SSD เองก็เป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความเร็วในการทำงานที่สูงขึ้นอย่างน่าพอใจ และทำให้การทำงานต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย แต่ว่าในตอนนี้ ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง โดย Kingston SSDNow V300?รุ่นนี้ออกมาเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึง SSD ที่มีราคาไม่สูงมากนัก ที่ 3,190 บาท เท่านั้น กับความจุระดับ 120GB ที่เป็นขนาดที่กำลังเหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานโน๊ตบุ๊ค ที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอะไรเอาไว้มากในเครื่อง
ก่อนจะเริ่มเข้าสู่รีวิวนั้น ต้องขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า Kingston SSDNow V300?นี้ เน้นด้านราคาที่คุ้มค่าเพื่อที่ทุกคนสามารถจะเป็นเจ้าของได้ และมีความจุเพียงพอที่จะใช้งานในชีวิตประจำวันได้พอดี ซึ่งตัว NAND flash ที่ติดตั้งเอาไว้ใน SSD อันนี้ เป็น NAND flash รุ่นใหม่ของ Toshiba ที่มีกระบวนการผลิตที่ 19nm แบบ MLC Toggle Mode และนำ SSD Controller SandForce SF-2281 มาติดตั้งเพื่อควบคุมการทำงานและปรับแต่ง Firmware เพิ่มเติมด้วย โดย SSD รุ่นนี้จะเป็น Notebook kits ที่นำมาอัพเกรดโน๊ตบุ๊คได้
ในชุดแพ็คเกจจำหน่ายนั้นจะมาในกล่องสีขาว-แดงตามสไตล์ของ Kingston มีความสวยงามเรียบง่ายดัง
โดยมุมบนขวามือจะบอกถึงความจุของ SSD รุ่นนี้กับข้อมูลต่างๆ ของ SSD ด้วย
ด้านหลังของกล่องจะมีวิธีการใช้งานเขียนเอาไว้อย่างละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่ง Kingston SSDNow V300?พร้อมกับอุปกรณ์ที่มีอยู่ในกล่องทั้งหมด
เมื่อเปิดกล่องนอกออกมาแล้ว จะเป็นกล่องกระดาษสีน้ำตาลบรรจุอุปกรณ์ต่างๆ โดยจะมี SSD ความจุ 120 GB ของ Kingston 1 อัน, ฐานรองฮาร์ดดิสก์, กล่องใส่ฮาร์ดดิสก์ พร้อมกับสายถ่ายโอนข้อมูล, DVD สำหรับ Clone ฮาร์ดดิสก์จำนวน 2 แผ่น
ตัวฮาร์ดดิสก์จะมีขนาด 7 มิลลิเมตรพร้อมสติกเกอร์ติดไว้ที่ด้านหน้าตัวฮาร์ดดิสก์บ่งบอกถึงรุ่นและความจุด้วย ตัวฮาร์ดดิสก์มีเนื้อผิวฮาร์ดดิสก์ที่สากเล็กน้อย
การเชื่อมต่อจะเป็นแบบ SATA III โดยดีไซน์ซ่อนลายเชื่อมต่อเอาไว้ให้อยู่ใต้ตัวปิดของฮาร์ดดิสก์เพื่อความสวยงามและป้องกันความเสียหายหากตกลงพื้น
ขนาดนั้นเมื่อนำมาเทียบกับฮาร์ดดิสก์ปกติแล้วนั้น จะมีขนาดที่เท่ากันคือ 2.5 นิ้ว ตามมาตรฐานของฮาร์ดดิสก์สำหรับใช้งานในโน๊ตบุ๊ค?
แต่จะมีที่แตกต่างกันก็คือ SSD?ตัวนี้จะหนาเพียง 7 มิลลิเมตร แต่ฮาร์ดดิสก์ 2.5 นิ้วทั่วไปจะมีความหนาอยู่ที่ 9 มิลลิเมตร
กล่องใส่ฮาร์ดดิสก์นั้นจะมีดีไซน์เรียบง่ายวัดสุเป็นพลาสติก โดยรองรับสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลจากฮาร์ดดิลก์ตัวเก่าของเรา พร้อมกับเชื่อมต่อผ่านทาง USB 2.0 พร้อมกับด้านบนของกล่องจะมีไฟแสดงสัญญาณการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ โดยไฟแสดงสถานะจะเป็นสีฟ้า
?
ภายในกล่องจะออกแบบให้ขนาดพอดีกับฮาร์ดดิสก์และไม่ต้องใช้ฐานปรับขนาดแก้อะไรเลย เพียงแค่สอดเข้าไปและดันให้พอร์ต SATA เชื่อมต่อกันก่อนจะปิดฝากล่องให้เรียบร้อย ก็จะได้รับ External Harddisk มาหนึ่งลูกเพื่อบันทึกข้อมูลแล้ว (แต่น่าเสียดายที่เป็นเพียง USB 2.0 เข้าใจ่าทาง Kingston ตั้งใจมาเพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยในการถ่ายโอนเป็นหลัก)
พอนำมาประกอบเข้าไปกับโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่งเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าก็มีขนาดพอดิบพอดีด้วยขนาดมาตรฐานของฮาร์ดดิสก์ทำให้ใส่ลงไปได้อย่างง่ายดาย ผ่านการเชื่อมต่อทางสาย SATA แต่จะมีข้อสังเกตุในเรื่องของความบางของฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ที่ปกติแล้วจะบางกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปประมาณ 2 มิลลิเมตร
Testing
เมื่อเช็คที่ Properties ของฮาร์ดดิสก์แล้วจะเห็นว่าความจุจาก 120 GB จะมีให้ใช้ที่ 111 GB ตามปกติของฮาร์ดดิสก์
Windows Index Experince จับค่าคะแนนได้สูงถึง 8 คะแนนด้วย นับว่าใช้ได้ทีเดียวสำหรับ Kingston SSDNow V300?อันนี้
?
ทดสอบด้วย HD Tune เรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลต่ำสุดอยู่ที่ 103 MB/s และอัตราการถ่ายโอนสูงสุดนั้นอยู่ที่ 304 MB/s ซึ่งทำให้อัตราเฉลี่ยนั้นอยู่ที่ 247 MB/s ซึ่งนับว่าเร็วใช้ได้ทีเดียว ส่วนความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลนั้นอยู่ที่ 0.228 ms
ซึ่ง SSD ของ Kingston นี้จะมีมาตรฐานที่ SATA III และรองรับการถ่ายโอนข้อมูลระดับ UDMA Mode 6 ซึ่งนับว่าสูงเกือบสุดในปัจจุบัน (สูงสุดที่ระดับ UDMA 7) ซึ่ง UDMA หรือ Ultra DMA นั้นเป็นการเชื่อมต่อเข้าสู่ฐานหน่วยความจำโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านทางซีพียู โดย UDMA Mode 6 จะให้ค่าความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลมากสุดอยู่ที่ 133 MB/s และ Defining Standard จะอยู่ที่ ATA-7
AS SSD ทดสอบแล้วความเร็วการอ่านได้ที่ 453.5 MB/s และอัตราความเร็วในการเขียนอยู่ที่ 121. MB/s นับว่าสูงใช้ได้ทีเดียว
AS SSD เช่นเดิม เปลี่ยนเป็นการทดสอบด้วย Copy Benchmark แล้วความเร็ว ISO ที่ 130 MB/s ภายใน 8.26 วินาที Program ที่ 80 MB/s ที่ 18 วินาที ส่วนของ Game เพิ่มมาที่ 108 MB/s ใช้เวลา 13 วินาที
ทดสอบความเร็ว IOPS ให้เห็นสักหน่อย ว่า SSD ลูกนี้ก็มีความเร็วที่สูงใช้ได้เหมือนกัน โดยความเร็วในการอ่าน (Read) อยู่ที่ 28.48 iops ส่วนความเร็วในการเขียนอยู่ที่ 7.22 iops
ส่วนของ Compression Benchmark นั้นจะออกมาเสถียรในระดับหนึ่ง แต่อาจจะมีบางจุดที่ความเร็วอ่านเขียนตกลงไปบ้างเล็กน้อย
CrystalDiskMark แสดงความเร็วในการอ่านมาที่ 402 MB/s และเขียนสูงถึง 143 MB/s นั้นนับว่าเร็วดีใช้ได้
ทดสอบด้วย ATTO Benchmark แล้วจะเห็นได้ว่าอัตราการเขียนอ่านจะเห็นความแตกต่างระดับหนึ่งทีเดียว
สำหรับชิป SandForce ที่หลายๆ คนกังขาว่าจะมีปัญหาในการใช้งานหรือไม่ จะเจอปัญหาเดียวกันกับใน Kingston SSDNow V300 นี้หรือไม่ ซึ่งผู้เขียนได้ทดลองอัดข้อมูลเข้าไปจนเหลือพื้นที่เพียง 5 GB เท่านั้นและเริ่มทดสอบใหม่อีกรอบด้วย
ทดสอบด้วย HD Tune ก่อนแล้ว ปรากฏความเร็วไม่ลดไปมากเท่าไหร่ (Minimum จาก 103 MB/s เหลือ 93 MB/s และ Maximum จาก 304 MB/s เหลือ 291 MB/s)
ทดสอบด้วย AS SSD อีกหนึ่งโปรแกรม
CrystalDiskMark อีกหนึ่งโปรแกรม แสดงให้เห็นผลการทดสอบที่ยังคงทำงานได้ดีพอควร
ทดสอบด้วย ATTO Disk Benchmark ส่วนของ I/O Comparison ก่อน
พร้อมกับ Overlapped I/O อีกหนึ่งส่วน
พอเปรียบเทียบกันผ่านทางโปรแกรม AS SSD แล้ว จะเห็นได้ว่าความเร็วในช่วงความจุ 50% กับ 90% นั้น แทบจะไม่ต่างกันเลย ดังนั้นเรื่องปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อความจุสูงขึ้นเกือบจะเต็มของชิป SandForce ในยุคก่อนหน้านี้นั้น สามารถลืมไปได้เลย เพราะความเร็วก็ไม่ได้ต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก
Conclusion
ถ้าผู้ใช้คนไหนกำลังต้องการอัพเกรดฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คโดยมีคงประมาณจำกัดหรือว่าต้องการอัพเกรดโน๊ตบุ๊คเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SSD แล้วต้องการเหลืองบประมาณอีกส่วนหนึ่งเอาไว้ซื้ออุปกรณ์เสริมให้โน๊ตบุ๊คเครื่องเก่งแล้วล่ะก็ Kingston SSDNow V300?อันนี้ก็เป็นตัวเลือกที่ดีรุ่นหนึ่งเพื่องบประมาณพอดีกระเป๋า ไม่แพงมากนัก รวมทั้งมีความเร็วในการทำงานที่สูงใช้ได้ทีเดียว แม้ว่าจะใช้ SSD Controller เป็น SandForce ก็ตามที แต่เท่าที่ใช้งานมาและบันทึกข้อมูลไปกินพื้นที่ไปเกือบทั้งหมดแล้วก็ตามที อัตราความเร็วในการเขียนอ่านจะลดลงไปบ้าง ก็เพียง 10 MB/s ที่ถือว่าเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าหากว่าต้องการอัพเกรดโน๊ตบุ๊คให้ทำงานได้เร็วขึ้นแล้วล่ะก็ เราสามารถพิ่ม Kingston SSDNow V300?เข้าไปในรายการเลือกซื้อด้วยเพื่อเป็นตัวเลือกงบประมาณประหยัดก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน เพราะราคานั้นเมื่อเทียบกันแล้ว นับว่าถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ ราว 1 พันบาททีเดียว หรือถ้าใครจะนำไปติดตั้งลองคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็ทำได้ อันนี้แล้วแต่สะดวก (แต่อาจจจะต้องซื้อ Tray เพื่อไว้ติดตั้งในเคสเพิ่มเอง)?ดังนั้น สำหรับความเร็วในการทำงานของชิป SandForce ที่หลายๆ คนเกิดสงสัยไม่มั่นใจมาก่อนหน้าในอดีตจนเกิดเป็นความกลัวส่วนตัวว่าชิป SandForce นั้น ทำงานได้ไม่ดีไม่เต็มประสิทธิภาพและเกิดปัญหาจุกจิกเหมือนในอดีตนั้น ก็สามารถสบายใจขึ้นได้แล้วว่าปัญหาเหล่านั้นจะไม่เกิดใน?Kingston SSDNow?V300 ลูกนี้อย่างแน่นอน
นอกเหนือจากนี้ Kingston SSDNow V300?ยังมีในส่วนของความจุ 60GB และ 240GB ในเลือกใช้งาน โดยสนนราคาอยู่ที่ 2,190 บาท และ 6,490 บาท ตามลำดับครับ ซึ่งถ้าใครคิดว่า 120GB ไม่เพียงพอเมื่อใช้งานแน่ๆ ก็แนะนำให้ดูเป็นรุ่นความจุ 240GB เอาไว้ดีกว่า ส่วนรุ่นความจุ 60GB ไม่ค่อยแนะนำเพราะความจุค่อนข้างน้อย รวมไปถึงราคาต่างกับรุ่น 120GB แค่หนึ่งพันบาทเท่านั้น
ข้อดี
- ประสิทธิภาพโดยรวมจัดได้ว่ามีความน่าพอใจ
- ราคาคุ้มค่าเพื่อผู้ใช้ที่มีงบประมาณจำกัด
- เป็น Notebook Kits ดังนั้นจึงมีกล่องใส่ฮาร์ดดิสก์เพื่อรองรับฮาร์ดดิสก์ลูกเก่าได้ด้วย
- ถึงแม้จะใช้ชิป?Controller เป็น SandForce แต่จากผลการทดสอบก็ทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจ
ข้อสังเกต
- ความเร็วในการเขียนน้อยไปหน่อยเมื่อเทียบความเร็วในการอ่าน
- ขนาดความจุ 60GB ดูเหมือนไม่คุ้มค่าเท่าไหร่ ซื้อ 120GB น่าจะคุ้มสุด