Connect with us

Hi, what are you looking for?

GAMING ZONE

[Gaming] Razer Core กล่องเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดแบบภายนอก Thunderbolt 3 อย่างเป็นทางการแล้ว

หลังจากที่ทาง Razer เปิดตัว Razer Core กล่องเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดแบบภายนอกผ่านทางพอร์ท Thunderbolt 3 สำหรับเอาไว้ใช้งานเพิ่มความแรงทางด้านกราฟิกให้กับโน๊ตบุ๊คไปในงาน CES 2016 เมื่อช่วงเดือนมกราคม

หลังจากที่ทาง Razer เปิดตัว Razer Core กล่องเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดแบบภายนอกผ่านทางพอร์ท Thunderbolt 3 สำหรับเอาไว้ใช้งานเพิ่มความแรงทางด้านกราฟิกให้กับโน๊ตบุ๊คไปในงาน CES 2016 เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาจนได้รับรางวัล “Best of CES” ตามๆ กันมากับโน๊ตบุ๊ค Razer Blade Stealth Ultrabook™(ที่ได้รับรางวัล “Best PC” และ “People’s Choice” ประจำงาน CES 2016 ไปเช่นกัน) ล่าสุดทาง Razer ก็ได้ทำเปิดเปิดรับจอง Pre-order เจ้า Razer Core นี้อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้วครับ

razer-core-600 01

Advertisement

ทั้งนี้ด้วยความที่ Razer Core นั้นถือเป็นกล่องเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดแบบภายนอก(External Graphics Enclosure) ตัวแรกของโลกและตัวแรกของทางบริษัท Razer ทำให้ในช่วงแรกการใช้งาน Razer Core นั้นจะมีข้อจำกัดนิดหน่อยดังต่อไปนี้ครับ

  • รองรับการเชื่อมต่อผ่านพอร์ท Thunderbolt 3(ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกับพอร์ท USB Type-C) เท่านั้น
  • รองรับการใช้งานร่วมกับโน๊ตบุ๊คจากทาง Razer เท่านั้นในตอนนี้ซึ่งประกอบไปด้วยรุ่น Razer Blade Stealth Ultrabook และ Razer Blade ซึ่งจะเป็นรุ่นในอนาคต(อันใกล้นี้) ที่มาพร้อมกับพอร์ท Thunderbolt 3
  • ตัวกล่องมีขนาดช่องว่างสำหรับใส่กราฟิกการ์ดอยู่ที่ 310 mm x 152 mm x 44 mm ซึ่งทำให้สามารถที่จะรองรับกราฟิกการ์ดแยกที่มีขนาดไม่เกินขนาดเดียวกันเท่านั้น(หรือน้อยกว่าได้แต่ถ้าเป็นกราฟิกการ์ดที่มาพร้อมกับระบบระบายความร้อนที่ไม่ใช่มาตรฐานแล้วบางรุ่นอาจจะไม่สามารถใช้งานได้) ง่ายๆ เลยก็คือกราฟิกการ์ดจะต้องมีลักษณะเป็น double-wide(กินพื้นที่ในการติดตั้ง 2 slot) ลงไปและความยาวต้องไม่เกินกราฟิกการ์ดมาตรฐาน PCIe x16 นั้นเองครับ
  • รองรับกราฟิกการ์ดที่ใช้กำลังไฟฟ้าได้สูงสุดที่ 375 W เท่านั้น

razer-core-600 02

ผ่านข้อจำกัดของ Razer Core กันไปแล้ว ลองมาดูข้อดีกันบ้างครับ ด้วยความที่ Razer Core นั้นไม่ได้อิงจากทาง AMD และ NVIDIA ดังนั้นแล้วข้อดีของ Razer Core ก็คือมันรองรับกับกราฟิกการ์ดของทั้ง 2 ค่ายเพียงขอให้อยู่ภายในข้อจำกัดของขนาดตัวการ์ดและกำลังไฟที่สามารถจะจ่ายได้เท่านั้น สำหรับในแต่ละค่ายนั้นจะสามารถใช้กราฟิกการ์ดรุ่นอะไรได้บ้างไปตามดูกันได้เลยครับ

กราฟิกการ์ดจากทางฝั่ง AMD ซีรีส์ Radeon™ ซึ่งจะต้องเป็นรุ่นที่สนับสนุนมาตรฐาน AMD XConnect™ ตามที่ AMD ได้แจ้งออกมาเท่านั้นประกอบไปด้วย

  • AMD Radeon™ R9 Fury
  • AMD Radeon™ R9 Nano
  • AMD Radeon™ R9 300 Series
  • AMD Radeon™ R9 290X
  • AMD Radeon™ R9 290
  • AMD Radeon™ R9 280

กราฟิกการ์ดจากฝั่ง NVIDIA® ซีรีส์ GeForce® จะประกอบไปด้วยรุ่นดังต่อไปนี้(ตั้งแต่ในช่วงของการเปิดตัว หลังจากนั้นอาจจะมีการประกาศสนับสนุนเพิ่มเติมออกมา)

  • NVIDIA® GeForce® GTX Titan X
  • NVIDIA® GeForce® GTX 980 Ti
  • NVIDIA® GeForce® GTX 980
  • NVIDIA® GeForce® GTX 970
  • NVIDIA® GeForce® GTX 960
  • NVIDIA® GeForce® GTX 950
  • NVIDIA® GeForce® GTX 750 Ti
  • NVIDIA® GeForce® GTX 750

razer-core-600 03

สำหรับสเปคเพิ่มเติมของ Razer Core นั้นมีดังต่อไปนี้ครับ

  • ใช้การต่อไฟแยกโดยภายในจะมี Power Supply ที่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด 500 W
  • มาพร้อมกับพอร์ทขยายสำหรับการเชื่อมต่อแบบ USB 3.0 จำนวน 4 พอร์ท
  • มาพร้อมกับพอร์ท Gigabit Ethernet 10/100/1000
  • ใช้พอร์ท Thunderbolt™ 3(ที่มีรูปร่างเหมือนกับ USB Type-C) ในการเชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊ค
  • มีไฟแสดงผลเพื่อความสวยงามของทาง Razer เองในรุ่น Razer Chroma โดยผู้ใช้สามารถที่จะทำการปรับแต่ไฟนี้ได้
  • ขนาดของตัวกล่องทั้งหมดจริงๆ อยู่ที่ 104.9 mm x 339.9 mm x 218.4 mm (wide x deep x high)
  • น้ำหนักของตัวกล่องรวมอยู่ที่ 4.94 kg

อย่างไรก็ตามแต่แล้วข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของ Razer Core นั้นน่าจะเป็นราคาของมันหล่ะครับ เพราะราคาจำหน่ายของมันแบบแยกต่างหากอยู่ที่ $499 หรือประมาณ 17,970 บาท หรือถ้าท่านซื้อพร้อมกับโน๊ตบุ๊ค Razer รุ่นที่รองรับเลยราคาก็จะอยู่ที่ $399 หรือประมาณ 14,370 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวนี้ยังไม่รวมกับกราฟิกการ์ดแยกที่ท่านต้องเป็นคนซื้อมาใส่เองด้วยอีกต่างหากนะครับ เอาเป็นว่าท่านใดสนใจก็สามารถเข้าไปสั่งจองหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมดูทางลิงค์ที่มาได้เลยครับ(แต่ต้องไม่ลืมนะครับว่าในตอนที่ตัวเครื่องเริ่มส่งในเดือนเมษายนนั้นมันจะยังคงใช้งานร่วมกับโน๊ตบุ๊คของ Razer บางรุ่นก่อนเท่านั้น ท่านที่ใช้โน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นหรือยี่ห้ออื่นหมดสิทธิ์ครับผม)

หมายเหตุ – จริงๆ แล้วจะบอกว่า Razer Core นั้นเป็นกล่องเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดแบบภายนอกตัวแรกของโลกก็คงจะไม่ถูกเท่าไรนักครับเพราะก่อนหน้านี้นั้นมีผู้ทำกล่องแบบเดียวกันออกมาก่อนแล้วอย่าง BizonBOX(ดังรูปด้านล่างนี้) ทว่า BizonBox นั้นจำกัดการใช้งานร่วมกับ Mac เท่านั้นและยังใช้ร่วมกับกราฟิกการ์ดได้แค่ค่ายเดียวคือ NVIDIA อีกด้วยครับ ดังนั้นจะว่าไปแล้วหากจะพูดให้ถูกจริงๆ น่าจะบอกว่า Razer Core นั้นเป็นกล่องเชื่อมต่อกราฟิกการ์ดแบบภายนอกตัวแรกของโลกสำหรับระบบปฎิบัติการ Windows จะดีกว่าครับ

bizonboz 600

ที่มา : razerzone

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

เกมเมอร์รู้กันว่านอกจากเมาส์และคีย์บอร์ดเกมมิ่งแล้ว ก็ต้องมีจอยเกมดีๆ อีกสักตัวก็จะยิ่งครบเครื่องเล่นได้สนุกขึ้นอีกมาก โดยเฉพาะเกม RPG หรือเกมพอร์ตจากเครื่องคอนโซลเวลาคุมด้วยอนาล็อคจะเล่นได้สะดวกกว่าพอสมควร แถมจอยยุคปัจจุบันก็เชื่อมต่อแบบไร้สายได้ผ่าน USB 2.4GHz หรือ Bluetooth เวลานั่งอยู่หน้าคอมเครื่องโปรดก็เอนหลังนั่งเล่นได้สบายๆ แถมบางตัวก็เชื่อมต่อกับมือถือ, แท็บเล็ตและเครื่องเกมคอนโซลได้ เป็นจอยตัวเดียวใช้ได้ทุกอุปกรณ์ไม่ต้องซื้อแยกกันให้เปลืองเงินแล้วซ้ำซ้อนด้วย นอกจากการเชื่อมต่อ จอยยุคใหม่จะมีปุ่มมาโคร (Macro) ให้ใช้อย่างน้อย 2 ปุ่ม แถมมีซอฟท์แวร์ไว้ตั้งค่าให้กดคำสั่งลัดได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ผู้ผลิตหลายเจ้าก็เลือกใช้อุปกรณ์ภายในจอยดีขึ้น เช่นก้านควบคุมตัวละครและปุ่มทริกเกอร์เป็นแบบ...

IT NEWS

GeForce RTX 5090 Founder Edition ดีไซน์ใหม่ กระชับเล็กกว่าเดิม เพิ่มเติมชุดระบายความร้อน ช่องต่อไฟเลี้ยงแบบใหม่ เชื่อว่าหลายคนน่าจะพอได้เห็นภาพของการ์ดจอ GeForce RTX 5090 ตามสื่อต่างๆ มากขึ้นแล้ว ล่าสุดก็เปิดตัวกันไปแล้ว แม้ว่าหน้าตาจะไม่ได้เหมือนกับ FE เดิม แต่ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่ามิติเล็กลงกว่าเดิม แต่ฝ่ายพัฒนาของทาง nVIDIA ปรับปรุงให้มีการระบายความร้อนที่ดีขึ้น เพื่อให้รองรับโหลดการทำงานที่สูงขึ้นบนการ์ดรุ่นใหม่นี้...

Gaming Gear

หลังจาก Mechanical Keyboard กลายเป็นเกมมิ่งคีย์บอร์ดยอดนิยมของเกมเมอร์ส่วนใหญ่ไปแล้ว ในตอนนี้ Magnetic Switch คีย์บอร์ดก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่เกมเมอร์สาย FPS มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะควบคุมตัวละครได้รวดเร็ว ขยับตัวละครหลบไปมาได้ว่องไวด้วยฟีเจอร์ใหม่อย่าง Snap Tap โดยเฉพาะจังหวะหลบอยู่มุมตึกแล้วขยับตัวออกมาเล็กน้อยเพื่อยิงฉวยจังหวะ ทำให้ผู้พัฒนาเกมบางเกมต้องแบนฟีเจอร์ทิ้งเพื่อความยุติธรรมของเกมเมอร์ทุกคนไปโดยปริยาย หลักการทำงานของสวิตช์แม่เหล็กจะต่างจากสวิตช์ทั่วไปตรงที่ไม่ต้องปล่อยให้ปุ่มคีย์บอร์ดถอยกลับไปจนสุดให้เข้าระยะ Reset การทำงานของปุ่ม แต่ปล่อยออกมาส่วนเดียวแล้วกดปุ่มสวนกลับไปให้ทำงานได้ทันที ปรับระยะกดแล้วทำงาน (Actuation Point) ให้ตื้นขึ้นหรือลึกลงไปได้ตามแต่ถนัด...

Accessories review

Razer Kishi V2 USB-C เพียงต่อก็เปลี่ยนมือถือให้เป็นเครื่องเกมคอนโซลได้ง่ายๆ ! เล่นเกมมือถือก็ถนัดกว่าใคร ถูกใจฮาร์ดคอร์เกมเมอร์!! ความสุขของเกมเมอร์ คือมีเวลานั่งเล่นเกมโปรดในคลัง Steam ของตัวเอง แต่จะนั่งเล่นลืมเวลาก็ไม่ได้เพราะแต่ละคนก็มีภาระหน้าที่ต้องทำ แต่ถ้ามี Razer Kishi V2 USB-C เมื่อไหร่ นอกจากจะเล่นเกมมือถือได้ง่ายเหมือนจับจอยเกมอยู่ไม่พอ ขอแค่เปิดคอมและ Steam เอาไว้ก็เชื่อมต่อ Steam...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก