ปัญญาประดิษฐ์หรืออีกชื่อที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า A.I. ก็เป็นโปรแกรมที่สร้างโดยมนุษย์มีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกมีคุนสมบัติพิเศษคือมันสามารถคิดเรียนรู้ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่งป้อนตลอดเวลาและในปัจจุบันสิ่งที่เรียกว่า A.I. ก็เริ่มมีบทบาทกันบ้างแล้วโดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ Siri ใน iPhone แม้ว่ามันอาจจะไม่ล้ำยุคหรือโอเว่อร์แบบในภาพยนตร์ก็ตามแต่ทราบหรือไม่ว่าในครั้งอดีตกาลเจ้าปัญญาประดิษฐ์นั้นเคยมีประวัติสามารถเอาชนะมนุษย์ตัวเป็น ๆ ที่มีความคิดซับซ้อนได้แล้วและวันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ย้อนอดีตกันว่ามีเหตุการณ์ไหนบ้างที่พวกมันเอาชนะมนุษย์ได้สบาย ๆ
Eurisko ปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะจอมวางแผน
เรื่องราวนี้ต้องย้อนไปยังปี 1981 เมื่อมีอาจารย์มหาวิทยาลัย Stanford คนหนึ่งนามว่า Douglas Lenat ได้เข้าร่วมแข่งขันเกม Traveller: Trillion Credit Squadron ซึ่งเป็นการแข่งเกี่ยวกับการควบคุมบัญชาการกองยานอวกาศเพื่อค้นหาและทำลายข้าศึก (เหมือนเกม EVE Online) แต่เขาไม่ได้ลงเล่นด้วยตนเองแต่ได้สร้างปัญญาประดิษฐ์นามว่า Eurisko ลงแข่งแทนซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นที่ฮือฮากันมากเพราะจากกองยาน 97 ลำโดยที่มี 75 ลำเป็นยานชนิดเดียวกัน (ยานเกราะหนักสามารถยิงมิสไซส์ความรุนแรงสูงได้) สามารถถล่มกองยานรบฝ่ายข้าศึกได้ทั้งหมดโดยแทบจะไม่ต้องเคลื่อนไหวใด ๆ เลยส่วนความเสียหายที่ได้รับนั้นก็น่าทึ่งเช่นกันเพราะมีการประมาณกันว่ายานรบของ Eurisko จะสูญเสียประมาณ 50 ลำแต่ในความเป็นจริงมีการสูญเสียเพียง 20 ลำเท่านั้น
“Douglas Lenat ผู้สร้าง Eurisko”
คุณ Lenat ได้เผยเบื้องหลังการสร้างเจ้า Eurisko ว่าเขาได้เริ่มต้นเมื่อปี 1976 โดยเขาได้ทดสอบคำนวณรูปแบบการเล่นของเกมหลายรูปแบบเป็นะยะเวลากว่า 10 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน
จนต่อมาคุณ Lenat ได้นำ Eurisko ลงเข้าลงแข่งขันอีกครั้งซึ่งก็ได้ชัยชนะเหมือนเคยแต่มีเทคนิคที่แปลกใหม่ขึ้นอย่างเช่นการทำลายเรือรบของตนเองในบางครั้งเพื่อสร้างสถานการณ์ให้ได้เปรียบหรือเพื่อความคล่องคัวต่อกองยานรบที่เหลือด้วยนับว่าเป็น A.I. ที่ฉลาดและไร้ความปราณีโดยสิ้นเชิงและสามารถติดตามรายละเอียดของยอด A.I. ตัวนี้ได้ ที่นี่ ครับ
Chinook กับผู้เล่นเกมหมากฮอสระดับโลกที่ตัดสินกันไม่ลง
