ในวงการวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์นั้น การวิจัยหน่วยประมวลผลถือเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ได้รับความสนใจไม่แพ้งานวิจัยสาขาอื่นๆ เลยครับ โดยทั่วไปแล้วการวิจัยในสาขาของหน่วยความประมวลผลนั้นมักจะเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับความสามารถในการประมวลผลที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งานเฉพาะทางที่ต้องการการประมวลผลแรงๆ อย่างเช่นการประมวลผลเรื่องดาราศาสตร์ภายใน NASA หรือการประมวลผลเพื่อการเรียนรู้ระบบประสาทของมนุษย์เป็นต้นครับ
ภาพของ Megaprocessor ทั้งหมดที่ถูกวางตัวและเชื่อมต่อเพื่อใช้งานภายในห้องปฎิบัติการ
เมื่อไม่นานมานี้มีโครงการ(กึ่งงานวิจัย) ของ James Newman เผยออกมาครับ ด้วยความตั้งใจของ Newman นั้นก็คือเขาต้องการที่จะพัฒนาหน่วยประมวลผลที่นักเรียนนักศึกษาสามารถที่จะใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการคำนวณของคอมพิวเตอร์ในส่วนของหน่วยประมวลผล ทว่าคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทั่วไปนั้นไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการในด้านของการสอนของเขาได้เนื่องจากว่าหน่วยประมวลผลทั่วไปนั้นมีขนาดเล็กถ้าจะดูองค์ประกอบภายในก็ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ซึ่งนั่นคงไม่ดีเท่าไรนักในการเรียนการสอนครับ
ทาง Newman จึงได้ลงมือพัฒนา Megaprocessor โดยสิ่งหนึ่งที่เขาค้นพบก็คือหน่วยประมวลผลสำหรับงานนี้จะต้องประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมาก(ซึ่งเป็นหลักของหน่วยประมวลผลทั่วไป) แต่แทนที่เขาจะนำทรานซิสเตอร์เหล่านั้นไปยัดลงแผ่นซิลิคอนเล็กๆ เหมือนกันหน่วยประมวลผลทั่วไป สิ่งที่เขาทำนั้นคือเขาใช้ทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดตามปกติมาติดตั้งกับบอร์ดที่ซับซ้อนหลายๆ อันแล้วเชื่อมต่อกันเป็นหน่วยประมวลผลขนาดเท่ากับมุนษย์และสามารถจะใช้ในการเล่นเกม Tetris ได้อย่างสบายครับ
จากภาพจะเห็นได้ครับว่าหน่วยประมวลผลของ Newman กินพื้นที่เต็มห้องเลยทีเดียว การแสดงผลนั้นสามารถที่จะทำการเชื่อมต่อผ่านหน้าจอ LED ขนาดเล็กที่รวมกันแล้วสามารถที่จะแสดงผลเป้นหน้าจอขนาดใหญ่เพื่อที่จะแสดงผลเกม Tetris ได้(ดังแสดงในคลิปทางด้านล่าง) แถมในเวลา 2 ปีที่ผ่านมานี้ทาง Newman สามารถที่จะทำให้เจ้าหน่วยประมวลผล Megaprocessor นั้นสามารถที่จะรันได้ที่ความเร็วสูงสุดที่ 20 kHz ครับ
ตามคลิปนั้นจะเห็นได้ครับว่าทาง Newman ได้พัฒนาหน่วยประมวลผล Megaprocessor นี้ตามหลักการพัฒนาหน่วยประมวลผลทั่วไปซึ่งนั่นก็คือมันจะมีทั้งส่วน CU&AU, Input/Output, Register ฯลฯ เหมือนๆ กับที่พบเจอได้ในหน่วยประมวลผลทั่วไป อย่างที่บอกครับว่าหน่วยประมวลผลนี้มีงานเฉพาะทางของมันซึ่งนั่นก็คือเอาไว้ใช้ในการเรียนการสอนเรื่องของผลประมวลผลของหน่วยประมวลผลซึ่งแน่นอนว่าด้วยขนาดของเจ้า Megaprocessor นั้นเชื่อได้ว่านักเรียนนักศึกษาจะสามารถเห็นหลักการทำงานเป้นขั้นเป็นตอนของหน่วยประมวลผลได้เป็นอย่างดีครับ
หมายเหตุ – Newman ได้บอกเอาไว้ว่าวิธีการดูการทำงานของ Megaprocessor ก็คือดูผ่านไฟ LED ที่อยู่ในแต่ละส่วนของตัวหน่วยประมวลผลนี่แหละครับ
ที่มา : techcrunch