พูดถึงหน่วยความจำหรือแรมแล้วก็คงต้องยกให้ Kingston เป็นอันดับต้นๆ ที่คนรู้จักกันมากที่สุด ด้วยการรักษาชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเรื่องความ Compatible ที่ไม่ค่อยจะมีปัญหากับใคร ใส่ได้ ใช้ได้เกือบหมด ประสิทธิภาพแบบกลางๆ ถึงแม้ว่าจะมีรุ่นพิเศษที่เน้นประสิทธิภาพอย่าง Kingston HyperX ออกวางจำหน่ายมานานแล้วแต่ก็ยังเหมือนจะไม่สุด ครั้งนี้เลยได้เวลาทำให้มันสุดๆ กับ Kingston?HyperX Fury กันแล้ว
Kingston HyperX Fury จัดว่าเป็นแรมตระกูลใหม่ที่ได้รับการต่อยอดจากแรมในตระกูล HyperX รุ่นปกติ ซึ่งทำให้การวางตำแหน่งของมันอยู่เหนือกว่าเล็กน้อย โดย HyperX ปกติจะกลายเป็นรุ่นสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประสิทธิภาพหรือมีการโอเวอร์คล็อกในระดับเริ่มต้นเท่านั้น ส่วน Fury จะเป็นแรมที่ถูกปรับแต่งและตั้งค่าการโอเวอร์คล็อกให้แรงมาจากโรงงานเลย คือไม่ต้องคิดอะไรมาก มาถึงใส่แล้วแรงเลย!!!
สำหรับตัวที่เราจะมาทดสอบกันเป็น Kingston HyperX Fury DDR3-1866 มาภายใต้รหัส HX318C10FK2/8 ซึ่งเป็นแรมชุด Dual Kit ขนาด 8GB โดยแบ่งเป็นแถวละ 4GB เป็นแรมชนิด DDR3 ให้ความเร็วในการทำงาน 1866MHz ซึ่งเลยจากความเร็วมาตรฐานที่ซีพียูส่วนใหญ่รองรับอยู่เล็กน้อย
ตัวแรมนั้นมาพร้อมกับฮีทซิงค์สีฟ้าสดใสเหมือนกับรุ่น HyperX แต่ต่างกันตรงที่เป็นฮีทซิงค์แบบอสมมาตร คือทำส่วนโค้งส่วนเว้าด้านบนเพิ่มเติมให้ดูสวยขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการระบายความร้อนด้วยส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการสกรีนสัญลักษณ์ HyperX Fury มาให้รู้ด้วยว่านี่คือรุ่น Fury
ข้อมูลตามสเปกได้ถูกระบุความเร็วเป็น DDR3-1866 พร้อมค่า CAS Latency 10-11-10 ซึ่งค่อนข้างสูงอยู่พอสมควรสำหรับแรมระดับนี้ ดังนั้นเรื่องความเร็วจึงต้องมาดูอีกทีหนึ่งว่าจะแรงจริงหรือเปล่า
PnP JEDEC Timing Parameters
-DDR3-1866 CL10-11-10 @1.5V
-DDR3-1600 CL9-10-9 @1.5V
-DDR3-1333 CL8-9-8 @1.5V
เริ่มการใช้งาน
ด้วยความเร็วของ Kingston HyperX Fury DDR3-1866 นั้นสูงสุดถึง 1866MHz ทำให้ซีพียูที่จะรองรับโดยตรงนั้นถ้าเป็นฝั่งอินเทลก็ต้องเป็นรุ่น i7 Extreme เท่านั้น ส่วนทาง AMD จะมีตระกูล APU ที่รองรับแรมความเร็วสูงๆ ได้ไม่มีปัญหา แต่ก็ใช่ว่าจะจำกัดกลุ่มผู้ใช้นักเพราะเมนบอร์ดส่วนใหญ่ก็รองรับการ Overclock เพื่อให้รองรับแรมความเร็วสูงได้อยู่แล้ว แต่ควรตรวจสอบเมนบอร์ดที่ใช้ก่อนว่ารองรับหรือไม่
หลังจากที่ประกอบทุกอย่างเสร็จเปิดเครื่องเข้าไปตั้งค่าในไบออสจะพบว่าเครื่องจะตั้งความเร็วในเป็น 1866 พร้อมด้วยค่า CAS Latency 10-11-10 ตามที่โปรไฟล์ที่ถูกตั้งค่าไว้ใน JEDEC เลย ต่างกัน HyperX Genesis รุ่นต่ำกว่าที่จะมี JEDEC ที่ต่ำกว่าความเร็วของแรมเล็กน้อย และถ้าอยากจะใช้ความเร็วสูงสุดจะต้องไปเปิดโปรไฟล์ X.M.S. เพิ่มเติมอีกทีหนึ่ง
ในการทดสอบเราได้ใช้ชุดทดสอบที่เป็น AMD A10-6800K ซึ่งรองรับแรมที่ความเร็วสูงสุด 2133 อยู่แล้ว ประกอบกับเมนบอร์ดชิปเซน A88 จาก ASRock ซึ่งสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับแต่งค่าใดๆ เพิ่มเติม
การทดสอบข้อมูลด้วย CPU-Z ได้ผลดังภาพครับ ความเร็ว 1866MHz แบบ Dual Channel กับ CL 10-11-10-30 ส่วน JEDEC Profile นั้น CPU-Z มองเห็นแค่ 1766MHz เท่านั้นเอง
การทดสอบประสิทธิภาพ
เราใช้โปรแกรมที่ทดสอบเรื่องของหน่วยความจำอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ SiSoft Sandra, AIDA63, CINEBENCH, 3DMark และ wPrime มาดูผลการทดสอบกันเลยครับ
SiSoft Sandra Memory Benchmark (Memory Transaction Throughput)
SiSoft Sandra Memory Benchmark (Cache Bandwidth)
SiSoft Sandra Memory Benchmark (Cache & Memory Latency)
SiSoft Sandra Memory Benchmark (Memory Bandwidth)
CINEBench R15
AIDA64 Extreme (Memory Read)
AIDA64 Extreme (Memory Write)
AIDA64 Extreme (Memory Copy)
AIDA64 Extreme (Memory Latency)
3DMark
?หากดูจากผลการทดสอบหลายๆ ตัว ให้ความรู้สึกว่าเร็วขึ้น หากเทียบกับการใช้งานบน DDR3 1333 หรือ 1600 ที่คุ้นเคยอยู่ แต่ยังไม่เร็วแบบกระชาก โดยเฉพาะเมื่อนำไปเทียบกับแรม DDR3-1600 ที่มี CL ต่ำกว่า ซึ่งแม้ว่าสัญญาณนาฬิกาจะสูง แต่ด้วย Latency ที่สูงก็ทำให้ประสิทธิภาพไม่ปรู๊ดปร๊าดเหมือนอย่าง DDR3-1866 รุ่นอื่นๆ ที่มี CL9 แต่ก็หมายความว่าหากเราปรับให้ CL แรมลดต่ำลงมาบ้าง ก็จะสัมผัสได้ถึงอารมณ์ความแรงที่พอสัมผัสได้เลยทีเดียว
บทสรุป
ที่จริง HyperX เองก็มีรุ่นแยกออกมาหลายรุ่น แน่นอนว่าถ้าต้องการประสิทธิภาพจริงๆ อาจจะต้องไปเล่นรุ่น Predator หรือ Beast ไปเลย ส่วน Fury นั้นเปรียบเสมือนกับ HyperX รุ่นที่ได้รับการปรับแต่งโอเวอร์คล็อกมาแล้ว ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ที่สำคัญคือราคาไม่แพงเว่อร์ ยังสามารถหาซื้อมาเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก สำหรับคนที่ต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมา
ข้อสังเกต
-ให้ความเร็วในระดับ DDR3 1866 ได้บน CL 10
-รองรับการปรับความเร็วในการโอเวอร์ได้พอสมควร
-ซิงก์ระบายความร้อนมีให้เลือกหลายสี เพื่อเข้ากับเมนบอร์ด
-ให้ความคุ้มค่าในการทำงานทั่วไปและนักเล่นเกมในระดับเริ่มต้น