Connect with us

Hi, what are you looking for?

PC Review

[Review] Fractal Define R5 เคสอลูมิเนียม องค์ประกอบเฉียบ น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเคสคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบมาให้เราได้เลือกใช้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ ยังให้ความสำคัญกับองค์ประกอบในการใช้งานและการติดตั้งที่สะดวกรวดเร็ว นอกเหนือจากรูปลักษณ์ที่ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเคสคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบมาให้เราได้เลือกใช้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ ยังให้ความสำคัญกับองค์ประกอบในการใช้งานและการติดตั้งที่สะดวกรวดเร็ว นอกเหนือจากรูปลักษณ์ที่ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของเคสแต่ละรุ่น จึงทำให้เห็นได้ชัดว่า ทำไมเคสที่มีรูปทรงที่เรียบง่าย ทรงเหลี่ยมๆ ทั่วไป ไม่มีลูกเล่นที่หวือหวา ยังคงมีให้เห็นอยู่มากมายในท้องตลาด ส่วนหนึ่งก็เพราะความต้องการของผู้ใช้เคสในแแบบพื้นฐาน มีไม่น้อยไปกว่าเคสที่เน้นรูปทรงที่เป็นเกมเมอร์นั่นเอง

7b76937a-6360-4fa2-af2d-24d3856d699a

Advertisement

สำหรับในครั้งนี้ทีมงานได้รับเคสคอมพิวเตอร์จากแบรนด์ชั้นนำระดับโลกอีกรายหนึ่งอย่าง Fractal มาทำการรีวิว ซึ่งเชื่อว่าหลายคนน่าจะคุ้นหูคุ้นตากันดีมากแล้วกับเคสในแนวที่เรียบง่ายและแฝงไปด้วยการออกแบบทางวิศวกรรมอันยอดเยี่ยม โดยในแง่ของฟังก์ชั่นการใช้งาน ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เด่นของทาง Fractal เลยก็ว่าได้ ด้วยคอนเซปต์ที่เรียกว่า Less is more ก็น่าจะทำให้หลายๆ คนชื่นชอบเคสจากแบรนด์นี้ไม่น้อยทีเดียว และอาจจะสังเกตได้ว่าเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่เหล่า Modder นำไปใช้ในการโมดิฟายกัน

สำหรับเคสรุ่นที่ได้มาทดสอบนี้เป็นรุ่น Fractal Define R5 ซึ่งเป็นเคสในซีรีส์ที่เป็นเรือธงของทางค่ายนี้ เน้นการทำงานที่เงียบ ช่วยเก็บเสียงเพื่อป้องกันเสียงรบกวนสำหรับคอเกมหรือการชมภาพยนตร์ ดังนั้นทั้งในเรื่องการออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรง และการลดเสียงรบกวนจากพัดลม รวมถึงการติดตั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในจึงมีความพิถีพิถันอย่างมาก เพื่อให้ระบบที่ประกอบออกมานั้น ช่วยควบคุมไม่ให้เกิดเสียงรบกวนได้มากที่สุด สำหรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Specifications:

  • ATX, Micro ATX, Mini ITX motherboard compatibility
  • 7 expansion slots
  • 2 – 5.25″ bays (removable)
  • 8 – 3.5″ HDD positions (can also accommodate 2.5″ units); 2 – 2.5″ dedicated SSD unit positions
  • 4 – ModuVent™ plates – three in the top and one in the side
  • 9 – fan positions (2 Fractal Design Dynamic GP14 140mm fans included)
  • Filtered fan slots in the front and bottom
  • CPU coolers up to 180mm in height
  • ATX PSUs up to 190/170 mm with a bottom 120/140mm fan installed; when not using any bottom fan location longer PSUs up to 300mm can be used
  • Graphics cards up to 310 mm in length with the top HDD cage installed; with the top cage removed, graphics cards up to 440 mm in length may be installed
  • 20 – 35 mm of space for cable routing behind the motherboard plate
  • Velcro straps included for easy cable management
  • Front door can switch opening direction via dual mounting system
  • Left side panel features Quick Release System for easy access and provides a secure closure of side panel
  • Right side panel features smart captive thumbscrews so no thumbscrews are lost
  • Colours available: Black, Titanium (black case, titanium front panel), White
  • Case dimensions (WxHxD): 232 x 451 x 521mm
  • Case dimensions – with feet/screws/protrusions: 232 x 462 x 531mm
  • Net weight: 10.7 kg
  • Package dimensions (WxHxD): 327 x 615 x 540mm
  • Package weight: 12.5 kg

แกะกล่อง

Fractal Define R5 (9)

โดยพื้นฐานของเคส ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีอะไรหวือหวามากนัก หลังจากที่แกะออกมาจากกล่อง ก็จะมีตัวเคสขนาดใหญ่ อยู่ในถุงพลาสติก พร้อมโฟมกันกระแทกตามมาตรฐาน แต่ที่รู้สึกประทับใจก็คือ น้ำหนักเบากว่าที่คิด ตอนแรกเห็นกล่องใหญ่ๆ นึกว่าจะหนักกว่านี้

Fractal Define R5 (23)

ภายในตัวเคส จะมีคู่มือในการประกอบ และกล่องใส่น็อตมาให้ พร้อมรายละเอียดของน็อตและจำนวนมาครบ เพื่อช่วยให้เราสังเกตได้ง่ายขึ้น แม้ว่าเคสจาก Fractal รุ่นนี้ ส่วนใหญ่จะไม่ต้องใช้สกรูในการติดตั้ง แต่บางส่วนก็ต้องใช้เพื่อความแข็งแรงในการเกาะยึด

Fractal Define R5 (26)

Fractal Define R5 (25)

สิ่งที่อยู่ภายในถุงเล็กๆ ซึ่งอยู่ในกล่องอุปกรณ์ จะประกอบไปด้วยน็อตจำนวนมากทีเดียว แต่ที่เป็นไฮไลต์น่าจะอยู่ที่ชิ้นส่วนเล็กๆ ที่เป็นเหมือนฟองน้ำและยาง ที่ใช้ในการรองน็อตเพื่อยึดชิ้นส่วนต่างๆ โดยจะทำให้เกิดการเสียดสีหรือการกระแทกน้อยลง ทำให้ลดเสียงรบกวนภายในเคสไปได้มากทีเดียว

Fractal Define R5 (3)

รูปลักษณ์และการออกแบบ

4a763872-d668-4362-a13f-80fb2356ddb0

หากดูจากโครงสร้างของตัวเคส ค่อนข้างชัดเจนในแง่ของการออกแบบที่เน้นความคลาสสิกและการใช้กลไกวัสดุที่เหมาะสมในการผลิต ตั้งแต่อลูมิเนียมที่มีการเคลือบมาอย่างดี ด้วยโทนสีดำเงา ที่ดูหรูหราตลอดทั้งตัว แม้ว่าจะไม่ได้เน้นความสวยงามในแบบ Glossy แต่ก็ดูลงตัวดี เหมาะกับการวางบนโต๊ะทำงาน มากกว่าใส่ไว้ใต้โต๊ะแบบแอบๆ เรียกว่าโชว์เพื่อนบ้านได้เลย โดยเป็นโทนสีเดียวกันตลอดตั้งแต่ฝาหน้า บอดี้ ฝาปิดด้านบนและด้านหลัง

Fractal Define R5 (6)

ฟังก์ชั่นพาแนลด้านหน้า ถูกวางไว้ด้านบนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตหูฟัง ไมโครโฟน ปุ่มเพาเวอร์ และพอร์ต USB 2.0 และ USB 3.0 ที่มีอย่างครบครัน

Fractal Define R5 (7)

จัดวางไว้ให้ใช้งานได้เยอะดี และยังมีพื้นที่สำหรับวางฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอกและอุปกรณ์อื่นๆ ได้ แบบไม่ต้องอ้อมไปต่อด้านหลังเครื่องให้เมื่อย

Fractal Define R5 (4)

Fractal Define R5 (5)

ฝาด้านบนเปิดออกได้ ที่เรียกว่า ModuVent™ เพื่อใช้สำหรับเป็นกรองอากาศ ด้านล่างจะเป็นตะแกรงแบบรังผึ้ง โดยฝาปิดจะมี 3 ส่วนด้วยกัน และเปิดได้ทั้งหมด ก็เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งพัดลมและมีกรองฝุ่นได้อีกด้วย ออกแบบมาได้รัดกุมมากทีเดียว

Fractal Define R5 (8)

ด้านหน้าจะเป็นฝาเคสแบบเปิดออกข้างได้ เป็นพลาสติกในโทนเดียวกันกับตัวเคส ซึ่งจะปิดทึบไปเลย เมื่อไม่ได้ใช้ ก็น่าจะเป็นรูปแบบของเคสที่เรียบๆ เปิดใช้ในบางโอกาสเท่านั้น

Fractal Define R5 (10)

เมื่อเปิดฝาหน้าออกมา ก็จะเห็นพัดลมสีขาวขนาด 140mm จำนวน 1 ตัว ช่วยในการระบายความร้อน ด้วยการดึงลมเย็นจากด้านหน้าเข้าสู่ระบบ

Fractal Define R5 (11)

เมื่อดูภาพรวมจากด้านหน้าจะเห็นว่า จากแผงปิดด้านหน้า ก็ยังมีตัวกรองฝุ่นให้เห็น เพื่อช่วยให้พัดลมไม่ต้องเจอกับปัญหาฝุ่น ที่ทำให้ลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลงและยังลดเสียงรบกวนอีกด้วย นับเป็นไอเดียที่ดี

Fractal Define R5 (12)

ฝาพับด้านข้างใช้บานพับที่มีความแข็งแรงพอสมควร ด้วยบานพับแบบโลหะ ซึ่งทำให้การเปิด-ปิด ไม่ต้องกังวลว่าจะหลุดติดมือมาด้วย 

Fractal Define R5 (13)

ตัวล็อคอีกด้านหนึ่งจะเป็นเหล็กที่มีตัวคล้องสำหรับล็อค แต่ก็ช่วยให้การเปิดง่ายขึ้น ไม่ต้องออกแรงมากเกินไป

Fractal Define R5 (14)

ฝาปิดเบย์ไดรฟ์นั้น ใช้วิธีดึงเหมือนเปิดประตูรถ แค่ง้างออกมา สลักก็จะถูกปลดออก และพร้อมสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์อย่าง External HDD หรือ DVD Drive ได้ทันที

Fractal Define R5 (15)

สังเกตจากการเปิดสลักสำหรับการติดตั้งเบย์ไดรฟ์ทำได้ง่ายมากๆ แต่สำหรับคนที่ชอบ Function panel คงต้องบอกก่อนว่าที่สะดวกคือ 2 เบย์นี้เท่านั้น

Fractal Define R5 (16)

ส่วนของฝาหน้าและตะแกรงสำหรับปิดด้านหน้าตัวเคส ดูแปลกตาดีเหมือนกัน

Fractal Define R5 (17)

ด้านหลังก็ดูเรียบๆ จะมีพัดลมขนาดใหญ่ 140mm ใช้ในการดึงลมร้อนออกด้านหลัง และมีช่อง Air vent เล็กๆ ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมถึงด้านล่างเป็นพื่นที่สำหรับติดตั้ง PSU

Fractal Define R5 (18)

ตัวล็อคการ์ดด้านหลังไม่ได้มีอะไรพิเศษมากนัก เพียงแต่ใส่เป็นสีขาว ให้ดูสะดุดตา

Fractal Define R5 (19)

พัดลมขนาดใหญ่สีขาว 140mm ด้านบน ช่วยในการระบายความร้อนภายในเครื่องทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Fractal Define R5 (20)

แผงด้านข้างเป็นแบบฝาใสอะคลิลิค โดยมีพลาสติกปิดกันรอยเอาไว้ เวลาจะใช้ก็แกะออก ซึ่งทำให้พอมองเห็นอุปกรณ์ภายในได้ ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดหรือการ์ดจอก็ตาม

Fractal Define R5 (22)

ด้วยตัวล็อคฝาด้านข้าง คุณเพียงแค่ไขน็อตทั้งสองตัวออกแล้ว ก็ยังต้องปลอดล็อคสลักดังกล่าวออกด้วย เป็นการล็อคแบบสองชั้น เพื่อความปลอดภัย

Fractal Define R5 (27)

สายต่อพาแนลด้านในมากันครบ ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0, USB 2.0, HD Audio และสายสัญญาณสำหรับปุ่มเพาเวอร์ รีเซ็ตและไฟสถานะ สามารถต่อบนเมนบอร์ดได้สะดวก

Fractal Define R5 (29)

Fractal Define R5 (30)

เบย์สำหรับติดตั้งไดรฟ์ 3.5 นิ้ว มีมาให้ถึง 8 เบย์ด้วยกัน แต่เนื่องจากการ์ดจอบางรุ่นอาจจะยาวมาก ตัวเคสก็ยังสามารถถอดเบย์เหล่านี้ออกได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีที่มีความยืดหยุ่น สำหรับคอเกมที่มีการ์ดแรงๆ มาติดตั้งได้ง่ายขึ้น

Fractal Define R5 (31)

ใครที่ชอบเรื่องการโมดิฟาย เคสจาก Fractal รุ่นนี้ ยังให้คุณได้ซ่อนสายจากด้านหลังเอามาไว้ โดยมีแถบยาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสายต่างๆ ที่ลอดเข้ามานั่นเอง

Fractal Define R5 (32)

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดบอกบนเพลตของเคส แสดงให้เห็นถึงความปราณีตในการพัฒนาเคสรุ่นนี้ ดูแล้วช่วยให้การยึดน็อตทำได้ง่ายขึ้น ด้วยตัวย่อ A, M และ I ที่บอกว่าเป็นช่องสำหรับ ATX, Micro ATX และ Mini iTX

Fractal Define R5 (34)

พื้นที่ภายในค่อนข้างกว้างขวางดี โดยจุดที่วางเพาเวอร์ซัพพลายนั้น รองรับแบบที่ยาวกว่าปกติได้ โดยเฉพาะเพาเวอร์รุ่นเก่าที่มีวัตต์สูงๆ ที่มักจะยาวเป็นพิเศษ ก็ติดตั้งได้ไม่ยาก

Fractal Define R5 (36)

ด้านล่างมีตัวรองเพาเวอร์ซัพพลาย ไม่ให้กดลงบนเคสโดยตรง ลดการเป็นรอยและลดแรงสั่นสะเทือน ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์ได้

Fractal Define R5 (35)

Fractal Define R5 (37)

อย่างทีได้บอกไว้ ว่าเบย์แต่ละจุดสามารถถอดประกอบได้ ด้วยการแยกออกเป็นทีละส่วน ซึ่งยึดเข้ากับเคสด้วยน็อต จึงสบายใจได้ถ้าต้องเคลื่อนย้ายหรือขยับให้เหมาะสม

Fractal Define R5 (38)

Fractal Define R5 (39)

พื้นที่ภายในกว้างขวางมากพอสำหรับติดตั้งเมนบอร์ดขนาดใหญ่แบบ Full ATX ได้สบายๆ และยังมีพื้นที่เหลือพอสำหรับม้วนสาย จัดเก็บได้สะดวก นับว่าเป็นเคสที่ออกแบบมาให้กับนักโมดิฟายได้สนุกกันเต็มที่

