Connect with us

Hi, what are you looking for?

Microsoft News

Microsoft ทำเจ๋ง!!! ดึงเกมดัง Minecraft หนุนเด็กไทยหันมาสนใจวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ไมโครซอฟท์ ร่วมกับ Mojang AB ผู้พัฒนาเกม Minecraft ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และ Code.org องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลก ที่สนับสนุนการเรียนเขียนโค้ด ได้จัดกิจกรรม ‘Hour of Code’

ไมโครซอฟท์ ดึงเกมดัง Minecraft หนุนเด็กไทยหันมาสนใจวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ผ่านกิจกรรม Hour Of Code เพื่อสอนเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน

กรุงเทพฯ 21 ธันวาคม 2558 – ไมโครซอฟท์ ร่วมกับ Mojang AB ผู้พัฒนาเกม Minecraft ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และ Code.org องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลก ที่สนับสนุนการเรียนเขียนโค้ด ได้จัดกิจกรรม Hour of Code โดยในปีนี้ได้ใช้สื่อการเรียนเขียนโค้ดพื้นฐานผ่านเกม  Minecraft ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อเป็นสื่อกลางการเรียนรู้สำหรับนักเรียนและนักศึกษา กิจกรรม Hour of Code จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics – STEM) ให้กับเยาวชนทั่วโลก  โดยกิจกรรมได้ถูกจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 7-13 ธันวาคม 2558 ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งตรงกับสัปดาห์แห่งการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีคุณครูกว่า 7,000 คน ในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ได้นำเกมMinecraft มาสอนในชั้นเรียน

Hour of Code 1

Advertisement

สำหรับในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้จัด กิจกรรม Hour of Code Thailand ขึ้นในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม โดยมีเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป กว่า 300 คน ได้ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมเปิดงาน นอกจากนี้ ยังมีนักพากย์เกมชื่อดังขวัญใจเด็กๆ อย่าง ลุงพี-ภควัต ลือพัฒนสุข และ พี่แท็ค-อภิเดช เตี่ยไพบูลย์ มาร่วมสร้างสีสันด้วยการพากย์เกมสด Minecraft ในงานด้วย โดยจัดขึ้น ณ สำนักงาน ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

ก่อนหน้านี้  ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้มีการจัดเวิร์คชอปสอนการเรียนเขียนโค้ด มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีนักเรียนและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมแล้วกว่า 30,000 คน ในกว่า 100 โรงเรียนทั่วประเทศ

Hour of Code 5

จากรายงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เกี่ยวกับความคืบหน้าของประเทศไทยตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDG) พบว่าประชาชนในประเทศไทยในทุกวัยยังขาดทักษะที่เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ อาทิ ทักษะด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ รวมไปถึงทักษะด้านการคิดอย่างมีระบบ (Critical thinking)[1] ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการจ้างงานเยาวชนต่ำที่สุดในภูมิภาค แต่การเปิดเสรีของอาเซียนทำให้เยาวชนในปัจจุบันต้องพัฒนาตนเองให้พร้อมสำหรับการทำงานในระดับภูมิภาคเช่นกัน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เท่าทันการแข่งขัน โดยจากรายงานความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 144 ประเทศ (World Economic Forum Global competitiveness Index ปี 2014-2015) ระบุว่าประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับที่ 31 จาก 144 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับ 10 ในกลุ่มประเทศในเอเชีย รองจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรทส์ ไต้หวัน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย เกาหลีใต้และจีน ตามลำดับ[2]

Hour of Code 2

“วัตถุประสงค์หลักของกิจกรรมในวันนี้ ก็เพื่อกระตุ้นความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ในกลุ่มเยาวชนไทยให้มากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งของกลุ่มสะเต็มศึกษา ที่จะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานให้เยาวชนได้ใช้วิเคราะห์ แก้ปัญหา และใช้ความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในทุกอาชีพ และเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล” นายอรพงศ์ เทียนเงิน กรรมการผู้จัดการ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าว  “เรายินดีเป็นอย่างมาก ที่มีเด็กๆและผู้ปกครองสนใจในการเรียนเขียนโค้ด และนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำเกม Minecraft ที่มีแฟนอยู่กว่า 100 ล้านคนทั่วโลก มาพัฒนาเป็นเครื่องมือในการสอนการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐาน ภายใต้บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างสรรค์และสนุกสนาน  เราหวังว่ากิจกรรมนี้จะช่วยจุดประกายความคิดให้กับเยาวชนไทย ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนักพัฒนานวัตกรรมรุ่นต่อไป”

Hour of Code 3

“สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสวทช. ได้มีการร่วมมือกับส่วนราชการ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเกิดการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศบนเวทีการค้าโลกได้  ในวันนี้ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ ไมโครซอฟท์ ได้จัดกิจกรรม Hour of Code – Thailand ให้กับเยาวชน ผ่านการเรียนเขียนโค้ด ที่สนุกสนาน อย่างเกมMinecraft  ที่จะช่วยกระตุ้นความสนใจในวิชาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างนวัตกรรมให้กับประเทศไทย” ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าว

การเรียนเขียนโค้ดผ่านเกม Minecraft ได้รับการออกแบบและพัฒนามาเพื่อเยาวชนอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป มุ่งให้เยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการเขียนโค้ดเบื้องต้น และสัมผัสประสบการณ์เกม Minecraft ในโลก 2 มิติ โดยผู้เล่นจะได้เรียนการเขียนโค้ดผ่านการเก็บบล็อคเพื่อสร้างโค้ดคอมพิวเตอร์ ใน 14 ด่าน แบบไม่จำกัดเวลา เพื่อค้นหาและเรียนรู้คอนเซ็ปต์การเขียนโค้ดตลอดการเล่นเกม

Hour of Code 4

เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนเขียนโค้ดในวงกว้าง ตลอดปี 2559  ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ สวทช. พร้อมสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น (Change Fusion) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และ กู๊ดแฟคทอรี่ (Good Factory) Social Enterprise ด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม นำทักษะการเขียนโค้ดไปฝึกอบรมให้กับเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ด้วยการจัดกิจกรรม Train the Trainers ให้แก่นักเรียนที่เป็นหัวหน้าและทีมชมรมวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน คุณครูและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการศึกษา ในการเรียนรู้ตรรกะการทำงานของคอมพิวเตอร์และการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานผ่านรูปแบบของเกม ด้วยสื่อการสอนของ Hour of Code เพื่อนำไปสอนเยาวชนระหว่างอายุ 14 – 18 ปีต่อไป และยังขยายเป้าหมายไปยังสถานศึกษาหรือชุมชนในพื้นที่ของตนเองอีกด้วย

“เป้าหมายของสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น คือ การสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อสังคมให้เติบโต อันนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์และยั่งยืน กิจการเพื่อสังคมที่เราสนับสนุนนั้นมีหลากหลายซึ่งรวมไปถึงด้านเทคโนโลยีเช่นกัน ในครั้งนี้ เชนจ์ฟิวชั่น มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในการเป็นสื่อกลางร่วมมือกับ กู๊ดแฟคทอรี่เพื่อสอนเขียนโค้ดให้แก่เยาวชนในพื้นที่ทางภาคเหนือ ทั้งนี้เพื่อจุดประกายให้เกิดการเรียนรู้พร้อมนำไปสู่การสร้างบุคลากรให้กับอุตสาหกรรมและประเทศได้ในระยะยาว” นายไกลก้อง ไวทยาการ รองผู้อำนวยการสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น กล่าว

กิจกรรม Hour of Code เป็นส่วนหนึ่งของโครงการไมโครซอฟท์ ยูธสปาร์ค (Microsoft YouthSpark) ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกของไมโครซอฟท์ ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นและมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากขึ้น ผ่านการเข้าถึงทักษะด้านไอทีและการศึกษาที่ดีขึ้น สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนทั่วโลกได้ใช้จินตนาการ ตระหนักถึงอนาคตที่สดใส และช่วยให้พวกเขาสามารถหางานหรือสร้างงานของตนเองได้

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

ขึ้นชื่อว่าทำงานเอกสาร นอกจากคิดถึง Microsoft Word ซึ่งเป็นโปรแกรมทำงานเอกสารในปัจจุบันนี้ไปแล้ว พอมีเอกสารเนื้อหาสอดคล้องกันหลายฉบับก็คิดอยากรวมไฟล์ Word ที่กระจัดกระจายให้กลายเป็นฉบับเดียวกันจะได้ทำงานสะดวกขึ้นไม่ว่าจะส่งให้ผู้อื่นหรือสั่งปริ้นท์ก็จะได้ทำทีเดียวจบ แต่เชื่อว่าหลายคนจะใช้วิธีกดคีย์ลัด Copy/Cut แล้ว Paste เข้าเอกสารต้นทางเป็นประจำแน่นอน แต่ตามจริงวิธีการรวมไฟล์เอกสารหลายฉบับให้กลายเป็นชิ้นเดียวกันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นมากทั้งในตัวโปรแกรมโดยตรงหรือจะใช้เว็บไซต์รวมไฟล์ก็ใช้ได้สะดวกรวดเร็วจนไม่จำเป็นต้องใช้เว็บไซต์แยกมารวมให้เสียเวลาก็ยังได้ ว่าด้วยไฟล์ Microsoft Word และการรวมไฟล์ Word ไฟล์ Word ตอนนี้จะมี 2 แบบ...

SOFTWARE

ถ้าจะทำคอนเทนต์วิดีโอให้ดี เล่าเนื้อหาได้ต่อเนื่องไม่มีสะดุดและใส่เอฟเฟคดึงดูดความสนใจใดๆ ก็ต้องพึ่งโปรแกรมตัดต่ออย่างแน่นอน ซึ่งในอดีตหลายคนอาจรู้สึกว่าใช้ยาก ต้องทำความเข้าใจฟังก์ชั่นต่างๆ เยอะ ทำให้ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ปรับแต่งให้โปรแกรมเหล่านี้ใช้งานง่ายและมีฟังก์ชั่นมากขึ้น เน้นการลากคลิปเข้ามาวางใน Timeline ช่วงที่ต้องการ ตัดส่วนเกินออกแล้วเพิ่ม Text หรือเอฟเฟคต่างๆ เข้าไปได้จนจบคลิป ช่วยให้ครีเอเตอร์รุ่นใหม่สร้างผลงานแปลกใหม่อัปโหลดขึ้นแพลตฟอร์มต่างๆ ได้มากมาย แม้หลายคนคิดว่าเป็นโปรแกรมฟรีแต่ฟีเจอร์กลับให้มามากพอจะสร้างสรรค์ผลงานได้แล้ว มีเอฟเฟคกับฟังก์ชั่นใช้งานเยอะ แต่บางฟังก์ชั่นจะล็อคไว้ให้คนจ่ายเงินซื้อเวอร์ชั่น Premium, Pro เป็นรายเดือนไป แต่ก็ช่วยให้ทำงานได้คุณภาพสูงขึ้นเช่นกันAdvertisement โปรแกรมตัดต่อฟรี...

Mac Corner

ถ้าใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ไม่ว่าจะ Windows หรือ MacBook ทุกคนย่อมกดคีย์ลัดสั่งการให้คอมของตัวเองทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแน่นอน ถ้าใช้คอมมานานแล้ว คีย์ลัด Mac ก็ยังใช้วิธีกดปุ่มคำสั่ง 2-3 ปุ่มรวมกัน แค่เปลี่ยนชื่อกับภาพไอคอนปุ่มคำสั่ง (Modifier) บางปุ่มให้เป็นตามแบบฉบับของ Apple เอง คนที่ย้ายจาก Windows มาใช้ macOS ก็ใช้เวลาปรับตัวเรียนรู้คีย์ลัดสักระยะก็ใช้งานได้ถนัดอย่างแน่นอน ก่อนจะเริ่มใช้งานคีย์ลัด Mac...

Buyer's Guide

โน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 15000 บาทในอดีตอาจได้สเปคแค่พอใช้ทำงานได้นิดหน่อย ผิดกับโน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 15000 บาทในปี 2024 ซึ่งสเปคดีขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะได้ซีพียู AMD Ryzen หรือ Intel Core Series ติดตั้งมาให้ทำงานได้รวดเร็วแล้ว แทบทุกเครื่องก็ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 11 มาพร้อมใช้หรืออาจจะได้ Microsoft Office ไว้ใช้ทำงานด้วยซ้ำ ผิดกับภาพจำในอดีตว่าโน๊ตบุ๊คราคาเท่านี้แค่พอเปิดไฟล์เอกสารหรือเข้าเว็บไซต์ได้นิดหน่อย...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก