สำหรับ ProBook 470 G3 นั้นเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับงานธุรกิจระดับเริ่มต้น บนขนาดหน้าจอ 17.3 นิ้ว ที่ไม่ได้ทำมาเพื่อผู้ใช้ระดับมืออาชีพเพียงอย่างเดียว แต่ออกแบบมาให้ทดแทนการใช้งานพีซีคอมพิวเตอร์ตามบ้านได้อีกด้วย ซึ่ง ProBook 470 G3 ที่้เป็นตัว Sample review นี้ จะเป็นซีรีส์ G3 ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Intel Skylake พร้อมบอดี้ที่การปรับแต่งเพิ่มมาอีกเล็กน้อย
HP ProBook 470 G3 Specification
- Processor : Intel Core i7-6500U 2.5 GHz (Intel Core i7)
- Graphics adapter : AMD Radeon R7 M340 – 2048 MB, Core: 1021 MHz, Memory: 1000 MHz, DDR3, 64 bit interface, Catalyst 15.11.1(15.201.1151.1010), Enduro
- Memory : 8192 MB DDR3-1600, single-channel, two memory banks (one filled)
- Display : 17.3 inch 16:9, 1920×1080 pixel, AU Optronics B173HW01 V0, IPS, glossy: no
- Mainboard : Intel Skylake-U Premium PCH
- Storage : WDC Scorpio Blue WD10JPVX-75JC3T0, 1000 GB 5400 rpm, 890 GB free
- Weight : 2.61 kg , Power Supply: 338 g
มีอะไรใหม่ใน HP ProBook 470 G3
สำหรับซีรีส์ G3 ในกลุ่มของ ProBook 470 จะมาพร้อมซีพียู Intel Skylake โดยที่บางโมเดล เช่นที่รีวิวนี้ จะมาพร้อมกราฟฟิก Radeon R7 M340 ซึ่งทาง HP ทำรุ่นนี้เป็น ไมเนอร์เซนจ์ กลายเป็น HP ProBook 470 G3
- รูปทรงที่มีพื้นฐานจากรุ่นเดิม มีสัดส่วนที่บางลงจากเดิม ส่วนด้านบนฝั่งใต้จอโค้งงอขึ้น โดยมีการปรับรูปลักษณ์ 470 ไปจากโมเดล ProBook 4X0 อื่นๆ
- ตำแหน่งของอินเทอร์เฟสได้รับการแก้ไข
- มีการแยกส่วนในการปรับปรุงเฉพาะในส่วนด้านใต้ของโน๊ตบุ๊ค
- ทาง Hewlett Packard ได้มีการนำเอาคีย์บอร์ด ที่ต่างจากคีย์เดิมที่แบนเรียบในโมเดลธรรมดา มาใช้เป็นคีย์ที่มีส่วนเว้าเล็กน้อยให้เข้ากับนิ้วมือ เพื่อจังหวะการพิมพ์ที่ดีขึ้น
หน้าจอแสดงผล
จอแสดงผลในรุ่นนี้ ทำออกมาได้น่าสนใจ โดยที่ HP ติดตั้งหน้าจอในแบบด้านมาให้ ซึ่งให้ความละเอียดในแบบ Full-HD และเป็นพาแนลแบบ IPS จากตัวเลขในการทดสอบค่า Brightness อยู่ที่ 290.6 cd/m และค่า Contrast 981:1 ส่วนในโมเดลราคาประหยัดของ ProBook จะมีหน้าจอแบบด้าน HD+ (1600 x 900 pixels)
เนื่องจาก HP ที่มารีวิวในครั้งนี้เป็นจอแบบ IPS ภาพที่ได้จึงให้ความชัดเจนได้เกือบทุกมุมมอง ส่วนการใช้งานกลางแจ้งก็พอเห็นใช้ได้ แต่หลีกเลี่ยงได้ก็น่าจะดีกว่า
ส่วนค่า Response time หรืออัตราการตอบสนองในการแสดงผล HP ProBook 470 G3 ให้ตัวเลขในการทดสอบอยู่ที่ 23.6ms สำหรับ Black to White ค่าที่ตอบสนองได้ดีสุดอยู่ที่ 6.4ms และตัวเลขที่ได้จาก Grey to Grey อยู่ที่ 34.8ms ตัวเลขที่ดีที่สุด 17.ms จะว่าไปตัวเลขถ้าเทียบกับการทดสอบกับจอภาพในระดับเดียวกัน ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ได้
ประสิทธิภาพในการทำงาน
HP ใช้จอแสดงผลขนาดใหญ่ 17.3 นิ้ว สำหรับผู้ใช้งานสำหรับในบ้านและสำนักงานกับรุ่น HP ProBook 470 G3 นี้ ด้วยประสิทธิภาพในการประมวลผลที่มากกว่า ซึ่งกราฟฟิกจาก Radeon ช่วยให้การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น กับฟังก์ชั่น TPM และ Fingerprint ให้ความปลอดภัยในการเข้าถึงระบบ โดยตัวรีวิวนี้มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 1066USD หรือประมาณ 38,300 บาท และในรุ่นราคาประหยัดอยู่ที่ 902USD หรือประมาณ 32,400 บาท หรือถ้าใครสนใจ โมเดลที่เป็น HP ProBook 470 G2 ในราคาที่ลดลงเหลือ 587USD หรือประมาณ 21,100 บาทเท่านั้น
หน่วยประมวลผล
ProBook มาพร้อมพลังในการทำงานจากซีพียู ULV ของทาง Intel ในรุ่น Core i7-6500U (Skylake) Dual-core ที่มีค่า TDP ประมาณ 15W ส่วนสัญญาณ 2.5GHz และสามารถเพิ่มไปที่ 3.0GHz ในโหมด Turbo และ 3.1GHz ในแกนหลักเดียว ซึ่งเร็วกว่าในรุ่นเดิมที่เป็น Broadwell ประมาณ 100MHz ในรุ่นที่เป็น Core i7-5500U สำหรับซีพียู Skylake ให้คะแนนความเร็วที่สูงขึ้น 12% กว่าการทดสอบในซีพียูรุ่นเดิม เป็นการยืนยันถึงความสามารถของซีพียู Intel Skylake ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำงานบนซอฟต์แวร์ในแบบมัลติเธรด ที่ดีกว่าซิงเกิลเธรด ซึ่งซีพียู 6500U นี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบทั้งการต่อไฟ AC และบนแบตเตอรี่
ประสิทธิภาพของระบบ
ระบบการทำงานไม่ได้มีติดขัด ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบลื่น ผลทดสอบจาก PCMark ให้คะแนนออกมาในระดับที่ดี เช่นเดียวกับ Radeon GPU ก็แสดงศักยภาพบน PCMark 8 ได้ดีเช่นกัน เป็นไปได้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมของระบบนั้นได้มาจาก SSD ด้วยเช่นกัน ที่ทำให้ระบบสามารถบูตได้รวดเร็วและตอบสนองได้ไวยิ่งขึ้น
ระบบจัดเก็บข้อมูลและอุปกรณ์ Memory Card Reader
HP ติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ 2.5 นิ้วมาในตัวรีวิวนี้ ด้วยความเร็ว 5400 รอบต่อนาที บนความจุ 1000GB ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาในเรื่องของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและอัตราการรับ-ส่งข้อมูล ด้วยประสิทธิภาพในระดับพื้นฐานของฮาร์ดดิสก์ความเร็วที่ 5400rpm พร้อมสล็อต M.2 ที่ซ่อนอยู่ด้านหลัง ซึ่งสามารถติดตั้ง SSD เพิ่มเติมลงไปได้ จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการใช้ SSD โดยไม่ต้องเสียความจุขนาดใหญ่ไป
จากการเช็คอัตราการรับ-ส่งข้อมูลบน Memory card reader (Toshiba Exceria Pro SDXC 64 GB UHS-II) ทำให้เห็นถึงความแตกต่างเมื่อเทียบกับตัวอ่านเมมโมรีบนโน๊ตบุ๊คอื่นๆ โดยรุ่นที่ติดตั้งบน ProBook เป็นรุ่นหนึ่งที่มีความเร็วสูง และให้อัตราการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงถึง 85.3MB/s เวลาที่ก็อปปี้ไฟล์ขนาดใหญ่ การส่งไฟล์ภาพ JPG 250 ไฟล์ (5MB ต่อไฟล์) ให้ความเร็วในการทำงานที่ 63.4MB/s
กราฟฟิกการ์ด
HP ยังคงเลือกใช้กราฟฟิกการ์ดจาก AMD สำหรับในบางรุ่นของ G3 ProBook สำหรับ Radeon R7 M340 อย่างที่ในตัวอย่างรีวิว เมื่อดูรายละเอียดทางเทคนิคแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยกับ Radeon R5 M255 ที่ติดตั้งอยู่ใน ProBook 470 G2 ซึ่งใน M340 นั้น มีความเร็วต่างกันอยู่เล็กน้อย (1021 กับ 940MHz) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าคะแนนที่ดีขึ้นจากการทดสอบ 3DMark แสดงให้เห็นถึงความสดใหม่ของชิปกราฟฟิกรุ่นล่าสุดบนรุ่น G3 นี้
ส่วนทาง nVIDIA ก็มีคู่แข่งอย่าง GeForce 920M ที่สูสีกันกับ Radeon R7 M340 จากผลการทดสอบ 3DMark จะมีเพียงผลทดสอบบางอย่าง ที่ต่างกันออกไปเล็กน้อยเท่านั้น
นอกเหนือจาก Radeon GPU ก็ยังมีกราฟฟิกจาก Intel HD Graphic 520 ที่อยู่บนโน๊ตบุ๊ค ซึ่งมันสามารถสลับการทำงานได้ โดยที่กราฟฟิกจาก Intel จะประหยัดการทำงานทั้งในโหมดปกติและการใช้บนแบตเตอรี่ ในขณะที่ Radeon จะรับผิดชอบในการทำงานที่ต้องการพลังประมวลผล เช่น การเล่นเกม กราฟฟิกทั้งสองนี้จะสลับการทำงานให้อัตโนมัติ แต่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ด้วยตัวเองได้ สำหรับ nVIDIA สามารถสลับใช้ได้ด้วยเทคโนโลยี Optimus ที่สลับเปลี่ยนได้ลื่นไหล
ประสิทธิภาพในการเล่นเกม
ProBook สามารถเรนเดอร์บรรดาเกมบนความละเอียด HD (1366×768 pixels) ได้ดี บนการตั้งค่าคุณภาพที่ Low – Medium สำหรับเกมที่ต้องอาศัยประสิทธิภาพการทำงานสูง เช่น Batman: Arkham Knight and The Witcher 3 นั้นยังไม่สามารถทำเฟรมเรตได้มากนัก แม้จะอยู่บนพื้นฐานความละเอียดที่ต่ำก็ตาม นั่นทำให้ดูเหมือนว่า Radeon ยังไม่สามารถดึงเอาเฟรมเรตจากเกมโหดๆ เหล่านี้ได้ไม่มากนักบนหน้าจอแบบ Full-HD
ผู้ใช้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และได้พลังการทำงานจาก Skylake บน ProBook โดยไม่ต้องการกราฟฟิกแยก Intel HD Graphic 520 ในบางครั้งก็ให้เฟรมเรตจากกราฟฟิกได้ในระดับล่างถึงกลางได้จากการทำงานของ Dual channel mode เช่นเดียวกับในการทดสอบบน ProBook 430 G3 (Core i5-6200U, HD Graphic 520) ที่มีความแตกต่างระหว่างการทำงานโหมด Dual channel และ Single channel
ไดรเวอร์ใหม่ : Radeon Software Crimson Edition
ในระหว่างที่ทดสอบใช้ AMD Driver Package ในการทำงาน ที่เรียกว่า Radeon Software Crimson Edition ซึ่งมาแทนการทำงาน Catalyst driver ดังนั้นจึงใช้เวลาในการทดสอบที่รวดเร็ว เพียงแค่เสียเวลาติดตั้งไดรเวอร์ตัวเดียวสั้นๆ เท่านั้น
องค์ประกอบสำคัญของแพ็คเกจใหม่ในการตั้งค่าบน Radeon settings จะมีส่วนควบคุมการทำงานจาก Catalyst Control Center มีการจัดเรียงอย่างชัดเจนและดูทันสมัย ในการทดสอบ 3DMark เช่นเดียวกับบนเกม Tomb Raider และ Grid: Autosport ร่วมกับไดรเวอร์ อาจจะไม่เห็นความแตกต่างมากนัก จากการทดสอบ Crimson ให้ผลที่ดีกว่าไดรเวอร์เดิมประมาณ 1% ในทุกการทดสอบและจากการทดสอบ ก็ไม่ได้เห็นความผิดปกติแต่อย่างใดในการทำงาน ในเกมต่างๆ ยังคงเป็นไปอย่างราบลื่น ถือว่าไดรเวอร์ใหม่นี้ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น แถมยังมีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย
เสียงรบกวน
ProBook ให้เสียงการทำงานที่น้อยมาก โดยเสียงเล็กๆ ที่เกิดขึ้น มาจากการโหลดหนักๆ ของระบบ พัดลมทำงานรอบเบาในโหมด idle และเช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คทั่วไป หากผู้ใช้ต้องการลดเสียงรบกวนให้น้อยลง การเลือกใช้ SSD ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง พัดลมจะไม่เร่งรอบการทำงาน หากไม่ได้มีการโหลดใช้งานที่หนักเกินไป จากที่วัดระดับเสียงอยู่ที่ประมาณ 38.9 dB จากการทดสอบ Stress test ซึ่งถือเป็นอัตราที่ยอมรับได้
อุณหภูมิในการทำงาน
ในการทดสอบซีพียูด้วย Stress test ด้วยโปรแกรม Prime95 and Furmark อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ที่ความเร็ว 2.8GHz ในโหมด AC และ 2.9GHz ในโหมดแบตเตอรี่ ด้วยกราฟฟิกทำงานที่ 551MHz ในโหมดแบตเตอรี่ และ 1021MHz ในการทำงาน AC mode ด้วยความเร็วอยู่ในช่วงประมาณ 943-1021MHz แม้ว่า CPU และ GPU ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงสุด อุณหภูมิในหลายจุดไม่ได้เกินไปกว่า 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการทดสอบอย่างหนักหน่วง แต่ถ้าในการใช้งานจริงก็จะน้อยกว่านี้ในรูปแบบการทำงานปกติ
การใช้พลังงาน
ในการใช้พลังงานในโหมด idle ขยับขึ้นไปที่ 12.2W ซึ่งเป็นอัตราปกติของโน๊ตบุ๊ค 17.3 นิ้ว ที่เป็น ULV ดังนั้นความต้องการในการใช้พลังงานของ ProBook ใกล้เคียงกับที่เคยเกิดขึ้นในซีพียู Broadwell ก่อนหน้านี้ โดย Skylake มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการทดสอบ Stress test ต่างจาก Broadwell ProBook ในการทำงานโหมดเทอร์โบ HP ProBook 470 G3 มีการใช้พลังงานต่อประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการใช้เพาเวอร์ซัพพลายระดับ 65W
ระยะการใช้งานแบตเตอรี่
ระยะการใช้พลังงานบนแบตเตอรี่บนโน๊ตบุ๊ค 17.3 นิ้ว สำหรับ ProBook Skylake นี้ มีความจุของแบตลดลงจากในรุ่น ProBook Broadwell อยู่เล็กน้อย ประมาณ 44Wh กับ 51Wh ซึ่ง ProBook ทำงานอยู่ที่ประมาณ 4.37 ชั่วโมง ในโลกของการใช้งานจริงกับ WiFi ในการทดสอบนี้จำลองการท่องเว็บไซต์ ด้วยการตั้งค่าระบบพลังงาน “Balance” ปรับความสว่างให้อยู่ที่ 150cd/m ทดสอบด้วยการรันวีดีโอ Big Buck Bunny (H.264 encoding, 1920×1080 pixels) ในแบบวนลูป พร้อมกับปิดโมดูล Wireless ซึ่งผลที่ได้ ProBook สามารถทำงานได้นานถึง 4.30 ชั่วโมง
ภาพรวมการทำงาน
ProBook มาพร้อมกับความสามารถที่จะใช้แทนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีภายในบ้านสำหรับผู้ใช้มากมาย ด้วยพลังจาก Intel Skylake ซึ่งมีประสิทธิภาพมากพอสำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ รวมไปถึงกราฟฟิกจาก Radeon ที่ตอบสนองต่อผู้ใช้ในการเล่นเกมบนคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญยังมีการทำงานที่เงียบและเสียงรบกวนน้อย พร้อมพื้นที่มากถึง 1TB ให้เพียงพอต่อการจัดเก็บและใช้ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างสบาย รวมถึงสนับสนุนการติดตั้ง SSD ผ่านสล็อต M.2 2280 ในตัว ทุกสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน ในด้านของจอ IPS ที่มาพร้อมความละเอียด Full-HD ที่ติดตั้งใน ProBook ให้ความคมชัดและความสว่างที่ดีอีกด้วย
ที่มา :notebookcheck