ในปัจจุบันนั้นเราคงปฎิเสธกันไม่ได้แล้วหล่ะครับว่าเทคโนโลยีหลายๆ อย่างได้รวมตัวเข้ากับเรื่องของศาสนาไปแล้ว อย่างเช่นในประเทศไทยของเราเองนั้นก็สามารถที่จะพบเห็นพระคุณเจ้าชื่อดังต่างๆ ใช้สื่อ Social media เพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งในการเผยแพร่คำสั่งสอนให้กับลูกศิษย์ลูกหารวมไปถึงผู้ที่มีความสนใจ ทว่าเรื่องการเข้าถึงของเทคโนโลยีของศาสนาเนี่ยก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหลากหลายประเทศครับว่ามันจำเป็นขนาดนั้นหรือไม่(ในประเทศไทยเองก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการถกเถียงกันอย่างรุนแรง) อย่างไรก็ตามแต่แล้วหากเราสามารถที่จะผสมเทคโนโลยีเข้ากับศาสนาได้อย่างลงตัวแล้วหล่ะก็เชื่อเลยครับว่าประชาชนทั่วไปจะต้องยอมรับเหมือนกับหุ่นยนต์พระในประเทศจีนที่มีชื่อเรียกว่า “Xian’er” ครับ
Master Xianfan sits next to robot Xian’er as he poses for photograph at Longquan Buddhist temple on the outskirts of Beijing, April 20, 2016. REUTERS/Kim Kyung-Hoon
หุ่นยนต์พระ Xian’er เป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนา(นิกายมหายาน) กับเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัวครับ Xian’er ถูกวัดที่มีชื่อว่า Longquan ซึ่งตั้งอยู่ในปักกิ่ง โดยหุ่นยนต์พระ Xian’er นี้ถูหพัฒนาขึ้นด้วยพระนาม Xianfan โดยมีแรงบันดาลใจมากจากการ์ตูนอนิเมชั่นที่ทาง Xianfan ดำเนินการสร้างขึ้นมาในปี 2013 สำหรับใช้ในการเผยแพร่ศาสนาผ่านทางสื่อ Social media(แถมที่วัดยังมีการสร้างตัวการ์ตูนเพื่อเป็นสินค้าซึ่งมีข้อความที่เผยแพร่ศาสนาเอาไว้ให้ผู้ที่มาท่องเที่ยวที่วัดได้เลือกหาอีกด้วยครับ
Robot monk Xian’er is pictured during its demonstration for a photo opportunity at Longquan Buddhist temple on the outskirts of Beijing, April 20, 2016. REUTERS/Kim Kyung-Hoon
Xian’er นั้นมีขนาดอยู่ที่ 60 cm ใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างพระ(ตามนิกายมหายาน) เข้ากับตัวการ์ตูน โดยทางด้านหน้าจะถือหน้าจอเล็กๆ สำหรับเลือกคำสั่ง ทั้งนี้ Xian’er มาพร้อมกับความสามารถในการสวดมนต์ได้ทุกบท(โดยผู้ใช้สามารถที่จะเลือกได้ผ่านทางหน้าจอที่ Xian’er ถืออยู่ทางด้านหน้า) นอกไปจากนั้นแล้ว Xian’er ยังสามารถเคลื่อนที่ได้ตามการออกคำสั่งด้วยเสียงและเหนือไปกว่านั้นก็คือพระ Xian’er นั้นสามารถที่จะพูดคุยประโยคสั้นๆ กับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมวัดได้ด้วยอีกต่างหากครับ
ทั้งนี้การสนทนาดังกล่าวนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นประโยคอะไรก็ได้นะครับ Xian’er ยังคงมีข้อจำกัดอยู่นิดหน่อยซึ่งนั่นก็คือการสนทนาสั้นๆ ตามที่บอกไปนั้นจะอยู่ในรูปแบบของการถามตอบ 20 คำถามซึ่งต้องเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและการใช้ชีวิตในปัจจุบันทั่วไปเท่านั้น(ซึ่งสิ่งที่ Xian’er สามารถจะทำการตอบได้จะถูดโชว์เอาไว้ที่หน้าจอที่ Xian’er ถืออยู่ด้วยครับ) ในส่วนของการเคลื่อนที่นั้น Xian’er สามารถที่จะเคลื่อนที่ตามคำสั่งเสียงได้ทั้งหมด 7 รูปแบบซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ถูกจำกัดไว้โดยลักษณะของล้อที่ใช้บนตัว Xian’er นั่นเองครับ
A visitor smiles as she holds Robot Xian’er which is placed in the main building of Longquan Buddhist temple for photograph by the temple’s staff, on the outskirts of Beijing, April 20, 2016. REUTERS/Kim Kyung-Hoon
