มาชมกันต่อที่ใต้ท้องเครื่องรวมถึงช่องระบายความร้อนใต้ท้องเครื่องครับ
เมื่อพลิกด้านใต้ท้องเครื่องจะพบว่าสามารถเปิดได้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น CPU และ ส่วนของฮาร์ดดิสก์ จะเห็นว่า????????? รูระบายความร้อนนั้นมีมาให้น้อยไปนิด
แกะฝาออกมาแล้วนะครับ เดี๋ยวเราไปดูในแต่ละส่วนกันเลย
ฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ 2.5 นิ้ว แยกส่วนออกจากบอร์ด ช่วยให้ไม่ต้องมีความร้อนอัดแน่นในบอร์ดมากจนเกินไป พร้อมกับมีเคสห่อหุ้มไว้อีกชั้นด้วย
แรมที่ติดตั้งมาให้ 2GB มีเพียงแถวเดียว ซึ่งยังเหลือที่ว่างไว้อีก 1 ช่อง ไว้ให้เราได้อัพเกรดในอนาคตกัน
ส่วนช่องเล็กๆ ที่เห็นนี้ เป็นช่องพัดลมให้ลมเข้าเพื่อการระบายอากาศที่ดียิ่งขึ้น (แต่ดูเหมือนจะเล็กไปหน่อย)
คีย์บอร์ดของ Asus A42F-VX019D จัดได้ว่าเป็ืนรูปแบบเรียบติดกันง่ายต่อการสัมผัส ในการกดลงไปแต่ละปุ่มให้ความรู้สึกไม่แข็งกระด้าง ให้ปุ่ม Fn ต่างๆ มาให้อย่างครบครันตามมาตรฐานทั่วไป ผิวของปุ่มต่างๆ มีลักษณะด้าน ช่วยให้การสัมผัสลงไปได้อย่างแม่นยำ
มีปุ่มทิศทางไว้ควบคุมการเล่น Media ต่างๆ ซึ่งจะต้องใช้งานร่วมกับปุ่ม Fn
ทัชแพดมีขนาดกำลังพอเหมาะ ไม่ใหญ่มากจนเกินไป และไม่เล็กมากจนเกินไป พื้นผิวเป็นแบบไม่เรียบ ทำให้รู้สึกได้ง่ายเมื่อทำการสัมผัสลงไป ทำให้ควบคุมได้อย่างรวดเร็วทันใจ มีกรอบระบุตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน และปุ่มคลิกซ้าย-ขวามีลักษณะเป็นแผ่นๆ เดียวกัน การกดนั้นทำได้อย่างนุ่มนวล ที่สำคัญทัชแพดโน๊ตบุ๊คยังรองรับการใช้งาน Multitouch พร้อมมีภาพประกอบแปะไว้ให้ดูอย่างชัดเจนอีกด้วย และถัดลงมาด้านล่างจะเป็นไฟสถานะต่างๆ
ที่วางมือตรงนี้จะมีสติ๊กเกอร์บอกข้อมูล สเปกต่างๆ ของโน๊ตบุ๊ค Asus A42F-VX019D ไว้อย่างครบถ้วน พร้อมกับสติ๊กเกอร์ Intel Core i3 บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า Inside
เริ่มจากด้านซ้ายของตัวเครื่องก่อนนะครับ
ไล่จากทางซ้ายจะเห็นว่าเป็นช่องระบายความร้อน มองจากภายนอกจะเห็นเป็นครีบสีเงิน
ถัดมาจะเป็นพอร์ต VGA, HDMI, USBx2 และช่องเสียบที่เป็นรูหูฟังและไมค์ในรูเดียวกัน
คราวนี้มาดูทางด้านซ้ายของตัวเครื่องกันบ้าง
ดูจากทางด้านขวามือจะเห็นเป็นช่องเสียบไฟอแดปเตอร์, RJ45, USB และไดรฟ์ DVD-RW
ด้านหน้าจะเป็นแถบโล่งๆ ไม่มีอะไรพิเศษ
จะมีก็แต่เพียงการ์ดรีดเดอร์อยู่เพียงอย่างเดียว
ในส่วนของด้านหลังก็ว่างเช่นกัน ไม่มีพอร์ตอะไรใดๆ เลย
คุณภาพของ Webcam และระบบเสียง
กล้อง Webcam มีความละเอียด 0.3 MP ก็จัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คระดับนี้
ในส่วนของเสียงที่ออกมาจากลำโพงนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีทีเดียว ไม่เสียชื่อ Altec Lansing จริงๆ ครับ
รวมถึงยังมีซอฟต์แวร์ SRS Premium Sound ไว้คอยทำหน้าที่ในการปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานด้วย