แบตเตอรี่ขนาด 6 Cell Li-ion สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้สูงสุดเกือบๆ 50,000 mWh เลย เรียกว่าเยอะพอสมควร แต่จะอยู่ได้นานเท่าไหร่นั้น จะอยู่ในส่วนของหน้าถัดๆ ไปครับ
ไหนๆ มาแบตเตอรี่กันมาแล้ว ก็มาดูส่วนของอแดปเตอร์ชาร์จกันหน่อย จากภาพจะเห็นว่ามีขนาดที่ไม่เล็ก ไม่ใหญ่ ตามสไตล์โน๊ตบุ๊คในสมัยนิยมนี้
สำหรับในส่วนของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมาให้นั้นจะเป็นโปรแกรมจัดการพลังงาน Power4Gear โดยตัวมันจะทำการเชื่อมโยงกับตัวจัดการพลังงานของ Windows7
ซึ่งถ้าเราคลิกเข้ามาดู Power Option ก็จะพบกับตัวเลือกเพิ่มเกี่ยวกับ Power4Gear
หรืออีกทางหนึ่งของการใช้งาน Power4Gear ก็สามารถเข้ามาที่ตัวโปรแกรมของมันได้โดยตรง พร้อมกับมีการปรับค่าเพิ่มเติม
สำหรับคีย์ลัดในการใช้งานก็ยังสามารถกด Fn+Spacebar(รูปคนวิ่ง) ได้อีกทาง
ก็จะมีโลโก้ขึ้นอยู่กลางจอให้เลือกปรับตามการใช้งาน
ตามสเปกเครื่องแล้วโน๊ตบุ๊ค Asus A42F-VX019D ไม่ได้มีการติดตั้ง OS มาให้ ทาง notebookspec จึงได้ลง Windows7 เพื่อทำการทดสอบ
คะแนนที่ได้จาก Windows7 นั้น อยู่ในระดับดีเลยทีเดียว หากนับจากค่าตัวของโน๊ตบุ๊คที่ราคาไม่ถึงสองหมื่นบาท
Asus A42F-VX019D ตัวนี้มี CPU เป็นจุดเด่นที่สุด โดยการใส่ Intel core i3-350M มาให้กับโปรเซสเซอร์ที่มีความเร็วนาฬิกาที่ 2.13GHz 2 Core และด้วยเทคโนโลยี Intel? Hyper-Threading สามารถทำงานได้ 4 Threads เป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีใน Intel Core2 Duo ซึ่งการที่ Core i3 ใส่เทคโนโลยีนี้มาส่งผลให้การทำงานของ CPU ทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น และสามารถถอดรหัสวิิดีโอได้ด้วยตัวเอง เพราะในโปรเซสเซอร์นั้นมีชิปกราฟิกของ Intel GMA HD อยู่ภายในอีกด้วย เรียกได้ว่าครบครันจริงๆ
RAM ที่ให้มามีขนาด 2 GB DDR3 สามารถอัพเกรดได้สูงสุด 4GB BUS 1333 MHz
อย่างที่บอกไปในข้างต้นว่า Intel Core i3 นั้นมีชิปกราฟฟิก Intel GMA HD อยู่ด้านในโปรเซสเซอร์เอง ส่วนความแรงจะสู้ของเก่าอย่าง GMA 4500HD ได้ไหมนั้นต้องลองดูครับ
CD และ DVD อ่านและเขียนได้ปกติ ตามวิสัยของมาตรฐานโน๊ตบุ๊คในยุคนี้
การทดสอบในส่วนของ Resolution ว่ารองรับความละเอียดสูงสุดเท่าไร และในส่วนของ Page view ว่าสามารถแสดงผลหน้า web ได้ขนาดไหน
Resolution ของ Asus A42F มาในจอขนาด 14.1 นิ้ว สัดส่วน 16:9 กับความละเอียดขนาด HD 1366?768