Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

Kingston HyperX Predator 480GB ความแรงของ SSD ในรูปแบบ PCI-Express

Kingston HyperX Predator 480GB เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในแบบ SSD แต่ติดตั้งบนอินเทอร์เฟสแบบ PCI-Express สำหรับการทำงานบนเครื่องพีซี ด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับสล็อต PCI-Express

สำหรับตลาด SSD แล้ว เวลานี้หลายคนคงอาจจะเริ่มมีไอเดียในการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากการใช้งานในรูปแบบของ SSD ที่ต่อพ่วงกับ SATA แล้ว ยังมีทางเลือกในการใช้งานกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในรูปแบบของ M.2 Card ที่ติดตั้งบนสล็อต M.2 ที่อยู่บนเมนบอร์ดหรือบนโน๊ตบุ๊ค ซึ่งมีขนาดที่เล็ก แต่ให้ความจุและความเร็วในการทำงานที่เทียบได้กับ SSD และล่าสุดก็มาอยู่ในรูปแบบของการ์ดที่ติดตั้งบนสล็อต PCI-Express สำหรับเครื่องพีซี ซึ่งนอกจากจะให้ความจุที่มากขึ้นแล้ว ยังมีความเร็วในการติดต่อข้อมูลที่มากขึ้นอีกด้วย

Kingston HyperX Predator 480GB (3)

Advertisement

Kingston HyperX Predator 480GB เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในแบบ SSD แต่ติดตั้งบนอินเทอร์เฟสแบบ PCI-Express สำหรับการทำงานบนเครื่องพีซี HyperX Predator SSD PCle มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 240GB และ 480GB รองรับการเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เฟส PCIe 2.0 x4 ให้ความเร็วได้ถึง 1400 MB/s สำหรับการอ่าน และ 1000 MB/s ตามที่ระบุเอาไว้ในสเปค โดยมีคอนโทรลเลอร์ Marvell 88SS9293 ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงาน ด้วยรูปแบบของอุปกรณ์ที่เป็น M.2 Card ติดตั้งบนสล็อตของการ์ดที่ใช้อินเทอร์เฟส PCI-Express Gen 2.0 x 4 ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราอาจได้เห็นกันเยอะขึ้นในท้องตลาด

การเปลี่ยนมาเป็นอินเทอร์เฟสแบบ PCI-Express เป็นเหมือนการลดข้อจำกัดในเรื่องของแบนด์วิทธ์ นั่นหมายถึงอัตราของการรับ-ส่งข้อมูลนั้นมีมากขึ้น ด้วยแบนด์วิทธ์ที่กว้างกว่าเดิม โดยถ้ามองจากตัวเลขในทางทฤษฏีแล้ว PCI-Express นั้นให้แบนด์วิทธ์ได้มากกว่า SATA ด้วยค่าที่เกิดขึ้นระหว่าง GB/s มาเจอกับ MB/s ซึ่งเมื่อย้อนในอดีตที่ผ่านมา Kingston จะยังไม่ได้เข้าถึงการใช้งาน PCI-Express มากนัก แต่เน้นไปที่ระบบการทำงานบนคอนโทรลเลอร์พื้นฐานในแบบ Multiple SATA ที่ทำงานบน PCI-Express และมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้ใช้ระดับองค์กร ดังนั้นการมาของ HyperX Predator PCIe SSD จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่เทียบได้กับการใช้ฮาร์ดแวร์ในระดับองค์กร

Specification

  • ฟอร์มแฟคเตอร์: M.2 มาพร้อมกับอแดปเตอร์แบบ Half-Height Half-length ที่ใช้งานได้กับเมนบอร์ดทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่
  • การรับประกัน: รับประกัน 3 ปี และฟรีบริการทางด้านเทคนิค
  • ฟอร์มแฟคเตอร์: M.2 2280
  • อินเทอร์เฟส: PCIe Gen 2.0 x 4
  • ความจุ(1): 240GB, 480GB
  • ชิปคอนโทรเลอร์: Marvell 88SS9293
  • การใช้พลังงาน: ขณะหยุดนิ่ง 38W / โดยเฉลี่ย 1.4W / อ่าน 1.99W (สูงสุด) / เขียน 8.25W (สูงสุด)
  • อุณหภูมิของสื่อบันทึก: -40°C~85°C
  • อุณหภูมิในการทำงาน: 0°C~70°C
  • การใช้พลังงาน: ขณะหยุดนิ่ง 1.38W / โดยเฉลี่ย 1.4W / อ่าน 1.99W (สูงสุด) / เขียน 8.25W (สูงสุด)
  • อุณหภูมิของสื่อบันทึก: -40°C~85°C
  • อุณหภูมิในการทำงาน: 0°C~70°C
  • ขนาด: 80มม. x 22มม. x 3.5มม. (M.2)
    180.98มม. x 120.96มม. x 21.59มม. (ใช้อแดปเตอร์ HHHL – bracket แบบมาตรฐาน)
    181.29มม. x 80.14มม. x 23.40มม. (ใช้อแดปเตอร์ HHHL – bracket แบบ low-profile)
  • น้ำหนัก: 10 กรัม (M.2)
    73 กรัม (รวมอแดปเตอร์ HHHL – bracket แบบมาตรฐาน)
    68 กรัม (รวมอแดปเตอร์ HHHL – bracket แบบ low-profile)
  • การสั่นสะเทือนระหว่างทำงาน: 2.17G Peak (7–800Hz)
  • การสั่นสะเทือนเมื่อไม่ทำงาน: 20G Peak (10–2000Hz)
  • อายุ : 1 ล้านชั่วโมง MTBF
  • การรับประกัน/การสนับสนุน: รับประกัน 3 ปี และฟรีบริการทางด้านเทคนิค
  • จำนวนไบต์ที่เขียนทั้งหมด (TBW)(3) :
    240GB: 415TB 1.6 DWPD(4)
    480GB: 882TB 1.7 DWPD(4)

แกะกล่อง

 

Kingston HyperX Predator 480GB (5)

อุปรกรณ์ต่างๆ จัดมาอยู่ในกล่องเรียบร้อย เมื่อเปิดออกดูก็จะเห็นตัวการ์ดและคู่มือ รวมถึงอุปกรณ์ที่ช่วยประกอบในการใช้งาน

Kingston HyperX Predator 480GB (6)

เอาออกมาวางให้เห็นกันชัดๆ กับชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยตัวการ์ด HyperX Predator สีดำ พร้อม Bracket ในแบบ Low Profile รวมถึงสติกเกอร์และ S/N ของซอฟต์แวร์

Kingston HyperX Predator 480GB (7)

มาดูกันใกล้ๆ กับ Bracket ที่มีให้เลือกใช้ 2 ขนาด คือแบบปกติสำหรับเครื่องพีซีทั่วไปและแบบ Low Profile สำหรับติดตั้งบนเคสขนาดเล็ก

Kingston HyperX Predator 480GB (8)

หน้าตาของตัวการ์ดแบบเต็มๆ จะเห็นได้ว่าคล้ายกับบรรดาการ์ดเสียงหรือการ์ดที่เป็น Expansion ทั่วไป ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราเห็นกันบ่อยในท้องตลาด

Kingston HyperX Predator 480GB (9)

อีกมุมหนึ่งของการ์ดที่ออกแบบได้เรียบง่าย แต่ดูดี

Kingston HyperX Predator 480GB (10)

ในส่วนของการ์ดเป็นการติดตั้ง M.2 Card ลงไปในสล็อตที่อยู่บนการ์ดอีกทีหนึ่ง

Kingston HyperX Predator 480GB (11)

สล็อตของการ์ดในแบบ PCIe X4 ที่เป็นตัวช่วยให้ความเร็วในการทำงานนั้นสูงขึ้น

Kingston HyperX Predator 480GB (12)

ตัวเก็บประจุที่เข้ามามีบทบาทอยู่บนการ์ด HyperX Predator รุ่นนี้

Kingston HyperX Predator 480GB (13)

ด้านหลังการ์ดดูเรียบง่าย แทบไม่มีอะไรมาก เพราะโครงสร้างหลักไปอยู่ที่การ์ด M.2 ที่ติดตั้งอยู่ภายใน

Kingston HyperX Predator 480GB (14)

เปรียบเทียบกันเล็กน้อย สำหรับ SSD ในรูปแบบของ SATA และ PCIe SSD บนพื้นฐานของการ์ดนั่นเอง

ประสิทธิภาพในการทำงาน

HyperX Predator_Properties

ผลจากการตรวจเช็คของ Drive Properties แสดงให้เห็นถึงความจุ Total 447GB หลังจากฟอร์แมตในรูปแบบ NTFS

HyperX Predator_1gb

ผลการทดสอบด้วย Anvil’s Storage ที่ให้อัตรา Read ได้มากถึง 1380MB/s และอัตรา Write 789.51MB/s

HyperX Predator_ASSSD  HyperX Predator_ASSSD-copy bench

ส่วนตัวเลขจาก ASSSD ชี้ให้เห็นอัตรา Read/ Write ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งยากที่จะเห็นได้บน SSD ในรูปแบบของ SATA ทั่วไป

HyperX Predator_ASSSD-compress bench

เช่นเดียวกับการทดสอบ Compression บนโปรแกรม ASSSD ที่ลากขึ้นไปแตะมากกว่า 1300MB/s สำหรับการ Read ส่วนอัตรา Write อยู่ที่เกือบ 1000MB/s เลยทีเดียว

HyperX Predator_IO Random Mix HyperX Predator_IO Random HyperX Predator_IO Random Write

ผลจากการทดสอบ I/O Threaded QD ในการ Random Read/ Write ที่ให้ผลได้อย่างน่าทึ่ง

HyperX Predator_cryst

กับการทดสอบ Crystal Disk Mark 1GiB กับผลที่ได้มากกว่า 1500MB/s และ 1000MB/s สำหรับ Read และ Write ที่จัดว่าเป็นความแรงที่น่าสนใจไม่น้อย

Kingston HyperX Predator 480GB (14)

สุดท้ายกับประสิทธิภาพในการ Copy file ISO ขนาด 6.5GB ที่อยู่บน EXT HDD ไปยังไดรฟ์ Predator ใช้เวลาเพียง 1.09 วินาทีเท่านั้น

Kingston HyperX Predator 480GB (15)
Conclusion

สำหรับ HyperX Predator รุ่นนี้ ต้องยกให้เลยว่าเป็น SSD ในอีกรูปแบบของ PCI-Express อีกรุ่นหนึ่งที่สร้างความโดดเด่นในการทำงานเป็นอย่างดี ซึ่งในตลาดเวลานี้อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ไม่มากนัก สำหรับคนที่กำลังมองหาอุปกรณ์ในการลดข้อจำกัดด้านความเร็ว ด้วยอัตราตอบสนองที่ดีกว่า SSD ทั่วไปอยู่เท่าตัว โดยเฉพาะแบนด์วิทธ์ที่เกิน 1000MB/s ของการ์ดรุ่นนี้ ก็น่าจะช่วยให้การทำงานที่เกี่ยวกับการประมวลผลร่วมกับไฟล์ขนาดใหญ่ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยความเร็วที่ได้จากการทดสอบนี้ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ซึ่งถ้ามองในแง่ของการทำลายกำแพงที่เป็นข้อจำกัด ที่ปัจจุบันฮาร์ดไดรฟ์แบบจานหมุนไม่สามารถตอบสนองได้ เวลานี้ถึงมี SSD แต่การทำงานของ PCIe SSD กลับให้ได้มากกว่า รวมถึงเกมเมอร์ก็น่าจะได้อานิสงไปด้วย เพราะด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 480GB ก็น่าจะเพียงพอต่อการเล่นเกมได้มากขึ้น ไม่ต้องไปฝากไว้ไดรฟ์อื่นๆ ให้เกิดความล่าช้าและยังส่งผลต่อการโหลดเข้าสู่เกมที่รวดเร็ว ด้วยอัตรา Read ที่ฉับไว ที่สำคัญยังติดตั้งง่าย แค่เสียบเข้ากับสล็อต PCI-Express ไม่ว่าจะเป็น X4, X8 หรือ X16 แล้วเข้าระบบปฏิบัติการ จากนั้นติดตั้งไดรเวอร์ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น ตอบโจทย์การใช้งานที่หนักๆ ในปัจจุบันได้ดีทีเดียว
จุดเด่น
-มีความจุมากถึง 480GB
-ความเร็วในการทำงานสูงและมีประสิทธิภาพ
-รองรับการอัพเกรดในอนาคต
ข้อสังเกต
-รองรับการทำงานบนเครื่องพีซีเท่านั้น

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

แรม Kingston FURY Renegade DDR5 8000 RGB เร่งสปีดเกมมิ่งพีซีและ OC ให้ทะลุขีดจำกัด แรม Kingston FURY RENEGADE DDR5 8000 48GB RGB Edition จัดเป็นแรมในกลุ่มพรีเมียม เพื่อเพาเวอร์ยูสเซอร์ ที่ต้องการประสิทธิภาพขั้นสูง เพื่อรีดพลังจากระบบที่ใช้ไปให้ถึงขีดสุด มาในดีไซน์ที่ดูล้ำสมัย...

Accessories review

HyperX Pulsefire Haste 2 Core และ HyperX Pulsefire Haste 2 Mini รุ่นใหม่ 2 ไซซ์ จับง่ายเข้ามือ น้ำหนักอย่างเบา 59 กรัม! HyperX Pulsefire Haste 2 Core และ...

Buyer's Guide

เกมมิ่งเกียร์นอกจากเมาส์และคีย์บอร์ดจะจำเป็นแล้ว จอยเกมก็สำคัญไม่แพ้กันโดยเฉพาะคนรักเกม RPG ยิ่งต้องมีติดโต๊ะเอาไว้สักอันให้ควบคุมตัวละครได้ง่ายทันใจ ถ้าใช้ได้ถนัดมือแล้วก็แทบจะเลี่ยงอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้เลย เพราะผู้เล่นสามารถคุมทุกคำสั่งได้ด้วยปลายนิ้วเพียงรู้ว่าต้องกดปุ่มอย่างไรก็พอ ไม่ต้องขยับนิ้วออกไปไกลเกินปลายมือเอื้อมเหมือนกดปุ่มคีย์บอร์ด และปัจจุบันนี้จอยเกมราคาก็ไม่แพงมากแล้ว เพียงหลักร้อยบาทก็ซื้อมาติดโต๊ะไว้ได้ แถมจอยยุคใหม่นอกจากใช้ควบคุมตัวละครในเกมแล้วก็ยังใส่ลูกเล่นต่างๆ เข้ามาให้เกมเมอร์ได้กดใช้และตั้งค่าผ่านซอฟท์แวร์เฉพาะได้อีกด้วย เรื่องน่ารู้ว่าด้วยจอยเกม จะซื้อต้องรู้อะไรบ้าง? Windows 10/11 จะมีไดรเวอร์สำหรับจอย Xbox ติดตั้งมาให้ ใช้งานแบบ Plug&Play ได้ทันที ปุ่ม A, B,...

REVIEW

SanDisk Desk Drive SSD 8TB เก็บข้อมูลเร็ว ความจุเยอะสะใจ จะไฟล์ใหญ่หรือจำนวนมาก ก็จบได้ในตัว Sandisk Desk Drive SSD 8TB เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงในแบบ SSD ระดับมืออาชีพ ให้ความจุมากถึง 8TB มากกว่า SSD หรือ HDD ในแบบต่อภายนอก...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก