ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไร การพัฒนา iPhone ของทาง Apple นั้นก็จะมากับรูปแบบของตัวเครื่องที่มีความหนาน้อยลงกว่าเดิมอยู่ตลอดเวลาครับ ซึ่งแน่นอนว่าการที่เครื่อง iPhone บางนั้นอาจจะทำให้การพกพาถือใช้งานเป็นไปได้อย่างสะดวกสบาย แต่ทว่าถ้าเกิดเผลอทำ iPhone ตกลงพื้นแล้วหล่ะก็ต่อให้แกร่งสมชายแท้มาจากไหนก็มีสิทธิ์หลุดสาวแตกเมื่อเห็น iPhone สุดรักสุกห่วงตกแล้วแตกต่อหน้าต่อตาครับ ปัญหานี้นั้นมีวิธีแก้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่นล่าสุดผู้ผลิตหน้าจอกระจกสำหรับสมาร์ทโฟนอย่าง Corning ก็ได้นำเสนอกระจกจอรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง Gorilla Glass 4 ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการป้องการแตกของหน้าจอเมื่อเกิดการตกหล่น ซึ่งนั่นทำให้เราเห็นได้ว่าแนวโน้มของผู้ผลิตในตลาดนั้นเริ่มใส่ใจกับปัญหาเรื่องนี้มากขึ้น และ Apple เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ใส่ใจกับปัญหาเรื่องนี้เช่นกันครับ
วิธีการของ Apple นั้นได้คิดแตกต่างออกไปจากแนวทางของ Corning ที่นำเสนอในรูปแบบของการทำให้กระจกหน้าจอมีความแข็งแรงมากขึ้นครับ โดยทาง Apple นั้นได้นะเสนอวิธีการผลิก iPhone ให้ส่วนที่มีความแข่งแกร่งมากที่สุดของตัวเครื่องตกลงพื้นเพื่อที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับ iPhone ให้น้อยที่สุด ในการนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการผลิกตัวเครื่อง iPhone กลางอากาศขณะที่ตกลงสู่พื้นให้ถูกท่า และนั่นก็เป็นที่มาของสิทธิบัตรสุดล้ำที่จะช่วยป้องกันเครื่องจากการตกให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดของทาง Apple ซึ่งสิทธิบัตรนี้มีชื่อว่า ?Protective mechanism for an electronic device? ซึ่งทาง Apple ได้ยื่นจดไว้ตั้งแต่ในช่วงปี 2013 และพึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็ยทางการในช่วงเวลาไม่นานที่ผ่านมานี้ครับ(อ้างอิงเอกสารสิทธิบัตรฉบับที่ 8,903,519 ของสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าประจำสหรัฐอเมริกา)
อุปกรณ์พิเศษที่จะต้องมีเพิ่มเข้ามาเพื่อที่จะทำให้ iPhone (หรืออุปกรณ์อื่นๆ อย่าง iPad และ iPod Touch) สามารถที่จะผลิกตัวกลางอากาศได้นั้นจะเป็นตุ้มถ่วงขนาดเล็กที่มีลักษณะดังรูปด้านบนครับ การใช้งานนั้นจะต้องทำงานร่วมกันกับเซนเซอร์ต่างๆ บน iPhone ไม่ว่าจะเป็น?accelerometers, gyroscopes และ GPS เพื่อที่จะทำการคำนวนหาลักษณะการตกที่เหมาะสมไม่ให้ส่วนที่เปราะบางอย่างเช่นหน้าจอของเครื่องต้องตกกระทบกับพื้นเข้าอย่างจังเพื่อเป็นการลดระดับความเสียหายให้กับตัวเครื่องครับ
เมื่อเครื่องตกและเซนเซอร์ต่างๆ ข้างต้นได้ทำการคำนวนค่าตามที่ต้องการแล้ว ค่าต่างๆ เหล่านั้นจะถูกส่งไปประมวลผลอีกครั้งเพื่อหามุมตกกระทบที่เหมาะสม เมื่อได้มุมตกกระทบที่เหมาะสม มอเตอร์(ซึ่งอาจจะเป็นมอเตอร์สำหรับการสั่นของตัวเครื่องที่มีใช้งานอยู่แล้ว) จะทำการสั่นเพื่อทำให้เครื่องเกิดการเปลี่ยนทิศทางไปอยู่ในลักษณะมุมที่ถูกต้องในการตกเพื่อที่จะทำให้เกิดผลเสียกับตัวเครื่องให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ
อย่างไที่ได้เอ่ยไปในตอนต้นว่า iPhone ของ Apple นั้นยิ่งออกรุ่นใหม่มาความหนาก็ยิ่งน้อยลงๆ ดูบอบบางมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากระบบนี้ใช้ได้จริงก็คงจะดีไม่น้อย เพราะอย่างน้อยก็เป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องต้องประสบกับปัญหาเรื่องหน้าจอตกแตก(ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้งานทุกคน) แต่อย่างไรก็ตามการทำระบบตามสิทธิบัตรนี้ก็อาจจะมีข้อเสียอยู่หลายข้อ ตัวอย่างเช่นน้ำหนักของตัวเครื่องที่ต้องเพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการผลิกตัวที่มีเพิ่มเข้ามา(หรือถ้าใช้มอเตอร์การสั่นตัวเดิมส่วนนี้ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา) หรืออาจจะเป็นปัญหาเรื่องของอัตราการใช้งานแบตเตอรี่ที่เรายังคงไม่รู้ว่าระบบนี้จะทำงานอยู่ตลอดเวลาหรือไม่ อย่างไรก็ตามถ้าหาก Apple เอาจริงขึ้นมา เราอาจจะได้เห็นระบบผลิกเครื่องจากสิทธิบัตรนี้ใน iPhone 6s หรือ iPhone 7 กันก็เป็นได้ครับ
ที่มา :?appleinsider