หมายเหตุ – บทความแปลนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ Adi Robertson ผู้สื่อข่าวของ TheVerge เท่านั้น โดยทาง NBS ต้องการเสนอมุมมองที่แตกต่างของผู้สื่อข่าวในวงการคอมพิวเตอร์ว่าเขามองคอมพิวเตอร์ PC และโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมในสมัยนี้เป็นอย่างไร โปรดใช้วิจารณาญาณในการอ่านครับ
ในงาน IFA 2015 นั้นเราได้เห็นค่อยผู้ผลิต PC และโน๊ตบุ๊คใหญ่ๆ เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมออกมามากมายหลายรุ่นครับ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ของ Asus, Acer, MSI และ Lenovo ที่ต่างก็ขนเอาเทคโนโลยีแบบใหม่และดูเอาจริงเอาจังกับการเล่นเกมมาไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน ไม่ว่าจะเป็นระบบระบายความร้อนที่ดูทันสมัย, ความสามารถในการปรับแต่งและควบคุมตัวอุปกรณ์ภายในได้หลายระดับและที่สำคัญที่สุดก็คือสเปคที่จัดมาแข่งกันนั้นเรียกว่าแรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปัจจุบันหล่ะครับ
อย่างไรก็ตามแต่ถึงแม้ว่าแบรนด์ต่างๆ ที่กล่าวมาพยายามจะสื่อให้เห็นถึงความสามารถในการผลิต PC สำหรับการเล่นเกม ทว่าสิ่งที่เราได้พบในการนิยามคอมพิวเตอร์ PC สำหรับการเล่นเกมของแต่ละแบรนด์นั้นก็เหมือนๆ กันไปหมดเลยครับ เหมือนกับว่าถ้าจะผลิตคอมพิวเตอร์ PC สำหรับการเล่นเกมแล้วจะต้องเป็นไปตามกฎดังต่อไปนี้เท่านั้น ได้แก่
- ตัวเครื่องจะต้องมีการใช้สีแดง, เขียว, ดำและเงิน ในการตกแต่งลวดลายต่างๆ
- ตัวเครื่องจะต้องมีมุมลาดเอียงเข้ามาอย่างน้อยหนึ่งมุม
- ด้องมีส่วนที่สามารถแปล่งแสงได้(ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดหรือตราของตัวเครื่องเป็นต้น)
- และในผลสุดท้ายที่สุดของการสร้างคอมพิวเตอร์ PC หรือโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมก็คือการที่ตัวเครื่องจะต้องสามารถดูแล้วเป็นเสมือนอุปกรณ์ที่อยู่ในภาพยนต์ Sci-Fi ชื่อดังอย่างเช่น Terminator, Predator, Transformer ฯลฯ
หากจะว่าไปแล้วในระดับหนึ่งกฎต่างๆ เหล่านี้ก็ถือว่ารับได้เพราะมันเป็นการสร้างความแตกต่างและความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้อย่างชัดเจนครับว่าสิ่งที่พวกเขาซื้อไปนั้นเป็นคอมพิวเตอร์ PC หรือโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกม ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้สมัยใหม่ชอบมากกว่าการที่จะทำการสร้างหรือปรับแต่งคอมพิวเตอร์ PC ขึ้นมาสำหรับการเล่นเกมด้วยตัวเอง
ทว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นผลตามมาของกฎต่างๆ เหล่านี้ก็คือคอมพิวเตอร์ PC หรือโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมเครื่องไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมดจนทำให้เกิดความน่าเบื่อขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่ควรจะเป็นเช่นนั้นครับ(เหมือนกับเกมที่เราเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ก็ไม่ควรจะทำให้เราเบื่อเช่นกัน)
ถามว่าเรื่องดังกล่าวผิดหรือไม่ คำตอบนั้นก็คงบอกว่าไม่ผิดครับ แต่เชื่อว่าทุกคนคงไม่ต้องการที่จะเสียเงินมากมายเพื่อได้สิ่งที่เหมือนๆ คนอื่นจนไม่สามารถจะแยกความแตกต่างได้ ASUS นั้นสัญญาว่าจะนำเราไปสู่ “Republic of Gamers”(สาธารณรัฐของเกมเมอร์) ส่วน Acer ก็นำเอาความเป็นเผ่าพันธุ์ Predator มาสู่เรา แต่แล้วสิ่งที่เราได้เห็นจากการออกแบบคอมพิวเตอร์ PC และโน๊ตบุ๊คของทั้ง 2 บริษัทกลับเป็นสิ่งที่เหมือนๆ กันและยิ่งไปกว่านั้นมันดูเหมือนคอมพิวเตอร์ PC และโน๊ตบุ๊คสำหรับเด็ก 15 ขวบที่ติดเกมอย่าง Call of Duty มากกว่า
สิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับบริษัทที่ใช้เงินลงทุนและเวลาไปมากบนเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างแบบนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาควรที่จะสร้างความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในตลาดและสามารถเป็นที่จดจำเวลาพบเห็นได้มากกว่า ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนในเรื่องของการสร้างความแตกต่างก็อย่างเช่น Sony Xperia กับ Moto X ที่เชื่อว่าเมื่อทุกคนได้เห็นแล้วต้องสามารถแยกออกได้ทันทีว่าเครื่องไหนคือแบรนด์ใด
ขณะที่ผู้ผลิตทุกๆ บริษัทต่างก็มีแบบแผนของผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง ทว่ามีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่มุ่งเน้นจริงจังกับการเป็นบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับการเล่นเกมอย่างแท้จริง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของพวกเขาแต่อย่างใดครับ เพราะหากจะว่าไปแล้วคำว่า “นักเล่นเกมอย่างจริงจัง” ถูกกำหนดความหมายว่าจะต้องเป็นคนวัยหนุ่ม(หรืออย่างน้อยก็เด็กหนุ่ม) ที่จะจริงจังจริงๆ ในการลงเงินไปกับการใช้อุปกรณ์สำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะ ซึ่งนั่นทำให้ผู้ผลิตหลายๆ บริษัทมองว่าตลาดนักเล่นเกมนั้นเป็นตลาดที่ทำรายได้อยู่ในระดับกลางเท่านั้นไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยง
“แต่ในความเป็นจริงแล้วโลกของการเล่นเกมนั้นใหญ่กว่าที่ผู้ผลิตเหล่านั้นจินตนาการไว้มากครับ”
นักเล่นเกมในโลกของความจริงนั้นไม่ได้มีเพียงเด็กหนุ่มเท่านั้น แต่คนในวัยทำงานไปจนกระทั่งผู้สูงวัยที่เคยเป็นคนหนุ่มในช่วงปี 60s บางคนก็ยังคงเล่นเกมผ่านคอมพิวเตอร์อยู่ หากย้อนกลับไปในปี 1993 นั้นจะพบว่าโปรแกรม Benchmark ไม่ใช่ตัวขับเร่งให้นักเล่นเกมซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆ อย่างการ์ดจอ 3 มิติ และก็ไม่ใช่เกมดังๆ อย่าง Doom เช่นเดียวกัน ทว่ามันกลับเป็นเกมที่มีชื่อว่า Myst ซึ่งเป็นเกมแนว Graphic adventure, puzzle ที่ทำให้นักเล่นเกมในสมัยนั้นหันมาซื้อการ์ดจอ 3 มิติกันยกใหญ่
ถ้าหากจะพูดถึงในยุดปัจจุบันแล้วหล่ะก็เมื่อ virtual reality(การสร้างภาพเสมือนจริง) เริ่มขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่านี้ นักเล่นเกมจะหันมาซื้อฮาร์ดแวร์สำหรับการเล่นเกมอย่างจริงจังและมันจะไม่ใช่เพียงแค่นักเล่นเกมเท่านั้นเพราะฮาร์ดแวร์เพื่อสร้างภาพเสมือนจริงดังกล่าวนี้จะขยายการใช้งานไปอย่างกว้างขวางสู่ผู้ใช้ทั่วไป
ซึ่งผลลัพธ์นั้นก็จะทำให้ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์ PC หรือโน๊ตบุ๊ตที่มีสเปคสูงขึ้นตามไปด้วย แน่นอนครับว่าการแพร่กระจายดังกล่าวนี้จะใหญ่มากกว่าจินตนาการของหลายๆ บริษัทในปัจจุบันโดยมันจะไม่อยู่แค่กับสมาร์ทโฟนหรือคอนโซลตามที่เราเห็นในตอนนี้อย่างที่หลายๆ บริษัทพยายามให้เห็นและใหญ่มากกว่าวัฒนธรรมเดี่ยว(กฎทางด้านบน) ที่บริษัทอย่าง Asus และ Lenovo ให้ความสำคัญอย่างแน่นอน
สิ่งหนึ่งที่อาจจะเป็นคำถามอยู่ในใจของหลายๆ ท่านก็คือ หากผู้ใช้ที่เป็นนักเล่นเกมคอมพิวเตอร์จริงๆ สามารถที่จะทำการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ PC สำหรับการเล่นเกมของตัวเองขึ้นมาได้ภายใต้งบประมาณที่ตั้งเอาไว้ของแต่ละคน ทว่าต้องไม่ลืมครับว่าความสามารถในการประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเองนั้นใช่ว่าทุกคนจะมี และที่สำคัญที่สุดการจะได้มาซึ่งคอมพิวเตอร์ PC สำหรับการเล่นเกมจริงๆ จังๆ นั้นก็ต้องใช้งบประมาณสูงพอสมควรซึ่งเด็กวัยรุ่นหรือวัยเรียนนั้นอาจจะไม่มีงบประมาณตรงนี้ได้
ดังนั้นก็ถึงเวลาแล้วครับที่ผู้ผลิตจะหันมาให้ความสำคัญกับตลาดของนักเล่นเกม PC เสียทีและเหนือไปกว่านั้นก็คือความพยายามในการสร้างความแตกต่างของตัวเองขึ้นมาอย่างชัดเจนเพราะเชื่อได้ว่าหลายๆ คนก็คงไม่ได้ต้องการจะมีคอมพิวเตอร์ที่รูปร่างเหมือนหุ่นยนต์จากภาพยนต์ Sci-Fi ซ้ำๆ เดิมมาตั้งใช้งานบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ครับ
ที่มา : theverge