Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

ปัญหากราฟิกการ์ดที่ใช้ชิปเซ็ท GeForce GTX 970 มีปัญหาเรื่อง Memory Allocation จริงหรือไม่ ???

จากที่ก่อนหน้านี้ทาง Notebookspec ได้แนะนำกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิปเซ็ท GeForce GTX 960 ที่กำลังจะลงวางขายในตลาด(และบางยี่ห้อก็วางขายในตลาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) นั้น ทางเราได้ทิ้งท้ายคำแนะนำ

จากที่ก่อนหน้านี้ทาง Notebookspec ได้แนะนำกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิปเซ็ท GeForce GTX 960 ที่กำลังจะลงวางขายในตลาด(และบางยี่ห้อก็วางขายในตลาดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) นั้น ทางเราได้ทิ้งท้ายคำแนะนำให้กับทุกท่านไว้ว่า หากเป็นไปได้แล้วการเก็บเงินเพิ่มอีกนิดหน่อยแล้วขยับไปเล่นกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิปเซ็ท GeForce GTX 970 จะดีกว่าเนื่องจากกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิปเซ็ท GeForce GTX 960 ที่เข้ามาขายในไทยปัจจุบันนั้นมีราคาเกือบจะเท่ากราฟิกการ์ด GeForce GTX 970 แล้ว(+-3000 บาทได้) แต่เห็นทีผู้ที่สนใจ GeForce GTX 970 อาจจะต้องเบรคความคิดไว้ก่อนสักนิดครับ

GeFoce_GTX_970-F 600

Advertisement

สาเหตุที่ให้ทุกท่านที่ต้องการซื้อกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GeForce GTX 970 เบรคความคิดเอาไว้ก่อนนั้นก็เนื่องมาจากไม่นานมานี้ทางฝั่งผู้ใช้ในตะวันตกได้พบข้อผิดพลาดที่ไม่รู้ว่าจะเป็นข้อผิดพลาดถึงขั้นอาจจะต้องเรียกเก็บกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GeForce GTX 970 ไปทำการแก้ไขหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องนี้ก็ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบของแรงในฝั่งตะวันตกนั้นหยุดชะงักการซื้อกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GeForce GTX 970 ไปได้ไม่มากก็น้อย

ซึ่งปัญหานั้นก็คือเรื่องของ Memory Allocation ที่กราฟิกการ์ด GeForce GTX 970 ตามสเปคแล้วจะมาพร้อมหน่วยความจำ(VRAM) ขนาด 4 GB ที่ 256-bit แต่ทว่าเวลาใช้งานจริงกลับพบว่าตัวการ์ดจะใช้งาน(หรือมองเห็น) หน่วยความจำ(VRAM) แค่ 3.5 GB เท่านั้นครับ หายไปถึง 0.5 GB เลยทีเดียว ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะพบว่าเมื่อผู้ใช้ใช้งานกราฟิกการ์ดที่การตั้งค่าที่ต้องใช้ VRAM เกินกว่า 3.5 GB ขึ้นไป จะเกิดอาการกระตุกขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ(ตัวอย่างเช่นปรับตั้งค่าการแสดงผลที่ระดับ 4K เป็นต้น)

gtx-970vs-980 memory allowcation problem 01 600

ภาพทดสอบ VRAM บนกราฟิกการ์ด GeForce GTX 970

gtx-970vs-980 memory allowcation problem 02 600

ภาพทดสอบ VRAM บนกราฟิกการ์ด GeForce GTX 980

จากภาพทางด้านบนนั้นเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการทดสอบ VRAM ที่อยู่บนตัวกราฟิกการ์ดครับ โดยภาพทางด้านบนนั้นให้สังเกตที่แทบคาดสีแดงของทั้ง 2 ภาพจะเห็นได้อย่างชัดเจนครับว่าบนการทดสอบ DRAM ของกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GeForce GTX 970 นั้น จะมีความเร็วของ VRAM ที่ตกลงอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่กราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GeForce GTX 980 นั้นจะไม่พบปัญหาที่ว่านี้แต่อย่างใด

970_35GB 600

ผู้ทดสอบได้ลองรันเกมไปพร้อมกับการเปิดโปรแกรม GPU-Z 0.8.0 ไปด้วยครับ ให้ทุกท่านลองสังเกตที่ Memory Used ดูจะเห็นว่าเต็มสุดอยู่ที่ 3532 MB หรือประมาณ 3.5 GB เท่านั้น หายไปกว่า 0.5 GB จริงๆ ซึ่งนี่เลยเป็นที่มาของปัญหาครับว่าสรุปแล้วกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GeForce GTX 970 นั้นมีปัญหาเรื่องไม่สามารถที่จะใช้ VRAM ได้เต็ม 4 GB ตามสเปคหรือไม่ โดยทางผู้ใช้ในฝั่งตะวันตกที่พบปัญหานี้ก็ได้แจ้งไปยัง Nvidia ครับ

หลังจากนั้นไม่นานทาง Nvidia ก็ได้มีการตอบกลับมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วย ซึ่งนี่ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด แต่ทว่าเป็นผลพวงมาจากเรื่องของการปรับแต่งของ SMs ภายในตัวชิป GeForce GTX 970 ที่แตกต่างไปจาก GeForce GTX 980 เลยทำให้ถึงแม้ชิปทั้ง 2 รุ่นจะมาพร้อมกับ VRAM ที่ขนาดเท่ากัน แต่เวลาใช้งานจริงแล้วนั้นการมองเห็น VRAM ของตัวชิปจะต่างกันครับ โดยในชิป GeForce GTX 970 นั้นจะมีการแบ่ง VRAM ออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกมีขนาดอยู่ที่ 3.5 GB และชุดที่ 2 มีขนาด VRAM อยู่ที่ 0.5 GB ครับ

ปัญหาที่แท้จริงเกิดขึ้นจากที่ใด

970_Block_Diagram_ 600

GTX 970 Logical Diagram

จากภาพทางด้านบนนี้ซึ่งแสดง Logical Diagram ของ GTX 970 ซึ่งจะเห็นได้ครับว่าในแต่ละส่วนของ GPC นั้นได้มีการตัดเอา SMM ออกไป โดยหากดูจากภาพทางด้านบนนี้อาจจะดูยากไปนิด ยังไงก็ตามลองดูภาพทางด้านล่างต่อไปนี้จะดีกว่าครับ

970rams 600

จากภาพที่แสดง Logical Diagram ทางด้านบนนี้น่าจะเห็นชัดขึ้นกว่าด้านบนครับ โดยคุณจะเห็นได้ว่า SM ที่กรอบสีเทา กับ L2 ที่เป็นกรอบสีเทานั้น คือส่วนที่ชิป GTX 970 ตัดออกไปครับ(แต่บน GTX 980 จะยังคงมีอยู่ตามปกติ) โดยก่อนอื่นต้องบอกก่อนครับว่า L2 caches บนตัวชิปแต่ละบล๊อคนั้นจะมีขนาดอยู่ที่ 256 KB ซึ่งหากเป็นบนชิป GTX 980 นั้นก็จะมี L2 caches อยู่ที่ 2,048 KB แต่พอมาเป็นบน GTX 970 แล้ว L2 caches จะมีขนาดอยู่ที่เพียง 1,792 KB เท่านั้นครับ

ด้วยขนาดของ L2 ที่หายไปนี้เองทำให้เวลาที่ GTX 970 ทำงานนั้น จะไม่สามารถที่จะมองเห็นและใช้งาน DRAM ในส่วนที่เหลืออีก 0.5 GB ได้ครับ ซึ่งเลยทำให้กราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป GTX 970 นั้นมองเห็นแรมที่สูงสุดที่ขนาด 3.5 GB เท่านั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า 0.5 GB ที่เหลือจะใช้งานไม่ได้เลยนะครับ เพราะเมื่อตัวการ์ดต้องการใช้ VRAM มากกว่า 3.5 GB แล้วหล่ะก็ VRAM อีก 0.5 GB ที่เหลือก็จะถูกเรียกใช้งานแต่ทว่าจะต้องใช้งานผ่าน?memory controllers โดยแชร์การใช้งาน L2 caches กับ ส่วนที่อยู่ใน VRAM หลัก 3.5 GB ซึ่งทำให้เวลาที่มีการใช้ VRAM ในส่วนนี้เกิดอาการหน่วงหรือกระตุกจากการเรียกใช้งาน VRAM นั่นเองครับ

แล้วปัญหานี้ส่งผลกับการใช้งานจริงหรือไม่อย่างไร

GeFoce_GTX_970-memory allowcation test 600

หลังจากที่มีกระแสไปในทางที่ไม่ดีเท่าไรนักทาง Nvidia ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจครับ โดยทาง Nvidia เองก็ได้ออกมานำเสนอผลการใช้งานจริงของ GTX 970 เปรียบเทียบกับ GTX 980 โดยตั้งค่าทั้งที่จำเป็นจะต้องมีการใช้ VRAM มากกว่า 3.5 GB และต่ำกว่า 3.5 GB ซึ่งผลก็เป็นไปตามตารางข้างบนนี้ ที่สามารถทำการบอกเราได้อย่างชัดเจนครับว่าปัญหาที่โปรแกรมจากผู้ผลิตรายที่ 3 มองเห็น VRAM บนตัวกราฟิกการ์ด GTX 970 เพียงแค่ 3.5 GB นั้น ไม่ได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานจริงแต่อย่างใด เพราะในการใช้งานเปรียบเทียบระหว่าง GTX 970 กับ GTX 980 นั้นจะเห็นได้ว่าความเร็วในการรันเกมนั้นตกลงพอๆ กันครับ