Fractal Define R5 (46)

Fractal Define R5 (45)

ด้านใต้ของเคสมีลักษณะเป็นแบบโปร่ง เช่นเดียวกับด้านบน พร้อมตะแกรงกรองฝุ่น ให้ลมสามารถผ่านเข้าออกได้ พร้อมฐานรอง 4 จุด ช่วยยึดให้อยู่กับตำแหน่งได้แน่นทีเดียว จัดว่าเป็นเคสอีกรุ่นหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานอย่างแท้จริง

การติดตั้งและใช้งาน

Fractal Define R5 (28)

พื้นที่ในภาพรวมต้องถือว่ากว้างขวางพอสมควร จึงไม่ต้องกังวลว่าจะประกอบยาก เพียงแค่วางให้ถูกจุด รับรองว่าจะเก็บสายหรือวางอุปกรณ์อื่นใด ก็ทำได้ง่าย เพราะตัวเคสวางองค์ประกอบต่างๆ มาให้ครบหมดแล้ว

Fractal Define R5 (40)

เมื่อดูจากการวางเมนบอร์ดลงไป โดย ASRock รุ่นนี้ เป็นแบบ ATX ที่เรียกว่าเกือบไซส์ใหญ่สุดของ ATX จะเห็นว่ายังมีพื้นที่ด้านข้างเหลือให้คุณวางมือ หรือขยับอุปกรณ์ได้สบายๆ แม้ว่าบางรุ่นจะมาพร้อมพอร์ต SATA ที่หันข้างออกไปทางไดรฟ์ ก็ยังต่อสายสัญญาณได้ไม่ยาก

Fractal Define R5 (41)

Fractal Define R5 กับพื้นที่เหลือๆ คุณยังสามารถติดตั้งการ์ดจอไซส์ใหญ่ความยาวระดับ 30cm ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น GTX980 หรือ GTX1080 แต่บางส่วนที่หากเป็นการ์ดแแบบ Non-Reference ก็ต้องดูกันเป็นรายตัวไป แต่อย่างที่บอก พื้นที่ด้านข้างปรับขยายได้ จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ

Fractal Define R5 (42)

พื้นที่ด้านล่างยังคงเหลือเฟือที่คุณจะวาง PSU แบบไม่เกะกะ ด้วยสายที่ลอดจากด้านล่างขึ้นไปต่อบนเมนบอร์ด ก็สามารถทำได้ เพราะมีรูที่กว้างให้คุณลอดและเก็บสายสะดวกกว่า ต่างจากเคสบางรุ่น ที่แม้จะให้รูมา แต่แคบเกินที่สายเพาเวอร์และสายบางเส้นจะลอดไปพร้อมๆ กันได้

Fractal Define R5 (43)

บริเวณที่ต่อกับการ์ดจอ ก็มีให้เลือกหลายแถว พร้อมตัวล็อคที่ใช้น็อตหมุน จะใช้ต่อ SLI หรือ CrossFire ก็ทำได้ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณเอง

Fractal Define R5 (44)

Conclusion

สำหรับเคสจาก Fractal รุ่นนี้ นับว่าเป็นหนึ่งในรุ่นเรือธงของทางค่าย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่มีการออกแบบที่พิถีพิถัน โดยเฉพาะวัสดุและการประกอบดูแล้วลงตัว ให้ใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่น้อย เพราะในแง่ของพื้นที่ภายใน ออกแบบมาให้สามารถใช้กับชุดน้ำได้ไม่ยาก รวมถึงการ์ดจอขนาดใหญ่ กับพื้นที่เหลือๆ ให้ติดตั้ง นอกจากนี้แล้วการมีพื้นที่ที่สามารถขยับหรือจัดสายด้านหลังเคส ก็ช่วยลดปัญหาสายพันกันในเครื่อง ไม่ดูยุ่งเหยิง นอกจากนี้ด้วยน้ำหนักที่เบา ยังช่วยให้เคลื่อนย้ายได้ง่าย อย่างน้อยก็เผื่อติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ ลงไปในเคส ทำให้ไม่หนักมากเกินไป

เรื่องของการระบายความร้อนยังทำได้สบาย พร้อมสำหรับการติดตั้งพัดลมได้อีกหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างก็ตาม แต่ที่น่าสนใจอย่างมาก ก็คงหนีไม่พ้นตัวกรองฝุ่นที่มีมาให้รอบตัวเลยทีเดียว ใครที่อยู่ในสภาพที่ฝุ่นเยอะ น่าจะใช้งานได้สบายใจมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับในส่วนของเบย์ไดรฟ์ ที่มีให้ติดตั้งแบบเหลือเฟือ แถมยังขยับปรับให้เหมาะกับการใช้งานได้อีกด้วย

ในภาพรวมถือว่า Fractal Define R5 นี้ แม้ว่าจะมีความเรียบง่ายในการออกแบบก็ตาม แต่เชื่อได้ว่าผู้ใช้จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ในแง่ของฟังก์ชั่นการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์ได้เยอะ รองรับการอัพเกรดหรือการระบายความร้อนที่ดี ซึ่งหาไม่ได้ง่ายนักในตลาดเดียวกัน

จุดเด่น

  • เป็นเคสขนาดใหญ่ แต่มีน้ำหนักเบา
  • ติดตั้งอุปกรณ์ภายในได้ง่าย พื้นที่กว้างขวาง
  • มีชิ้นส่วนในการประกอบที่ช่วยลดเสียงรบกวนได้
  • ตะแกรงกรองฝุ่นมีเกือบทุกจุดในตัวเคส

ข้อสังเกต

  • ตัวหมุดที่อยู่ด้านใต้สำหรับล็อคเมนบอร์ด ต้องเล็งให้ตรงถึงจะวางได้
  • ฝาปิดด้านหน้า อาจทำให้บางคนที่ติดตั้งฟังก์ชั่นพาแนลหรือใส่เบย์ไม่สะดวกนัก
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

คอมเปิดไม่ติด เช็คอาการผิดปกติใน 7 ขั้นตอน แก้ไขในเบื้องต้น ตรวจเช็คและป้องกัน คอมเปิดไม่ติดอาการยอดฮิตของคนที่ใช้คอม ไม่ว่าจะเป็นคอมใหม่หรือเก่า ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เรามาเช็คอาการเบื้องต้นของปัญหานี้กัน บางครั้งคุณอาจจะแก้ไขได้เอง โดยไม่ต้องส่งร้านซ่อม ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเปิดไม่ติด ไฟเข้าแต่ไม่บูต เปิดติดแล้วดับ รวมไปถึงเปิดเข้าระบบแล้วรีสตาร์ทบ่อย 9 วิธีเช็คและแก้ไขเหล่านี้ จะช่วยให้คุณสามารถจัดการด้วยตัวเองอัพเดตปี 2024 ปัญหาคอมเปิดไม่ติด ถ้าพอคุ้นเคยกับฮาร์ดแวร์อย่าง แรม...

PC Review

DarkFlash DS900 Air เคสคอมเย็นฉ่ำ โชว์ภายในได้ทุกอย่าง สวยอัพเกรดง่าย จ่ายเบาๆ DarkFlash DS900 Air เคสคอมสำหรับคอเกมและผู้ที่ชอบแต่งคอม ดีไซน์สวย เน้นการระบายลมได้ดี ติดตั้งพัดลมได้เยอะ โชว์ฮาร์ดแวร์ภายในได้เต็มที่กับกระจกเทมเปอร์ทั้งด้านหน้าและด้านข้าง กับโทนสีขาวภายในตลอดทั้งบอดี้ มีฟังก์ชั่นสำหรับไฟ RGB กับพื้นที่ภายในกว้างขวาง เหมาะกับคนที่ใช้อุปกรณ์จำนวนมาก ทั้งชุดน้ำ และ Liquid Cooling...

