Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

[Tech] นักวิจัยเผยระบบที่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุด 57 Gbps โดยไม่มีข้อผิดพลาด

ในบ้านเรานั้น ณ เวลานี้ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย(ISP) เริ่มที่จะปรับความเร็วและราคาลงมาต่อสู้กันจนทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลในระดับความเร็วสูงกันได้อย่างกว้างขวางแล้วครับ

ในบ้านเรานั้น ณ เวลานี้ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย(ISP) เริ่มที่จะปรับความเร็วและราคาลงมาต่อสู้กันจนทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลในระดับความเร็วสูงกันได้อย่างกว้างขวางแล้วครับ เทคโนโลยีการโอนถ่ายข้อมูลที่ได้รับการยอมรับกันในปัจจุบันว่าเร็วที่สุดในการใช้งานนั้นคงหนีไม่พ้นการโอนถ่ายข้อมูลด้วยสาย Fiber Obtic และดูเหมือนว่านักวิจัยในหลายๆ มหาวิทยาลัยยังคงที่จะทำการพัฒนาเทคโนโลยีการโอนถ่ายข้อมูลผ่านสาย Fiber Obtic นี้ให้มีความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้สถิติใหม่ของการโอนถ่ายข้อมูลผ่านสาย Fiber Obtic ก็ได้ตกเป็นของขณะวิจัยจาก University of Illinois ครับ

Curtis Wang, Michael Liu and Milton Feng for 57 Gb/s VCSEL for Energy Efficient Transmission

Curtis Wang, Michael Liu and Milton Feng for 57 Gb/s VCSEL for Energy Efficient Transmission

งานวิจัยดังกล่าวเป็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2 รายได้แก่ Curtis Wang และ Michael Liu ภายใต้การกำกับดูแลของศาสตร์จาร์ย Milton Feng(จากรูปทางด้านบนที่แสดงระบบของพวกเขาโดยรายชื่อของนักวิจัยเรียงลำดับจากซ้ายไปขวา) ซึ่งได้พัฒนาเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า oxide-VCSEL ขึ้นมาใช้ในการหนุนการโอนถ่ายข้อมูลผ่านระบบ fiber obtic อีกทีหนึ่งครับ สิ่งที่ทางศาสตร์จาร์ย Feng ทำนั้นเป็นการตอบคำถามสั้นๆ ครับว่าจะทำอย่างไรให้การโอนถ่ายข้อมูลในปัจจุบันนั้นเร็วมากขึ้นเพื่อให้รองรับกับขนาดของข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งคำตอบของพวกเขาก็คือเทคโนโลยี VCSEL ซึ่งพวกเขาได้ทำการพัฒนามาตั้งแต่ในปี 2014 และสามารถที่จะทำสถิติความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลมาได้เรื่อยๆ ดังต่อไปนี้ครับ

Advertisement
  • ในปี 2014 ระบบของพวกเขาสามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็ว 40 Gb/s หรือ 5 GB/s โดยงานวิจัยของพวกเขานั้นยังถือว่าเป็นงานวิจัยแรกในสหรัฐอเมริกาที่สามารถทำการโอนถ่ายข้อมูลที่ความเร็วสูงโดยไม่มีความผิดพลาดในการโอนถ่ายข้อมูลเกิดขึ้นเลยสักครั้งเดียวครับ
  • ในปี 2016 เมื่อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องระบบของพวกเขาสามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็ว 57 Gb/s หรือ 7.125 GB/s และยังคงความสามารถในการโอนถ่ายข้อมูลได้โดยที่ไม่เกิดข้อผิดพลาดเลยแม้แต่ครั้งเดียวในอุณหภูมิห้องปกติ
  • ในปี 2016 เช่นเดียวกันเพื่อเป็นการพัฒนาระบบให้มีความเสถียรภาพมากขึ้นทางทีมวิจัยได้ทำการทดสอบระบบในการโอนถ่ายข้อมูลที่อุณหภูมิสูงกว่าระดับห้องและพบว่าระบบของพวกเขานั้นสามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็ว 50 Gb/s หรือ 6.25 GB/s ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียสโดยที่ไม่เกิดข้อผิดพลาด

สิ่งที่ทางทีมวิจัยของศาสตร์จาร์ย Fang ได้ส่งมอบต่อความรู้ให้กับโลกเพื่อพัฒนาต่อไปก็คือเรื่องของการโอนถ่ายข้อมูลที่ความเร็วสูงภายใต้อุณหภูมิไม่ปกตินี่แหละครับ เป็นที่ทราบกันดีครับว่าในการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลนั้นเมื่อใช้งานไปสักพักจะเกิดความร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งนั่นจะทำให้ประสิทธิภาพความเร็วของการโอนถ่ายข้อมูลลดลงไปจากเดิม แถมยังสามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นในการโอนถ่ายข้อมูลได้ด้วย

ด้วยสาเหตุดังกล่าวเราจึงได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้งว่าใน Data Center มักจะมีการกำหนดอุณหภูมิให้ต่ำเอาไว้ก่อน แต่จากงานวิจัยของทีมศาสตร์จารย์ Fang นี้ได้พิสูจน์แล้วครับว่าเราสามารถที่จะทำการโอนถ่ายข้อมูลที่ความเร็วสูงในขณะที่อุณหภูมิมากได้ ผลลัพธ์ของมันก็คือหากมีการนำเทคโนโลยีของทีมวิจัยนี้ไปพัฒนาเพื่อใช้งานกันต่อไปเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อทำให้อุณหภูมิของ Data Center ต่ำอยู่ตลอดเวลาอีกต่อไปครับ ที่สำคัญแล้วทางศาสตร์จารย์ Fang ยังบอกอีกด้วยครับว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้งานเฉพาะใน Data Center เท่านั้นแต่มันยังสามารถปรับไปใช้ในด้านอื่นอย่าง airborne และ lightweight communications ได้อีกด้วยเนื่องจากว่าสาย fiber obtic นั้นมีน้ำหนักเบากว่าสายทองแดงเยอะครับ

ที่มา : news.illinois.edu

Click to comment

บทความน่าสนใจ

PR-News

เทคโนโลยีระบายความร้อนขั้นสูงที่รองรับคลัสเตอร์ AI ที่ต้องการกำลังไฟสูง ได้เริ่มเปิดใช้งานแล้ว ณ ศูนย์ข้อมูลที่ได้รับการรับรองในโปรแกรม NVIDIA DGX-Ready แห่งแรกของประเทศไทย เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (STT GDC) ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ชั้นนำในเอเชีย ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยของเหลว (Liquid Cooling) แบบ Direct-to-Chip ณ STT Bangkok...

How to

เว็บไซต์เช็คความเร็วเน็ตนอกจากใช้เช็คความเร็ว Download กับ Upload ว่าเราเตอร์กับเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ทำความเร็วได้ดีเท่าไหร่แล้ว ยังใช้ดูรายละเอียดต่างๆ นอกเหนือจากความเร็วได้อีกว่าตอนกำลังรับส่งข้อมูลเกิดความหน่วงระหว่างการรับส่งข้อมูลไหม? ถ้ามีแล้วเกิดตอนไหนและมีความหน่วงกี่มิลลิวินาที (ms – millisecond) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากและถ้าเข้าใจก็จะตัดสินได้ว่าตอนนี้เน็ตบ้านหรือเครือข่าย Wi-Fi ที่เชื่อมต่ออยู่ทำงานได้ดีไหมแล้วจะใช้งานต่อดีหรือเปล่า? จุดน่าสนใจของเว็บเช็คความเร็วเน็ตเหล่านี้ คือ แต่ละแห่งจะแสดงข้อมูลมากน้อยแตกต่างกัน บางเว็บจะโชว์แต่ความเร็ว Download อย่างเดียวแล้วกดดูข้อมูลอื่นอย่างความเร็ว Upload และ Latency เพิ่มได้...

How to

หนึ่งในปัญหายอดนิยมเวลามีคอมพิวเตอร์ Windows สักเครื่อง คือโน๊ตบุ๊คต่อ WiFi ไม่ได้ คอมพิวเตอร์ต่อเน็ตไม่ติด ซึ่งปัญหานี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้หลากหลายทางมาก ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์, ซอฟท์แวร์ไปจนเครือข่ายมีปัญหาเองก็ได้ทั้งนั้น แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกและวิธีแก้ไขทั้งนั้น ถ้าสันนิษฐานได้ว่าปัญหาน่าจะมาจากจุด A, B หรือ C แล้ว ก็แก้ปัญหาได้ในเวลาไม่นาน แถมวิธีทำก็ง่ายมากและทำตามขั้นตอนในบทความนี้ได้ง่ายๆ ก่อนส่งให้ศูนย์บริการรับผิดชอบต่อได้ด้วย วิธีเช็คและแก้ปัญหาโน๊ตบุ๊คต่อ WiFi ไม่ได้ ถ้าต่ออินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้...

Accessories review

TP-Link Archer MR402 และ TP-Link Archer MR202 เราเตอร์ 4G LTE อเนกประสงค์ ใช้ในบ้านก็ได้ พกไปไหนก็เลิศ! เราเตอร์ใส่ซิม 4G แล้วใช้งานได้ทันทีอย่าง TP-Link Archer MR402 และ TP-Link Archer MR202 เป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ของคนอยากขยายเครือข่าย...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก