ถ้าพูดถึงโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 13 นิ้วในช่วงเวลานี้แล้วนั้นคงต้องยกให้ Dell XPS 13 9360 และ MacBook Pro 13 2016 เป็นชื่อแรกๆ ที่หลายๆ คนอยากจะได้มาไว้ใช้งานหล่ะครับ อย่างไรก็ตามแต่นั้นในช่วงกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ผู้ผลิตจากประเทศจีนชื่อดังอย่าง Xiaomi(ที่มีชื่อเสียงล่ำลือไม่ค่อยจะดีนักว่าเป็นนักก๊อปปี้ตัวฉกาจ) ได้ทำการส่ง Xiaomi Mi Air ลงสู่ตลาดด้วยเช่นกันและด้วยความที่เป็น Xiaomi นั้นทำให้ราคาของ Mi Air ถูกกว่าคู่แข่งหลายเท่าครับ
และสำหรับโอกาสดีๆ ก่อนที่จะถึงเทศกาลซื้อของขวัญนั้นมาดูกันดีกว่าครับว่าโน๊ตบุ๊คหน้าจอขนาด 13 นิ้วทั้ง 2 รุ่นที่เป็นตัวเลือกอยู่ในใจของใครๆ หลายๆ คนนั้น แต่ละรุ่นมีสเปคเป็นอย่างไร เมื่อเอามาเทียบกันแล้วแบบหมัดต่อหมัดใครจะอยู่จะไป คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายหรือไม่ เพื่อว่าในช่วงคริสต์มาสนี้ทุกๆ ท่านจะได้มีแนวทางในการซื้อของขวัญเป็นเครื่องโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่กันครับ
ทั้งนี้โน๊ตบุ๊คของ Dell และ Apple นั้นมีหลายโมเดลแต่ละโมเดลที่นำมาประชันกันในครั้งนี้คือ
- Xiaomi Mi Air
- Dell XPS 13 9360 Full HD i5 (โดยของ Dell นั้นจะมีโมเดล XPS 13 9360 QHD i7 กับ XPS 13 9360 QHD i5 อยู่ด้วยดังนั้นเวลาซื้ออย่าสับสนนะครับ)
- Apple MacBook Pro 13 Touch Bar (โดยของ Apple นั้นจะมีโมเดล MacBook Pro 13 without Touch Bar ให้เลือกด้วยครับ)
Design & Case
Xiaomi Mi Air
สำหรับเรื่องตัวเคสของทั้ง 3 รุ่นที่นำมาประชันกันนี้นั่นค่อนข้างที่มีคุณภาพที่คล้ายคลึงกันอย่างมากคืออยู่ในระดับปานกลางสำหรับโน๊ตบุ๊คแม้แต่ Xiaomi Mi Air ที่มีราคาถูกกว่ารุ่นอื่นที่นำมาประชันกันทั้งหมดก็มีคุณภาพไม่ได้แตกต่างไปจากรุ่นอื่นๆ สักเท่าไรนักครับ หากจะว่ากันตามจริงแล้วนั้น Mi Air ค่อนข้างที่จะได้รับแรงบันดาลใจในส่วนของตัวเคสมาจาก Apple มาพอดู สิ่งที่ Mi Air แตกต่างไปจากเครื่องของ Apple และ Dell นั้นก็คือถึงแม้ว่าตัวเคสจะเป็น unibody aluminum ที่ส่วนฐาน ทว่าที่ฝาปิดหน้าจอนั้นวัสดุที่ใช้ดูด้อยคุณภาพมากกว่าและค่อนข้างที่จะบิดได้ง่านหากลงแรงมากไปครับ
Dell XPS 13 9360
อย่างไรก็ตามในเรื่องของการออกแบบโดยรวมแล้วนั้น Dell XPS 13 9360 ดูสวยงามและมีระดับมากกว่ารุ่นอื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากส่วนของหน้าจอที่ใช้ดีไซน์ในรูปแบบ Infinity Edge(ขอบหน้าจอบางจนเกือบจะไร้ขอบ) แถมส่วนของฝาเปิดปิดหน้าจอก็ยังคงใช้อลูมิเนียมผสมเพิ่มความแข็งแกร่งร่วมกับคาร์บอนไฟเบอร์ซึ่งแน่นอนครับว่ามันจะทำให้ส่วนของฝาหน้าจอนั้นต้านทานแรงบิดที่เกิดขึ้นจากตอนที่คุณเปิดหน้าจอขึ้นได้เป็นอย่างมาก ที่สำคัญที่สุดแล้ว Dell ใส่ใจในเรื่องของดีไซน์จนคุณแทบจะมองไม่ออกเลยครับว่ามีการเปลี่ยนวัสดุอยู่บนฝาเปิดหน้าจอ
Apple MacBook Pro 13 2016
เรื่องดีไซน์ตัวเครื่องนั้นสำหรับ Apple แล้วคงต้องบอกเลยหล่ะครับว่าค่อนข้างที่จุมีจุดเด่นจนมองออกทันทีว่าเป็น Apple(ทว่าถ้าวางเทียบกับ Mi Air แบบปิดเครื่องแล้วมองจากด้านบนนั้นถ้าไม่มีสัญลักษณ์รูป Apple ก็แทบจะมองไม่ค่อยออกครับ) ความลงตัวทางด้านดีไซน์ของ Apple นั้นจัดว่าโอเคเลยครับ แต่เมื่อเอาไปเทียบกับ Dell XPS 13 9360 แล้วนั้นคงต้องยอมรับหล่ะครับว่าเรื่องของความสวยงามและความลงตัวนั้น Dell XPS 13 9360 ดูจะได้เปรียบมากกว่ามาก(โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับดีไซน์ในรูปแบบ Infinity Edge)
เมื่อนำตัวเครื่องมาวางเทียบกันแล้วนั้นจะพบว่าขนาดตัวตัวเครื่องจะต่างกันน่อยมากๆ ในระดับมิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งเครื่องที่มีขนาดเล็กสุดนั้นเป็น Dell XPS 13 9360 ที่ได้ผลประโยชน์จากดีไซน์หน้าจอในรูปแบบ Infinity Edge ไปเต็มๆ นอกไปจากนั้นน้ำหนักโดยรวมของตัวเครื่องก็น้อยกว่าคู่แข่งด้วย ทว่าที่น่าแปลกใจก็คือ Apple MacBook Pro 13 2016 นั้นกลับมีขนาดและน้ำหนักมากที่สุดในบรรดาโน๊ตบุ๊คทั้ง 3 ตัวนี้ แต่ว่ากระนั้นแล้ว Apple MacBook Pro 13 2016 ก็ยังถือว่ามีขนาดที่บางและเบามากกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปอยู่ดีครับ
Connectivity
คงไม่สามารถที่จะปฎิเสธได้เลยหล่ะครับว่าพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ ของตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คนั้นส่งผลต่อเรื่องของความบางของโน๊ตบุ๊คด้วยเช่นเดียวกัน ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือเรื่องของพอร์ตนั้นบางทีก็เป็นหนึ่งในข้อกำหนดในการตัดสินใจของผู้ซื้อด้วยหล่ะครับว่าจะสนใจโน๊ตบุ๊ครุ่นนั้นมากน้อยแค่ไหน ตรงจุดนี้นั้น Apple MacBook Pro 13 2016 ดูเหมือนกับว่าจะทำคะแนนได้ไม่ดีเท่าไรเพราะการเลือกสนับสนุนอนาคตมากกว่าปัจจุบันดังนั้น MacBook Pro 13 2016 จึงมีแค่พอร์ต USB Type-C ที่เป็น Thunderbolt 3 ในตัวมาด้วยเท่านั้น
Apple MacBook Pro 13 2016
เช่นเดียวกันกับ Apple MacBook Pro 13 2016 ที่ไม่รู้ว่าทาง Xiaomi เองนั้นได้แรงบันดาลใจจาก Apple มากเกินไปรึเปล่าเพราะว่า Mi Air นั้นมีพอร์ตการใช้งานปกติทั้งหมดเว้นแค่ SD Card reader ซึ่งเป็นหนึ่งในพอร์ตที่ผู้ใช้งานระดับมืออาชีพ(โดยเฉพาะช่างภาพ) ไม่สามารถที่จะขาดไปได้เลย ส่วนเรื่องการรองรับอนาคตนั้น Mi Air ก็ให้มาแค่ USB Type-C สำหรับชาร์จเครื่องเท่านั้นไม่ได้รองรับ Thunderbolt 3 ในตัวด้วยอีกต่างหาก ทว่าจุดเด่นของ Mi Air นั้นคงหนีไม่พ้นเรื่องของการที่มาพร้อมกับพอร์ต HDMI ด้วยในขณะที่คู่แข่งนั้นไม่มีพอร์ต HDMI มาให้ครับ
Xaiomi Mi Air
ในทางกลับกันแล้วนั้น Dell XPS 13 9360 สามารถที่จะรองรับเรื่องพอร์ตได้ดีกว่าคู่แข่งเพราะพี่ท่านจัดพอร์ตมาให้แบบเต็มพิกัดโดยที่ตัวเครื่องของ XPS 13 9360 เองนั้นก็ไม่ได้หนาไปกว่าคู่แข่งแต่อย่างใด เรียกได้ว่าถ้าจะมีโน๊ตบุ๊คเครื่องไหนที่มาพร้อมดีไซน์บางเฉียบและรองรับการใชข้งานในปัจจุบันกับอนาคตมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น XPS 13 9360 นี่แหละครับ เสียดายที่ Dell ดันมาตกม้าตายกับการไม่มีพอร์ต HDMI มาให้เลยทำให้ผู้ใช้ที่เป็นนักธุรกิจซึ่งต้องพรีเซนต์งานบ่อยๆ นั้นอาจจะต้องคิดหนักกันหน่อยหล่ะครับ
Dell XPS 13 9360
โดยรวมแล้วนั้นโน๊ตบุ๊คทั้ง 3 รุ่นที่นำมาประชันกันนี้ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปในเรื่องของพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีมาให้ครับ อย่างำรก็ตามสำหรับ Apple MacBook Pro 13 2016 อาจจะด้อยกว่าเพื่อนอยู่หน่อยเพราะหากคุณต้องการใช้พอร์ตเชื่อมต่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ USB Type-C(ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าผู้ใช้มากกว่า 99% ในปัจจุบันนั้นต้องใช้พอร์ตอื่นด้วย) คุณจะต้องทำการซื้อ Docking มาเพื่อใช้งานด้วยซึ่งแน่นอนว่านั่นคืองบประมาณที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากค่าตัวเครื่องหล่ะครับ
Input Devices
Dell XPS 13 9360
มาถึงเรื่องอุปกรณ์สำหรับใส่ข้อมูลอย่างคีย์บอร์ดและ Touch Pad บ้างครับ ที่ต้องขอบอกเลยจริงๆ ว่า Dell XPS 13 9360 นั้นแตกต่างไปจากคู่แข่งได้อย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นการจัดวางตำแหน่างของคีย์บอร์ด พร้อมด้วยพื้นผิว matte black ที่เมื่อมองแล้วนั้นพบว่าแตกต่างจากคู่แข่งอย่างทันทีทันใด ทว่าจุดด้อยของมันก็คือการพิมพ์ที่ค่อนข้างจะยกเนื่องจากว่าปุ่มบนคีย์บอร์ดค่อนข้างที่จะวางอัดแน่นกันพอสมควร ส่วน Touch Pad นั้นก็ใช้งานในระดับที่พอใช้ได้ ไม่ได้ดีหรือเลวร้ายอย่างใดครับ
Xiaomi Mi Air
Apple MacBook Pro 13 2016
สำหรับ Xiaomi Mi Air กับ Apple MacBook Pro 13 2016 นั้นบอกเลยครับว่าถ้าสีของแป้นคีย์บอร์ดและขนาดของ Touch Pad ไม่ต่างกันแล้ว เผลอๆ ผู้ใช้อาจจะคิดว่ามันเป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นเดียวกันแค่ต่างสีกันเท่านั้น อย่างไรก็ตามถึงจะเหมือนกันก็ใช่ว่าจะใช้งานได้ง่ายเหมือนกันนะครับ ด้วยความที่คีย์บอร์ดและ Touch Pad ของ MacBook Pro 13 2016 นั้นเป็นรุ่นที่ 2 ได้ที่รับการอัพเกรดมาจาก MacBook 12 2015 ซึ่งรองรับกับโน๊ตบุ๊คที่มีพื้นที่วางคีย์บอร์ดน้อยทำให้เวลาใช้งานนั้นง่ายกว่า แถม Touch Pad ที่ใหญ่นั้นก็สามารถใช้งานสะดวกในทุกๆด้านครับ
Display
พูดถึงเรื่องของหน้าจอแล้วนั้นดูเหมือน Xiaomi Mi Air กับ Apple MacBook Pro 13 2016 จะด้อยกว่าทาง Dell XPS 13 9360 ครับ ไม่ว่าจะเป็นการที่ทาง Xiaomi และ Apple ไม่มีตัวเลือกความละเอียดของหน้าจอมาให้ผู้ใช้ได้ปรับแต่ง รวมไปถึงการเคลือบหน้าจอแบบมันเงาที่จะสะท้อนเงาได้มากกว่าหน้าจอแบบด้าน แต่ถึงกระนั้นแล้วด้วยขนาดของหน้าจอที่ 13 นิ้วนั้นทำให้ความละเอียดที่ระดับ Full HD นั้นก็สามารถที่จะรองรับการมองโดยไม่ค่อยเห็นจุด pixels ได้อย่างสบายๆ(ถ้าไม่ไปเพ่งมากเกินไปแบบใกล้ๆ นะครับ)
Xiaomi Mi Air Dell XPS 13 9360 Apple MacBook Pro 13 2016
สำหรับเรื่องหน้าจอนั้นเอาตามจริงแล้วคงไม่สามารถเอา Mi Air และ XPS 13 9360 ไปเทียบกับ MacBook Pro 13 2016 ได้ครับเนื่องจากว่าความละเอียดของหน้าจอนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อใช้งานจริงๆ แล้วนั้นจะพบว่า MacBook Pro 13 2016 ดูดีกว่าเพื่อ(เว้นถ้าเอาไปเทียบกับ Dell รุ่นหน้าจอความละเอียด QHD ก็เป็นอีกเรื่อง) โดยในส่วนของ Mi Air และ XPS 13 9360 นั้นจะใช้หน้าจอต่างยี่ห้อกันทำให้เรื่องการแสดงผลก็แตกต่างกันไปด้วยซึ่งหน้าจอของ Mi Air นั้นจะมีความกว้างของสีและความถูกต้องในการแสดงสีกับมากกว่า XPS 13 9360 ครับ
ในเรื่องของความสว่างของหน้าจอนั้นคงต้องยกให้ MacBook Air 13 2016 เผ็นผู้นำอย่างเต็มประตูโดยพบว่าความสว่างของหน้าจอ MacBook Pro 13 2016 มากกว่าคู่แข่งเกือบครึ่ง แต่นั่นก็กลายเป็นผลเสียเหมือนกันเนื่องจากทำให้ระดับการแสดงสีดำและ Contrast นั้นต่ำกว่าคู่แข่งแบบเห็นได้ชัด จะยังมีอีกส่วนที่หน้าจอของ MacBook Pro 13 ชนะไปได้อย่างชิวๆ นั่นก็คือความกว้างของสีแบบ sRGB ที่อยู่ที่ 99.3% และ AdobeRGB ที่อยู่ที่ 78.4% ครับ
หมายเหตุ – เหลือเชื่อที่หน้าจอของ Mi Air นั้นรองรับช่วงกว้างของสีทั้ง sRGB และ AdobeRGB ได้สูงกว่า XPS 13 9360 ครับ
ในการใช้งานนอกสถานที่ในที่ที่มีแสงจ้านั้น MacBook Pro 13 2016 สามารถที่จะทำได้ดีที่สุดด้วยอานิสงส์ของความสว่างหน้าจอที่เกิน 500 nits ในขณะที่คู่แข่งนั้นอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ 300 กว่าๆ เท่านั้น มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียครับเพราะจากการทดสอบนั้นพบว่าหน้าจอของ MacBook Pro 13 2016 นั้นมีอัตรา response times ที่ค่อนข้างจะต่ำมากซึ่งหากคุณคุ้นเคยกับหน้าจอที่มี response times สูงหล่ะก็คุณอาจจะสามารถเจออาการ ghosting บนหน้าจอของ MacBook Pro 13 2016 ได้ครับ
หมายเหตุ – ในการทดสอบครั้งนี้มีแต่หน้าจอของ Mi Air เท่านั้นที่สามารถวัดค่าพลังงานในการใช้งานออกมาได้ซึ่งอยู่ที่ราวๆ 50 W โดยหากพิจารณาแล้วนั้นจะพบว่าอัตราการใช้พลังงานในระดับนี้ค่อนข้างสูงดังนั้นเรื่องอายุการใช้งานแบตเตอรี่เมื่อเปิดความสว่างของหน้าจอมากๆ อาจจะน้อยลงค่อนข้างมากตรงนี้ผู้ใช้ต้องระวังไว้ให้ดีครับ
Performance
หมายเหตุ – สำหรับ Desl XPS 13 9360 ในแถวที่ 3 นั้นจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Core i7-7500U ครับ
มาดูกันที่ประสิทธิภาพของตัวเครื่องกันบ้างครับ โดยหากดูจากตารางของสเปคแต่ละเครื่องทางด้านบนแล้วจะเห็นได้ว่าแต่ละเครื่องก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป Mi Air มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลที่ดูด้อยที่สุดทว่าก็แทนที่ด้วยกราฟิกชิปที่มีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นอื่น ส่วน Macboo Pro 13 2016 นั้นถึงแม่ว่าจะมาพร้อบกับหน่อยประมวลผลสถาปัตยกรรม Skylake ทว่าความเร็วสัญญาณนาฬิกาฐานก็มากกว่า กลับกันกับ XPS 13 9360 ที่ถึงจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake แต่ทว่าในส่วนของความเร็วสัญญาณนาฬิกาฐานก็น้อยกว่าครับ
หมายเหตุ – หน่วยความจำของทุกรุ่นนั้นจะมีขนาดเท่ากันคือ 8 GB ทว่ารุ่นของหน่วยความจำและความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยความจำต่างกันครับ
หมายเหตุ 2 – หน่วยประมวลผลของโน๊ตบุ๊คทั้ง 3 รุ่นต่างก็เป็นหน่วยประมวลผลที่เน้นเรื่องการประหยัดพลังงานเป็นหลัก(ลงท้ายด้วยรหัส U)
CPU Performance
ปลการทดสอบนั้นเป็นไปตามปกติครับดังจะเห้นได้ว่าหน่วยประมวลผลที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกามากกว่า(ซึ่งก็คือหน่วยประมวลผลบน MacBook Pro 13 2016) จะสามารถเอาชนะไปได้เกือบจะทุกๆ ในการทดสอบ เว้นแต่ในส่วนของบางการทดสอบที่หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake ที่อยู่บน Dell XPS 13 9360 i7 สามารถที่จะเอาชณะไปได้(ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการทดสอบที่เน้นเรื่องการประมวลผลในรูปแบบของ multi-threads เป็นหลัก)
GPU Performance
ต่อกับการทดสอบอีกหนึ่งการทดสอบกับการทดสอบความแรงของการ์ดจอซึ่งจากคะแนนนั้นเป็นไปดังความคาดหมายครับเนื่องจากว่า Mi Air ที่มาพร้อมกับ GeForce 940MX นั้นสามารถที่จะเอาชนะไปได้ในเกือบทุกๆ การทดสอบ ทว่าสิ่งที่น่าแปลกใจก็คือกราฟิกแบบฝังอย่าง Iris Graphics 550 บน MacBook Pro 13 2016 นั้นก็สามารถที่จะตามติด GeForce 940MX มาได้ติดๆ แถมในบางการทดสอบก็สามารถที่จะเอาชนะไปได้ด้วยอีกซะงั้น อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีในบางการทดสอบที่ HD Graphics 620 บน XPS 13 9360 สามารถเอาชนะ MacBook Pro 13 2016 ไปได้ครับ
หมายเหตุ – แน่นอนว่างานนี้กราฟิกแยกอย่าง GeForce 940MX น่าจะเหมาะกับการเล่นเกม 3 มิติแบบชิวๆ ได้ดีกว่าเพื่อน แต่ถ้าจะนำมาเล่นเกมหนักๆ หล่ะก็แนะนำให้มองรุ่นอื่นจะดีกว่าครับ
Stress Test
Xiaomi Mi Air
Dell XPS 13 9360 Core i5
Apple MacBook Pro 13 2016
สำหรับการทดสอบความเครียดในการใช้งานด้วยการรันโปรแกรมที่ต้องใช้ CPU และ GPU แบบหนักๆ เพื่อดูผลว่าตัวเครื่องนั้นสามารถรองรับกับการใช้งานหนักๆ ได้ในระดับไหนนั้น ทาง NotebookCheck ได้ใช้โปรแกรมทดสอบ 2 อย่างคือ Prime95 และ FurMark เปิดรันพร้อมกันแล้วดูผลเพื่อสรุปด้วยโปรแกรม HWiNFO ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมากๆ ครับที่ MacBook Pro 13 2016 กับ Mi Air นั้นตัวโปรแกรม HWiNFO ไม่สามารถที่จะทำการเผยข้อมูลในส่วนของความเร็วสัญญาณนาฬิกาของตัว GPU ภายใต้ภาวะการใชเงานออกมาได้
เพื่อให้สามารถที่จะวัดความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ MacBook Pro 13 2016 กับ Mi Air ออกมาได้นั้นทาง NotebookCheck จึงได้ทำการรันโปรแกรม CineBench วนรอบ 10 ครั้งเพื่อดูความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่มั่นคงที่สุดแทน จุดที่น่าสนใจในการทดสอบก็คือ Core i5-6200U สามารถที่จะรันที่ความถี่สัญญาณนาฬิการตามสเปค Turbo Boost ที่ 2.7 GHz ขณะรัน Prime95 ได้ส่วน Core i5-7200U กลับรันได้แค่ที่ 1.4 GHz เท่านั้นทั้งๆ ที่เป็นหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมใหม่กว่าอย่าง Kaby Lake ครับ
Emissions & Energy
Xiaomi Mi Air Dell XPS 13 9360 Apple MacBook Pro 13 2016
อีกหนึ่งผลการทดสอบที่เชื่อว่าผู้ใช้งานในบ้างเรานั้นนิยม(และควร) ให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือเรื่องของเสียงระบบระบายความร้อนในการใช้งานรวมไปถึงความร้อนสะสมของตัวเครื่องเวลาใช้งานครับ ด้วยความที่บ้านเราเป็นเมืองร้อนดังนั้นหากไม่ได้ใช้งานในห้องแอร์แล้วหล่ะก็โน๊ตบุ๊คของคุณอาจจะกลายเป็นเครื่องทำความร้อนขนาดพกพาได้ยิ่งกว่าสมาร์ทโฟนเลยทีเดียว ดังนั้นแล้วเรื่องนี้นั้นก็ควรจะต้องใส่ใจกันหน่อยหล่ะครับ ว่าแล้วก็ไปติดตามกันเลยดีกว่าครับ
System Noise & Temperature
Dell XPS 13 9360
Apple MacBook Pro 13 2016
ในเรื่องของความร้อนสะสมนั้นสำหรับค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของตัวเครื่องในขณะใช้งานจะพบว่า XPS 13 9360 นั้นมีความร้อนสะสมมากที่สุดในขณะที่ MI Air และ MacBook Pro 13 2016 นั้นสามารถที่จะทำความร้อนเฉลี่ยขณะใช้งานได้ดีกว่า แต่เมื่อเจาะไปที่อุณหภูมหน้าผิวสัมผัสแล้วนั้นจะพบว่า Mi Air มีความร้อนสะสมในวงกว้างมากที่สุดและร้อนมากสุดคืออยู่ที่ 50 องศาเซลเซียล
กลับกันแล้ว XPS 13 9360 จะมีความร้อนสะสมโดยรวมอยู่แถวพัดลมระบายอากาศด้วยอุณหภูมิสะสมที่ 49 องศาเซลเซียส ส่วน MacBook Pro นั้นทำได้ดีที่สุดโดยความร้อนสะสมจะอยู่ใกล้พัดลมระบายอากาศค่อนข้างมากและความร้อนสะสมสูงสุดอยู่ที่ 45 องศาเซลเซียสครับ ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวดูแล้วไม่แปลกใจเท่าไรครับเนื่องจากต้องไม่ลืมว่า Mi Air นั้นมาพร้อมกัยกราฟิกชิปแยกด้วยครับ
เรื่องเสียงจากการระบายความร้อนนั้นจะสลับกับความร้อนสะสมเล็กน้อยครับเพราะ XPS 13 9360 นั้นจะมีเสียงรบกวนน้อยที่สุด โดยถึงแม้ว่าจะเป็นรุ่น Core i7-7500U ก็ยังคงมีเสียงรบกวนขณะระบายความร้อนค่อนข้างน้อย ที่ตามมาติดๆ นั้นจะเป็น MacBook Pro 13 2016 ที่ระดับเสียงรบกวนไม่ได้ไกลกันมากเท่าไรนักจนทำให้สามารถที่จะฟังออก ส่วนที่แย่ที่สุดนั้นเป็น Mi Air ที่เมื่อใช้งานแบบเต็มที่จะมีเสียงรบกวนตอนระบายความร้อนถึง 41.7 db แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เหมือนอุณหภูมครับที่ต้องไม่ลืมว่า Mi Air มาพร้อมกับชิปกราฟิกแยกที่ถึงจะไม่ได้ใช้งาน ณ เวลานั้นแต่ก็มีความร้อนเกิดขึ้นครับ
Power Consumption
ต่อกันมที่อัตราการใช้พลังงานที่ผลออกมาแล้วไม่ได้แปลกไปจากความเป็นจริงเท่าไรครับ โดยรวมแล้ว Mi Air จะใช้พลังงานมากกว่าเนื่องจากมีกราฟิกการ์ดแบบแยกคือ GeForce 940MX ตามมากับ MacBook Pro 13 2016 ที่ใช้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Skylake ที่มาพร้อมกับความเร็วสัญญาณนาฬิกาฐานที่สูงกว่าเพื่อนคือ 2.9 GHz(และไปไกลถึง 3.3 GHz ที่ Turbo Boost) ส่วน Dell XPS 13 9360 ทั้ง i5 และ i7 นั้นก็สามารถทำได้ดีตามมาตรฐานของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake ซึ่งน้อยกว่าสถาปัตยกรรม Skylake ที่อยู่บนคู่แข่งหล่ะครับ
หมายเหตุ – อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ MacBook Pro 13 2016 มีอัตราการใช้พลังงานพอๆ กับ Mi Air นั้นก็เพราะกราฟิกแบบฝังอย่าง Iris Graphics 550 ที่แรงพอๆ กันครับ
Battery Life
ปิดท้ายกันด้วยผลการทดสอบอายุการใช้งานแบตเตอรี่ซึ่งในการทดสอบนี้นั้น Dell XPS 13 9360 i5 ชนะไปได้แบบใสๆ ด้วยความที่แบตเตอรี่นั้นมีความจุมากกว่าเช่นเดียวกันกับโมเดล i7 ที่มาตกม้าตายแพ้ Apple MacBook Pro 13 2016 ไปเล็กน้อย ส่วน Mi Air นั้นด้วยความที่แบตเตอรี่ความจุก็น้อยกว่าอยู่แล้วแถมพี่ท่านยังมาพร้อมชิปกราฟิกแบบแยกอีกต่างหากดังนั้นอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยรวมก็เลยน้อยไปกว่าคู่แข่งอย่างเสียมิได้ จะมีที่ชณะได้ก็คือตอน Full Load ที่ทาง MacBook 13 Pro 2016 เอาบ๊วยไปครองเพราะดับมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงกว่าเพื่อนครับ
สรุป
ในการประชันกันครั้งนี้นั้นบอกได้เลยครับว่าไม่มีใครแพ้ใครชณะกันได้แบบเป็นเอกฉันท์เพราะต่างก็เอาชนะกันไปมาในแต่ละการทดสอบ ดังนั้นแล้วหากจะพูดว่าเครื่องไหนกันแน่ที่ดีที่สุดนั้นคงจะเป็นไปได้ค่อนข้างยากพอดู ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดแล้วการใช้งานของแต่ละเครื่องนั้นก็ดูเหมือนกับว่าจงใจที่จะมีเป้าหมายของระดับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันไปอีกงานนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับท่านๆ แล้วหล่ะครับว่าอยากจะได้โน๊ตบุ๊คเครื่องไหนมาก่อน อย่างไรก็แล้วแต่ก่อนจากกันนั้นเรามีข้อดีข้อเสียของแต่ละรุ่นมาบอกให้ทุกท่านเพื่อที่จะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินใจครับ
Xiaomi Mi Air
ข้อดี
- ดีไซน์มาพร้อมกับความบาง
- เคสเป็นอลูมิเนียมที่ดูแล้วแข็งแรง
- มาพร้อมกับพอร์ต HDMI แบบ Full-size
- หน้าจอรองรับความกว้างของสีค่อนข้างมากแถมยังมี response times ที่เร็ว
- มาพร้อมกับกราฟิกแยกอย่าง GeForce 940MX
- ราคาถูกกว่าคู่แข่ง
ข้อเสีย
- ความกว้างแล้วยาวมากกว่าคู่แข่งพอดู
- ดีไซน์ดเครื่องดูแล้วไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง
- ไม่ได้มาพร้อมกับ Thunderbolt 3 และ SD Card reader
- ปุ่ม Clickpad ใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง
- อัตราการใช้พลังงานสูงขึ้นมากเมื่อปรับความสว่างของหน้าจอเพิ่มขึ้น
- ใช้พลังงานสูงแต่ดันมาพร้อมกับแบตเรอี่ความจุน้อยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่โดยรวมต่ำ
- ตัวเครื่องค่อนข้างที่จะมีอุณหภูมิสะสมมากและสูง
- รับบระบายอากาศสร้างเสียงรบกวนค่อนข้างสูง
- ไม่มีตัวเลือกหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake
Dell XPS 13 9360
ข้อดี
- มีพอร์ตการเชื่อมต่อรองรับปัจุบันและอนาคตเป็นอย่างดี
- วัสดุที่ใช้ทำเคสมีความทนทานสูง
- ตัวเครื่องมีความกล่าวและยาวน้อยที่สุด
- มีตัวเลือกทั้งในส่วนของความละเอียดหน้าจอและหน่วยประมวลผลให้ผู้ใช้ได้เลือก
- ระบบระบายความร้อนมีเสียงรบกวนต่ำ
- ใช้พลังงานค่อนข้างต่ำแต่ให้แบตเตอรี่ความจุมาสูงอายุการใช้งานโดยรวมจึงสูงกว่าคู่แข่ง
ข้อเสีย
- ไม่มีพอร์ต HDMI
- ปุ่ม Clickpad ใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง
- ชิปกราฟิกคุณภาพต่ำ(เหมาะแค่พอใช้งานในระดับเบื้องต้นเท่านั้น)
Apple MacBook Pro 13 2016
ข้อดี
- ตัวเคสเครื่องสวยงามดูแล้วดึงดูดสายตา
- Touch Pad ใหญ่ทำให้การใช้งานง่ายและสะดวก
- มีตัวเลือกเครื่องรุ่นที่มาพร้อมกับ Touch Bar
- หน้าจอสว่างมากแถมรองรับช่วงกว้างของสีแบบ sRGB ได้ดีที่สุดในเครื่องรุ่นที่นำมาประชันกัน
- หน่วยประมวลผลมีประสิทธิภาพสูง(แต่ว่าก็ต้องแรกมากับอัตราการความร้อนที่สูงตามไปด้วย)
- มาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบฝัง Intel Iris ที่ประสิทธิภาพสูงพอตัว
ข้อเสีย
- ไม่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบอื่นนอกเหนือไปจาก USB Type-C ทำให้ผู้ใช้จำเป็นต้องซื้อ Docking เพิ่ม
- ไม่มีตัวเลือกหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Kaby Lake
- มีอัตราการใช้พลังงานสูงเมื่อเครื่องต้องทำงานหนักมากๆ
- หน้าจอมี response times ต่ำ
- ราคาสูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
ที่มา : notebookcheck