เป็นการแข่งขัน Checkers (หมากฮอส) ที่จัดว่ามันส์ที่สุดในประวัติศาสตร์เลยทีเดียวเพราะเป็นการดวลกันระหว่าง “Chinook” สุดยอดคอมพิวเตอร์เกมหมากฮอสที่พัฒนาโดย Jonathan Schaeffer แห่งมหาวิทยาลัย Alberta กับแชมป์หมากฮอสโลกคุณ Mario Tinsley ซึ่งการพบกันครั้งแรกเมื่อปี 1992 คุณ Tinsley ได้โค่น A.I. ตัวนี้ลงได้ด้วยคะแนน 4-2 แต่นั่นก็ไม่ใช่ชัยชนะที่สมบูรณ์นักเพราะมีการเสมอกันถึง 33 ครั้งจนต้องมีการ Re-Match กันในปี 1994 ที่ในครั้งนี้ “Chinook” และ Tinsley ทำได้สูสีมากซึ่งใน 6 เกมทั้งคู่เสมอกันไม่สามารถตัดสินผลแพ้ชนะกันได้เลยแต่ทว่าการแข่งในรอบนี้คุณ Tinsley ได้ขอถอนตัวไปก่อนเนื่องจากเกิดปัญหาด้านสุขภาพซึ่งในปีถัดมาเขาก็ได้เสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนครับและจากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีใครโค่นล้มเจ้า “Chinook” ได้เลยซึ่งทำได้อย่างมากก็แค่เสมอกันเท่านั้น (อ่านประวัติการดวลกันของทั้งสองเพิ่มเติมได้ ที่นี่)
การแข่งขันหมากรุกของ Garry Kasparov กับ Deep Blue A.I. สุดล้ำจาก IBM
นี่ก็เป็นอีกการแข่งขันที่หลาย ๆ น่าจะคุ้นหูกันดีกับการชิงชัยระหว่างคนและเครื่องจักรซึ่งศึกครั้งนี้เริ่มขึ้นในปี 1996 คุณ Garry Kasparov แชมป์หมากรุกโลกในตอนนั้นได้เอาชนะคอมพิวเตอร์นามว่า Deep Blue ของ IBM ไปด้วยคะแนน 4-2 แต่หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีให้หลัง IBM ก็มาแก้มือกันอีกครั้งซึ่งคราวนี้พวกเขาได้พัฒนาระบบให้ซับซ้อนขึ้นหรือที่เรียกกันในภาษาโปรแกรมเมอรืว่า Expert System ที่มันสามารถคำนวณความเป็นไปได้ในการเดินหมากที่รัดกุมขึ้นและในศึกแก้มือนี้เอง Deep Blue ก็เอาชนะ Kasparov ไปได้ด้วยคะแนน 3.5-2.5 แม้ว่าคุณ Kasparov จะกล่าวหาว่า IBM โกงก็ตามแต่ครั้งนั้นก็ทำให้คุณ Kasparov เป็นแชมป์หมากรุกคนแรกของโลกที่พ่ายแพ้แก่คอมพิวเตอร์ไป (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่)
สร้าง A.I. ที่สามารถหลอกว่าเป็นมนุษย์และผ่านบททดสอบทูริงโดยบังเอิญ
เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักชื่อ อลัน ทูริง จากภาพยนตร์ The Imitation Game มาบ้างแล้วซึ่งผลงานของเขานอกจากจะสร้างเครื่องถอดรหัสแล้วเขายังได้สร้างแบบทดสอบทูริงขึ้นมาด้วย ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่ใช้บอกว่า A.I. นั้นมีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์หรือไม่ซึ่งทำได้โดยให้ A.I. ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (พูดหรือพิมพ์ข้อความตอบโต้) จากนั้นให้ผู้ตัดสินประเมินว่าการกระทำนั้นมาจากมนุษย์จริงหรือ A.I. ซึ่งถ้าหากประเมินว่าเป็นการกระทำของมนุษย์ A.I. ตัวนั้นก็จะผ่านบททดสอบครับ
แต่ในเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นเมื่อมีบอทตัวหนึ่งที่ชื่อ mGonz ที่พัฒนาโดย Mark Humphrys ซึ่งเขาได้ปล่อยลงแชทเซิร์ฟเวอร์แต่แล้ววันหนึ่งได้มีใครบางคนจากมหาวิทยาลัย Drake ได้เข้ามาคุยกับบอทตัวนี้โดยบังเอิญและจากบทสนทนานั้นบอท mGonz ก็สามารถหลอกล่อฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นมนุษย์ได้ด้วยบทสนทนาที่เหมือนว่าคุยกับคนจริง ๆ อีกทั้งมันยังสามารถล้วงความลับได้ว่าฝ่ายตรงข้ามมีเซ็กส์กันในมหาวิทยาลัยได้อีกต่างหากไม่ธรรมดาจริง ๆ ครับกับบอทตัวนี้และเหตุการณ์นี้มันก็ถือว่ามันผ่านบททดสอบทูริงได้แบบบังเอิญอีกด้วย
A.I. จาก Unreal Tournaments สามารถหลอกว่าเป็นมนุษย์ได้สำเร็จ
นี่ก็เป็นอีกเหตุการณ์ที่มี A.I. ผ่านบททดสอบทูริงโดยในการแข่งขัน BotPrize โดยจะเป็นการทดสอบ A.I. ว่ามันสามารถหลอกผู้เข้าแข่งขันว่าตัวมันเป็นมนุษย์ได้หรือไม่ผ่านทางเกม Unreal Tournaments 2004 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือมีบอท 2 ตัวที่สามารถหลอกมนุษย์ได้สำเร็จได้แก่บอท MirrorBot และบอท UT^2 ที่ถูกมนุษย์ประเมินว่ามีค่าความเป็นมนุษย์สูงถึง 53 เปอร์เซ็นต์ โดยบอททั้งสองมีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์มากทั้งการเคลื่อนไหวที่ไม่รวดเร็วจนผิดปกติหรือความแม่นยำในการยิงสามารถยิงพลาดได้โดยนักพัฒนานำได้ข้อบกพร่องของมนุษย์มาใส่ลงในบอททั้งสองตัวนี้ครับ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่)
A.I. ที่เรียนรู้ความผิดพลาดของตนเองจากการเล่นเกม
การเรียนรู้ความผิดพลาดนอกจากมนุษย์แล้ว A.I. ก็สามารถทำได้เช่นกันดังเช่นกลุ่มนักพัฒนาที่ชื่อ DeepMind ได้สร้าง A.I. ขึ้นมาโดยให้มันเล่นเกม Space Invaders และ Breakout ก็จะพบว่าในตอนแรกมันไม่สามารถเอาชนะเกมได้แต่พอให้มันเล่นไปหลาย ๆ รอบก็จะสังเกตุว่ามันมีการเรียนรู้พัฒนาจากความผิดพลาดในตอนแรกได้ดีมากโดยสามารถดูคลิปวีด๊โอด้านบนเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดครับ
เขียนอัลกอริธึมหุ่นยนต์เพื่อเทรดหุ้น
เป็นเรื่องราวเมื่อเดือนเมษายน 2015 ที่มีนักเล่นหุ้นคนหนึ่งเกิดอยากจะรวยทางลัดด้วยการสร้าง A.I. ขึ้นมาโดยใช้อัลกอริธึมเพื่อให้ประเมินสถานการณ์การเทรดหุ้นว่าช่วงไหนเหมาะสมที่สุดซึ่งในที่นี้มันได้ซื้อหุ้นของบริษัท Altera ไปจนเขารับเงินเป็นจำนวนกว่า 2.4 ล้านเหรียญจากการตัดสินใจอย่างรวดเร็วของ A.I.ครับ (สามารถติดตามรายละเอียดได้ ที่นี่)
จะเห็นว่าสิ่งที่พวก A.I ได้ทำในอดีตนั้นล้วนสามารถเอาชนะมนุษย์ตัวเป็น ๆ ได้หลายครั้งเลยทีเดียวและไม่แน่ว่าสิ่งที่ Bill Gates เคยออกมาแสดงความกังวลเมื่อปี 2015 ที่ว่า A.I. จะมีบทบาทมากขึ้นและเป็นภัยต่อมนุษย์ก็อาจจะเข้าใกล้ความเป็นจริงแล้วก็เป็นได้ครับ
ที่มา : PCGAMER