สาเหตุที่ Master Xianfan เจ้าของความคิดและผู้ดำเนินการในการพัฒนา Xian’er ตัดสินใจที่จะสร้าง Xian’er นั้นก็เหมือนกับที่ได้กล่าวไปในตอนต้นครับว่าในยุคปัจจุบันนั้นไม่ว่าศาสนาใดๆ ก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยซึ่งในปัจจุบันนั้นเรื่องของเทคโนโลยีหุ่นยนต์รวมไปถึงการใช้สื่อ Social media กำลังมาแรงเป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้ว Master Xianfan จึงตัดสินใจสร้าง Xian’er เพื่อที่จะใช้ในการเผยแพร่คำสั่งสอนของพุทธศาสนาในประเทศจีนให้ก้าวไกลขึ้นและเป็นการแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของศาสนาและวิทยาศาสตร์ที่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว หลังจากที่ Xian’er ถูกพัฒนาสำเร็จแล้วทาง Xianfan ก็ได้นำ Xian’er ขึ้นเสนอใน Social media ทำให้มีนักท่องเที่ยวและผู้ศรัทธาจำนวนมากสนใจที่จะเข้ามาที่วัดมากขึ้นครับ
หมายเหตุ – ณ จุดนี้นั้นทาง Xianfan ได้บอกเอาไว้ครับว่าด้วยการบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์ทำให้พุทธศาสนาไม่ค่อยได้รับความสำคัญเท่าไร ดังนั้นแล้วทางเขาเองจึงอยากที่จะทำอะไรสักอย่างเพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสนาให้ไปไกลกว่าเดิมมากขึ้นและเร็วมากขึ้นครับ
Master Xianfan looks at robot monk Xian’er as he prepares to pose for photograph in the main building of Longquan Buddhist temple on the outskirts of Beijing, April 20, 2016. REUTERS/Kim Kyung-Hoon
ทั้งนี้แนวความคิดของ Xianfan ในการสร้าง Xian’er นั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบริษัททางด้านเทคโนโลยีที่ให้ความรู้ทางด้านการผลิตหุ่นยนต์รวมไปถึงการสร้างหุ่นยนต์ Xian’er ขึ้นมาเพื่อเป็นการทำนุบำรุงศาสนาในประเทศจีน ส่วนระบบปัญญาประดิษฐ์ของ Xian’er นั้นก็ได้รับการพัฒนามาจากผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศจีนครับ
Xian’er ได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2015 ที่ผ่านมา แต่ทว่าหลังจากได้รับการเปิดตัวแล้วนั้น Xian’er ก็ไม่ค่อยจะได้จำวัดอยู่ที่วัด Longquan สักเท่าไรนักเนื่องจากว่ามีงานเปิดตัวที่ Xian’er จะต้องไปทำการเปิดตัวภายนอกวัดจำนวนมาก(ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเทคโนโลยีซึ่งนั่นทำให้ชื่อวัดเป็นที่รู้จักด้วย) และหลังจากที่ออกงานแล้ว Xian’er ก็กลับมาใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนั่งสมาธิมากกว่าที่จะได้ออกไปพบปะกับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาที่วัดครับ(เข้าใจว่าเป็นการบำรุงรักษามากกว่านั่งสมาธินะครับ)
ถึงจะเป็นเช่นนั้นทว่า Xian’er เองก็มีโอกาสได้เทศนาและพูดคุยกับนักท่องเที่ยวบ่อยครั้งอยู่ครับ หนึ่งในนักท่องเที่ยวอย่าง Michelle Yu ซึ่งได้เข้าไปปฎิบัติธรรมที่วัด Longquan(หญิงสาวที่อุ้ม Xian’er จากรูปทางด้านบน) บอกครับว่าเธอได้เห็น Xian’er ครั้งแรกจาก Social media และหลังจากที่ตัดสินใจมาดู Xian’er ตัวจริงแล้วเธอพบว่า Xian’er น่ารักมาก Yu เชื่อครับว่า Xian’er นั้นจะสามารถที่จะเผยแพร่ศาสนาพุทธให้ก้าวไกลไปได้กว่าเดิมอย่างแน่นอน
หมายเหตุ – ในประเทศจีนนั้นประชากรสวนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งมีความเคร่งในข้อปฎิบัติน้อยกว่านิกายเถรวาทของบ้านเรามากครับ
หมายเหตุ 2 – ในประเทศไทยเรานั้นก็มีการนับถือศาสนาพุทธนิกายอื่นๆ เช่นเดียวกันแต่พบว่าน้อยมาก โดยในการสำรวจนั้นพบว่าประชากรชาวไทยกว่า 94% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท(ทว่าทั้งนี้ต้องทำการตัดเถรวาทที่มีส่วนผสมของพราหมณ์, ฮินดู ฯลฯ ออกไปด้วยเลยทำให้จำนวนชาวพุทธนิกายเถรวาทที่แท้จริงในประเทศไทยนั้นน่าจะมีจำนวนอยู่ที่ราวๆ 80% ของประชากรทั้งหมดครับ
ที่มา : venturebeat