Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

[Tech] นักวิทยาศาสตร์พัฒนาเทคนิคการใส่ข้อมูลตรงเข้าสู่สมองเหมือนภาพยนตร์เรื่อง Matrix ได้แล้ว

หากจะว่าไปแล้วภาพยนตร์ Sci-Fi ที่กล่าวถึงรูปแบบการส่งข้อมูลเข้าสู่สมองโดยตรงนั้นมีด้วยกันหลายเรื่องเลยทีเดียวครับ ทว่าในความทรงจำของทุกท่านแล้วคงจะไม่มีเรื่องไหนที่น่าจดจำและน่าสนใจ

หากจะว่าไปแล้วภาพยนตร์ Sci-Fi ที่กล่าวถึงรูปแบบการส่งข้อมูลเข้าสู่สมองโดยตรงนั้นมีด้วยกันหลายเรื่องเลยทีเดียวครับ ทว่าในความทรงจำของทุกท่านแล้วคงจะไม่มีเรื่องไหนที่น่าจดจำและน่าสนใจมากกว่าภาพยนตร์เรื่อง Matrix ไตรภาคได้แล้ว(อย่างน้อยก็ตามความรู้สึกของผมครับ ท่านอื่นอาจจะไม่คิดแบบเดียวกันก็ไม่เป็นไรครับ) เอาเป็นว่าเพื่อท่านใดที่ไม่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง Matrix มาก่อนนั้นผมขอกล่าวสั้นครับว่าในภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นในภาคที่ 1 จะมีการเชื่อมต่อพระเอกเข้าสู่โลกของ Matrix เพื่อที่จะทำการป้อนข้อมูลเข้าสู่สมองของพระเอกของเราหรือ Neo(ซึ่งรับบทโดย Keanu Reeves) ได้โดยตรงซึ่งรวดเร็วทันใจแบบไม่กี่วินาทีพี่ Neo ของเราก็เรียนรู้ศิลปะการต่อสู้แบบกังฟูได้เรียบร้อยครับ

matrix-upload-information-600

Advertisement

ภาพจากภาพยนตร์ไตรภาค Matrix แสดงถึงลักษณะการเชื่อมต่อพระเอกเข้าสู่โลกคอมพิวเตอร์(หรือโลก Matrix)

ล่าสุดนั้นเทคนิดการโหลดข้อมูลเข้าสู่สมองโดยตรงเหมือนในภาพยนตร์เรื่อง Matrix นี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่อยู่ในภาพยนตร์แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปครับเมื่อทางกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นำโดย Dr. Matthew Phillips จาก HRL Information and System Sciences Laboratory ในแคลิฟอร์เนียได้คิดค้นและพัฒนาเทคนิคการโหลดป้อนข้อมูลเข้าสู่สมองแบบเดียวกับในภาพยนตร์เรื่อง Matrix ออกมา เพียงแต่งานของทางกลุ่ม Dr. Matthew นั้นยังคงมีความสามารถน้อยกว่าและไม่ถึงขั้นที่เห็นเป็นภาพแบบในตัวภาพยนตร์ครับ

สิ่งที่ทางกลุ่มของ Dr. Matthew ทำนั้นก็คือศึกษาสัญญาณไฟฟ้าในสมองของนักบินที่ได้รับการฝึกมาแล้วเพื่อจดจำรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้านั้น หลังจากนั้นก็นำมาโหลดเข้าสู่สมองของผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนเรื่องการบินมาก่อนผ่านทางอุปกรณ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้นซึ่งอยู่ในรูปแบบของหมวกสวมศรีษะที่ส่งกระแสไฟฟ้าผ่านผิวหนังตรงเข้าสู่สมอง ผลการทดสอบนั้นผบว่าผู้ที่ได้รับการโหลดข้อมูลเข้าไปตามกรรมวิธีของทางกลุ่ม Dr. Matthew จากที่ไม่เคยมีความรู้ทางด้านการบินมาก่อนเลยกลับกลายเป็นว่าสามารถที่จะทำการเรียนรู้เรื่องทางด้านการบินได้ดีขึ้นถึง 33% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทำการส่งสัญญาณเข้าสมองแบบหลอกๆ ไปครับ

Matrix-style technique feed info from brain 600 01

ภาพจากระบบที่กลุ่ม Dr. Matthew พัฒนาขึ้นมา

Matrix-style technique feed info from brain 600 02

ภาพซอฟต์แวร์ที่ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าในสมองและควบคุมการโหลดข้อมูลความรู้คลื่นไฟฟ้าในสมอง

เรื่องดังกล่าวฟังดูแล้วเหมือนกับนิยายหรือภาพยนตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์พอควรแต่ทาง Dr. Matthew ได้บอกเอาไว้ครับว่าจริงๆ แล้วเทคนิคดังกล่าวค่อนข้างเป็นเรื่องธรรมดาสามัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเทคนิคที่นำมาทำการพัฒนาระบบของพวกเขา Dr. Matthew ได้อธิบายต่อว่าในการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างนั้นสมองของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยจะสร้างการเชื่อมต่อในส่วนต่างๆ ของเซลล์ประสาทในสมองขึ้นและจะยึดการเชื่อมต่อดังกล่าวนี้ให้เข้มแข็งขณะที่มีการเรียนรู้ กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า neuro-plasticity

สิ่งหนึ่งที่สมองของพวกเราเหมือนกันก็คือตำแหน่งของฟังก์ชันการทำงานต่างๆ (การสั่งการร่างกายโดยสมอง) ภายในสมองนั้นจะอยู่ในตำแหน่งเฉพาะเจาะจงที่เป็นตำแหน่งเดียวกัน ระบบของ Dr. Matthew จะทำการระบุตำแหน่งของส่วนต่างๆ ในสมองนั้นเพื่อที่จะถ่ายทอดคลื่นไฟฟ้าในสมองสำหรับการเรียนรู้เรื่องต่างๆ ลงไป ณ ตำแหน่งนั้นๆ ตัวอย่างเช่นเรื่องของการบินนั้นจะต้องใช้ความสามารถทางด้านการทำงานร่วมกันของความรู้ความเข้าใจในการควบคุมการบินและประสิทธิภาพการทำงานของกลไกการขับเคลื่อนร่างกาย(ซึ่งส่วนของสมองที่ใช้ในการเรียนรู้จดจำและสั่งการทำงานทั้ง 2 อย่างนี้ในมนุษย์มักจะอยู่ในเขตตำแหน่งเดียวกันหรือใกล้ๆ กัน)

วิธีการดังกล่าวนี้จริงๆ แล้วเป็นความรู้ที่ค่อนข้างจะเก่าแล้วโดย Dr. Matthew บอกว่าองค์ความรู้เรื่องของการสื่อสัญญาณสมองส่งผ่านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งนั้นเป็นของยุคชาวอียิปต์ที่มีอายุกว่า 4,000 ปีแล้วครับ(ในสมัยนั้นใจกระแสไฟฟ้าจากปลาไหลไฟฟ้าในการกระตุ้นและลดความเจ็บปวดครับ) ทว่ากว่าที่โลกของเราจะเริ่มทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวโดยมีองค์คงามรู้และอุปกรณ์ที่พอเพียงต่อการศึกษาได้นั้นก็เป็นยุค 2000s แล้ว(เข้าปี 2000) และทางนักวิทยาศาสตร์ก็พึ่งจะเริ่มมีการค้นพบวิธีการที่จะทำให้เรื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพอย่างจริงจังได้ไม่นานนัก

อย่างไรก็ตามแต่นั้นทางกลุ่มของ Dr. Matthew จะทำการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้ต่อไปเพื่อที่จะเพิ่มปริสิทธิภาพของระบบให้มากกว่านี้ ทั้งนี้ก็คงต้องคอยดูกันต่อไปครับว่าทางกลุ่มของ Dr. Matthew จะสามารถวิจัยต่อไปได้ถึงไหน ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้เราๆ ท่านๆ อาจจะไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้เรื่องบางอย่างกันอีกต่อไป ถ้าระบบของทางกลุ่มของ Dr. Matthew สำเร็จมีประสิทธิภาพ 100% ขึ้นมาจริงๆ งานนี้สนุกแน่ครับ … ว่าแต่ว่าถ้าเรื่องดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมาคุณๆ ท่านๆ อยากที่จะใช้ระบบนี้ทำการเรียนรู้เรื่องอะไรครับลองแชร์กันหน่อยครับ

ที่มา : mirror.co.uk

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

ในช่วงสามปีหลังมานี้ การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีระบบ AI มาใช้มีอัตราการเติบโตขึ้นมาก ทำให้เราได้เห็นทั้งแบรนด์โน้ตบุ๊กและมือถือต่างโฆษณาถึงการนำ AI มาช่วยเสริมการทำงานของเครื่องในหลาย ๆ ด้าน ในบทความนี้จะมาดูกันครับว่าตอนนี้ AI ในโน้ตบุ๊ก มือถือ รวมถึงใน CPU มีไว้ใช้ทำอะไรกันบ้าง Advertisement AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence ในคำไทยจะหมายถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาให้มีการทำงานคล้ายกับสมองมนุษย์ ส่งผลให้ตัวระบบสามารถคิดคำนวณแบบซับซ้อนจากข้อมูลที่รับเข้าไป...

CONTENT

แม้ในตอนนี้ อุปกรณ์เก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานทั่วไปจะเปลี่ยนเป็น SSD เกือบจะทั้งหมดแล้วก็ตาม แต่ฮาร์ดดิสก์ (HDD) แบบจานหมุนก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่ยังมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้เก็บข้อมูลปริมาณมาก ด้วยราคาต่อความจุที่ต่ำกว่า SSD ซึ่งจะพบได้มากในกลุ่มของเครื่อง server หรือการใช้งานในระดับ data center ที่ต้องมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในปัจจุบันก็มีการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่อย่าง HAMR ที่คาดกันว่าน่าจะถูกนำมาใส่ไว้ใน HDD จานหมุนที่จะออกสู่ท้องตลาดในปีนี้ด้วย Advertisement แล้วเทคโนโลยีนี้คืออะไร จะมีผลอะไรกับฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนที่เราใช้กันอยู่บ้าง...

IT NEWS

Geoffrey Hinton หนึ่งในสามของ “เจ้าพ่อแห่ง AI” ที่ได้รับรางวัล Turing Award ประจำปี 2018 จากผลงานที่เกี่ยวข้องกับ AI เผยเหตุผลของการลาออกออกจาก Google ว่ามาจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความขัดแย้งด้านทัศนติเกี่ยวกับ AI เมื่อตอนที่ Hinton ให้สัมภาษณ์กับ The New York Times เขาได้รับคำถามที่มีการกล่าวอ้างว่าสาเหตุที่เขาลาออกจาก...

Other News

ระบบจดจำใบหน้าคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในฐานะอุตสาหกรรมภายในทศวรรษหน้า ซึ่งคาดว่าตลาดจะมีมูลค่าถึง 3.2พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 98ล้านบาท)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก