Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

อยากได้ SSD ที่เร็วและใช้งานบนพีซีให้สะดวกกว่าเดิม เลือกแบบไหน

เชื่อว่าหลายต่อหลายคนก็คงจะอยากสัมผัสกับความแรงของฮาร์ดดิสก์ SSD ใจจะขาดหรือบางคนที่เคยใช้ในรุ่นแรกๆ ก็อาจจะรู้สึกว่า การทำงานอาจจะช้าไปบ้าง หากเทียบกับ SSD รุ่นใหม่ๆ

เชื่อว่าหลายต่อหลายคนก็คงจะอยากเลือก SSD และสัมผัสกับความแรงของฮาร์ดดิสก์ SSD ใจจะขาดหรือบางคนที่เคยใช้ในรุ่นแรกๆ ก็อาจจะรู้สึกว่า การทำงานอาจจะช้าไปบ้าง หากเทียบกับ SSD รุ่นใหม่ๆ ที่มีความเร็ว Read/ Write ระดับ 400-500MB/s ซึ่งเห็นแล้วก็น้ำลายไหล

SSD_0

Advertisement

แต่ด้วยข้อจำกัดของพอร์ต SATA บางทีที่ใช้รุ่นเก่าๆ อยู่หรือจะเป็นรุ่นใหม่ ก็อาจจะยังตอบสนองได้ไม่ทันใจมากนัก ซึ่งถ้าถามว่าเป็นข้อจำกัดหรือเปล่า ก็มีส่วน เพราะหากมอง SSD บางรุ่นที่ออกมาก่อนหน้านี้ ที่มีการเชื่อมต่อผ่านสล็อต PCI-Express โดยตรง ก็เรียกได้ว่ามีผลการทำงานที่น่าสนใจไม่น้อย?ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีทางเลือกใดบ้าง ที่จะสามารถใช้งาน SSD และได้ความเร็วที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม แต่ที่สำคัญน่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุนลงแรง

SanDisk Lightning Gen_ II Product Family of SAS SSDs (2_5) jpg

1
แบบแรกเลือก SSD มาต่อ RAID แบบนี้เป็นวิธีการแบบกำปั้นทุบดิน แต่ให้ผลได้ดี ด้วยการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับ SSD ลูกใหม่ แล้วนำมาต่อ RAID 0 เพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น จะสูงกว่าเดิมมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ SSD พื้นฐานที่ใช้อยู่เดิม แม้ความเร็วจะไม่ได้สูงขึ้นเป็นเท่าตัวก็ตาม แต่ตัวเลขที่ได้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แม้ความจุจะยังเท่าเดิมก็ตาม รวมถึงสิ่งได้กลับมาอีกอย่างก็คือ หากไม่ต้องการเพิ่มความเร็ว ก็นำมาใช้ในการขยายพื้นที่ให้มากขึ้นหรือใช้สำหรับสำเนาไฟล์ ด้วยการต่อ RAID ทำงานในแบบ Mirror นั่นเอง

RevoDrive 350 600

2
แบบที่สอง เลือก SSD ในบบ PCI-Express เป็นทางออกที่มีความโดดเด่นน่าใช้มากขึ้น เนื่องจากเป็นการใช้ SSD บนอินเทอร์เฟสแบบการ์ด แทนแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ปกติที่เชื่อมต่อผ่าน SATA ซึ่งบางรุ่นก็มาพร้อมฟีเจอร์ RAID ที่ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนั่นเอง อย่างเช่น OCZ RevoDrive ที่มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 128GB ไปจนถึงระดับ Terabyte พร้อมการต่อ RAID ภายในให้ความเร็วในการ Read/ Write สูง บางรุ่นสูงกว่า 1000MB/s เลยทีเดียว เช่น RevoDrive 3 x2 เมื่อทำงานผ่านสล็อต PCI-Express ก็ยิ่งทำให้อัตราการรับ-ส่งข้อมูลรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาค่าตัวก็สูงจนน่าใจหาย

OCZ_nocti_SSD

3
แบบที่สาม เลือก SSD ในแบบ M.2 หรือ M.2 SATA SSD เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้การใช้งาน SSD ได้ดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเชื่อมต่อบนสล็อตของเมนบอร์ด แต่ยังอยู่บนพื้นฐานของ SATA 6Gb/s ซึ่งคงต้องบอกว่าแม้จะไม่ได้ให้ความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้นแบบโดดเด่นเห็นได้ชัด แต่ก็ให้ความคล่องตัวในการทำงานที่ดี เพียงแต่ว่า เมนบอร์ดที่มีสล็อตสำหรับ M.2 SATA เพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นที่รองรับ ส่วนใหญ่จะเป็นเมนบอร์ดรุ่นท็อปและล่าสุดคาดว่าจะได้เห็นบนเมนบอร์ด Intel 9 series มากยิ่งขึ้น อีกทั้งความจุอาจจะยังไม่สูงมากนัก

Plextor M6e

4
แบบที่สี่ เลือก SSD ในแบบ M.2 SSD PCI-Express ในแบบดังกล่าวนี้ เป็นรูปแบบที่น่าสนใจและคล้ายคลึงกับแบบ SSD PCI-Express เพียงแต่ในแบบดังกล่าวนี้จะเป็นการต่อ SSD ในแบบ M.2 ต่อเข้ากับสล็อตบนตัวการ์ด จากนั้นต่อการ์ดเข้าไปที่สล็อต PCI-Express อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งแบบ PCI-Express x2 และบางรุ่นในปัจจุบันรองรับในรุ่น x4 ที่เป็นการเพิ่มอัตราการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น Plextor’s next-gen M6e M.2 2280 PCIe SSD ซึ่งเป็นการ์ดขนาดเล็ก เชื่อมต่ออินเทอร์เฟส PCI-Express x4 และมีสล็อต M.2 เพื่อใช้ติดตั้ง SSD M.2 โดยมีอัตราการอ่านและเขียนข้อมูลที่รวดเร็ว รวมถึงความจุที่ยังไม่สูงมากนัก ข้อดีอยู่ที่เราสามารถเปลี่ยนหรืออัพเกรด M.2 SSD ได้ตามต้องการ

สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้ที่กำลังเลือก SSD ที่ให้ความเร็วและความยืดหยุ่นที่มากขึ้นในการใช้งาน รวมถึงมีความคุ้มค่าและเหมาะสม เพราะบางแบบมีค่าใช้จ่ายสูง แต่บางแบบก็ต้องเลือกใช้กับเมนบอร์ดเฉพาะรุ่น แต่บางแบบก็เหมาะกับการใช้งานแบบสลับสับเปลี่ยนได้สะดวกขึ้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เองว่าต้องการในแบบใด

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ถ้าประกอบคอมหรือซื้อโน๊ตบุ๊คมาสักเครื่อง นาทีนี้เป็นใครก็อยากได้ SSD 1TB มาใส่ในเครื่องสัก 1~2 ชิ้นแน่นอน จะได้ติดตั้งโปรแกรมทำงาน, เกมและเก็บไฟล์งานเรียกใช้บ่อยได้สะดวก เพราะตอนนี้จะเกมหรือโปรแกรมไหนก็กินพื้นที่กันหลัก 50~100GB กันทั้งนั้น ยังไม่รวมส่วนเสริมอีกร้อยแปดสำหรับเพิ่มลูกเล่นให้งานเสร็จเร็วหรือน่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งอาจใช้พื้นที่เพิ่มอีกพอควร ยิ่งตอนนี้โน๊ตบุ๊คทำงานขนาดปกติกับเกมมิ่งส่วนใหญ่ก็ติดตั้ง SSD ตัวเสริมเข้าไปได้แทบทุกรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจะซื้อมาใส่ในเครื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้งานก็ดี เปิดเครื่องมาตั้งค่าอีกหน่อยก็ใช้งานได้เลย อย่างไรก็ตาม SSD ในปัจจุบันจะมีอินเทอร์เฟสให้เลือกหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ PCIe 3.0...

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

PC Review

WD Blue SN5000 1TB เปิดเครื่องไว ก็อปปี้ไฟล์ ย้ายข้อมูลรวดเร็ว SSD เพื่อสายทำงาน สาย AI และงานที่เร่งด่วน WD Blue SN5000 เป็นหนึ่งในซีรีย์ของ SSD ระดับเพาเวอร์ยูสเซอร์และเกมเมอร์ของทาง WD ที่ออกแบบมาให้กับผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ใช้งานด้านความเร็ว ในการอ่านและเขียนข้อมูล บนมาตรฐาน M.2 NVMe...

REVIEW

Kingston NV3 2TB ความจุเยอะ อ่านเขียนไว ตอบโจทย์คนทำงาน คอเกมและครีเอเตอร์ Kingston NV3 เป็น SSD M.2 NVMe รุ่นใหม่ล่าสุด ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นกับ SSD M.2 ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ในชีวิตประจำวัน กับความจุที่มากสุดถึง 2TB ทำให้รองรับได้ทั้งการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการลงโปรแกรม...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก