ถ้าพูดถึงการ์ดจอ AMD หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นหูเท่าไร อาจจะสงสัยว่า AMD มาทำการ์ดจอด้วยหรือ ซึ่งอันที่จริงแล้วก็คือ ATI นั่นละครับ แต่พึ่งจะมีการเปลี่ยนไปใช้ชื่อ AMD ในการ์ดจอซีรี่ย์ปัจจุบันนี้นี่เอง ซึ่งในบทความนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับการ์ดจอ AMD ในซีรี่ย์ 6 กัน โดยผมจะกล่าวถึงกราฟิกชิปในตัว CPU ด้วยนะครับ ซึ่งจะขอแนะนำแต่สเปกเฉพาะตัวของ GPU เท่านั้น จะไม่กล่าวถึงผลคะแนน หรือผลจากการทดสอบใดๆของตัวการ์ดจอ เนื่องด้วยองค์ประกอบอื่นๆที่แตกต่างและหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น CPU หรือส่วนอื่นใดในโน๊ตบุ๊ค ถ้าเข้าใจแล้ว เราไปเริ่มดูในประเภทแรกนี้ก่อนเลย?
1. IGP (กราฟิกในตัว CPU)
ถ้ากล่าวถึงประเภทนี้ ตามจริงๆแล้วเราจะต้องเรียก CPU ที่มีหน่วยประมวลผลกราฟิกอยู่ในตัวนี้ว่า APU นะครับ (Accelerated Processing Unit) ซึ่งมีการออกแบบมาให้มีการใช้พลังงานที่ต่ำ แต่มีประสิทธิภาพที่ดี ดีกว่าหรือเทียบเท่าการ์ดจอแยกรุ่นเก่าบางตัวด้วยซ้ำไปครับ และที่แน่นอนว่าต้องแรงกว่าของค่าย I อีกต่างหาก โดยในตระกุลนี้จะมีอยู่ 2 รุ่นด้วยกัน ซึ่งมีสเปกดังในตารางนี้
ต่อไปมาดูกันครับ ว่าการ์ดจอแต่ละตัวมีอยู่ในโน๊ตบุ๊ครุ่นไหนบ้าง ซึ่งผมจะนำมาเฉพาะ 3 อันดับแรกที่ได้คะแนน Gaming score จาก N4G สูงสุดนะครับ โดยคะแนนของเราจะนำเอาองค์ประกอบต่างๆ ของเครื่องมาประเมินความสามารถแล้วจัดเรียงตามลำดับ
Radeon HD 6250 | Acer Aspire One 522-C58kk/8010 | Asus Eee PC 1015B | |
ราคา 11,900 บาท | ราคา 8,990 บาท | ราคา 8,990 บาท | |
Radeon HD 6310 | |||
ราคา 14,900 บาท | ราคา 14,900 บาท | ราคา 16,900 บาท |
2. การ์ดจอแยก (dedicated GPU)
มาถึงประเภทที่มีรุ่นออกมาค่อนข้างมากในปัจจุบัน นั่นก็คือการ์ดจอแยกนั่นเอง ซึ่งการ์ดจอประเภทนี้จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าแบบแรกคลิกที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่
ซึ่งการจะพิจารณาว่ารุ่นไหนแรงกว่ารุ่นไหนนั้นให้ดูแบบคร่าวๆ จากชื่อรุ่นครับ โดยวิธีการดูก็มีดังนี้
1. เลขหน้าสุดคือลำดับของซีรีย์ ยิ่งเลขเยอะก็หมายถึงความใหม่กว่า เทคโนโลยีในตัวมากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะแรงกว่าเสมอไปนะครับ ต้องดูเลขอื่นๆประกอบด้วย
2. ตัวเลขถัดมาคือเลขบ่งบอกซีรี่ย์ย่อยในแต่ละรุ่น ซึ่งเลขนี้ยิ่งมากก็ยิ่งบ่งบอกว่าตัวใดมี pipeline ที่ใช้ในการคำนวณมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่ายิ่งมากก็ยิ่งแรงนะครับ ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบอีกทีด้วย
3. ตัวเลขที่สามคือตัวเลขบ่งบอกความแรงในซีรี่ย์ย่อยนั้นๆ ถ้าในซี่รี่ย์ย่อยเดียวกัน (เลขตัวที่สองเหมือนกัน) ถ้าการ์ดจอตัวไหนมีเลขตัวที่สามสูงกว่า ตัวนั้นก็แรงกว่าอย่างค่อนข้างแน่นอน
ทีนี้หลายๆท่านอาจสงสัยว่าผมเอาตัวไหนมาวัดความแรง ผมมองคร่าวๆ จาก Processing Power ครับ ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่าการ์ดจอรุ่นไหนสามารถคำนวณได้ FLOPS? ได้สูงกว่ากัน (FLOPS = ความสามารถการคำนวณในหลักทศนิยม เช่นความสามารถในการสร้างรูปเหลี่ยมและการคำนวณเชิง 3 มิติ ) แต่ทั้งนี้เราก็ต้องมองในส่วนอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น Core clock, memory ที่มีให้, ชนิดของ memory เพื่อให้ได้การ์ดจอที่เหมาะสมกับการใช้งานและเงินของเรามากที่สุดครับ
ต่อไปเรามาดูกันเลยว่าการ์ดจอรุ่นไหนอยู่ในเครื่องรุ่นใดบ้าง เรียงตามคะแนน Gaming score ของ N4G สามลำดับแรกสุดเหมือนเดิมครับ
Radeon HD 6370M | Lenovo IdeaPad G470 | Hp Probook 4321s-755TX | |
ราคา 22,900 บาท | ราคา 22,900 บาท | ราคา 22,900 บาท | |
Radeon HD 6470M (512MB DDR3) | Sony Vaio S VPCSB18GH | ||
ราคา 46,900 บาท | ราคา 36,900 บาท | ราคา 16,900 บาท | |
Radeon HD 6470M (1GB DDR3) | |||
ราคา 22,900 บาท | ราคา 21,900 บาท | ราคา 27,900 บาท | |
Radeon HD 6490M | Apple MacBook Pro 15-inch i7 2.0GH | ||
ราคา 59,900 บาท | |||
Radeon HD 6550M | Lenovo IdeaPad Y460p | Acer Aspire Timeline 4820TG-484G64 | |
ราคา 29,900 บาท | ราคา 22,900 บาท | ราคา 19,900 บาท | |
Radeon HD 6570M (1GB DDR3) | Asus A42JP-VX022D | ||
ราคา 20,900 บาท | |||
Radeon HD 6570M (1GB GDDR5) | HP Pavilion dv6-4011TX | Lenovo IdeaPad Y560p | |
ราคา 44,990 บาท | ราคา 39,900 บาท | ||
Radeon HD 6630M | Sony VAIO C VPCCA16FH | Sony VAIO C VPCCB15FH | |
ราคา 39,900 บาท | ราคา 35,900 บาท | ราคา 34,900 บาท | |
Radeon HD 6650M | Acer Aspire 5950G-2634G75Wnss/2001 | ||
ราคา 49,900 บาท | |||
Radeon HD 6730M | Gigabyte Q2432A | ||
ราคา 22,900 บาท | |||
Radeon HD 6750M | Apple Macbook Pro 15-inch i7 2.2GH | HP Pavilion DV4-3021TX | |
ราคา 81,900 บาท | ราคา 72,900 บาท | ราคา 32,990 บาท | |
Radeon HD 6770M | HP Pavilion dv6-6020TX | ||
ราคา 36,990 บาท |