ในปัจจุบัน “ฮีทซิงค์” ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งอย่างของคอมพิวเตอร์ เพราะการระบายความร้อนถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อความร้อนถึงจุดที่สูงมากเกินไป จะทำให้การใช้งานระบบผิดเพี้ยนได้ ซึ่งหากอุปกรณ์ไม่ดีพอ และอาจจะลดอายุการใช้งานของอุปกรณณ์ต่างๆ ภายในเครื่องลงไปด้วย
อย่างไรก็ดีการเลือกใช้งานฮีทซิงค์นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ควรกระทำ แต่ว่าจะเลือกใช้งานอย่างไร หากไม่ค่อยจะรู้เรื่องอุปกรณ์พวกนี้สักเท่าไหร่ (บางคนอาจจะกลัวพังเพราะทำไม่เป็น) วันนี้ทีมงานเลยมาเสนอวิธีการเลือกซื้อฮีทซิงค์สำหรับใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ว่าควรใช้แบบไหนดี
โดยฮีทซิงค์ที่ทีมงานจะแนะนำในครั้งนี้จะเป็นการระบายความร้อนด้วยลม โดยมีตัวพัดลมช่วยทั้งการดูดและการเป่าออก ฮีทซิงค์ระบายความร้อนประเภทนี้ถือว่าเป็นมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ทั่วไป เพราะจะมีแถมมาในกล่องของ CPU อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามตัวที่ติดมากับ CPU นั้นถือว่าใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการแบบที่เงียบกว่า เย็นกว่าหรือรองรับการโอเวอร์คล็อกได้ ก็ต้องเลือกซิงก์รุ่นพิเศษที่แยกจำหน่ายนั่นเอง
ด้วยรอบพัดลมที่สูงมากมากเนื่องจากบางครั้งเกิดความร้อนสูง จึงต้องเร่งความเร็วของตัวเองขึ้นเพื่อระบายความร้อนไปจึงเกิดเสียงขึ้น ฮีทซิงค์นั้นจะมีส่วนประกอบอยู่คล้ายๆ กันคือ
- หน้าสัมผัส (เป็นส่วนที่แนบติดกับ CPU ) จะมีทั้งแบบ อลูมิเนียมและทองแดงให้เลือก
- ไปป์ หรือท่อที่จะดึงความร้อนจากหน้าสัมผัสส่งขึ้นไปยังแผงกระจายความร้อนอีกที แต่ละรุ่นจะมีไม่เท่ากันบางอันอาจจะมี 3?ท่อ บางตัวอาจจะมีถึง 6 ท่อ
- พัดลมระบายความร้อน ก็จะมีหลายขนาดตามแต่ลักษณะของฮีทซิงค์ด้วย บางตัวก็มีลูกเล่นไฟสวยงามสำหรับแต่งก็สามารถหามาติดได้
?
ส่วนวิธีการเลือกซื้อฮีทซิงค์ ควรเลือกใช้อย่างไรกับประเภทคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ฮีทซิงค์สำหรับใช้แทนตัวเดิมที่มากับ CPU
ส่วนใหญ่เพราะด้วยเสียงรบกวนหรือเกิดความเสียหาย + กับความร้อนที่ระบายได้ไม่ดีนักจึงจำเป็นต้องหาตัวที่ดีกว่ามาใช้งาน
- ไม่ต้องแพงมาก
- พอใช้งานดีกว่าตัวเก่า
- ไม่มีเสียงรบกวน
- สามารถติดตั้งได้ง่าย (ในกรณีติดตั้งเอง)
ส่วนตัวที่แนะนำในปัจจุบันตามประเภทใช้งานทั่วๆ ไป แนะนำเป็น Cooler Master Hyper TX3 EVO
ที่เลือกตัวนี้เพราะว่า
1. หนึ่งระบายความร้อนได้ดีกว่าซึ้งที่ติดมาในระดับหนึ่ง
2. รองรับการใช้งานได้เกือบทุกบอร์ดในท้องตลาด มีอุปกรณ์สำหรับใช้มาพร้อม พัดลมติดมาให้ 1 ตัว
3. มีขนาด 90 x 51 x 136 มิลลิเมตร ถือว่าเล็กไม่ใหญ่โตจนเกินไปสามารถใส่ได้เกือบทุกเคสทั่วไป และมีน้ำหนักเบาเพียง 306 กรัมเท่านั้น
4. เสียงรบกวนน้อยกว่า เพราะพัดลมที่ติดมามีการกำหนดรอบไว้แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 800 – 2,xxx รอบ ถือว่าไม่ดังจนเกินไป (เราสามารถเพิ่มพัดลมอีกตัวเป็น 2 ตัวเพิ่มเร่งการระบายความร้อนช่วยกันได้)
5. ราคาไม่แพงอยู่ที่ช่วงประมาณ 600 บาทเท่านั้น สามารถนำมาใช้เป็นตัวพื้นฐานได้อย่างคุ้มค่า
โดยรวมแล้วสมมุติเราใช้ซิ้งเดิมความร้อนสูงสุดอาจจะอยู่สัก 70?องศาเซลเซียส + กับเสียงพัดลมรบกวนในดับที่ก่อกวนประสาทได้ ถ้าหากเปลี่ยนมาเป็นตัวนี้ความร้อนสูงสุดอาจจะเหลือสัก 65?องศาเซลเซียส ถึงจะดูลดไม่มากแต่เสียงรบอาจกวนลดน้อยลงไปเยอะ เพราะพัดลมแถวมาอาจจะมีรอบการทำงานถึง 4000-6000 รอบเลยทีเดียว นอกจากนั้นซิ้งที่เราจะติดตั้งลงไปแทนนั้นย่อมมีการควบคุมความร้อนได้ดีขึ้นกว่าของติดมาแน่นอน สามารถเก็บไว้ใช้กับบอร์ดอื่นๆ ได้ในอนาคต มีขนาดไม่ใหญ่ใช้ได้ทุกเคสขนาดทั่วไป จึงทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ตาม
เพราะเราแค่ใส่เพื่อลดการรบกวนและสะดวกต่อการใช้งานของเราเท่านั้นไม่จำเป็นต้องดีมาก ตัวนี้จึงเป็นตัวเลือกตัวแรกที่ควรมอง เพราะมีความคุ้มค่าและสามารถใช้งานได้ง่าย
2. ฮีทซิงค์สำหรับ Overclock เพิ่มเติม
สำหรับฮีทซิงค์สำหรับ Overclock เพิ่มเติมเบื้องต้นนั้น จะควบคุมความร้อนได้ดีกว่าฮีทซิงค์ทั่วๆ ไปพอสมควร และตัวจะมีขนาดใหญ่ ฮีทซิงค์แบบนี้เหมาะสำหรับ
- นัก Overclock เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวันไม่ได้ Overclock แบบเอาเป็นเอาตายแค่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องใช้งานได้ดีขึ้น
- ลดความร้อนได้ดีตัวไปป์ที่มากกว่าตัวฮีทซิงค์ปกติ และมีขนาดที่กระจายความร้อนใหญ่ขึ้น และสามารถติดตั้งพัดลมได้ 2 ตัว ทั้งดูและเป่าไปพร้อมกัน
- เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้ในการใช้งานระดับหนึ่งเหมาะอาจจะต้องมีการปรับแต่ง Overclock และการติดตั้งจะยากกว่าตัวฮีทซิงค์ทั่วๆ ไป
ขอแนะนำสักหนึ่งรุ่นเป็น Megahalems Black
รองรับ Intel Socket LGA 775/1366/1156/1155/2011 , AMD Socket AM2/2+/3/3+/FM1/FM2
ขนาด (L)130mm X (W)74mmX (H)158.7mm และน้ำหนัก 790 กรัม
รองรับการติดตั้งพัดลมขนาด 120 มิลลิเมตร หรือ 140 มิลลิเมตรได้ 2 ตัว
ที่เลือกตัวนี้เพราะว่า
- มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นพอสมควรและมีแผ่นกระจายความร้อนที่มากขึ้น ท่อส่งความร้อนมากขึ้น ระบายความร้อนได้ดีขึ้นแบบเห็นผลชัดเจนจากความร้อนสูงสุดปกติ 70 องศาเซลเซียส อาจจะเหลือเพียง 55 องศาเซลเซียส เป็นต้น
- รองรับพัดลมได้ 2 ตัวปรับแต่งเองได้ จะเอาความเร็วแรงเท่าไหร่ก็สามารถหามาเปลี่ยนเองได้ ช่วยลดเสียงรบกวนได้ใจกรณีเลือกพัดลมรอบการทำงานต่ำ
- มีอุปกรณ์มาให้ครบสามารถติดตั้งได้ทั้ง Intel และ AMD ใช้ได้หลากหลาย
- ใช้งานได้ยาวนานและใช้ได้กับเมนบอร์ดเกือบทุกรุ่น (แต่เคสอาจจะต้องมีขนาดใหญ่และสูงห่างจากฝาเคสที่รองรับการติดตั้งได้)
- สามารถ Overlock เพิ่มประสิทธิภาพและใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริงไม่ได้นำมาเพื่อการทำสถิติ เพราะความสามารถของฮีทซิงค์ประเภทนี้ยังไม่ถึงระดับที่จะทำมาแข่งขันระดับสูงได้ การ Overclock จึงสามารถทำได้ดีในระดับหนึ่งเท่านั้น
ขอสรุปแบบรวม ฮีทซิงค์นั้นคือสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามไปได้เลย อย่างน้อยก็คือเสียงที่มันรบกวนจิตใจ อาจจะทำให้เรากล้าๆ กลัวๆ เวลาใช้งานมันจะพังไหม๊นะ จะเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะคนที่มีความรู้น้อยก็มีมากมาย ฮีทซิงค์นอกจากจะช่วยให้ระบายความร้อนดีแล้วและลดเสียงรบกวนแล้ว ยังทำให้อุปกรณ์ของเรามีอายุที่นานขึ้น (ความร้อนต่ำอาการผิดปกติก็น้อยลงตามไปด้วย)
และนอกจากประสิทธิภาพที่ช่วยในเรื่องความร้อนและอื่นๆ แล้ว มันยังเป็นอุปกรณ์ที่ตกแต่งคอมพิวเตอร์เราได้ด้วยการติดตั้งพัดลมสีไฟสีๆ เวลามันหมุนทำงานก็จะดูสวยงาม (บางคนแต่งเป็นโรงลิเกเลยก็มี)เราสามารถเลือกเปลี่ยนได้ตลอด แต่ก็ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพด้วยอย่างน้อยรอบพัดลมน่าจะอยู่สัก 1600 รอบ เพื่อการระบายความร้อนที่ดีและเงียบ
แต่ถ้าเพื่อนๆ อยากใช้งานแบบระดับสูงแล้วระก็ ระบบระบายความร้อนแบบลมไม่ใช่ตัวเลือกในที่นี้ ต้องมองหาซิงค์ระบายความร้อนด้วยน้ำ ด้วยของเหลว สารหล่อเย็นต่างๆ ที่เขาใช้ในการทำสถิติกันระดับนั้นต้องใช้ความสามารถด้วยจริงๆ ถึงจะออกมาดี แต่ในชีวิตประจำวันของเรากับคอมพิวเตอร์ตัวโปรด ก็ต้องขอฝากฮีทซิงค์ระบายความร้อนด้วยลมไว้เป็นตัวเลือกครับ