มขึ้นจากเดิมซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีทีเดียวครับ
Response time ของหน้าจอนั้นพบว่าอยู่ที่ราวๆ 15.1 ms ซึ่งอย่างตกใจไปนะครับ เนื่องจากว่าการทดสอบดังกล่าวนี้เป็นแบบ “black-to-white” และ “white-to-black” ไม่ใช่การทดสอบแบบ GTG ทั่วไปดังนั้นค่าที่ออกมาขนาดนี้นั้นจึงถือว่าอยู่ในดกณฑ์ที่ดีครับ
หมายเหตุ – ค่าเฉลี่ย Response time แบบ BTW ของหน้าจอที่ดีคือต่ำกว่า 25 ms
Sound
เรื่องเสียงนั้นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ครับเพราะรุ่น Y ก่อนหน้านี้นั้นจะมาพร้อมกับ subwoofer ทางด้านล่างของตัวเครื่องด้วย แต่ว่าบน Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นไม่มีมาให้ดังนั้นแล้วเมื่อทดสอบในเรื่องของเสียง Legion Y520 (GTX 1050 Ti) จึงทำได้ไม่ดีเท่าไรนักในการแปล่งเสียงต่ำครับ(ส่วนเสียงสูงนั้นก็ทำได้พอๆ กับรุ่นพี่ของมันครับ)
Battery
อย่างหนึ่งที่ต้องบอกไว้ก่อนเลยนั้นก็คือเครื่องที่ทาง LaptopMedia ได้รับมาทดสอบนั้นมีพัดลมระบายความร้อนจำนวน 1 ตัวที่พัดไม่ยอมหยุดซึ่งน่าจะเกิดขึ้นมาจากความเสียหายที่เป็นไปได้ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ดังนั้นแล้วในเรื่องของอายุการใช้งานแบตเตอรี่นั้นทาง LaptopMedia จึงขอละไว้เนื่องจากว่าหากทดสอบไปแล้วนั้นจะไม่ได้ผลที่ถูกต้องครับ
Performance
ในการทดสอบประสิทธิภาพของ CPU นั้นเราได้เลือกการทดสอบบน Cinebench 11 ที่มีการเปรียบเทียบกับ CPU รุ่นเดียวกันกับ CPU รุ่นก่อนหน้าซึ่งพบว่าคะแนนของการทดสอบนั้นดีกว่า CPU รุ่น i7-6700HQ อยู่เล็กน้อย ซึ่งตรงนี้ก็สามารถที่จะอธิบายได้ว่าอาจจะเป็นเพราะ i7-7700HQ นั้นมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 2.8 GHz ซึ่งมากกว่ารุ่นเก่าอยู่ถึง 200 MHz ครับ
ในด้าน GPU นั้นเราขอยกการทดสอบ 3DMark Fire Strike (G) มาให้ดูซึ่งจะเห็นว่า Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ดีกว่าคู่แข่งอยู่ในระดับหนึ่งซึ่งตรงนี้ไม่แปลกเลยครับเพราะว่า GPU ที่ Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ใช้นั้นเป็นรุ่น GTX 1050 Ti ซึ่งมีสเปคสูงที่สุดในบรรดาเครื่องที่นำมาทดสอบเปรียบเทียบแล้ว จะน่าเสียดายก็ตรงทาง LabtopMedia ไม่ได้จับรุ่นที่มีสเปคเดียวกันมาชนกันนี่แหละครับ
หมายเหตุ – แต่รุ่นที่นำมาทดสอบนั้นราคาเฉลี่ยก็อยู่ใกล้ๆ กัน
สุดท้ายกับประสิทธิภาพในการเล่นเกมจะเห็นได้ครับว่า GTX 1050 Ti นั้นสามารถที่จะรันความละเอียด 1080p ได้อย่างสบายโดยที่คุณจะต้องปรับเอฟเฟคของตัวเกมให้อยู่ในระดับกลาง ถ้าเป็นเกมใหม่ๆ กว่าปี 2014 ขึ้นมานั้นจะเห็นได้ว่า GTX 1050 Ti เริ่มมีการกระตุกแล้วถ้าปรับเอฟเฟคไปเป็น Ultra หรือ Max ตรงจุดนี้ต้องเลือกเอาแล้วครับว่าคุณต้องการเล่นเกมแบบใด ถ้าอยากได้ frame rate มากกว่านี้เห็นทีต้องมอง GTX 1060 แทนครับ
Temperatures
ด้านความร้อนนั้น Legion Y520 (GTX 1050 Ti) ถือว่าทำได้ดีครับ โดยอุณหภูมิ ณ full load ของ GPU จะอยู่ที่ราวๆ 90 องศาเซลเซียส ส่วน GPU นั้นจะอยู่ที่ราวๆ 75 องศาเซลเซียส ซึ่งหลายๆ คนอาจจะบอกว่าสูงขนาดนี้มันดีตรงไหน ความดีของมันนั้นก็คือตัวระบบระบายความร้อนสามารถระบายความร้อนออกไปได้เร็วมาก คือใช้เวลาไม่ถึง 30 วินาทีดีความร้อนเฉลี่ยของทั้ง CPU และ GPU ก็จะลดลงมาอยู่ที่ราวๆ 30% – 45% ครับ
เนื่องจากอุณหภูมิดังกล่าวข้างต้นนั้นวัดจากภายในเครื่องทำให้อาจจะไม่ตรงกับความรู้สึกจริงที่ได้รับ งานนี้ทาง LaptopMedia ได้ทำการวัดอุณหภูมิของเครื่องด้านในตรงส่วนของคีย์บอร์ดและ Touchpad มาให้ดูด้วย(ตามรูป) โดยจะกรูปจะเห็นได้ครับว่าส่วนที่ร้อนที่สุดนั้นก็คือด้านตัวเลข Numpad ที่อยู่ราวๆ 44 องศาเซลเซียส ณ full load งานนี้เรียกว่าทำได้ดีกว่ารุ่นพี่อย่าง Ideapad Y700 อยู่พอสมควรเลยหล่ะครับ
สรุป
Lenovo Legion Y520 (GTX 1050 Ti) นั้นถือว่าคุ้มค่าคุ้มราคามากครับถ้าเทียบกับสิ่งที่ได้ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอยู่บ้างในเรื่องของหน้าจอที่ความสว่างอาจจะไม่มากและความถูกต้องของสีก็ไม่ได้ดีเท่าไรนัก แต่ต้องไม่ลืมว่าในเรื่องของการใช้งานเพื่อการเล่นเกมนั้นมันก็สามารถที่จะรองรับได้เป็นอย่างดี(และตัวหน้าจอที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหา แต่ว่าเวลาใช้งานจริงๆ ก็ดีกว่าหน้าจอพาเนล TN อยู่โขเลยครับ)
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือเรื่องของพัดลมระบายความร้อนที่ทาง LaptopMedia เจอตลอดการทดสอบว่าจะมีพัดลมอยู่ด้านหนึ่งที่ทำงานตลอดเวลาทำให้เกิดเสียงรบกวน โดยคาดว่าในรุ่นวางจำหน่ายจริงนั้นตรงนี้น่าจะได้รับการแก้ไขแล้ว ส่วนเรื่องอุณหภูมิภายในตัวเครื่องโดยเฉพาะตรงส่วนของ CPU และ GPU ที่เกือบจะถึง 100 องศาเซลเซียสนั้นเชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะกังวลว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะมีปัญหาหรือไม่ แต่ขอบอกไว้ตรงนี้เลยครับว่าไม่ต้องกังวัลไปเพราะขนาดเวลาเล่นเกมหนักๆ นั้นทั้ง CPU และ GPU ก็ไม่ได้ทำงานที่ 100% ตลอดเวลาเหมือนตอนทดสอบครับ
ข้อดี
- ตัวเครื่องมีความหนาแน่น งานประกอบแข็งแรง ดูทนทาน
- น้ำหนักเบากว่ารุ่นพี่พอดู
- คีย์บอร์ดและ Touchpad ให้ประสบการณ์ในการทำงานที่ดี(เมื่อใช้จนชิน)
- หน้าจอ IPS ในราคาที่ถูก คุณภาพของภาพที่ได้อยู่ในระดับที่ดี(แต่ก็ไม่ได้ดีมากเมื่อเทียบกับหน้าจอพาเนลแบบ IPS บนเครื่องราคาแพง)
- รองรับ M.2 PCIe NVMe SSDs
- ระบบระบายความร้อนมาพร้อมกับการไหลเวียนอากาศที่ดีกว่าเดิม แถมฝุ่นที่เกาะตรงตัวเครื่องมีปริมาณลดลง
ข้อเสีย
- หน้าจอต้องใช้ Pulse Width modulation (PWM) จาก 0 – 99% เพื่อที่จะขับให้มีความสว่างออกมามากที่สุด(ซึ่งปกติแล้วหน้าจอแบบ IPS ไม่จำเป็นต้องใช้ช่วงกว้างของมอดูเลทขนาดนี้)
- ระบบระบายความร้อนภายในไม่ได้ถูกดีไซน์ใหม่ ดังนั้นแล้วจึงทำให้เกิดปัญหาอุณหภูมิของ CPU สูงเมื่อใช้งานแบบ Full load แบบต่อเนื่อง
ที่มา : laptopmedia