PC Buyer's Guide

นอกจากสเปคแรงๆ แล้ว ก็น่าลงทุนซื้อเคสคอมดีๆ เอาไว้ใช้สักตัวด้วย! ถ้าถามผู้เขียนว่าถ้าจะลงทุนประกอบคอมสักเครื่องจะลงทุนกับชิ้นส่วนไหนบ้าง? จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยแล้วใช้ไปได้นานๆ ในคำตอบทั้งหมดจะมีเคสคอมรวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน นั่นเพราะมันเป็นชิ้นส่วนที่มีโอกาสเปลี่ยนน้อยที่สุดและเป็นชิ้นที่มองเห็นบ่อยที่สุดตั้งแต่ตอนเปิดคอมไปจนต่อ USB ก็ต้องหันมาดูที่เคสอย่างแน่นอน ดังนั้นนอกจากความแข็งแรงทนทานคุ้มค่าแล้วเคสคอมสักตัวหนึ่งก็สะท้อนรสนิยมของเจ้าของคอมได้เป็นอย่างดีและยังเอาไว้แต่งโต๊ะคอมเกมมิ่งได้อีกด้วยAdvertisement และถ้าเลือกเคสดีๆ จากแบรนด์ชั้นนำมาประกอบคอม นอกจากดีไซน์สวยแล้วยังได้ฟีเจอร์ต่างๆ ให้ใช้อีกด้วย ไม่ว่าจะฝากระจกข้างใส, ไฟ RGB, พอร์ตใหม่ๆ ทันสมัย, โครงโลหะแข็งแรงทนทานและมีลูกเล่นต่างๆ ให้ใช้มากมายไม่ว่าจะโครงครอบปิดพาวเวอร์ซัพพลายไปจนฐานวางการ์ดจอแนวตั้งติดมาให้ด้วย ดังนั้นนอกเรื่องสเปคแรงๆ มาจ่ายเงินลงทุนซื้อเคสดีๆ...

Buyer's Guide

เคสคอมสีขาวสวยๆ สายหรูต้องชอบ แต่งห้องคลีนๆ เอาไปไว้คือเข้ากันสุดๆ  เคสคอมหลายๆ รุ่นในปัจจุบันมักเป็นสีดำหรือไม่ก็เล่นสีสวยๆ จนโดดเด่นสะดุดตา แต่ก็มีกลุ่มเกมเมอร์สายจัดโต๊ะคอมเน้นเรียบหรูก็มองหาเคสคอมสีขาวมาประกอบคอมเอาไว้ใช้สักเครื่องให้เข้ากับโทนสีในห้องให้ได้โทนสว่างหรือเอาไว้ตัดกับห้องโทนมืดให้ดูโดดเด่นแล้วเล่นไฟ RGB เพิ่มความสวยงามขึ้นไปอีกระดับหนึ่งได้ด้วย ส่วนดีไซน์ทั้งเรื่องขนาดและรูปร่างหน้าตาของของเคสคอมสีขาวก็ต้องยกให้เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนบุคคลว่าอยากได้เคสไซซ์ไหนและหน้าตาอย่างไรถึงจะเข้ากับโทนของห้องที่สุดAdvertisement สำหรับเกมเมอร์ที่อยากได้เคสคอมสีขาวเอาไว้ใช้ ณ ปัจจุบันนี้ราคาก็ไม่แพงมากแล้วและมีให้เลือกหลากหลายขนาด รองรับเมนบอร์ดตั้งแต่ mATX ไปจน E-ATX และมักจะใช้พาเนลข้างเคสเป็นกระจกให้ดูสวยงามและเน้นไฟ RGB ให้ดูโดดเด่นด้วยแถบไฟ RGB หรือจากพัดลม ARGB...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก