นักวิทยาศาสตร์จาก Harvard University ได้ออกมาเผยข้อมูลงานวิจัยของพวกเขาครับว่าพวกเขานั้นใช้เวลากว่า 80 ปีในการที่จะบีบอัดไฮโดรเจนให้กลายเป็นโลหะตัวนำยิ่งยวดโดยใช้วีธีการเดียวกับการตีเพชร โดยทางทีมวิจัยนั้นได้บีบอีดแก๊ซไฮโดรเจนตัวอย่าง(เพราะในสภาวะปกตินั้นไฮโดรเจนจะมีสถานะเป็นก๊าซ) บีบอัดด้วยแรงดันสูงถึง 71,000,000 PSI มากกว่าแรงดันในแกนโลกจนทำให้เกิดไฮโดรเจนที่เป็นของแข็งและเป็นโลหะตัวนำยิ่งยวดครับ
ภาพจำลองการบีบอัดโดย Ranga Dias และ Isaac F. Silvera
เมื่อเราสามารถที่จะทำให้ไฮโดรเจนเป็นโลหะยิ่งยวดในสภาวะปกติได้นั้นก็จะทำให้เราได้ตัวนำไฟฟ้าที่ไร้ซึ่งความต้านทาน(เป็นตัวนำที่สามารถส่งผ่านกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและไม่มีการเสียประจุไฟฟ้าแม้แต่น้อย) จุดที่น่าสนใจนั้นก็คือหลังจากการบีบอัดที่ต้องใช้ทั้งความดันและความร้อนสูงมากๆ บีบอัดไฮโดรเจรจนเป็นโลหะได้แล้ว เมื่อทำการลดความร้อนและแรงดันลงกลับมาในสภาวะปกตินั้นพบว่าไฮโดรเจนนั้นยังคงสภาะวะแข็งตัวเช่นเดิมอยู่ครับ
การทดลองนี้นั้นนอกจากจะเป็นการทำให้เกิดโลหะตัวนำยิ่งยวดที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดีที่สุดในโลกแล้ว อีกทางหนึ่งนั้นมันยังเป็นการล้มข้อสมมุติฐานเก่าที่บอกเอาไว้ว่าแกนของเหลวของดาวพฤหัสจะถูกล้อมลอบด้วยชั้นของไฮโดรเจนที่หนาถึง 18,000 km กลายเป็นว่าจริงๆ แล้วนั้นดาวพฤหัสจะมีแกนของของเหลวมากกว่าเดิมโดยบริเวณของชั้นพื้นผิวจะมีไฮโดรเจนที่เริ่มกลายเป็นโลหะและแตกตัวผสมกันอยู่(จากแก๊ซไฮโดรเจนหรือ H2 เปลี่ยนเป็น H) ทำให้จริงๆ แล้วดาวพฤหัสจะมีชั้นของแข็งแค่ 7,000 km เท่านั้นครับ
ภาพแบบจำลองดาวพฤหัสจาก NECTEC
อย่างไรก็ตามแต่ในทางทีมวิจัยได้บอกเอาไว้ว่าสถาวะการเป็นโลหะยิ่งยวดของไฮโดรเจนไม่ได้อยู่ยาวนานมากนัก เพราะหลังจากที่นำออกจากแรงดันมหาศาลได้ไม่นานถึงไฮโดรเจนจะเป็นโลหะอยู่แต่มันก็จะศูนย์เสียสภาวะการเป็นตัวนำยิ่งยวดไป ดังนั้นแล้วทางทีมวิจัยบอกว่าคงจะต้องใช้เวลาต่อไปอีกสักพักในการคงสภาะโลหะยิ่งยวดเอาไว้ให้ได้ เมื่อถึงเวลานั้นเราก็จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหย่ในเรื่องของไฟฟ้ากันหล่ะครับ
ที่มา : engadget