โหมดสแตนบายที่เรารู้จักกันดี กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่เครื่องทีวี ไปจนถึงคอมพิวเตอร์, มือถือ และแท็บเล็ต หลายๆคนมองว่าเป็นโหมดที่ใช้พลังงานสิ้นเปลืองไปโดยเปล่าประโยชน์ แม้ว่าจะเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ได้มากมายอะไรนักก็ตาม แต่มาตอนนี้ Nokia ได้บอกว่า ทั้งหมดนั่นคือสิ่งที่ตัวเองต้องการ เพราะว่าล่าสุดได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ต้นแบบใหม่ขึ้นมาหนึ่งชิ้น เป็นระบบชาร์จพลังงานตัวเองได้ จากการใช้คลื่นวิทยุรอบๆตัวเองมาใช้เป็นพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องทีวีเก่าๆ, วิทยุ และมือถือที่มีการปล่อยสัญญาณออกมารอบๆตัวเราตลอดเวลาเหล่านี้ พลังที่สามารถสร้างขึ้นมาได้นั้น แม้ว่าจะเป็นจำนวนที่ไม่มากมายอะไร แต่ก็เกือบจะเพียงพอแล้ว สำหรับการใช้ในโหมดสแตนบายบนอุปกรณ์ขนาดเล็กอย่างเครื่องมือถือ โดยที่ไม่เครื่องไม่จำเป็นต้องไปเสียบต่อกันกับปลั๊กเพื่อชาร์จไปเลย
แต่แนวคิดของ Nokia ครั้งนี้ เป็นอะไรที่มากกว่าการแค่ผลิตไฟฟ้ามาใช้ในจำนวนเล็กๆน้อยๆ เพราะคิดถึงขนาดว่าสามารถที่ส่งคลื่นกำลังไฟเหล่านี้ ในระยะที่ห่างไกลกันเป็นกิโล และมีปริมาณที่มากกว่าเดิมด้วย ด้วยการใช้คลื่นความถี่ที่มีหลายช่องสัญญาณมาช่วยเพิ่ม และด้วยเทคโนโลยีของเสาตัวรับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุเหล่านี้ ที่สามารถออกแบบให้รับสัญญาณความที่ได้ตั้งแต่ที่ 500 MHz ไปจนถึง 10 GHz
แต่เทคนิคที่ว่านี้จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้คุ้มค่า ก็ต่อเมื่อใช้พลังงานในการส่งน้อยกว่าพลังไฟฟ้าที่ได้รับ โดยในตอนนี้ กำลังไฟที่ทำได้สูงสุดนั้นอยู่ที่ 5 มิลลิวัตต์ เป้าหมายระยะสั้นนั้น ตั้งเอาไว้ที่ 20 มิลลิวัตต์ นั่นก็มากพอที่จะทำให้เครื่องมือถือสมาร์ทโฟนอยู่ในโหมดสแตนบายได้ โดยที่ไม่ต้องทำการชาร์จไปเพิ่มแต่อย่างใด แต่คำถามก็ถือแล้วมันจะมีโอกาสที่จะจ่ายกำลังไฟได้มากพอที่จะทำให้ใช้คุยโทรศัพท์ได้เลยมั้ย แน่นอนว่านั่นเป็นเป้าหมายต่อไป ที่ตั้งใจจะทำให้ได้ถึง 50 มิลลิวัตต์ ซึ่งนั่นก็มากพอสำหรับนำไปใช้ชาร์จกำลังไฟเข้าแบตเตอรี่แบบช้าๆได้เลย
เทคนิคการส่งกำลังไฟแบบไร้สายนี้ ไม่ได้ถูกตั้งให้เป็นเทคนิคเพื่อการสร้างแหล่งพลังงานไฟฟ้าใหม่แต่อย่างใด แต่มันดูมีความหวังในการที่จะนำมาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานอุปกรณ์ IT ต่างๆของเราในปัจจุบัน ที่บริโภคพลังงานไม่มากนัก หรือเอาไว้พ่วงกับลักษณะการใช้งานเป็นอุปกรณ์เสริมอื่นๆ อย่างเช่นเคสมือถือที่มีระบบตัวนี้ และพ่วงกับการมีแผงโซล่าเซลล์เพื่อรับพลังงานเพิ่มเติมอีก ก็ดูเป็นอนาคตอันใกล้ที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว ถ้าทุกอย่างพร้อมเร็ว เราอาจจะได้เห็นอุปกรณ์ที่ว่าเหล่านี้ ภายในอีก 3-5 ปีก็เป็นได้
ที่มา: The Guardian