Connect with us

Hi, what are you looking for?

INTEL

[News] Intel ยอมเสียความเร็วของชิปเพื่อเพิ่มให้กับความสามารถในการประหยัดพลังงานที่มากขึ้น

จากคำพูดของผู้คร่ำหวอดในวงการหน่วยประมวลผลจากทาง Intel อย่าง William Holt ซึ่งมีประวัติในการทำงานด้านนี้มายาวนานกว่า 50 ปี(ตอนนี้อยู่ในตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารของ Intel)

จากคำพูดของผู้คร่ำหวอดในวงการหน่วยประมวลผลจากทาง Intel อย่าง William Holt ซึ่งมีประวัติในการทำงานด้านนี้มายาวนานกว่า 50 ปี(ตอนนี้อยู่ในตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารของ Intel) ได้ออกมาบอกครับว่าในอนาคตอันใกล้ต่อจากนี้ไปทาง Intel จะเริ่มต้นที่จะใช้เทคโนโลยีมูลฐานใหม่ในการพัฒนาชิปหน่วยประมวลผลของทาง Intel จากที่เคยเน้นทางด้านการพัฒนาจำนวนทรานซิสเตอร์ในหน่วยประมวลผลและเทคโนโลยีที่เรียกว่า spintronics มาอย่างยาวนานแสนนานเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เน้นด้านอื่นแล้ว

Intel_Inside_2011-Present 600

Advertisement

Holt ได้บอกเอาไว้ครับว่าชิปหน่วยประมวลผลที่จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่นี้จะเริ่มต้นการผลิตและมีปล่อยออกมาใช้งานกันจริงๆ เมื่อไร อาจจะใช้เวลานาน 4 – 5 ปีขึ้นไป แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ที่กล่าวไปในข้างต้นนั้นจะต้องได้รับการเปลี่ยนไปอย่างมากซึ่งนั่นจะส่งผลทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านการดีไซน์ตัวชิปหน่วยประมวลผลใหม่รวมไปถึงการผลิตชิปดังกล่าวก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมด้วย โดยมีความเป็นไปได้สูงเลยทีเดียวว่าในตอนแรกๆ นั้นมันจะถูกผลิตขึ้นมาพร้อมกับ silicon transistors ครับ

จากคำกล่าวของ Holt นั้นบอกว่าเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวจะไม่ได้โฟกัสไปที่ความเร็วที่สูงขึ้นของ silicon transistors อีกต่อไป(หมายความว่าความเร็วจะถูกลดลงหรือ Intel จะเริ่มเลิกให้ความสนใจในการเพิ่มความเร็วให้กับชิปหน่วยประมวลผลซึ่งแตกต่างกับปัจจุบันที่เป็นอยู่นี้ที่โดยส่วนใหญ่แล้วยังมีผู้ใช้หลายๆ คนยังคงมองความเร็วของชิปหน่วยประมวลผลว่าสื่อถึงประสิทธิภาพของชิปหน่วยประมวลผลอยู่) ทว่าเทคโนโลยีใหม่นั้นจะเน้นไปทางด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานบนตัวชิปแทน(ความสามารถในการประหยัดพลังงาน)

intel-skylake-core-i7-6700k-600

ในปัจจุบันนั้นมีหลายๆ การใช้งานที่มองประสิทธิภาพการใช้พลังงานบนตัวชิปเป็นหลักครับ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็อย่างเช่น cloud computing, mobile devices และ robotics แต่กระนั้นแล้วชิปหน่วยประมวลผลที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบันนั้นก็ได้พัฒนามาตามกฎของมัวร์(Moore’s Law) ที่เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของทรานซิสเตอร์จำนวนเป็นเท่าตัวในทุกๆ สองปี(และเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน) ซึ่งกฎดังกล่าวนั้นยืนยาวมานานกว่า 50 ปี โดยทั้งจากทาง Intel เองที่เป็นคนรักษากฎดังกล่าวนี้โดยมีความพยายามที่จะทำการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเข้าไปบนชิปหน่วยประมวลผลตามกฎด้วย

ทาง Holt นั้นบอกว่าจะยังคงทำการพัฒนาชิปหน่วยประมวลผลตามกฎดังกล่าวไปอีกสัก 2 ยุค(ของหน่วยประมวลผลซึ่งก็อยู่ในช่วง 4 – 5 ปี พอดีตามที่กล่าวในข้างต้น) ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเราคงจะได้เห็นชิปหน่วยประมวลผลมาพร้อมกับกระบวนการผลิตที่ขนาด 7 nm กัน แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งที่ทางบริษัทต้องทำตามกฎของมัวร์นั้นก็คือการเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์พร้อมกับลดขนาดของชิปไปด้วยเรื่อยๆ นั้นทางบริษัทมีต้นทุนในการนำเนินการดังกล่าวที่ค่อนข้างจะสูงเลยทีเดียวครับ(ความหมายก็คือพยายามทำตามกฎของมัวร์โดยไม่ได้สนใจเรื่องของการลดต้นทุนในการผลิตมากเท่าไรนัก)

การเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์(ซึ่งเป็นการเพิ่มความเร็วของชิปหน่วยประมวลผลและความแรงไปด้วยในตัว) นั้นก้าวไปไกลกว่าด้านการค้าแล้ว แม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้เห็นหลายๆ องค์กรเริ่มหันมาผลิตหน่วยประมวลผลที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ แทนอย่างเช่น DARPA และ Semiconductor Research Corporation ที่ร่วมลงทุนในการวิจัยอุปกรณ์ที่จะมาแทนชิปหน่วยประมวลผลในปัจจุบันอย่าง quantum mechanical(ซึ่งใช้หลักของอิเล็กตรอนในการทำงานแทนทรานซิสเตอร์ตามปกติทั่วไป) แต่ทว่าก็ยังคงติดปัญหาอยู่ที่ว่าทรานซิสเตอร์ที่ยังคงจำเป็นต้องใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตามหลักการดังกล่าวได้มีขนาดที่เล็กเกินไป

อุปกรณ์ที่ใช้เทคนิค Spintronic(ใช้การสปินของอิเล็กตรอนในซิลิคอนตัวอย่างเช่น quantum computers) กำลังจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านการจำหน่ายสำหรับผู้บริโภคในเร็วๆ นี้(เป็นไปได้ว่าเร็วที่สุดก็อาจจะเป็นปี 2017 นี้) โดย Holt คาดว่าน่าจะได้เห็นกันในอุปกรณ์ประเภทชิปหน่วยหน่วยความจำ(RAM) ที่ใช้พลังงานต่ำหรือไม่ก็อาจจะเป็นชิปกราฟิกการ์ดประสิทธิภาพสูง ซึ่งในปี 2015 ที่ผ่านมานั้นทาง Toshiba ได้เคยประกาศออกมาว่าทางบริษัทได้มีการพัฒนา spintronic memory array ที่มีอัตราการใช้พลังงานต่ำกว่า SRAM ในปัจจุบันถึง 80% ออกมาแล้ว(ในขั้นทดสอบ)

อย่างไรก็ดี Holt ได้บอกเอาไว้ครับว่าท้ายที่สุดแล้วทาง Intel คงต้องเลือกเดินตามกระแสของตลาดที่ต้องการอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานในการประมวลผลน้อยลงซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงการนำเอาเทคโนโลยี Spintronic มาใช้ในการพัฒนาชิปหน่วยประมวลผลของตัวเองซึ่งสิ่งที่ Intel ต้องทำนั้นก็คือต้องทิ้งกฎของมัวร์ไป และเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการดีไซน์และการผลิตทั้งหมดเพื่อที่จะทำเช่นนั้น โดยสิ่งที่จะหายไปจากชิปหน่วยประมวลผลของทาง Intel ก็คือความเร็วของการประมวลผลแต่ผู้ใช้งานจะได้รับประสิทธิภาพในการใช้งานที่ประหยัดพลังงานมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเข้ามาทดแทน

ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดก็เพื่อจะเป็นการตอบสนองต่อตลาดที่ในปัจจุบันนั้นเราจะเห็นได้ว่าเริ่มกลายเป็นยุคของอุปกรณ์จำพวก Internet of Things ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วในการประมวลผลแต่จำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานต่ำเข้าไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในปัจจุบันนั้นเราได้เห็นการดำนเนินเส้นทางทางธุรกิจดังกล่าวจากบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Google, Amazon, Facebook และบริษัทอื่นๆ อีกมากมายที่เริ่มจะออกแบบ data centers ในรูปแบบของตัวเองที่ประหยัดพลังงานเอาไว้ก่อนแล้ว ดังนั้นในฐานะที่ Intel เป็นผู้นำทางด้านชิปหน่วยประมวลผลในปัจจุบันก็ต้องก้าวให้ทันกับความต้องการนั้นๆ ครับ

ที่มา : technologyreview

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

เล่นเกมด้วย Intel Core Ultra 5 245K กับ 7 เกมยอดนิยมบนการ์ดจอบนซีพียู Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

INTEL

โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra 200S series ใหม่ล่าสุด ส่งมอบประสิทธิภาพการเล่นเกมและการประมวลผลอันเหนือชั้นสำหรับเดสก์ท็อปพีซี พร้อมประหยัดพลังงานมากกว่าที่เคย กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 ตุลาคม 2567 –  ประเด็นสำคัญ: อินเทล ประกาศเปิดตัวตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra 200S series...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook S 14 UX5406SA พร้อม Intel Core Ultra Series 2 สุดทรงพลัง แบตฯ ทนถึงใจ 18 ชม. ได้สบาย! ในงาน IFA Berlin เมื่อไม่นานนี้ Intel ก็เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่อย่าง Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก