เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาหน่วยงานจัดการสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าในประเทศสหรัญอเมริกา ได้มีการอณุมัติสิทธิบัตรแนวคิดการสร้างเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเลเซอร์และนิวเคลียร์ในการขับเคลื่อนให้กับบริษัท Boing โดยมีผู้เกี่ยวข้องสามคนได้แก่ Robert Budica, James Herzberg และ Frank Chandler
เทคโนโลยีทางการบินได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา Boeing ได้เปิดตัวเครื่องใหม่นามว่า Boeing 787 Dreamliner ที่ผสานเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโลกเข้าด้วยกัน โดยมีความโดดเด่นในการออกแบบปีกเครื่องบินใหม่ให้มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพตามหลักอากาศพลศาสตร์ที่สูงขึ้น ทำให้เครื่องบินมีความโดดเด่นและงดงามมากยิ่งขึ้น ในส่วนของเครื่องยนต์แบบ Gas Turbine รุ่นใหม่เช่นเดี่ยวกับเครื่องบินพานิชย์ทั่วไป แต่มีความประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้นและมีพลังในการขับเคลื่อนที่สูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเครื่องบินทั่วไป
สำหรับในส่วนของเครื่องยนต์ Gas Turbine เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบันมีอายุมากกว่า 70 ปี โดยถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในเครื่องบิน Heinkel He 178 ของกองทัพเยอรมันเมื่อปี 1939 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ Gas Turbine แบบ Turbo Jet ต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเป็นเครื่องยนต์แบบ Turbo Fan ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจุบัน ซึ่งมนุษย์ก็พยายามหาวิธีที่จะทดแทนเครื่องยนต์ชนิดนี้ ล่าสุดวิศวกรของ Boeing ได้มีการคิดค้นแนวทางการพัฒนาเครื่องยนต์รูปแบบใหม่ที่ใช้พลังงานจาก นิวเคลียร์ และ เลเซอร์ เพื่อมาทดแทนเครื่องยนต์แบบ Gas Turbine
เครื่องยนต์พลังงานนิวเคลียร์เลเซอร์ มีหลักงานทำงาน คือ ตัวเครื่องยนต์จะทำการยิงอะตอมของธาตุ Deutrium หรือ Tritiun ออกไปในส่วนการสันดาป หลังจากนั้นระบบเลเซอร์จะทำการยิงลำแสงเพื่อกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันขนาดเล็ก ปลดปล่อยอนุภาคของนิวตรอนและอิเล็กตรอนพลังงานสูงออกมา หลังจากนั้นเครื่องยนต์จะทำการสะท้อนพลังงานออกไปทางสันดาปท้าย ด้วยวัสดุฉาบ Uranium-238 และในส่วนของความร้อนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันจะถูกระบายความร้อนด้วยระบบหล่อเย็น และจะนำความร้อนนั้นไปใช้ผลิตไฟฟ้าให้กับระบบเลเซอร์
เรียกได้ว่าเครื่องยนต์พลังงานนิวเคลียร์เลเซอร์ เป็นเครื่องยนต์ที่มีแนวคิดหลักการทำงานที่ง่าย ๆ เหมาะสำหรับเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต เพราะใช้พลังงานจาก Deutrium หรือ Tritiun โดยไม่ต้องกังวลเรื่องกัมมันตรังสีตกค้างเนื่องจาก ถ้าอะตอมของธาตุทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่สมบูรณ์แบบ จะทำให้มีกัมมันตรังสีตกค้างในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีรอบการใช้งานที่ยาวนานต่อการเติมเชื้อเพลิงแต่ละครั้ง ในอนาคตอาจจะมีอากาศยานที่สามารถบินได้รอบโลกโดยไม่ต้องหยุดพักเติมเชื้อเพลิงอย่างแน่นอน
การจดสิทธิบัตรของ Boeing ในครั้งนี้อาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้ทั่วโลกได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่สำหรับเครื่องยนต์ในอนาคตขึ้นมา นี่อาจจะเป็นเพียงแนวคิดเริ่มแรกในกระดาษเพียงเท่านั้น แต่อาจจะเกิดขึ้นจริงหลังจากนี้ในอีก 20 ปี เมื่อถึงเวลานั้นน้ำมันอาจจะเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้วก็เป็นได้
ที่มา : orblore