ในอนาคตนั้นการรักษาผู้พิการแขนขาขาดนั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัดชั้นสูงที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการผ่าตัดเชื่อมเส้นประสาทระหว่างแขน(หรือขา) เทียม เข้าไปยังร่างกายของผู้ป่วย เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถที่จะทำการใช้สมองสั่งการแขนขาเทียมนั้นได้เสมือนกับเป็นแขนขาจริงๆ ของตัวผู้ป่วยครับ ถึงแม้ว่าการผ่าตัดจะสิ้นสุดลงด้วยความสำเร็จแต่ทว่าผู้ป่วยเองก็ต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อที่จะฝึกทำการควบคุมแขนขาเทียมนั้นให้สามารถใช้งานได้อย่างปกติที่สุดครับ
ในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยจำนวน 3 รายที่อยู่ในประเทศออสเตรียได้กลายเป็นผู้ป่วย 3 รายแรกของโลกที่ได้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวที่ได้กล่าวไปในข้างต้นครับ โดยพวกเขานั้นสามารถที่จะใช้จิตใจ(หรือสมอง) ในการควบคุมแขนขาเทียมนี้ได้ เทคนิคใหม่นี้ถูกเรียกในชื่อว่า “Bionic Reconstruction” ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของเส้นประสาทที่ถูกเลือกและการโอนถ่ายกล้ามเนื้อ, แขนงวิชาการตัดแขนขาและการแทนที่ด้วยหุ่นยนต์อวัยวะเทียมขั้นสูงครับ
เทคนิค “Bionic Reconstruction” นี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยศาสตราจารย์ Oskar Aszmann ผู้อำนวยการของ Christian Doppler Laboratory for Restoration of Extremity Function แห่งคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเวียนนาครับ ในการทำงานนั้นศาสตราจารย์ท่านนี้ได้ทำงานร่วมกับวิศวกรจาก Department of Neurorehabilitation Engineering แห่ง University Medical Center Goettingen
สำหรับผู้ป่วยทั้ง 3 ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้นั้นนั้นได้รับความเจ็บปวดทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจากการพิการที่เกิดการบาดเจ็บช่องท้องแขนมาเป็นระยะเวลาหลายปีเลยทีเดียวครับ ซึ่งอาการบาดเจ็บของพวกเขานั้นมีผลต่อเส้นประสาทที่ไหลลงผ่านรักแร้เข้าไปในกลไกการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนครับ โดยสาเหตุที่ผู้ป่วยทั้ง 3 รายเกิดความพิการนี้เนื่องมาจากอุบัติเหตุทางด้านการขับขี่รถจักรยานยนต์ครับ
อาการบาดเจ็บจากการที่ช่องท้องแขนฉีกขาดนั้นถูกเลือกขึ้นมาก็เพราะต้องการที่จะเอาไว้เป็นตัวแทนของลักษณะของผู้พิการที่เกิดความสูญเสียแขนหรือขาจากทางด้านใน แต่ทว่าเส้นประสาทยังคงมีอยู่ครับ สาเหตุของอาการแขนขาขาดในลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากปัจจัยมากมายไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ แต่ทว่าในรายงานนั้นไม่ได้มีการระบุไว้ครับว่าผู้ที่พิการแขนขาขาดมาตั้งแต่กำเนิดจะถือว่าอยู่ในลักษณะเดียวกันหรือไม่
อ้างอิงจากคำกล่าวของศาสตราจารย์ Aszmann ด้วยความที่มีเส้นประสาทคงเหลืออยู่นั้นทำให้ผู้ป่วยยังคงจะสามารถที่จะทำการสั่งการไปยังแขนขาที่ขาดนั้นได้อยู่แต่ไม่สามารถที่จะใช้งานได้ตามปกติทั่วไปครับ เมื่อมีการเชื่อมเส้นประสาทของผู้ป่วยเข้ากับเส้นประสาทของแขนขาเทียมแล้ว กลไกในการทำงานก็คือจะมีเครื่องที่คอยถอดรหัสและแปลสัญญาณประสาทให้อยู่ในรูปของเมคคาทรอนิคส์เพื่อทำการควบคุมแขนเทียมซึ่งเป็นของแข็งครับ
ผลของการผ่าตัดและกายภาพบำบัดนั้นเรียกว่าเป็นไปด้วยดีเลยทีเดียวครับ เพราะผู้ป่วยสามารถที่จะใช้จิตใจในการสั่งงานให้แขนขาเทียมทำงานตามที่ต้องการได้ ทว่าข้อเสียของวิทีนี้ก็คือแขนขาเทียมนั้นไม่ได้มีกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนต่างๆ เฉกเช่นเดียวกันกับร่างกายมนุษย์ รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการสร้างนั้นก็ยังคงมีน้ำหนักอยู่พอสมควรซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะใช้งานแขนขาเทียบมนี้ได้ตามใจนึกมากเท่าไรนัก ทว่านี่ก็เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของโลกเราที่จะทำให้ผู้ป่วยพิการแขนขาขาดสามารถกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติเหมือนเราๆ ท่านๆ ต่อไปได้ในอนาคตครับ
ที่มา : cnet