ดังนั้นถ้าถามว่านี่เป็นปัญหาหรือไม่นั้น หากดูตามตรงแล้วไม่น่าจะเป็นปัญหาในการใช้งานจริงแต่อย่างใดครับ ปัญหาที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่การโฆษณาของทาง Nvidia มากกว่าที่โฆษณาว่า GTX 970 มาพร้อมกับ VRAM ขนาด 4 GB ทั้งๆ ที่จริงแล้ว VRAM ที่ใช้งานกับ GTX 970 นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 3.5 GB และ 0.5 GB ซึ่งทาง Nvidia น่าจะทำการโฆษณาว่า GTX 970 นั้นมากับ VAMR ขนาด 3.5 GB พร้อมด้วย L3 cache ขนาด 512 MB มากกว่า(เพราะว่า 512 MB นี้จะถูกเรียกใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจริงและไม่ได้เรียกใช้งานอยู่ตลอดเวลานั่นเองครับ)

หมายเหตุ – ดังนั้นด้วยความเห็นส่วนตัวแล้วก็ยังคงแนะนำว่า GTX 970 นั้นเป็นชิปบนกราฟิกการ์ดที่น่าใช้งานอยู่ดีครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานรันเกมที่ความละเอียดระดับ Full-HD หรือ 2K แล้วเปิดเอฟเฟคแบบ Ultrahigh โดยที่สามารถเล่นได้โดยไม่มีการประตุกครับ

ที่มา : guru3d,?anandtech

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

มีเงินสามหมื่นก็ซื้อ MSI Thin A15 B7V ได้! พกง่ายเบาแค่ 1.86 กก. แถมได้พอร์ต USB-C Full Function!! หากพูดถึงเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 30,000 บาทสักเครื่อง หลายคนย่อมคิดถึงซีรี่ส์ MSI Thin ซึ่งราคาดี น้ำหนักเบาและยังอัปเดตสเปคมาต่อเนื่องจนถึง MSI Thin A15...

รีวิว Lenovo

Lenovo LOQ 15APH8 รุ่นคุ้มราคาประหยัด แต่ใส่สเปคมาจัดจ้านในราคาคุ้มเกินตัว!! Lenovo LOQ 15APH8 เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นเล็กราคาประหยัดซึ่งแฟนคลับ Lenovo ก็ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นมาโดยตลอด เพราะรวมองค์ประกอบน่าใช้เอาไว้มากมายทั้งบอดี้สวยเรียบร้อยคล้ายกับพี่ใหญ่อย่าง Legion Series อยู่พอควร แถมยังให้สเปคต่อราคามาคุ้มค่าทั้งซีพียู AMD Ryzen กับจีพียู NVIDIA GeForce RTX 30 series...

รีวิว Asus

ASUS ProArt P16 H7606WI ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คฟีเจอร์แพรวพราว สเปคทรงพลัง หน้าจอสีสันแม่นยำทำงานเลิศ! ถ้าจะจัดหมวดหมู่ให้โน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงทั้งหลายโดยละเอียด นอกจากเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คซึ่งครองใจใครหลายคนแล้ว ก็มีครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คอย่าง ASUS ProArt P16 H7606WI ซึ่ง ASUS ใส่ใจรายละเอียดในทุกส่วนตั้งแต่ตัวเครื่องสีดำนาโนแบล็คเคลือบมาบนตัวเครื่องอลูมิเนียมสีดำแข็งแรงจนผ่านการทดสอบ MIL-STD 810H ให้คนทำงานพกใส่กระเป๋าไปสร้างผลงานใหม่ได้ทุกที่ ทนทานทุกสภาพอากาศจะร้อนหนาวแค่ไหนก็ยังเปิดใช้งานได้แต่ สอดดีไซน์เอาไว้ตามส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะโลโก้ใหม่, ขอบจอนูนต่ำคล้ายวงปรับโฟกัสเลนส์และคุมโทนความเรียบหรูไม่หวือหวาเตะตา...

รีวิว Lenovo

Lenovo Legion 5i 16IRX9 เวอร์ชั่นปรับใหม่ ลงตัวขึ้นทุกมุมทั้งราคา, สเปค และฟีเจอร์ครบไม่แพ้รุ่นใหญ่! ในอนุกรมของ Lenovo Legion นับว่า Lenovo Legion 5i 16IRX9 เป็นน้องเล็กของซีรี่ส์ก็จริง แต่ก็ยังได้ฟีเจอร์มาครบเครื่องไม่แพ้ Legion 7 หรือ 9 และยังตั้งราคามาหลักครึ่งแสนให้ผู้ใช้ตัดสินใจซื้อได้สะดวกขึ้น และรหัสใหม่นี้อัปเกรดสเปคติดตั้ง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก