โน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 15 นิ้วทางที่ใช้ทั้งหน่วยประมวลผลกลาง และการ์ดจอของ AMD ก็มีให้เลือกอยู่ด้วยกันหลายรุ่น เช่นเดียวกันกับ Lenovo Z5075 ที่ทางทีมงานจะมารีวิวให้เพื่อนๆ สมาชิกชาว NotebookSPEC ได้ชมกันครับผม โดยเจ้า Lenovo Z5075 นั้นก็จัดอยู่ในกลุ่มโน๊ตบุ๊คราคาไม่สูงบนสเปคคุ้มค่าสำหรับเพื่อนๆ ที่มีงบจำกัดแต่ต้องการโน๊ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพสูงพอตัวครับ
นอกเหนือจากนี้เจ้า Lenovo Z5075 ยังมาพร้อมด้วยสเปคที่ค่อนข้างโอเคไม่ว่าจะเป็นซีพียู AMD A10-7300 ตัวใหม่ล่าสุด พร้อมด้วยการ์ดจอคู่แบบ Dual GPU จาก AMD ในรุ่น R6-255DX แท้ๆจากโรงงานอย่าง เล่นเกมได้ดีในระดับหนึ่งเลยละครับ ที่สำคัญยังใช้บอดี้แบบเดียวกับ Lenovo Z5070 เลยละเรียกได้ว่าสวยงาม และดูดีไม่แพ้ใคร….แต่อย่างพึ่งเชื่อผมซะทั้งหมดครับ ไปดูรีวิว Lenovo Z5075 พิสูจน์กันเลย
Specification
อันดับแรกมาดูสเปคฉบับเต็มของ Lenovo Z5075 กันเลย ซึ่งแน่นอนอย่างที่เกริ่นไปแล้วว่าเจ้านี่เลือกที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง APU รุ่นใหม่จาก AMD ในรหัส A10-7300 “Kaveri” มีความเร็ว 2.0 GHz เร่งได้สูงสุด 3.2 GHz พร้อม 2 MB L2 Cache มาพร้อมด้วยการ์ดจอ GPU รุ่นใหม่ฝังในตัวอย่าง AMD Radeon R6 บนเทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD อย่าง Compute Core ที่มาถึง 10 Core ด้วยกัน?(4 CPU + 6 GPU)?ที่จะช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพการทำงานของ APU ให้ทั้ง CPU และ GPU ช่วยกันประมวลผลออกมาอย่างเต็มพิกัดด้วยสถาปัตยกรรม Heterogeneous System Architecture (HSA) บนการจัดสรรทรัพยากรที่ดีขึ้น (ข้อมูลเพิ่มเติมของ Compute Core#1 / Compute Core#2 / Compute Core#3)
ยิ่งไปกว่านั้นตัวการ์ดจอออนบอร์ด AMD Radeon R6 ยังสามารถทำ?Dual Graphics ควบคู่กับการ์ดจอแยก AMD?Readeon R6-255DX GDDR3 2GB ที่ Lenovo ติดตั้งมาให้ด้วย ส่วนอื่นๆเช่นแรมก็มาพร้อมขนาด 4GB DDR3 ฮาร์ดไดร์ฟ 1TB 5400 RPM
หน้าจอแสดงผลทาง Lenovo Z5075 เลือกใช้จอแสดงผลขนาดใหญ่ดีทีเดียว ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคมความละเอียดสูงแบบ 720p HD webcam และติดตั้งไมโครโฟนในตัว ยิ่งไปกว่านั้นเจ้า Z5075 ยังมาพร้อมระบบเสียง Stereo speakers รอบทิศทาง บนซอฟแวร์เสียง Dolby Advanced Audio ที่เป็นจุดเด่นของ Lenovo มาอย่างยาวนาน
พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ มีมาให้อย่างครบถ้วนทั้ง 1x USB 3.0 , 2x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/MMC) , RJ45 (LAN 10 / 100 / 1000M) , DVD reader/writer (dual layer) และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไรสายอย่าง Bluetooth 4.0 และรองรับไวเลสอินเตอร์เน็ตไรสาย 802.11 b/g/n ซึ่งเจ้า Z5075 จะมีขนาดเท่าผู้พี่อย่าง Z5070 เลยอยู่ที่ 38 x 26 x 25 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวที่เบากว่าอยู่ที่ราวๆ 2.3 กิโลกรัม สนนราคาขายอยู่ที่ 18,990 บาท
Using Experience
เจ้า Lenovo Z5075 แรกเห็นบอกได้เลยว่ามาในรูปแบบเดียวกับผู้พี่อย่างอย่าง Z5070 เดะๆ เลยครับแต่จะมีสีสันที่แตกต่างกันคือใช้สีดำตลอดทั้งเครื่องแต่จะมีดีเทลที่แตกต่างกันเล็กน้อยในบางจุด (Z5070 จริงๆก็มีสีดำครับแต่มีจำนวนไม่มากนักในไทย) โดยดีไซน์ของตัวเครื่องด้านนอกก็ใช้การออกแบบของฝาหลังที่ใช้พลาสติกผิวด้านๆหยาบๆมีเท็กเจอร์ด้วยที่มีความสวยงามทีเดียวแต่ถือใช้งานไปไหนมาไหนได้กระชับไม่ลื่นหลุดมือได้งาน ช่วยให้การพกพาได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ประสบการณ์ใช้งานต่างๆ ที่เมื่อเปิดเครื่อง Lenovo Z5075 ขึ้นมาใช้งาน เจ้านี่ก็ตอบสนองได้ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นบนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟแบบ HDD ปกติตั้งแต่เริ่มบูทอัพหน้าจอเข้า Windows 8.1 แบบ Trail ที่ผู้เขียนได้ลงเอาไว้ ซึ่งเมื่อเริ่มใช้งานก็ทำได้อย่างรวดเร็วฉับไว และลื่นไหลต่อเนื่องทีเดียว โดยจุดเด่นหลักๆที่ทางผู้เขียนได้พบบนกับเจ้า Z5075 ก็จะเป็นในเรื่องของของความบันเทิงที่ตอบสนองได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะกับหน้าจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่โตถึง 15.6 นิ้ว ที่ให้ภาพได้เต็มตาดีทีเดียว แต่ก็น่าเสียดายที่ใส่มาให้แค่ HD เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อใช้ดูภาพยนต์ ดูมิวสิควิดีโอต่างๆ ก็ทำได้ดี ยิ่งใช้ควบคู่กับลำโพง Stereo ที่มีซอฟแวร์เสียง Dolby Advanced Audio ที่ให้เสียงผ่านลำโพงบนเครื่องได้ดีกว่ามาตรฐานทั่วไปอยู่เล็กน้อย แต่ที่น่าสนใจคือถ้าเพื่อนต่อลำโพง 2.1 แยกภายนอก เจ้า Dolby Advanced Audio นี้เองจะช่วยปรุงแต่งเสียงให้ได้ดียิ่งขึ้นไปอีกครับ เรียกได้ว่าลำโพงในเครื่องว่าโอเคแล้ว ต่อลำโพงแยกดูหนังฟังเพลงฟินกว่าเก่าอีกครับผม แถมท้ายเจ้า Z5075 ยังมีไดร์ฟใส่แผ่น DVD-RW มาให้อีกด้วยนะ เอาหนังแผ่น DVD มาดูได้สบายๆ เลยด้วย
ในด้านของการใช้งานบันเทิงแบบผ่อนคลายสบายอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นการท่องเว็บ เล่น Social ต่างๆ เช่น Facebook , Vine หรือจะเปิดเว็บ NotebookSPEC เช็คข่าวสาร Lenovo Z5075 ก็ทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยละครับด้วยมาตราฐานการเชื่อมต่อที่รองรับอย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น Wireless Internet หรือ Intenet แบบมีสายก็สามารถเข้าถึงได้ ที่สำคัญยังมาพร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD 720P ที่มีไมโครโฟนในตัวให้เพื่อนๆ สามารถติดต่อสื่อสารกับมิตรสหายหรือคนรู้ใจได้อย่างต่อเนื่องไม่เสียอารมณ์
การเล่นเกมต่างๆบนเจ้า Lenovo Z5075 ก็ทำได้ไม่น้อยหน้าด้านๆ อื่นครับ ค่อนข้างตอบสนองกับการเล่นเกมทั่วๆไปได้อย่างลื่นไหลพอสมควร ซึ่งก็เป็นผลมาจาก A10-7300 “Kaveri” และการ์ดจอแบบ Dual GPU นั่นเอง ซึ่งจะให้เปรียบเทียบประสิทธิภาพคร่าวๆ ของเจ้าสองตัวนี้ก็คงประมาณ Intel Core i5 Gen 4 รหัส U พ่วงกับการ์ดจอประมาณ GeForce GT820M ละครับ
ถ้าบันเทิงจนพอใจแล้วอยากปรับรูปแบบมาเป็นการทำงานหรือใช้งานแบบจริงจังบ้างเจ้า Lenovo Z5075 ก็พร้อมอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี ด้วยหน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว แบบ HD ทำให้ไม่ต้องเพ่งในการอ่านตัวหนังสือมากนักครับ แต่กลับกันสำหรับผู้ที่ต้องการเนื้อที่ใช้งานมากหน่อยก็ดูจะไม่เหมาะนัก ในส่วนของของการพิมพ์งานต่างๆ เจ้านี่ก็ทำได้ดีพอตัวด้วยแป้นพิมพ์แบบ AccuType Keyboard พร้อมแป้นพิมพ์พร้อมแป้นตัวเลขใช้งานได้คล่องตัว ในส่วนของ Touch Pad ก็รองรับการใช้งาน Guester Contol ควบคู่กับ Windows 8.1 ด้วย ซึ่งตัวทัชแพดเองเป็นจุดเด่นที่ผมเองค่อนข้างชอบเลยเพราะเป็นแบบแยกชิ้น และมีปุ่ม ซึ่งปุ่มกดนั้นค่อนข้างสมูทมาก และไม่มีเสียงคลิ๊กสุดแสนจะน่ารำคาญ ซึ่งบอกได้เลยว่าในส่วนของแป้นพิมพ์และทัชแพดนี่ Z5075 ไม่เป็นสองรองใครเลยละ แต่อย่างไรก็ตามน่าเสียดายอีกจุดหนึ่งก็คือบริเวณขอบเครื่องที่ค่อนข้างคม เวลาใช้งานไปนานๆ อาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบายแขนมากนัก ที่ทาง Lenovo ยังไม่ได้แก้ไขเลยเพราะเป็นมาตั้งแต่ในตระกูล Z500 / Z510 จนมาถึงตัวปัจจุบันครับ
อุปกรณ์เสริมต่างๆ ทาง Z5075 ก็สามารถเชื่อมต่อเพิ่มเติมได้ครบถ้วนครับไม่ว่าจะเป็นเมาส์ คีย์บอร์ด หูฟัง ลำโพง เมมโมรี่การ์ด External Harddisk แฟลชไดร์ฟ หน้าจอแสดงผลแยก ด้วยพอร์ตเชื่อมต่อที่อัดแน่นมาอย่างมากมายทั้ง USB 3.0 , Card Reader หรือ HDMI ครับ
???
เช่นเดียวกันกับแบตเตอรี่และการอัพเกรดเผื่ออนาคตที่นับได้ว่าเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งที่ทาง Lenovo ปรับปรุงและต่อ Z5075 จาก Z500 และ Z510 ออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะเจ้านี่สามารถที่จะถอดฝาหลังและแบตเตอรี่ได้แบบเดียวกับ Z5075 ครับ โดยการอัพเกรดที่สามารถทำได้ก็อาทิ อัพเกรดแรม อัพเกรด SSD และเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นต้น
?????
การพกพาต่างๆกับ Lenovo?ก็ไม่ต้องกังวลเลยละครับด้วยด้วยน้ำหนักตัวเพียง 2.3 กิโลกรัมกว่าๆ เท่านั้นเอง มันจึงสามารช่วยให้เพื่อนๆ พกพาโน๊ตบุ๊คตัวนี้ไปไหนมาไหนได้สะดวกสุดๆ เลยละ แต่ถ้าพกที่ชาร์จไฟไปด้วยก็อาจต้องหาเป้สะพายหลังแล้วนะเพื่อนๆ
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพในการทดสอบหรือ Benchmark เจ้า Lenovo Z5075 ที่ใช้หน่วยประมวลผลและการ์ดจอจาก AMD กันครับ
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่ Z5075 ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอได้ตรงตามความเป็นจริง (R6 M255DX นั้นน่าจะเป็นรุ่นปรับปรุงมาจาก R5 M250 ครับผมโดยเพิ่มจำนวนแรมและความเร็ว GPU Clock Speed เข้าไป)
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนตามแบบฉบับของ AMD
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาไม่มากไม่มายเพียง 43 นาที
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 20 นาทีถือว่าไม่เลว
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อนๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็กินเวลาไป 8 นาทีกว่าๆ ทันใจใช้ได้
มาดูผลทดสอบเกมสำหรับเพื่อนๆที่ชอบเล่นเกมฆ่าเวลากันกับเกมแรกอย่าง Street Fighter 4 เป็นเกมต่อสู้ที่ไม่กินสเปคเครื่องมากนัก ปรับภาพความละเอียดเที่ 1366?768 พิกเซล ปรับกราฟฟิกภายในเกมที่ All-High ก็ให้ผลคะแนนเฉลี่ยในระดับ Rank A และมีเฟรมเรทเฉลี่ยที่ 64FPS ถือว่าเล่นได้ลื่นเลยละ
เกมที่ค่อนข้างกินทรัพยากรของเครื่องอย่าง Resident Evil 6 ปรับภาพที่ 1280 ? 720 พิกเซล (ตัวไดร์ฟเวอร์การ์ดจอล๊อคไว้) ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ All-High ก็สามารถเล่นได้พอประมาณครับผม แต่ทางที่ควรปรับระดับไปที่ All Medium/All low จะลื่นไหลและไม่เสียอรรถรส
เช่นกันกับอีกหนึ่งเกมที่ค่อนข้างกินทรัพยากรอย่าง Tomb Raider ปรับภาพที่ 1366 ? 720 พิกเซล ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ All-High ก็เล่นได้ดีครับมีเฟรมเรมเฉลี่ยอยู่ที่ 21FPS จัดได้ว่าพอเล่นได้ครับ
โปรแกรม Benchmark ประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบของ FuterMark เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ทำได้ดีตามมาตรฐาน?ซึ่งถือว่าโดยรวมๆ Lenovo Z5075 ก็ทำได้ดีสมราคาครับ
