สิ่งหนึ่งที่อุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ต้องเผชิญนั้นก็คือเรื่องของข้อจำกัดทางด้านอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ครับ คงจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยถ้าเราสามารถที่จะทำการชาร์จอุปกรณ์พกพาเหล่านั้นในขณะที่เราก้าวเดิน แน่นอนครับว่ามีผู้ที่คิดและเริ่มต้นพัฒนาที่ชาร์จแบบยืดหยุ่นที่สามารถจะทำการสร้างกระแสไฟฟ้าได้ด้วยการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของร่างกายที่อยู่ในรูปของพลังงานกลไปเป็นพลังงานไฟฟ้าสถิตโดยที่พลังงานไฟฟ้าที่ได้นั้นจะถูกเก็บอยู่ภายในผิวหนัง และสามารถที่จะถูกป้อนออกมาภายนอกเพื่อที่จะชาร์จอุปกรณ์แบบพกพาของเราได้ครับ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์และถูกนำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะในงานประชุมวิชาการ IEEE MEMS 2015 ที่ผ่านมา ตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นสามารถที่จะส่งมอบกระแสไฟขนาด 90 โวลต์ไปยังวงจรแรงดันไฟฟ้าแบบเปิดเมื่อถูกสัมผัสเบาๆ ด้วยนิ้ว นอกไปจากนั้นเจ้าของโครงการอย่างศาสตราจารย์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์นาม Chengkuo Lee และคณะได้สาธิตตัวอย่างอีกด้วยว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้ายืดหยุ่นนี้สามารถที่จะใช้งานเป็นเซนเซอร์สำหรับติดตามกิจวัตรประจำวันของผู้ใช้ได้เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าได้นั้นก็ไม่ได้เพิ่งจะมีการเริ่มพัฒนาในช่วงปีหรือสองปีที่ผ่านมาครับเพราะในปี 2012 นั้นได้มีนักวิจัยจาก Georgia Tech ตั้งความหวังไว้กับอุปกรณ์ในลักษณะที่คล้ายกันโดยจะสร้างจากวัสดุ piezoelectric ที่ถูกนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางครับ
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกนำเสนอนี้ได้มีการใช้วิธีการสร้างกระแสไฟฟ้าจากปรากฎการณ์ที่เรียกว่า triboelectric effect ซึ่งใช้หลักการณ์ที่พื้นที่ผิวที่แตกต่างกัน 2 พื้นผิวสร้างกระแสไฟเมื่อถูกนำเข้ามาในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน เมื่อพื้นที่ของผิวสัมผัสทั้ง 2 ถูกกันและดึงออกจากกันจะเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น และประจุไฟฟ้านั้นก็จะถูกเก็บและเรียกใช้งานได้ผ่านทางขั้วไฟฟ้าครับ
หนึ่งในทีมวิจัยนาม Lokesh Dhakar ได้กล่าวไว้ว่าผิวหนังของเรานั้นถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีพื้นที่ผิวมากที่สุดของร่างกายมนุษย์และเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาสำหรับชั้นของ triboelectric ผิวมีความโน้มเอียงที่จะเหนี่ยวนำอิเล็กตรอนหรือรับประจุบวกซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์สำหรับการชาร์จถ้าชั้น triboelectric เลือกที่จะมีประจุลบมากกว่า
ถ้าถามว่าเราจะได้อะไรจากงานวิจัยนี้ก็คงต้องตอบว่าเราจะอะไรจากงานวิจัยชิ้นนี้ก็คงต้องตอบว่ามีหลากหลายอย่างมากครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์แล้วเทคโนโลยีนี้จะช่วยได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่นเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบฝังลงไปในร่างกายมนุษย์ซึ่งหากใช้เทคโนโลยีนี้แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อที่จะเปลี่ยนถ่านใหม่อีกต่อไป หรือแม้กระทั่งในอนาคตเราอาจจะได้เห็นอุปกรณ์ที่ฝังในร่างกายมนุษย์และใช้การเคลื่อนไหวของเราชาร์จอยู่ตลอดเวลาก็เป็นได้ครับ
ที่มา : vr-zone