ทดสอบกับโปรแกรมตรวจวัดระยะเวลาการใช้เครื่องบนแบตเตอรี่ หรือ BatteryMon โดยการปรับตั้งค่า lenovo Z5075 ที่ Balance และเปิดใช้งานเล่นเว็บก็แสดงผลระยะเวลาออกมาอยู่ที่ 7 ชั่วโมง ถือได้ว่าทำได้ดีครับ แต่ถ้าใช้งานเล่นเว็บจริงๆจัวน่าจะอยู่ที่ 4-5 ชั่วโมง ส่วนการดูหนัง Full-HD น่าจะไปอยู่ที่ 2-3 ครับ ส่วนถ้าเล่นเกมก็จะอยู่ที่ราวๆ 1.3-2 ชั่วโมง ซึ่งการใช้งานบนแบตเตอรี่นั้นก็สามารถแปรผันได้จากการตั้งค่าหลายๆ บนตัวเครื่องนั่นเองละครับ
Conclusion / Award
Lenovo Z5075 เป็นโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งตัวที่ค่อนข้างน่าสนใจในหลายๆ ด้านทีเดียวไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบต่างๆ ที่ใช้บอดี้แทบจะตัวเดียวกับ Z5070 แต่ปรับมาใช้สีดำตลอดทั้งตัวเครื่องทำให้มีความสวยงามอย่างมาก และเนื้องานๆ ต่างๆ ก็ทำออกมาได้ไม่แพ้กันเลย , ในด้านของการใช้งานทั่วไปที่โอเคมากๆ เลยละครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแป้นพิมพ์แบบ AccuType และ Touch Pad แบบมีปุ่มที่ใช้งานได้ยอดเยี่ยม เรียกได้ว่าโน๊ตบุ๊คในระดับเดียวกันรุ่นอื่นๆ อายเลยละครับ , ในด้านของความบันเทิงเองเจ้า Z5075 ก็ไม่แพ้ใครครับด้วยหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่โตถึง 15.6 นิ้ว และระบบเสียง Dolby Advanced Audio ส่งผลให้มันตอบรับกับความบันเทิงได้อย่างเป็นเยี่ยม
เช่นกันกับในด้านของการเล่นเกมที่ Lenovo Z5075 ก็ทำได้ดีพอประมาณมาณครับ ด้วยระดับฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในระดับนึง ช่วยให้การเล่นเกมราบลื่นทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามถ้าคาดหวังว่าจะซื้อไปเล่นเกมโดยเฉพาะผู้เขียนไม่ขอแนะนำครับ แต่ถ้าซื้อไปเล่นเกมบ้าง บันเทิงบ้าง ทำงานบ้างเจ้า Lenovo Z5075 ตัวนี้ตอบสนองได้สมบูรณ์แบบเลยละ อย่างไรก็ตามครับข้อสังเกตุของ Lenovo Z5075 ก็มีอยู่บ้างประปรายนะครับเช่นขอบเครื่องที่ค่อนข้างคม (แต่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการต่อเมาส์และคีย์บอร์ดแยก) , หน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว แบบ HD ที่มีเนื้อที่จำกัด เป็นต้นครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นด้วยราคาค่าตัวราวๆ 18,990 บาทที่ไม่สูงมากนัก กับข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ก็นับได้ว่า Z5075 มีความคุ้มค่าในตัวของมันและเป็นตัวเลือกที่หน้าสนใจสำหรับเพื่อนๆ ที่มองหาโน๊ตบุ๊คใช้งานในราคาไม่สูงสักเครื่องครับ
จุดเด่น
- สวยงาม ดีไซน์โดดเด่นไม่แพ้ Lenovo Z5075
- หน้าจอ 15.6 นิ้ว เหมาะแก่ความบันเทิง
- สเปคแรงพอที่จะตอบสนองกับการเล่นเกม บันเทิง และใช้งานทั่วไป
- มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆมากมายจากทั้ง APU และ GPU รุ่นล่าสุด
- คีย์บอร์ดแบบพร้อมด้วยแป้นตัวเลข และทัชแพดที่ทำออกมาได้ดีมาก ใช้งานได้ดี
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , SD Card Reader และ HDMI
- ระบบเสียง?Dolby Advanced Audio ปรุงแต่งเสียงให้ดีขึ้นทั้งลำโพงในตัว และการต่อลำโพงแยก
ข้อสังเกต
- ขอบเครื่องค่อนข้างคมใช้งานนานๆ รู้สึกไม่สบายท่อนแขน แต่แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์แยก
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ทั่วขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง?Lenovo Z5075?ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ด้วยระบบเสียงอย่าง Dolby Advanced Audio ?หน้าจอแสดงผล 15.6 นิ้ว และสเปคของระบบภายในตัวเครื่อง Lenovo Z5075 ที่ค่อนข้างโอเคสามารถตอบสนองความบันเทิงต่างทั้งดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่เล่นเกมก็ทำได้ แถมยังมีที่ราคาไม่สูงจนเกินไป ทาง NotebookSPEC จึงขอมอบรางวัล Best Multimedia ให้กับเจ้า Z5075 ไปเลย
Specification
อันดับแรกมาดูสเปคฉบับเต็มของ Lenovo Z5075 กันเลย ซึ่งแน่นอนอย่างที่เกริ่นไปแล้วว่าเจ้านี่เลือกที่ใช้หน่วยประมวลผลกลาง APU รุ่นใหม่จาก AMD ในรหัส A10-7300 “Kaveri” มีความเร็ว 2.0 GHz เร่งได้สูงสุด 3.2 GHz พร้อม 2 MB L2 Cache มาพร้อมด้วยการ์ดจอ GPU รุ่นใหม่ฝังในตัวอย่าง AMD Radeon R6 บนเทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD อย่าง Compute Core ที่มาถึง 10 Core ด้วยกัน?(4 CPU + 6 GPU)?ที่จะช่วยปลดล็อคประสิทธิภาพการทำงานของ APU ให้ทั้ง CPU และ GPU ช่วยกันประมวลผลออกมาอย่างเต็มพิกัดด้วยสถาปัตยกรรม Heterogeneous System Architecture (HSA) บนการจัดสรรทรัพยากรที่ดีขึ้น (ข้อมูลเพิ่มเติมของ Compute Core#1 / Compute Core#2 / Compute Core#3)
ยิ่งไปกว่านั้นตัวการ์ดจอออนบอร์ด AMD Radeon R6 ยังสามารถทำ?Dual Graphics ควบคู่กับการ์ดจอแยก AMD?Readeon R6-255DX GDDR3 2GB ที่ Lenovo ติดตั้งมาให้ด้วย ส่วนอื่นๆเช่นแรมก็มาพร้อมขนาด 4GB DDR3 ฮาร์ดไดร์ฟ 1TB 5400 RPM
หน้าจอแสดงผลทาง Lenovo Z5075 เลือกใช้จอแสดงผลขนาดใหญ่ดีทีเดียว ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคมความละเอียดสูงแบบ 720p HD webcam และติดตั้งไมโครโฟนในตัว ยิ่งไปกว่านั้นเจ้า Z5075 ยังมาพร้อมระบบเสียง Stereo speakers รอบทิศทาง บนซอฟแวร์เสียง Dolby Advanced Audio ที่เป็นจุดเด่นของ Lenovo มาอย่างยาวนาน
พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ มีมาให้อย่างครบถ้วนทั้ง 1x USB 3.0 , 2x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/MMC) , RJ45 (LAN 10 / 100 / 1000M) , DVD reader/writer (dual layer) และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไรสายอย่าง Bluetooth 4.0 และรองรับไวเลสอินเตอร์เน็ตไรสาย 802.11 b/g/n ซึ่งเจ้า Z5075 จะมีขนาดเท่าผู้พี่อย่าง Z5070 เลยอยู่ที่ 38 x 26 x 25 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวที่เบากว่าอยู่ที่ราวๆ 2.3 กิโลกรัม สนนราคาขายอยู่ที่ 18,990 บาท
Using Experience
เจ้า Lenovo Z5075 แรกเห็นบอกได้เลยว่ามาในรูปแบบเดียวกับผู้พี่อย่างอย่าง Z5070 เดะๆ เลยครับแต่จะมีสีสันที่แตกต่างกันคือใช้สีดำตลอดทั้งเครื่องแต่จะมีดีเทลที่แตกต่างกันเล็กน้อยในบางจุด (Z5070 จริงๆก็มีสีดำครับแต่มีจำนวนไม่มากนักในไทย) โดยดีไซน์ของตัวเครื่องด้านนอกก็ใช้การออกแบบของฝาหลังที่ใช้พลาสติกผิวด้านๆหยาบๆมีเท็กเจอร์ด้วยที่มีความสวยงามทีเดียวแต่ถือใช้งานไปไหนมาไหนได้กระชับไม่ลื่นหลุดมือได้งาน ช่วยให้การพกพาได้ดีขึ้นกว่าเดิม
ประสบการณ์ใช้งานต่างๆ ที่เมื่อเปิดเครื่อง Lenovo Z5075 ขึ้นมาใช้งาน เจ้านี่ก็ตอบสนองได้ตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นบนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟแบบ HDD ปกติตั้งแต่เริ่มบูทอัพหน้าจอเข้า Windows 8.1 แบบ Trail ที่ผู้เขียนได้ลงเอาไว้ ซึ่งเมื่อเริ่มใช้งานก็ทำได้อย่างรวดเร็วฉับไว และลื่นไหลต่อเนื่องทีเดียว โดยจุดเด่นหลักๆที่ทางผู้เขียนได้พบบนกับเจ้า Z5075 ก็จะเป็นในเรื่องของของความบันเทิงที่ตอบสนองได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะกับหน้าจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่โตถึง 15.6 นิ้ว ที่ให้ภาพได้เต็มตาดีทีเดียว แต่ก็น่าเสียดายที่ใส่มาให้แค่ HD เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเมื่อใช้ดูภาพยนต์ ดูมิวสิควิดีโอต่างๆ ก็ทำได้ดี ยิ่งใช้ควบคู่กับลำโพง Stereo ที่มีซอฟแวร์เสียง Dolby Advanced Audio ที่ให้เสียงผ่านลำโพงบนเครื่องได้ดีกว่ามาตรฐานทั่วไปอยู่เล็กน้อย แต่ที่น่าสนใจคือถ้าเพื่อนต่อลำโพง 2.1 แยกภายนอก เจ้า Dolby Advanced Audio นี้เองจะช่วยปรุงแต่งเสียงให้ได้ดียิ่งขึ้นไปอีกครับ เรียกได้ว่าลำโพงในเครื่องว่าโอเคแล้ว ต่อลำโพงแยกดูหนังฟังเพลงฟินกว่าเก่าอีกครับผม แถมท้ายเจ้า Z5075 ยังมีไดร์ฟใส่แผ่น DVD-RW มาให้อีกด้วยนะ เอาหนังแผ่น DVD มาดูได้สบายๆ เลยด้วย
ในด้านของการใช้งานบันเทิงแบบผ่อนคลายสบายอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นการท่องเว็บ เล่น Social ต่างๆ เช่น Facebook , Vine หรือจะเปิดเว็บ NotebookSPEC เช็คข่าวสาร Lenovo Z5075 ก็ทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยละครับด้วยมาตราฐานการเชื่อมต่อที่รองรับอย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น Wireless Internet หรือ Intenet แบบมีสายก็สามารถเข้าถึงได้ ที่สำคัญยังมาพร้อมด้วยกล้องเว็บแคม HD 720P ที่มีไมโครโฟนในตัวให้เพื่อนๆ สามารถติดต่อสื่อสารกับมิตรสหายหรือคนรู้ใจได้อย่างต่อเนื่องไม่เสียอารมณ์
การเล่นเกมต่างๆบนเจ้า Lenovo Z5075 ก็ทำได้ไม่น้อยหน้าด้านๆ อื่นครับ ค่อนข้างตอบสนองกับการเล่นเกมทั่วๆไปได้อย่างลื่นไหลพอสมควร ซึ่งก็เป็นผลมาจาก A10-7300 “Kaveri” และการ์ดจอแบบ Dual GPU นั่นเอง ซึ่งจะให้เปรียบเทียบประสิทธิภาพคร่าวๆ ของเจ้าสองตัวนี้ก็คงประมาณ Intel Core i5 Gen 4 รหัส U พ่วงกับการ์ดจอประมาณ GeForce GT820M ละครับ
ถ้าบันเทิงจนพอใจแล้วอยากปรับรูปแบบมาเป็นการทำงานหรือใช้งานแบบจริงจังบ้างเจ้า Lenovo Z5075 ก็พร้อมอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี ด้วยหน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว แบบ HD ทำให้ไม่ต้องเพ่งในการอ่านตัวหนังสือมากนักครับ แต่กลับกันสำหรับผู้ที่ต้องการเนื้อที่ใช้งานมากหน่อยก็ดูจะไม่เหมาะนัก ในส่วนของของการพิมพ์งานต่างๆ เจ้านี่ก็ทำได้ดีพอตัวด้วยแป้นพิมพ์แบบ AccuType Keyboard พร้อมแป้นพิมพ์พร้อมแป้นตัวเลขใช้งานได้คล่องตัว ในส่วนของ Touch Pad ก็รองรับการใช้งาน Guester Contol ควบคู่กับ Windows 8.1 ด้วย ซึ่งตัวทัชแพดเองเป็นจุดเด่นที่ผมเองค่อนข้างชอบเลยเพราะเป็นแบบแยกชิ้น และมีปุ่ม ซึ่งปุ่มกดนั้นค่อนข้างสมูทมาก และไม่มีเสียงคลิ๊กสุดแสนจะน่ารำคาญ ซึ่งบอกได้เลยว่าในส่วนของแป้นพิมพ์และทัชแพดนี่ Z5075 ไม่เป็นสองรองใครเลยละ แต่อย่างไรก็ตามน่าเสียดายอีกจุดหนึ่งก็คือบริเวณขอบเครื่องที่ค่อนข้างคม เวลาใช้งานไปนานๆ อาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบายแขนมากนัก ที่ทาง Lenovo ยังไม่ได้แก้ไขเลยเพราะเป็นมาตั้งแต่ในตระกูล Z500 / Z510 จนมาถึงตัวปัจจุบันครับ
อุปกรณ์เสริมต่างๆ ทาง Z5075 ก็สามารถเชื่อมต่อเพิ่มเติมได้ครบถ้วนครับไม่ว่าจะเป็นเมาส์ คีย์บอร์ด หูฟัง ลำโพง เมมโมรี่การ์ด External Harddisk แฟลชไดร์ฟ หน้าจอแสดงผลแยก ด้วยพอร์ตเชื่อมต่อที่อัดแน่นมาอย่างมากมายทั้ง USB 3.0 , Card Reader หรือ HDMI ครับ
???
เช่นเดียวกันกับแบตเตอรี่และการอัพเกรดเผื่ออนาคตที่นับได้ว่าเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งที่ทาง Lenovo ปรับปรุงและต่อ Z5075 จาก Z500 และ Z510 ออกมาได้เป็นอย่างดี เพราะเจ้านี่สามารถที่จะถอดฝาหลังและแบตเตอรี่ได้แบบเดียวกับ Z5075 ครับ โดยการอัพเกรดที่สามารถทำได้ก็อาทิ อัพเกรดแรม อัพเกรด SSD และเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นต้น
?????
การพกพาต่างๆกับ Lenovo?ก็ไม่ต้องกังวลเลยละครับด้วยด้วยน้ำหนักตัวเพียง 2.3 กิโลกรัมกว่าๆ เท่านั้นเอง มันจึงสามารช่วยให้เพื่อนๆ พกพาโน๊ตบุ๊คตัวนี้ไปไหนมาไหนได้สะดวกสุดๆ เลยละ แต่ถ้าพกที่ชาร์จไฟไปด้วยก็อาจต้องหาเป้สะพายหลังแล้วนะเพื่อนๆ
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพในการทดสอบหรือ Benchmark เจ้า Lenovo Z5075 ที่ใช้หน่วยประมวลผลและการ์ดจอจาก AMD กันครับ
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่ Z5075 ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอได้ตรงตามความเป็นจริง (R6 M255DX นั้นน่าจะเป็นรุ่นปรับปรุงมาจาก R5 M250 ครับผมโดยเพิ่มจำนวนแรมและความเร็ว GPU Clock Speed เข้าไป)
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนตามแบบฉบับของ AMD
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาไม่มากไม่มายเพียง 43 นาที
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 20 นาทีถือว่าไม่เลว
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อนๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็กินเวลาไป 8 นาทีกว่าๆ ทันใจใช้ได้
มาดูผลทดสอบเกมสำหรับเพื่อนๆที่ชอบเล่นเกมฆ่าเวลากันกับเกมแรกอย่าง Street Fighter 4 เป็นเกมต่อสู้ที่ไม่กินสเปคเครื่องมากนัก ปรับภาพความละเอียดเที่ 1366?768 พิกเซล ปรับกราฟฟิกภายในเกมที่ All-High ก็ให้ผลคะแนนเฉลี่ยในระดับ Rank A และมีเฟรมเรทเฉลี่ยที่ 64FPS ถือว่าเล่นได้ลื่นเลยละ
เกมที่ค่อนข้างกินทรัพยากรของเครื่องอย่าง Resident Evil 6 ปรับภาพที่ 1280 ? 720 พิกเซล (ตัวไดร์ฟเวอร์การ์ดจอล๊อคไว้) ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ All-High ก็สามารถเล่นได้พอประมาณครับผม แต่ทางที่ควรปรับระดับไปที่ All Medium/All low จะลื่นไหลและไม่เสียอรรถรส
เช่นกันกับอีกหนึ่งเกมที่ค่อนข้างกินทรัพยากรอย่าง Tomb Raider ปรับภาพที่ 1366 ? 720 พิกเซล ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ All-High ก็เล่นได้ดีครับมีเฟรมเรมเฉลี่ยอยู่ที่ 21FPS จัดได้ว่าพอเล่นได้ครับ
โปรแกรม Benchmark ประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบของ FuterMark เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ทำได้ดีตามมาตรฐาน?ซึ่งถือว่าโดยรวมๆ Lenovo Z5075 ก็ทำได้ดีสมราคาครับ
ทดสอบกับโปรแกรมตรวจวัดระยะเวลาการใช้เครื่องบนแบตเตอรี่ หรือ BatteryMon โดยการปรับตั้งค่า lenovo Z5075 ที่ Balance และเปิดใช้งานเล่นเว็บก็แสดงผลระยะเวลาออกมาอยู่ที่ 7 ชั่วโมง ถือได้ว่าทำได้ดีครับ แต่ถ้าใช้งานเล่นเว็บจริงๆจัวน่าจะอยู่ที่ 4-5 ชั่วโมง ส่วนการดูหนัง Full-HD น่าจะไปอยู่ที่ 2-3 ครับ ส่วนถ้าเล่นเกมก็จะอยู่ที่ราวๆ 1.3-2 ชั่วโมง ซึ่งการใช้งานบนแบตเตอรี่นั้นก็สามารถแปรผันได้จากการตั้งค่าหลายๆ บนตัวเครื่องนั่นเองละครับ
Conclusion / Award
Lenovo Z5075 เป็นโน๊ตบุ๊คอีกหนึ่งตัวที่ค่อนข้างน่าสนใจในหลายๆ ด้านทีเดียวไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบต่างๆ ที่ใช้บอดี้แทบจะตัวเดียวกับ Z5070 แต่ปรับมาใช้สีดำตลอดทั้งตัวเครื่องทำให้มีความสวยงามอย่างมาก และเนื้องานๆ ต่างๆ ก็ทำออกมาได้ไม่แพ้กันเลย , ในด้านของการใช้งานทั่วไปที่โอเคมากๆ เลยละครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแป้นพิมพ์แบบ AccuType และ Touch Pad แบบมีปุ่มที่ใช้งานได้ยอดเยี่ยม เรียกได้ว่าโน๊ตบุ๊คในระดับเดียวกันรุ่นอื่นๆ อายเลยละครับ , ในด้านของความบันเทิงเองเจ้า Z5075 ก็ไม่แพ้ใครครับด้วยหน้าจอแสดงผลที่ใหญ่โตถึง 15.6 นิ้ว และระบบเสียง Dolby Advanced Audio ส่งผลให้มันตอบรับกับความบันเทิงได้อย่างเป็นเยี่ยม
เช่นกันกับในด้านของการเล่นเกมที่ Lenovo Z5075 ก็ทำได้ดีพอประมาณมาณครับ ด้วยระดับฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในระดับนึง ช่วยให้การเล่นเกมราบลื่นทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามถ้าคาดหวังว่าจะซื้อไปเล่นเกมโดยเฉพาะผู้เขียนไม่ขอแนะนำครับ แต่ถ้าซื้อไปเล่นเกมบ้าง บันเทิงบ้าง ทำงานบ้างเจ้า Lenovo Z5075 ตัวนี้ตอบสนองได้สมบูรณ์แบบเลยละ อย่างไรก็ตามครับข้อสังเกตุของ Lenovo Z5075 ก็มีอยู่บ้างประปรายนะครับเช่นขอบเครื่องที่ค่อนข้างคม (แต่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการต่อเมาส์และคีย์บอร์ดแยก) , หน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว แบบ HD ที่มีเนื้อที่จำกัด เป็นต้นครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นด้วยราคาค่าตัวราวๆ 18,990 บาทที่ไม่สูงมากนัก กับข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ก็นับได้ว่า Z5075 มีความคุ้มค่าในตัวของมันและเป็นตัวเลือกที่หน้าสนใจสำหรับเพื่อนๆ ที่มองหาโน๊ตบุ๊คใช้งานในราคาไม่สูงสักเครื่องครับ
จุดเด่น
- สวยงาม ดีไซน์โดดเด่นไม่แพ้ Lenovo Z5075
- หน้าจอ 15.6 นิ้ว เหมาะแก่ความบันเทิง
- สเปคแรงพอที่จะตอบสนองกับการเล่นเกม บันเทิง และใช้งานทั่วไป
- มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆมากมายจากทั้ง APU และ GPU รุ่นล่าสุด
- คีย์บอร์ดแบบพร้อมด้วยแป้นตัวเลข และทัชแพดที่ทำออกมาได้ดีมาก ใช้งานได้ดี
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , SD Card Reader และ HDMI
- ระบบเสียง?Dolby Advanced Audio ปรุงแต่งเสียงให้ดีขึ้นทั้งลำโพงในตัว และการต่อลำโพงแยก
ข้อสังเกต
- ขอบเครื่องค่อนข้างคมใช้งานนานๆ รู้สึกไม่สบายท่อนแขน แต่แก้ปัญหาได้ด้วยการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์แยก
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ทั่วขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง?Lenovo Z5075?ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ด้วยระบบเสียงอย่าง Dolby Advanced Audio ?หน้าจอแสดงผล 15.6 นิ้ว และสเปคของระบบภายในตัวเครื่อง Lenovo Z5075 ที่ค่อนข้างโอเคสามารถตอบสนองความบันเทิงต่างทั้งดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่เล่นเกมก็ทำได้ แถมยังมีที่ราคาไม่สูงจนเกินไป ทาง NotebookSPEC จึงขอมอบรางวัล Best Multimedia ให้กับเจ้า Z5075 ไปเลย